จิตวิทยากับการลงทุน (2)
https://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
ในครั้งก่อนได้แนะนำให้นักลงทุนรู้จักกับ Behavioral Finance ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับกระบวนการตัดสินลงทุนไปพอสังเขป ในครั้งนี้จะขอนำเสนอพฤติกรรมการลงทุนที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนแบบอื่นๆ เพื่อขยายขอบเขตความเข้าใจใน Behavioral Finance มากขึ้น ได้แก่ Representativeness และ Fear of Regret and Seeking of Pride Representativeness
มนุษย์มักมีพฤติกรรมเปรียบเทียบสิ่งที่ตนกำลังประสพอยู่กับประสบการณ์ที่ตนเคยพบเห็นมาในอดีต และมีแนวโน้มที่จะพยายามหาหลักฐานหรือตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น มาเป็นเงื่อนไขในการพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของตนง่ายขึ้น เช่น ความเชื่อที่ว่านักเรียนที่สามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้ดีในการศึกษาระดับมัธยมปลายจะประสบความสำเร็จในการสอบเข้า และเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น อย่างไรก็ดีเงื่อนไขง่ายๆ เหล่านั้นอาจไม่ใช่ปัจจัยบ่งชี้เหตุการณ์ที่จะเกิดตามมาได้ดีเพียงพอ เนื่องจากตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบอาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ดี และปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอาจมาจากหลายสาเหตุ หรือสาเหตุเดียวกันก็อาจทำให้เกิดผลที่ตามมาได้หลากหลาย การใช้เงื่อนไขง่ายๆ เพียงหนึ่งหรือสองเงื่อนไขจึงไม่อาจพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดตามมาได้อย่างแม่นยำ เช่น นักเรียนที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ในระดับมัธยมปลายอาจไปเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ตนไม่ชอบหรือไม่ถนัด ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ตัวอย่างของ Representativeness ที่มักพบเห็นได้บ่อยในกระบวนการตัดสินใจลงทุนมีดังต่อไปนี้
1) การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดีจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลกำไร บริษัทที่มีความแข็งแกร่งและผลประกอบการที่ดีอย่างสม่ำเสมอย่อมเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดี แต่นักลงทุนก็สามารถขาดทุนมหาศาลจากบริษัทที่มีผลประกอบการที่ดีได้ หากเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวที่ราคาสูงเกินไป หรือเข้าซื้อหุ้นในขณะที่ผลกำไรของบริษัทปรับตัวสูงสุด (Peak of the business cycle) และมีแนวโน้มที่จะแย่ลง เป็นต้น การลงทุนจึงควรพิจารณาโดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดในอนาคตมากกว่าอดีตที่ผ่านไปแล้ว
2) กลยุทธ์การลงทุนแบบโมเมนตัม (Momentum strategy) คือกลยุทธ์การลงทุนที่ไล่ซื้อหุ้นที่ราคากำลังปรับตัวขึ้นโดยคาดว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นต่อไป แม้ว่าการลงทุนแบบโมเมนตัมอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำกำไรให้นักลงทุนได้ แต่หากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวข้องในระยะยาวเป็นเพียงพฤติกรรมแห่ตามกันอย่างขาดเหตุผล การลงทุนแบบโมเมนตัมก็อาจจบลงด้วยผลขาดทุนที่คาดไม่ถึงได้ นอกจากนี้งานวิจัยในต่างประเทศก็ยังระบุว่าหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าตลาด (Outperform market) ในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า จะมีผลการดำเนินงานที่แย่กว่าตลาดในช่วง 2-3 ปีต่อไป (Underperform market) จึงไม่อาจรับประกันได้ว่าหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในอดีตจะให้ผลกำไรดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต
กล่าวโดยสรุป Representativeness เป็นพฤติกรรมที่จะลดทอนประสิทธิภาพการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์โดยใช้เหตุผลของนักลงทุน ทำให้การตัดสินใจลงทุนขาดความรอบคอบ และมักทำให้เกิดการขาดทุนอย่างไม่คาดหมาย การตัดสินใจลงทุนจึงควรวิเคราะห์สาเหตุ (ปัจจัยพื้นฐาน ภาวะตลาด และสภาพแวดล้อมการลงทุน ฯลฯ) อย่างรอบคอบเพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ (การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น) ที่จะเกิดตามมามากกว่าการใช้เงื่อนไขง่ายๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจดังกล่าวข้างต้น
Fear of Regret & Seeking of Pride
