(บทความนี้เหมาะกับผู้ที่เคยมีประสบการณ์การลงทุนหุ้นมาบ้างนะครับ)
สวัสดีครับเพื่อนๆ ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน เพื่อนๆ ที่ลงทุนในหุ้น ก็อาจจะรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ กันไหมครับ ต้องคอยลุ้นกันว่าเราจะกำไร หรือขาดทุนในแต่ละวัน ซึ่งวันนี้ทาง K-Expert มีแนวคิดทางการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านจิตวิทยา มาเล่าให้ฟังครับ...
ก่อนอื่นเราขอเล่าให้ฟังคร่าวๆ ก่อนว่าในโลกการเงินนั้น มี 2 ค่ายใหญ่ๆ ที่มีแนวความคิดแตกต่างกัน ค่ายแรกคือกลุ่มทฤษฎีการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Finance) ซึ่งบอกว่า “ถ้าการลงทุนนั้นเสี่ยง เราก็ต้องการที่จะได้ผลตอบแทนสูง” หรือที่เราคุ้นๆ กันคือ “High Risk High Return” และ ยังบอกอีกว่า
“คนเรานั้นจะไม่ชอบความเสี่ยง (Risk Averse)” ซึ่งหลักการนี้เหมือนจะบอกว่า
“คนเราคิดเหมือนหุ่นยนต์” แต่หากเรามาลองสังเกตตัวเรา และเพื่อนๆกันดีๆ ว่าเวลาเราตัดสินใจลงทุน เราตัดสินใจโดยใช้เหตุผล หรือใช้อารมณ์มากกว่ากันแน่
โดยที่มีอีกค่ายหนึ่งของทฤษฎีการเงิน นั่นก็คือ กลุ่มทฤษฎีการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) ซึ่งจะบอกว่าคนเราใช้อารมณ์ความรู้สึกมาตัดสินใจในการลงทุน และการสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนที่เกิดขึ้นจริงในตลาดหุ้น มาอธิบายพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน ค่ายนี้จะบอกว่า จริงๆ แล้วคนเรานั้น
ไม่ชอบการขาดทุน (Loss Averse) คือเราไม่ได้กลัวความเสี่ยงหรอก เราแค่กลัวการขาดทุน (Fear of Loss) โดยช่วงที่มีกำไร นักลงทุนจะรู้สึกว่ารับความเสี่ยงได้เยอะ แต่พอเมื่อพอร์ตการลงทุนขาดทุนจะรับความเสี่ยงได้น้อยลง
ดังจะเห็นได้จากรูป คือ
ฝั่ง Gains คือฝั่งที่นักลงทุนได้กำไร VS ฝั่ง Losses คือฝั่งที่นักลงทุนขาดทุน
ในปริมาณเงินที่เท่ากัน เช่น กำไร 10,000 บาท หรือ ขาดทุน 10,000 บาท นั้น ความเจ็บปวดตอนขาดทุนมันมากกว่าความดีใจตอนที่กำไรทั้งๆ ที่ปริมาณเงินเท่ากัน โดยเราจะเจ็บกว่า 2 เท่ากว่าๆ ของความดีใจ
อีกทั้งมีงานวิจัยอื่นๆ อีกที่กล่าวถึง
The Disposition Effect (นักลงทุนมักขายหุ้นที่ได้กำไร และมักจะถือหุ้นที่ขาดทุนไว้ในพอร์ต) มาถึงตรงนี้บอกเลยว่าคนเล่นหุ้นเป็นกันเยอะมาก และที่นักลงทุนมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เพราะการขายหุ้นตอนขาดทุนมันเจ็บปวดนั่นเอง นักลงทุนก็เลยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด โดยที่ทนถือหุ้นต่อไป และหวังว่ามันจะกลับมาเท่าเดิม
ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ทำให้เรามีโอกาสขาดทุน หรือติดลบหนักๆ ได้ เพราะว่า ไม่รู้ว่าจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร ซึ่งมีวิธีแก้ไม่ยากครับ คือ
สำหรับคำแนะนำมีดังนี้
ไม่ว่าก่อนซื้อหุ้น เราจะศึกษา หรือทำการบ้านมาดีแค่ไหน แต่เมื่อลงทุนแล้วผิดคาด เกิดขาดทุน แสดงว่าตลาดอาจไม่คิดเหมือนเรา เราก็ต้องรีบจัดการหุ้นของเรานะครับ อย่าปล่อยให้เน่าจนเกินเยียวยา โดยที่ ต้องมีการตั้งจุด Stop Loss ไว้ตามระดับความเสี่ยงที่เราจะรับได้ เพื่อที่จะไม่ต้อง Stop Profit Let’s Loss Run ครับ
เพื่อนๆ ที่ลงทุนจริงจังมากขึ้น ควรศึกษาทฤษฎีการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) นะครับ เพราะว่าทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการการเงิน และยังช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการลงทุนของเราอีกด้วย โดยสามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของตัวเองได้อีกด้วย ถ้าใครมีพฤติกรรมการลงทุน และหลักคิดตัดสินใจอะไรในการลงทุนก็สามารถแบ่งปันเรื่องราวกันในคอมเม้นต์ได้นะครับ
!!! เหตุผลของคนติดดอย !!!
