บทความดีๆน่าสนใจครับ.....เครดิต รู้ทันหุ้นบ่ายครับ
“จิตวิทยาการลงทุน The Psychology of Investing”
1. Disposition Effect
- ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียใจ และหาการกระทำที่ทำให้เกิดความภูมิใจ (Regret and Pride)
เมื่อคุณมีหุ้น 2 ตัว ตัวหนึ่งขาดทุนอยู่ และอีกตัวกำไรอยู่ คุณจะขายตัวไหนและถือตัวไหนต่อไป
คำตอบ นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายตัวที่ได้กำไรทิ้งเพื่อความภูมิใจ และ ถือตัวขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจ
2. Overconfidence
- ความมั่นใจเกินไป ทำให้นักลงทุน Trade เกินขนาดของ port และประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป ทำให้มองข้ามว่าเราเองไม่ได้เป็นคนกำหนดทิศทางตลาด
3. House – Money Effect
- เงินของเจ้ามือ นักลงทุนจะเล่นหุ้นเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไรมาก่อนหน้านี้ เพราะเหมือนกับเอาเงินของคนอื่นมาเล่น จิตวิทยาข้อนี้ คนเอาเงินเจ้ามือมาต่อยอดเรื่อยๆ และเล่นด้วยความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะฟองสบู่แตกได้ในที่สุด
4. Snake – Bite Effect
- โดนงูกัด เมื่อนักลงทุนขายขาดทุน ส่วนนึงจะเข็ดขยาดและเลิกเล่น และอีกส่วนนึงจะต้องเอาการเอาคืนจนทำให้เกิดจิตวิทยาข้อต่อไป
5. Trying to break Even Effect
- การจะเอาคืน หลังจากนักลงทุนขาดทุนมาก จะต้องการเอาคืนโดยลงหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม
6. endowment effect
- การตั้งราคาที่คิดว่าจะขายสูงกว่าราคาตลาด ในขณะที่คุณเป็นเจ้าของอยู่ ประมาณว่าคุณจะประเมินทรัพย์สินที่คุณมีสูงกว่าราคาตลาด นี้ก็เป็นอีกข้อที่คนจะตั้งราคาสูงขึ้นเรื่อยจนเกิดภาวะฟองสบู่
7. Status quo bias
คำจำกัดความสั้นๆคือ avoiding action and avoiding change
- เมื่อนักลงทุนถือหุ้นกลุ่มใดไว้ จะไม่ต้องการขายหุ้นทิ้ง ไปซื้อกลุ่มอื่น
“สรุป หลักการนี้สอนให้คุณมีความคล่องตัวในการโยกย้ายสถานะและอย่าให้มีรากงอก ซึ่งจะเป็นตัวบ่อนทำลายการเก็งกำไรของคุณ อย่างเช่น ความจงรักภักดี หรือการรอคอยเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย หลักการข้อนี้สอนให้คุณพร้อมที่จะกระโดดจากหลักทรัพย์ที่อยู่กับที่ หรือคว้าโอกาสดีไว้โดยเร็ว แต่มิได้หมายความว่าให้คุณกระโดดไปมาจากหลักทรัพย์นึง ไปอีกหลักทรัพย์นึง ก่อนการกระโดดคุณควรจะชั่งใจให้ดีรอบคอบก่อน และถ้ามีเหตุผลที่ไม่สำคัญก็ไม่ควรเปลี่ยนมือ แต่ถ้าสถานะการลงทุนเดิมไม่ดี คุณก็ควรจะขจัดรากทั้งหมดทิ้งไป และกระโดดหนีโดยเร็ว จงอย่าให้มีรากงอกเกินไป”
8. Cognitive Dissonance
- นักลงทุนเผชิญ ความคิดที่เป็นบวกและลบในเวลาเดียวกัน นักลงทุนจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และเลือกที่จะพิจารณาข้อมูลที่เป็นบวก และละเลยข้อมูลที่เป็นลบ ความเชื่อของตนเองจะถูกปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปแล้วเมื่อนักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นแล้ว ความมั่นใจว่าหุ้นจะขึ้นจะมากขึ้นทันที เหมือนกับเมื่อเราซื้อหวย ก่อนซื้อเราคงไม่คิดว่ามันจะถูกมาก จนเมื่อเราซื้อเลขไปแล้วสักเลข ความมั่นใจว่าหวยจะออกตัวที่เราซื้อจะมีมากขึ้นในทันที
9. Sunk cost Effect