Fear of Regret คือ พฤติกรรมที่นักลงทุนกลัวที่จะต้องยอมรับว่าการตัดสินใจของตนผิดพลาด เป็นเหตุให้ไม่ตัดใจขายหุ้นที่ตนลงทุนผิดพลาดออกไป นักลงทุนจึงขาดทุนจากการไม่ยอมรับความจริงนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ คำกล่าวที่มักพบบ่อยในกรณีนี้ เช่น ไม่ขายไม่ขาดทุน ขาดทุนอย่าขาย เป็นต้น ในความเป็นจริงหากผลขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้นมาจากปัจจัยที่ส่งผลระยะยาว เช่น ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่แย่ลงและกำลังจะแย่ต่อไปอีก การถือครองหุ้นนั้นต่อไปจะยิ่งทำให้ขาดทุนมากขึ้นๆ การตัดใจขายหุ้นนั้นออกไปเพื่อไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่ามาชดเชย หรือขายออกไปก่อนเพื่อรอรับหุ้นนั้นกลับในราคาที่ถูกกว่าจึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลกว่า
Seeking of Pride คือ พฤติกรรมที่นักลงทุนรู้สึกยินดีเมื่อรู้ว่าการตัดสินใจของตนถูกต้อง จึงพยายามขายหุ้นเพื่อรับรู้กำไรโดยละเลยการพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นเหตุให้นักลงทุนขายหุ้นที่ดีเร็วจนเกินไปทำให้เสียโอกาสที่จะทำกำไรจำนวนมากจากหุ้นนั้น
Fear of Regret และ Seeking of Pride เป็นพฤติกรรมที่กดดันให้นักลงทุนขายหุ้นที่แย่ช้าเกินไป (Hold loser too long) และขายหุ้นที่ดีเร็วเกินไป (Sell winner too early) ซึ่งอาจลดทอนผลกำไรจากการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ นักลงทุนจึงควรตัดความรู้สึกดังกล่าวออกจากกระบวนการตัดสินใจลงทุน โดยยึดมุมมองต่อหุ้นเหล่านั้นในอนาคตเป็นหลักในการตัดสินใจ นักลงทุนพึงระลึกอยู่เสมอว่าหากราคาหุ้นที่ถือครองปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาที่ซื้อแปลว่านักลงทุนได้ขาดทุนไปแล้ว แม้ว่านักลงทุนจะยังไม่ขายหุ้นออกไปก็ตาม ดังนั้นหากนักลงทุนเชื่อว่า ราคาหุ้นดังกล่าวอาจปรับตัวลงต่อได้อีก ก็ควรจะขายหุ้นนั้นออกไปไม่ว่าจะซื้อมาที่ราคาเท่าไร (Stop loss) ในทางกลับกันหากนักลงทุนเชื่อว่าหุ้นดังกล่าวจะปรับตัวสูงขึ้น ควรถือครองหุ้นนั้นๆต่อไปไม่ว่าจะได้กำไรมาแล้วเท่าใดก็ตาม (Let profit run)
ขอบคุณ คุณชาตรี โรจนอาภา, CFA, FRM chatree@mfcfund.com / moneymartthai.com
จิตวิทยากับการลงทุน (2)
https://www.facebook.com/#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
ในครั้งก่อนได้แนะนำให้นักลงทุนรู้จักกับ Behavioral Finance ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับกระบวนการตัดสินลงทุนไปพอสังเขป ในครั้งนี้จะขอนำเสนอพฤติกรรมการลงทุนที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนแบบอื่นๆ เพื่อขยายขอบเขตความเข้าใจใน Behavioral Finance มากขึ้น ได้แก่ Representativeness และ Fear of Regret and Seeking of Pride Representativeness
มนุษย์มักมีพฤติกรรมเปรียบเทียบสิ่งที่ตนกำลังประสพอยู่กับประสบการณ์ที่ตนเคยพบเห็นมาในอดีต และมีแนวโน้มที่จะพยายามหาหลักฐานหรือตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น มาเป็นเงื่อนไขในการพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของตนง่ายขึ้น เช่น ความเชื่อที่ว่านักเรียนที่สามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้ดีในการศึกษาระดับมัธยมปลายจะประสบความสำเร็จในการสอบเข้า และเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น อย่างไรก็ดีเงื่อนไขง่ายๆ เหล่านั้นอาจไม่ใช่ปัจจัยบ่งชี้เหตุการณ์ที่จะเกิดตามมาได้ดีเพียงพอ เนื่องจากตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบอาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ดี และปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอาจมาจากหลายสาเหตุ หรือสาเหตุเดียวกันก็อาจทำให้เกิดผลที่ตามมาได้หลากหลาย การใช้เงื่อนไขง่ายๆ เพียงหนึ่งหรือสองเงื่อนไขจึงไม่อาจพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดตามมาได้อย่างแม่นยำ เช่น นักเรียนที่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ในระดับมัธยมปลายอาจไปเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ตนไม่ชอบหรือไม่ถนัด ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ตัวอย่างของ Representativeness ที่มักพบเห็นได้บ่อยในกระบวนการตัดสินใจลงทุนมีดังต่อไปนี้
1) การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดีจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลกำไร บริษัทที่มีความแข็งแกร่งและผลประกอบการที่ดีอย่างสม่ำเสมอย่อมเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ดี แต่นักลงทุนก็สามารถขาดทุนมหาศาลจากบริษัทที่มีผลประกอบการที่ดีได้ หากเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวที่ราคาสูงเกินไป หรือเข้าซื้อหุ้นในขณะที่ผลกำไรของบริษัทปรับตัวสูงสุด (Peak of the business cycle) และมีแนวโน้มที่จะแย่ลง เป็นต้น การลงทุนจึงควรพิจารณาโดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดในอนาคตมากกว่าอดีตที่ผ่านไปแล้ว
2) กลยุทธ์การลงทุนแบบโมเมนตัม (Momentum strategy) คือกลยุทธ์การลงทุนที่ไล่ซื้อหุ้นที่ราคากำลังปรับตัวขึ้นโดยคาดว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นต่อไป แม้ว่าการลงทุนแบบโมเมนตัมอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำกำไรให้นักลงทุนได้ แต่หากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวข้องในระยะยาวเป็นเพียงพฤติกรรมแห่ตามกันอย่างขาดเหตุผล การลงทุนแบบโมเมนตัมก็อาจจบลงด้วยผลขาดทุนที่คาดไม่ถึงได้ นอกจากนี้งานวิจัยในต่างประเทศก็ยังระบุว่าหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าตลาด (Outperform market) ในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า จะมีผลการดำเนินงานที่แย่กว่าตลาดในช่วง 2-3 ปีต่อไป (Underperform market) จึงไม่อาจรับประกันได้ว่าหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในอดีตจะให้ผลกำไรดีอย่างต่อเนื่องในอนาคต
กล่าวโดยสรุป Representativeness เป็นพฤติกรรมที่จะลดทอนประสิทธิภาพการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์โดยใช้เหตุผลของนักลงทุน ทำให้การตัดสินใจลงทุนขาดความรอบคอบ และมักทำให้เกิดการขาดทุนอย่างไม่คาดหมาย การตัดสินใจลงทุนจึงควรวิเคราะห์สาเหตุ (ปัจจัยพื้นฐาน ภาวะตลาด และสภาพแวดล้อมการลงทุน ฯลฯ) อย่างรอบคอบเพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ (การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น) ที่จะเกิดตามมามากกว่าการใช้เงื่อนไขง่ายๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจดังกล่าวข้างต้น
Fear of Regret & Seeking of Pride
Fear of Regret คือ พฤติกรรมที่นักลงทุนกลัวที่จะต้องยอมรับว่าการตัดสินใจของตนผิดพลาด เป็นเหตุให้ไม่ตัดใจขายหุ้นที่ตนลงทุนผิดพลาดออกไป นักลงทุนจึงขาดทุนจากการไม่ยอมรับความจริงนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ คำกล่าวที่มักพบบ่อยในกรณีนี้ เช่น ไม่ขายไม่ขาดทุน ขาดทุนอย่าขาย เป็นต้น ในความเป็นจริงหากผลขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้นมาจากปัจจัยที่ส่งผลระยะยาว เช่น ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่แย่ลงและกำลังจะแย่ต่อไปอีก การถือครองหุ้นนั้นต่อไปจะยิ่งทำให้ขาดทุนมากขึ้นๆ การตัดใจขายหุ้นนั้นออกไปเพื่อไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่ามาชดเชย หรือขายออกไปก่อนเพื่อรอรับหุ้นนั้นกลับในราคาที่ถูกกว่าจึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลกว่า
Seeking of Pride คือ พฤติกรรมที่นักลงทุนรู้สึกยินดีเมื่อรู้ว่าการตัดสินใจของตนถูกต้อง จึงพยายามขายหุ้นเพื่อรับรู้กำไรโดยละเลยการพิจารณาปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นเหตุให้นักลงทุนขายหุ้นที่ดีเร็วจนเกินไปทำให้เสียโอกาสที่จะทำกำไรจำนวนมากจากหุ้นนั้น
Fear of Regret และ Seeking of Pride เป็นพฤติกรรมที่กดดันให้นักลงทุนขายหุ้นที่แย่ช้าเกินไป (Hold loser too long) และขายหุ้นที่ดีเร็วเกินไป (Sell winner too early) ซึ่งอาจลดทอนผลกำไรจากการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ นักลงทุนจึงควรตัดความรู้สึกดังกล่าวออกจากกระบวนการตัดสินใจลงทุน โดยยึดมุมมองต่อหุ้นเหล่านั้นในอนาคตเป็นหลักในการตัดสินใจ นักลงทุนพึงระลึกอยู่เสมอว่าหากราคาหุ้นที่ถือครองปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาที่ซื้อแปลว่านักลงทุนได้ขาดทุนไปแล้ว แม้ว่านักลงทุนจะยังไม่ขายหุ้นออกไปก็ตาม ดังนั้นหากนักลงทุนเชื่อว่า ราคาหุ้นดังกล่าวอาจปรับตัวลงต่อได้อีก ก็ควรจะขายหุ้นนั้นออกไปไม่ว่าจะซื้อมาที่ราคาเท่าไร (Stop loss) ในทางกลับกันหากนักลงทุนเชื่อว่าหุ้นดังกล่าวจะปรับตัวสูงขึ้น ควรถือครองหุ้นนั้นๆต่อไปไม่ว่าจะได้กำไรมาแล้วเท่าใดก็ตาม (Let profit run)
ขอบคุณ คุณชาตรี โรจนอาภา, CFA, FRM chatree@mfcfund.com / moneymartthai.com