แม้ตัวผมจะไม่ใช่นักจิตวิทยานะ แต่ก็ชอบศึกษาเรื่องพวกนี้ที่มันเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน แล้วบังเอิ้ญเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ผมจึงเฝ้าสังเกตุพฤติกรรมของคนที่มีปฏิกริยาต่อการกระทำของอิมเมจแล้วพบว่ามันแตกต่างกันจึงได้รวบรวมข้อมูลมาศึกษาคร่าวๆว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้นโดยใช้วิธีคัดเลือก comment แบบสุ่มมาจาก Fb Fanpage 5 แห่ง แห่งละ 20 คน รวมเป็น 100 คน และนำ profile ของทุกคนมาศึกษาหาคุณลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันพบว่าสามารถแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ได้แก่
A = มีการตอบสนองอย่างรุนแรงทั้งในทางต่อต้าน(a1)และสนับสนุน(a2) เช่น ด่าทอในกลุ่ม a1 หรือตั้งตนเป็นทีมเดียวกันในกลุ่ม a2 เป็นต้น
B = มีการตอบสนองปานกลางโดยจะไม่โจมตีตัวอิมเมจแต่จะพูดถึงเนื้อหา เช่น ควรระบุประเด็นให้ชัดเจน ไม่เหมารวม เป็นต้น
C = มีการตอบสนองต่ำโดยจะพูดถึงเฉพาะตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การกระทำแบบนี้จะส่งผลอะไรตามมาบ้าง เป็นต้น
ส่วนลัษณะของ profile ทั้ง 100 คน เมื่อนำมาศึกษาพบว่า
กลุ่ม a1 ใช้รูปปลอมหรือชื่อปลอมถึง 85% เช่น รูปสัตว์ สิ่งของ และใช้ชื่อที่เป็นคำศัพท์ซึ่งไม่ใช่ชื่อคนไทย และสิ่งที่อยู่ใน profile ส่วนใหญ่จะสื่อถึงสถาบันหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวตนเค้าถึง 91% เช่นมีแต่รูปธงชาติ หรือบุคคลสำคัญของชาติเป็นต้น
กลุ่ม a2 ใช้รูปปลอมหรือชื่อปลอมถึง 65% เช่น รูปสัตว์ สิ่งของ และใช้ชื่อที่เป็นคำศัพท์ซึ่งไม่ใช่ชื่อคนไทย และสิ่งที่อยู่ใน profile ส่วนใหญ่จะสื่อถึงอัตลักษณ์ของตัวเอง 72% เช่นมีแต่โพสที่ตัวเองเห็นด้วย หรือสนับสนุนการกระทำของตนเองเป็นต้น
กลุ่ม B โพสใน profile ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะพูดถึงเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมาโดยไม่ตัดสินอะไร
กลุ่ม C ข้อมูลมีไม่เพียงพอจะหาข้อสรุป
จากสิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับ Self-Esteem ซึ่งมีทฤษฎีอยู่มากมายเช่นของ Maslow หรือ Coopersmith ก็พอสรุปได้ว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่คือ ประเภท A นั้นมี Self-Esteem ต่ำเพราะไม่กล้าเผชิญหน้าอย่างเปิดเผยหรือกลัวที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และในกลุ่ม a1 ยังมีการนำสถาบันหรือบุคคลสำคัญมาแสดงในพื้นที่ของตัวเองอย่างโดดเด่นเพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าตัวเค้ากับสิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันถึง 91% ซึ่งพฤติกรรมนี้คล้ายคลึงกับผลการศึกษากลุ่ม hooligan ของสโมสรฟุตบอลในอังกฤษที่ได้ข้อสรุปว่าคนเหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกเพื่อให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า โดยจะคิดว่าตัวเองกับปัจจัยนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออกทั้งที่ในความเป็นจริงอาจไม่มีความสัมพันธ์กันมากขนาดนั้น