สวัสดีครับเพื่อนๆ ในภาวะที่ตลาดหุ้นผันผวน เพื่อนๆ ที่ลงทุนในหุ้น ก็อาจจะรู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ กันไหมครับ ต้องคอยลุ้นกันว่าเราจะกำไร หรือขาดทุนในแต่ละวัน ซึ่งวันนี้ทาง K-Expert มีแนวคิดทางการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านจิตวิทยา มาเล่าให้ฟังครับ...
ก่อนอื่นเราขอเล่าให้ฟังคร่าวๆ ก่อนว่าในโลกการเงินนั้น มี 2 ค่ายใหญ่ๆ ที่มีแนวความคิดแตกต่างกัน ค่ายแรกคือกลุ่มทฤษฎีการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Finance) ซึ่งบอกว่า “ถ้าการลงทุนนั้นเสี่ยง เราก็ต้องการที่จะได้ผลตอบแทนสูง” หรือที่เราคุ้นๆ กันคือ “High Risk High Return” และ ยังบอกอีกว่า “คนเรานั้นจะไม่ชอบความเสี่ยง (Risk Averse)” ซึ่งหลักการนี้เหมือนจะบอกว่า “คนเราคิดเหมือนหุ่นยนต์” แต่หากเรามาลองสังเกตตัวเรา และเพื่อนๆกันดีๆ ว่าเวลาเราตัดสินใจลงทุน เราตัดสินใจโดยใช้เหตุผล หรือใช้อารมณ์มากกว่ากันแน่
โดยที่มีอีกค่ายหนึ่งของทฤษฎีการเงิน นั่นก็คือ กลุ่มทฤษฎีการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) ซึ่งจะบอกว่าคนเราใช้อารมณ์ความรู้สึกมาตัดสินใจในการลงทุน และการสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนที่เกิดขึ้นจริงในตลาดหุ้น มาอธิบายพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุน ค่ายนี้จะบอกว่า จริงๆ แล้วคนเรานั้น ไม่ชอบการขาดทุน (Loss Averse) คือเราไม่ได้กลัวความเสี่ยงหรอก เราแค่กลัวการขาดทุน (Fear of Loss) โดยช่วงที่มีกำไร นักลงทุนจะรู้สึกว่ารับความเสี่ยงได้เยอะ แต่พอเมื่อพอร์ตการลงทุนขาดทุนจะรับความเสี่ยงได้น้อยลง
ดังจะเห็นได้จากรูป คือ
ฝั่ง Gains คือฝั่งที่นักลงทุนได้กำไร VS ฝั่ง Losses คือฝั่งที่นักลงทุนขาดทุน
ในปริมาณเงินที่เท่ากัน เช่น กำไร 10,000 บาท หรือ ขาดทุน 10,000 บาท นั้น ความเจ็บปวดตอนขาดทุนมันมากกว่าความดีใจตอนที่กำไรทั้งๆ ที่ปริมาณเงินเท่ากัน โดยเราจะเจ็บกว่า 2 เท่ากว่าๆ ของความดีใจ
อีกทั้งมีงานวิจัยอื่นๆ อีกที่กล่าวถึง The Disposition Effect (นักลงทุนมักขายหุ้นที่ได้กำไร และมักจะถือหุ้นที่ขาดทุนไว้ในพอร์ต) มาถึงตรงนี้บอกเลยว่าคนเล่นหุ้นเป็นกันเยอะมาก และที่นักลงทุนมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เพราะการขายหุ้นตอนขาดทุนมันเจ็บปวดนั่นเอง นักลงทุนก็เลยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด โดยที่ทนถือหุ้นต่อไป และหวังว่ามันจะกลับมาเท่าเดิม
ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ทำให้เรามีโอกาสขาดทุน หรือติดลบหนักๆ ได้ เพราะว่า ไม่รู้ว่าจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร ซึ่งมีวิธีแก้ไม่ยากครับ คือ
สำหรับคำแนะนำมีดังนี้
ไม่ว่าก่อนซื้อหุ้น เราจะศึกษา หรือทำการบ้านมาดีแค่ไหน แต่เมื่อลงทุนแล้วผิดคาด เกิดขาดทุน แสดงว่าตลาดอาจไม่คิดเหมือนเรา เราก็ต้องรีบจัดการหุ้นของเรานะครับ อย่าปล่อยให้เน่าจนเกินเยียวยา โดยที่ ต้องมีการตั้งจุด Stop Loss ไว้ตามระดับความเสี่ยงที่เราจะรับได้ เพื่อที่จะไม่ต้อง Stop Profit Let’s Loss Run ครับ
เพื่อนๆ ที่ลงทุนจริงจังมากขึ้น ควรศึกษาทฤษฎีการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) นะครับ เพราะว่าทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการการเงิน และยังช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการลงทุนของเราอีกด้วย โดยสามารถกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของตัวเองได้อีกด้วย ถ้าใครมีพฤติกรรมการลงทุน และหลักคิดตัดสินใจอะไรในการลงทุนก็สามารถแบ่งปันเรื่องราวกันในคอมเม้นต์ได้นะครับ