ต้นทุนจม เมื่อนักลงทุนมีพอร์ตที่ขาดทุนมากๆ จะไม่ยอมขาย จะตรงกับจิตวิทยาเรื่องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในเรื่องของการขายขาดทุน คือ ถ้านักลงทุนเริ่มขาดทุนความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อขาดทุนมากขึ้น และนานขึ้นความเจ็บปวดจะลดลง เปรียบกับกราฟพาราโบล่า ความชันของความเจ็บปวดจะเป็นอัตราเร่งเพิ่มขึ้นในช่วงแรก และลดลงในเวลาต่อมา นั่นเป็นสาเหตุให้ นักลงทุนจะถือส่วนที่ขาดทุนไปอย่างยาวนาน
10. Representativeness and familiarity
- ความเป็นตัวแทนและความคุ้นเคย นักลงทุนจะคิดว่าผลการดำเนินการ และผลตอบแทนที่ผ่านมาในอดีต จะต่อเนื่องไปในอนาคต
11. Social interaction
- การรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เมื่อคนที่อยู่รอบกายเรามีความคิดที่แตกต่างกัน และในปัจจุบันยิ่งมี internet ทำให้การบริโภคข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เป็น + และ – และง่ายมากที่ทำให้เราได้รับอคติเชิงจิตวิทยาในต่างๆรูปแบบ ทั้งในเรื่องของความกลัวหมู่ กลัวขาดทุน panic sell กลัวไม่ได้กำไร panic buy หรือ การรับข้อมูล ข่าวสารทั้งจริงและเท็จโดยไม่รู้ที่มา
ปล. จากหลายๆปี ที่ลงทุนมา ผมเรียนรู้มาตลอดทั้ง ดีใจ เสียใจ ขาดทุน หรือกำไร ทำให้ผมรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผมรู้สึกว่า ผมรู้ทางตลาด รู้ทางหุ้น ผมต้องคิดใหม่ทันที เพราะเมื่อใดที่ผมคิดว่าผมรู้ทัน นั่นคือผมกำลังจะเสียรู้ตลาด กำไรที่ได้มา ส่วนใหญ่เป็นกำไรที่เกิดจากความมั่นใจในพื้นฐานและอนาคตในหุ้นที่ลงทุน โดยมองข้ามความผันผวนของตลาดออกไป คนส่วนใหญ่ซื้อสูง ขายต่ำแทบทั้งสิ้น เพราะการทำแบบนั้นเราตอบสนองเชิงพื้นฐานด้านอารมณ์ โดยลืมไปว่า ตอนที่เราซื้อหุ้น เราประเมินที่ความเป็นไปได้ด้านพื้นฐานอย่างเดียว ไม่ได้ประเมินค่าความแปรปรวนของตลาดเพื่อกำหนดการซื้อขาย ตามที่เราอาจเคยได้ยินมาว่า ก่อนซื้อคิดอย่างไร ก่อนขายก็ต้องคิดแบบเดียวกัน จึงจะได้กำไรนะครับ......^^
อรุณสวัสดิ์ครับ ท่านนักลงทุน และนักลงทน ทุกๆท่าน
“จิตวิทยาการลงทุน The Psychology of Investing”
1. Disposition Effect
- ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียใจ และหาการกระทำที่ทำให้เกิดความภูมิใจ (Regret and Pride)
เมื่อคุณมีหุ้น 2 ตัว ตัวหนึ่งขาดทุนอยู่ และอีกตัวกำไรอยู่ คุณจะขายตัวไหนและถือตัวไหนต่อไป
คำตอบ นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายตัวที่ได้กำไรทิ้งเพื่อความภูมิใจ และ ถือตัวขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียใจ
2. Overconfidence
- ความมั่นใจเกินไป ทำให้นักลงทุน Trade เกินขนาดของ port และประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป ทำให้มองข้ามว่าเราเองไม่ได้เป็นคนกำหนดทิศทางตลาด
3. House – Money Effect
- เงินของเจ้ามือ นักลงทุนจะเล่นหุ้นเสี่ยงมากขึ้นหลังจากได้กำไรมาก่อนหน้านี้ เพราะเหมือนกับเอาเงินของคนอื่นมาเล่น จิตวิทยาข้อนี้ คนเอาเงินเจ้ามือมาต่อยอดเรื่อยๆ และเล่นด้วยความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะฟองสบู่แตกได้ในที่สุด
4. Snake – Bite Effect
- โดนงูกัด เมื่อนักลงทุนขายขาดทุน ส่วนนึงจะเข็ดขยาดและเลิกเล่น และอีกส่วนนึงจะต้องเอาการเอาคืนจนทำให้เกิดจิตวิทยาข้อต่อไป
5. Trying to break Even Effect
- การจะเอาคืน หลังจากนักลงทุนขาดทุนมาก จะต้องการเอาคืนโดยลงหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม
6. endowment effect
- การตั้งราคาที่คิดว่าจะขายสูงกว่าราคาตลาด ในขณะที่คุณเป็นเจ้าของอยู่ ประมาณว่าคุณจะประเมินทรัพย์สินที่คุณมีสูงกว่าราคาตลาด นี้ก็เป็นอีกข้อที่คนจะตั้งราคาสูงขึ้นเรื่อยจนเกิดภาวะฟองสบู่
7. Status quo bias