เพราะเหตุนี้เมื่อมีใครมาโจมตีสิ่งที่คนกลุ่มนี้ยึดถือเข้าก็เท่ากับโจมตีตัวตนของพวกเค้าด้วย พวกเค้าจึงต้องแสดงออกด้วยการโต้ตอบอย่างรุนแรงในหลายระดับเพื่อรักษาระดับคุณค่าของตัวเองไว้ เช่น ในกลุ่ม a1 จะโต้ตอบในทำนองว่า ถ้าคิดว่าประเทศอื่นดีกว่าก็ย้ายไปอยู่ให้ได้สิ หรือถึงไปอยู่ประเทศอื่นได้ก็ต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวเค้าเองก็ยอมรับในความเหนือกว่าของประเทศอื่น แต่ถ้าเค้าอยู่ที่นี่ก็ยังมีความเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งที่มีความพึงพอใจ ส่วนคนที่ไม่อยากอยู่จะต้องทนอยู่ต่อไปอย่างไม่มีความสุขนัก แต่หากใครสามารถย้ายไปได้จริงก็จะลดระดับคนๆนั้นลงมาเป็นพลเมืองชั้นสองแบบคิดเองเออเองจะได้รู้สึกว่าไม่ต่ำต้อยไปกว่าคนๆนั้นมากนัก หรืออาจมีหลักฐานเล็กน้อยมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเองอย่างมีอคติด้วย
สำหรับกลุ่ม a2 จะใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไปในการสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเองนั่นคือกดระดับคุณค่าของคนกลุ่ม a1 ลงไปด้วยการด่าทอ และอาจมีหลักฐานเล็กน้อยมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเองอย่างมีอคติเช่นเดียวกัน
สำหรับสาเหตุที่ทำให้คนเป็นแบบนี้มีทั้งปัจจัยภาพในคือจิตใจของเค้าเองและปัจจัยภายนอกได้แก่สภาพแวดล้อมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่และถูกหล่อหลอมมา ซึ่งเรื่องนี้สามารถไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ด้วยคำค้นเช่น Causes of Low Self Esteem
ส่วนในกลุ่ม B จะวิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริงโดยไม่ตัดสินใคร เช่น ยอมรับว่ามีสิ่งไม่ดีอยู่จริง ควรระบุประเด็นให้ชัดเจนกว่านี้ หรือมาช่วยกันหาทางออกดีไหม ? แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงและสามารถแยกแยะประเด็นออกจากตัวตนของเค้าได้ หรือไม่ได้เอาตัวเองไปผูกไว้กับปัจจัยภายนอกเหล่านั้นจึงไม่รู้สึกว่าตนเองถูกลดคุณค่าลงไป
และในกลุ่ม C จะพูดถึงข้อคิด หรือประเด็นอื่นที่ได้จากเหตุการณ์นี้โดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งที่คนกำลังถกเถียงกัน เช่น ก่อนจะพูด เราเป็นนายของคำพูด เมื่อพูดออกไปแล้ว คำพูดนั้นๆ ก็จะเป็นนายเรา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม D ที่ไม่ได้แสดงความใส่ใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลยด้วยสาเหตุที่ไม่อาจสืบทราบได้ ส่วนตัวผมคงจัดอยู่ในกลุ่ม C เนื่องจากไม่อยากเข้าไปยุ่งด้วยเพราะไม่ได้รู้สึกอะไร หรือคิดไม่ออกว่ามันกระทบต่อตัวผมยังไง และก็เข้าใจการกระทำของอิมเมจว่าเป็นการแสดงอารมณ์โกรธตามธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีบางสิ่งไม่เป็นไปตามต้องการ ซึ่งมีให้เห็นตั้งแต่แรกเกิดกันทุกคนและจะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามวัย
ถ้าใครมีความรู้ความชำนาญด้านจิตวิทยาแล้วช่วยเข้ามาแย้งหรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมคงเป็นประโยชน์ในการพยามทำความเข้าใจคนอื่นในสังคมมากขึ้นครับ
จากเหตุการณ์ ภาพวาด The Voice กำลังแสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ขาดความภูมิใจในตัวเอง(Low Self-Esteem)หรือเปล่า ?
