จิตวิทยานักลงทุน

กระทู้สนทนา
เพราะการลงทุนมีมานาน ถึงแม้อะไรหลายๆอย่างจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่นิสัยของนักลงทุนก็ยังไม่เปลี่ยนไป นั่นทำให้มีการศึกษาและเผยแพร่สิ่งที่นักลงทุนมัก “คิด” และ “ทำ” เราลองมาศึกษาสิ่งที่เรียกว่า “จิตวิทยานักลงทุน” กันครับ จะได้รู้ทันความคิด ไม่ทำอะไรผิดๆ ให้พอร์ตเจ็บ >.<



1. Disposition Effect
ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียใจ และหาการกระทำที่ทำให้เกิดความภูมิใจ (Regret and Pride) เมื่อคุณมีหุ้น 2 ตัว ตัวหนึ่งขาดทุนอยู่ และอีกตัวกำไรอยู่ คุณจะขายตัวไหนและถือตัวไหนต่อไป นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายตัวที่ได้กำไรทิ้งเพื่อความภูมิใจ และ ถือตัวขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจ

2. Overconfidence
ความมั่นใจเกินไป ทำให้นักลงทุน Trade เกินขนาดของ Port และประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป

3. House – Money Effect
นักลงทุนจะเล่นหุ้นเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไรมาก่อนหน้านี้ เพราะเหมือนกับเอาเงินของคนอื่นมาเล่น

4. Snake – Bite Effect
โดนงูกัด เมื่อนักลงทุนขายขาดทุน ส่วนนึงจะเข็ดขยาดและเลิกเล่น และอีกส่วนนึงจะต้องเอาการเอาคืนจนทำให้เกิดจิตวิทยาข้อต่อไป

5. Trying to break Even Effect
การจะเอาคืน หลังจากนักลงทุนขาดทุนมาก จะต้องการเอาคืนโดยลงหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม

6. Endowment effect
การตั้ง ราคาที่คิดว่าจะขายสูงกว่าราคาตลาด ทั้งๆที่ราคาของหุ้นตัวนั้นมีแนวโน้มขาลงและลดลงเรื่อยๆ

7. Status quo bias
คำจำกัดความสั้นๆคือ Avoiding action and Avoiding change
เมื่อนักลงทุนถือหุ้นกลุ่มใดไว้ แม้ขาดทุน จะไม่ต้องการขายหุ้นทิ้ง หรือถือหุ้นนานๆเพื่อให้ได้กำไรตามเป้าโดยไม้คิดซื้อหุ้นกลุ่มอื่นๆเพิ่ม

8. Cognitive Dissonance
นักลงทุนเผชิญ ความคิดที่เป็นบวกและลบในเวลาเดียวกัน นักลงทุนจะ หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และเลือกที่จะพิจารณาข้อมูลที่เป็นบวก และละเลยข้อมูลที่เป็นลบ ความเชื่อของตนเองจะถูกปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปแล้ว

9. Sunk Cost Effect
ต้นทุนจม เมื่อนักลงทุนมีพอร์ตที่ขาดทุนมากๆ จะไม่ยอมขาย จะตรงกับจิตวิทยาเรื่องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในเรื่องของการขายขาดทุน คือ ถ้านักลงทุนเริ่มขาดทุน ความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อขาดทุนมากขึ้น และนานขึ้นความเจ็บปวดจะลดลง เปรียบกับกราฟพาราโบล่า ความชันของความเจ็บปวดจะเป็นอัตราเร่งเพิ่มขึ้นในช่วงแรก และลดลงในเวลาต่อมา นั่นเป็นสาเหตุให้ นักลงทุนจะถือส่วนที่ขาดทุนไปอย่างยาวนาน

10. Representativeness and Familiarity
ความเป็นตัวแทนและความคุ้นเคย นักลงทุนจะคิดว่าผลการดำเนินการ และผลตอบแทนที่ผ่านมาในอดีต จะต่อเนื่องไปในอนาคต

11. Social interaction
การรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เมื่อคนที่อยู่รอบกายเรามีความคิดที่แตกต่างกัน และในปัจจุบันยิ่งมี internet ทำให้การบริโภคข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เป็น + และ – และง่ายมากที่ทำให้เราได้รับอคติเชิงจิตวิทยาในต่างๆรูปแบบ ทั้งในเรื่องของความกลัวหมู่ กลัวขาดทุน Panic sell กลัวไม่ได้กำไร Panic buy หรือ การรับข้อมูล ข่าวสารทั้งจริงและเท็จโดยไม่รู้ที่มา

Credit : The Psychology of Investing Tavatchi

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่