คำจำกัดความสั้นๆคือ avoiding action and avoiding change
- เมื่อนักลงทุนถือหุ้นกลุ่มใดไว้ จะไม่ต้องการขายหุ้นทิ้ง ไปซื้อกลุ่มอื่น
“สรุป หลักการนี้สอนให้คุณมีความคล่องตัวในการโยกย้ายสถานะและอย่าให้มีรากงอก ซึ่งจะเป็นตัวบ่อนทำลายการเก็งกำไรของคุณ อย่างเช่น ความจงรักภักดี หรือการรอคอยเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย หลักการข้อนี้สอนให้คุณพร้อมที่จะกระโดดจากหลักทรัพย์ที่อยู่กับที่ หรือคว้าโอกาสดีไว้โดยเร็ว แต่มิได้หมายความว่าให้คุณกระโดดไปมาจากหลักทรัพย์นึง ไปอีกหลักทรัพย์นึง ก่อนการกระโดดคุณควรจะชั่งใจให้ดีรอบคอบก่อน และถ้ามีเหตุผลที่ไม่สำคัญก็ไม่ควรเปลี่ยนมือ แต่ถ้าสถานะการลงทุนเดิมไม่ดี คุณก็ควรจะขจัดรากทั้งหมดทิ้งไป และกระโดดหนีโดยเร็ว จงอย่าให้มีรากงอกเกินไป”
8. Cognitive Dissonance
- นักลงทุนเผชิญ ความคิดที่เป็นบวกและลบในเวลาเดียวกัน นักลงทุนจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และเลือกที่จะพิจารณาข้อมูลที่เป็นบวก และละเลยข้อมูลที่เป็นลบ ความเชื่อของตนเองจะถูกปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปแล้วเมื่อนักลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นแล้ว ความมั่นใจว่าหุ้นจะขึ้นจะมากขึ้นทันที เหมือนกับเมื่อเราซื้อหวย ก่อนซื้อเราคงไม่คิดว่ามันจะถูกมาก จนเมื่อเราซื้อเลขไปแล้วสักเลข ความมั่นใจว่าหวยจะออกตัวที่เราซื้อจะมีมากขึ้นในทันที
9. Sunk cost Effect
ต้นทุนจม เมื่อนักลงทุนมีพอร์ตที่ขาดทุนมากๆ จะไม่ยอมขาย จะตรงกับจิตวิทยาเรื่องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในเรื่องของการขายขาดทุน คือ ถ้านักลงทุนเริ่มขาดทุนความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อขาดทุนมากขึ้น และนานขึ้นความเจ็บปวดจะลดลง เปรียบกับกราฟพาราโบล่า ความชันของความเจ็บปวดจะเป็นอัตราเร่งเพิ่มขึ้นในช่วงแรก และลดลงในเวลาต่อมา นั่นเป็นสาเหตุให้ นักลงทุนจะถือส่วนที่ขาดทุนไปอย่างยาวนาน
10. Representativeness and familiarity
- ความเป็นตัวแทนและความคุ้นเคย นักลงทุนจะคิดว่าผลการดำเนินการ และผลตอบแทนที่ผ่านมาในอดีต จะต่อเนื่องไปในอนาคต
11. Social interaction
- การรับรู้ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เมื่อคนที่อยู่รอบกายเรามีความคิดที่แตกต่างกัน และในปัจจุบันยิ่งมี internet ทำให้การบริโภคข้อมูลเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูลที่เป็น + และ – และง่ายมากที่ทำให้เราได้รับอคติเชิงจิตวิทยาในต่างๆรูปแบบ ทั้งในเรื่องของความกลัวหมู่ กลัวขาดทุน panic sell กลัวไม่ได้กำไร panic buy หรือ การรับข้อมูล ข่าวสารทั้งจริงและเท็จโดยไม่รู้ที่มา
ปล. จากหลายๆปี ที่ลงทุนมา ผมเรียนรู้มาตลอดทั้ง ดีใจ เสียใจ ขาดทุน หรือกำไร ทำให้ผมรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผมรู้สึกว่า ผมรู้ทางตลาด รู้ทางหุ้น ผมต้องคิดใหม่ทันที เพราะเมื่อใดที่ผมคิดว่าผมรู้ทัน นั่นคือผมกำลังจะเสียรู้ตลาด กำไรที่ได้มา ส่วนใหญ่เป็นกำไรที่เกิดจากความมั่นใจในพื้นฐานและอนาคตในหุ้นที่ลงทุน โดยมองข้ามความผันผวนของตลาดออกไป คนส่วนใหญ่ซื้อสูง ขายต่ำแทบทั้งสิ้น เพราะการทำแบบนั้นเราตอบสนองเชิงพื้นฐานด้านอารมณ์ โดยลืมไปว่า ตอนที่เราซื้อหุ้น เราประเมินที่ความเป็นไปได้ด้านพื้นฐานอย่างเดียว ไม่ได้ประเมินค่าความแปรปรวนของตลาดเพื่อกำหนดการซื้อขาย ตามที่เราอาจเคยได้ยินมาว่า ก่อนซื้อคิดอย่างไร ก่อนขายก็ต้องคิดแบบเดียวกัน จึงจะได้กำไรนะครับ......^^