แม้ตัวผมจะไม่ใช่นักจิตวิทยานะ แต่ก็ชอบศึกษาเรื่องพวกนี้ที่มันเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน แล้วบังเอิ้ญเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ผมจึงเฝ้าสังเกตุพฤติกรรมของคนที่มีปฏิกริยาต่อการกระทำของอิมเมจแล้วพบว่ามันแตกต่างกันจึงได้รวบรวมข้อมูลมาศึกษาคร่าวๆว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้นโดยใช้วิธีคัดเลือก comment แบบสุ่มมาจาก Fb Fanpage 5 แห่ง แห่งละ 20 คน รวมเป็น 100 คน และนำ profile ของทุกคนมาศึกษาหาคุณลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันพบว่าสามารถแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ได้แก่
A = มีการตอบสนองอย่างรุนแรงทั้งในทางต่อต้าน(a1)และสนับสนุน(a2) เช่น ด่าทอในกลุ่ม a1 หรือตั้งตนเป็นทีมเดียวกันในกลุ่ม a2 เป็นต้น
B = มีการตอบสนองปานกลางโดยจะไม่โจมตีตัวอิมเมจแต่จะพูดถึงเนื้อหา เช่น ควรระบุประเด็นให้ชัดเจน ไม่เหมารวม เป็นต้น
C = มีการตอบสนองต่ำโดยจะพูดถึงเฉพาะตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การกระทำแบบนี้จะส่งผลอะไรตามมาบ้าง เป็นต้น
ส่วนลัษณะของ profile ทั้ง 100 คน เมื่อนำมาศึกษาพบว่า
กลุ่ม a1 ใช้รูปปลอมหรือชื่อปลอมถึง 85% เช่น รูปสัตว์ สิ่งของ และใช้ชื่อที่เป็นคำศัพท์ซึ่งไม่ใช่ชื่อคนไทย และสิ่งที่อยู่ใน profile ส่วนใหญ่จะสื่อถึงสถาบันหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวตนเค้าถึง 91% เช่นมีแต่รูปธงชาติ หรือบุคคลสำคัญของชาติเป็นต้น
กลุ่ม a2 ใช้รูปปลอมหรือชื่อปลอมถึง 65% เช่น รูปสัตว์ สิ่งของ และใช้ชื่อที่เป็นคำศัพท์ซึ่งไม่ใช่ชื่อคนไทย และสิ่งที่อยู่ใน profile ส่วนใหญ่จะสื่อถึงอัตลักษณ์ของตัวเอง 72% เช่นมีแต่โพสที่ตัวเองเห็นด้วย หรือสนับสนุนการกระทำของตนเองเป็นต้น
กลุ่ม B โพสใน profile ส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะพูดถึงเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมาโดยไม่ตัดสินอะไร
กลุ่ม C ข้อมูลมีไม่เพียงพอจะหาข้อสรุป
จากสิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับ Self-Esteem ซึ่งมีทฤษฎีอยู่มากมายเช่นของ Maslow หรือ Coopersmith ก็พอสรุปได้ว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่คือ ประเภท A นั้นมี Self-Esteem ต่ำเพราะไม่กล้าเผชิญหน้าอย่างเปิดเผยหรือกลัวที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และในกลุ่ม a1 ยังมีการนำสถาบันหรือบุคคลสำคัญมาแสดงในพื้นที่ของตัวเองอย่างโดดเด่นเพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าตัวเค้ากับสิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันถึง 91% ซึ่งพฤติกรรมนี้คล้ายคลึงกับผลการศึกษากลุ่ม hooligan ของสโมสรฟุตบอลในอังกฤษที่ได้ข้อสรุปว่าคนเหล่านี้จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกเพื่อให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า โดยจะคิดว่าตัวเองกับปัจจัยนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออกทั้งที่ในความเป็นจริงอาจไม่มีความสัมพันธ์กันมากขนาดนั้น
เพราะเหตุนี้เมื่อมีใครมาโจมตีสิ่งที่คนกลุ่มนี้ยึดถือเข้าก็เท่ากับโจมตีตัวตนของพวกเค้าด้วย พวกเค้าจึงต้องแสดงออกด้วยการโต้ตอบอย่างรุนแรงในหลายระดับเพื่อรักษาระดับคุณค่าของตัวเองไว้ เช่น ในกลุ่ม a1 จะโต้ตอบในทำนองว่า ถ้าคิดว่าประเทศอื่นดีกว่าก็ย้ายไปอยู่ให้ได้สิ หรือถึงไปอยู่ประเทศอื่นได้ก็ต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวเค้าเองก็ยอมรับในความเหนือกว่าของประเทศอื่น แต่ถ้าเค้าอยู่ที่นี่ก็ยังมีความเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งที่มีความพึงพอใจ ส่วนคนที่ไม่อยากอยู่จะต้องทนอยู่ต่อไปอย่างไม่มีความสุขนัก แต่หากใครสามารถย้ายไปได้จริงก็จะลดระดับคนๆนั้นลงมาเป็นพลเมืองชั้นสองแบบคิดเองเออเองจะได้รู้สึกว่าไม่ต่ำต้อยไปกว่าคนๆนั้นมากนัก หรืออาจมีหลักฐานเล็กน้อยมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเองอย่างมีอคติด้วย
สำหรับกลุ่ม a2 จะใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไปในการสร้างความภาคภูมิใจให้ตนเองนั่นคือกดระดับคุณค่าของคนกลุ่ม a1 ลงไปด้วยการด่าทอ และอาจมีหลักฐานเล็กน้อยมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเองอย่างมีอคติเช่นเดียวกัน
สำหรับสาเหตุที่ทำให้คนเป็นแบบนี้มีทั้งปัจจัยภาพในคือจิตใจของเค้าเองและปัจจัยภายนอกได้แก่สภาพแวดล้อมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่และถูกหล่อหลอมมา ซึ่งเรื่องนี้สามารถไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ด้วยคำค้นเช่น Causes of Low Self Esteem
ส่วนในกลุ่ม B จะวิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริงโดยไม่ตัดสินใคร เช่น ยอมรับว่ามีสิ่งไม่ดีอยู่จริง ควรระบุประเด็นให้ชัดเจนกว่านี้ หรือมาช่วยกันหาทางออกดีไหม ? แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงและสามารถแยกแยะประเด็นออกจากตัวตนของเค้าได้ หรือไม่ได้เอาตัวเองไปผูกไว้กับปัจจัยภายนอกเหล่านั้นจึงไม่รู้สึกว่าตนเองถูกลดคุณค่าลงไป
และในกลุ่ม C จะพูดถึงข้อคิด หรือประเด็นอื่นที่ได้จากเหตุการณ์นี้โดยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งที่คนกำลังถกเถียงกัน เช่น ก่อนจะพูด เราเป็นนายของคำพูด เมื่อพูดออกไปแล้ว คำพูดนั้นๆ ก็จะเป็นนายเรา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม D ที่ไม่ได้แสดงความใส่ใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลยด้วยสาเหตุที่ไม่อาจสืบทราบได้ ส่วนตัวผมคงจัดอยู่ในกลุ่ม C เนื่องจากไม่อยากเข้าไปยุ่งด้วยเพราะไม่ได้รู้สึกอะไร หรือคิดไม่ออกว่ามันกระทบต่อตัวผมยังไง และก็เข้าใจการกระทำของอิมเมจว่าเป็นการแสดงอารมณ์โกรธตามธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีบางสิ่งไม่เป็นไปตามต้องการ ซึ่งมีให้เห็นตั้งแต่แรกเกิดกันทุกคนและจะปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามวัย
ถ้าใครมีความรู้ความชำนาญด้านจิตวิทยาแล้วช่วยเข้ามาแย้งหรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมคงเป็นประโยชน์ในการพยามทำความเข้าใจคนอื่นในสังคมมากขึ้นครับ