"แมลงเม่า" เป็นคำที่มักใช้เปรียบเทียบนักลงทุนที่ล้มเหลวในการลงทุน เนื่องจากแมลงเม่ามักจะชอบบินเข้าหากองไฟโดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นเป็นอันตราย และมักจะจบลงด้วยการเสียชีวิต แมลงเม่าในวงการลงทุนก็เช่นเดียวกัน ที่มักจะมีพฤติกรรมการลงทุนที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่ได้ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน จนสุดท้ายก็ประสบกับผลขาดทุนอย่างมหาศาล ดังนั้นบทความนี้จึงขอนำเสนอพฤติกรรมของเหล่าแมลงเม่าและปัจจัยที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดพฤติกรรมต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทัน และจะได้ไม่กลายเป็นแมลงเม่าตัวถัดไป
จากการศึกษาในศาสตร์เกี่ยวกับ Behavioral Finance พบว่าสาเหตุที่เป็นแรงผลักดันให้เหล่าแมลงเม่ามีพฤติกรรมการลงทุนที่ไร้เหตุผลนั้นเกิดจากอคติในทางจิตวิทยาซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.Overconfidence คือ ความเชื่อมั่นที่สูงเกินไป ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความเชื่อมั่นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรวดเร็วกว่านักลงทุนคนอื่นๆ และความเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจลงทุนจากข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องและแม่นยำ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอคติข้อนี้มักจะมีแนวโน้มที่จะประเมินความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำเกินไป พอร์ตการลงทุนกระจุกตัว ไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม และมักจะมีการซื้อขายบ่อยครั้งเนื่องจากเชื่อว่าตนเองสามารถคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
2. Representativeness คือการตีความอย่างง่ายๆ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือข้อมูลในอดีต การมีอคติในข้อนี้จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนจากข้อมูลในอดีตเป็นหลัก และไม่ได้วิเคราะห์การลงทุนอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในหุ้นที่มีผลการดำเนินงานที่ดีในอดีต หรือลงทุนในหุ้นตามอย่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จคนอื่นๆ โดยไม่ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มในอนาคตหรือระดับราคาที่เหมาะสมของหุ้นเหล่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้การลงทุนเกิดความผิดพลาดกลายเป็นไปลงทุนในกิจการที่กำลังเข้าสู่ช่วงขาลง หรือซื้อหุ้นในราคาที่สูงเกินไป และมักจะนำมาซึ่งสถานการณ์ที่เหล่าแมลงเม่าเรียกกันว่าติดดอยนั่นเอง
3. Reducing Regret คือ ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความเสียใจ หรือหลีกเลี่ยงที่จะยอมรับว่าการตัดสินใจของตนนั้นผิดพลาด ในกรณีของแมลงเม่านั้นอคติข้อนี้มักจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากสถานการณ์ติดดอย กล่าวคือ เหล่าแมลงเม่านั้นมักจะไม่ยอมขายหุ้นที่ตนเองขาดทุนออกไป (เนื่องจากความเจ็บปวดที่จะรับรู้ถึงผลขาดทุนที่เกิดขึ้น) แต่จะถือหุ้นนั้นไว้เรื่อยๆ โดยหวังว่าราคาจะกลับมาที่ระดับเดิมได้ ทั้งนี้หากราคาที่ต่ำลงของหุ้นตัวนั้นเกิดจากพื้นฐานของกิจการที่แย่ลง การกระทำดังกล่าวจะทำให้ผลขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานมากที่ราคาหุ้นจะกลับขึ้นมาสู่ระดับเดิม
4. Seeking of Pride อคติข้อนี้เป็นอคติที่ตรงข้ามกับอคติในข้อ 3 กล่าวคือ มนุษย์นั้นมักจะแสวงหาความภาคภูมิใจให้กับตนเองอยู่เสมอ ในกรณีของการลงทุนนั้น เหล่าแมลงเม่ามักจะแสวงหาความภาคภูมิใจว่าตนเองนั้นตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้องโดยการรีบขายหุ้นเพื่อรับรู้กำไร และไม่ได้พิจารณาถึงแนวโน้มของกิจการว่ากำลังไปได้ดีหรือไม่ จนมีหลายๆครั้งที่หุ้นซึ่งได้ตัดสินใจขายเพื่อรับรู้กำไรไปแล้วกลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้สูญเสียโอกาสในการทำกำไรที่สูงกว่าไปอย่างน่าเสียดาย สถานการณ์นี้ก็เป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่เหล่าแมลงเม่ามักจะประสบอยู่เสมอๆ ซึ่งก็คือสถานการณ์ที่เรียกกันว่าขายหมูนั่นเอง
5. Cognitive Dissonance คือ อคติที่เลือกรับรู้และใส่ใจเฉพาะข้อมูลที่เป็นบวกหรือสอดคล้องกับความคิดของตนเอง และละเลยข้อมูลที่เป็นลบหรือไม่สอดคล้องกับความคิดของตนเอง อคติข้อนี้จะทำให้นักลงทุนขาดการติดตามและประเมินผลการลงทุนอย่างรอบด้าน ทำให้ไม่สามารถปรับสถานะการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยสรุป พฤติกรรมการลงทุนที่ไม่สมเหตุสมผลของเหล่าแมลงเม่านั้นสามารถอธิบายได้ด้วยแรงผลักดันทางจิตวิทยาข้างต้น การรู้เท่าทันและตัดสินใจลงทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน รวมทั้งการมีระเบียบวินัยในการลงทุนจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงจากวงจรของแมลงเม่าได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งมักจะดึงดูดให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนโดยใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
พฤติกรรมนักลงทุน : แมลงเม่า
จากการศึกษาในศาสตร์เกี่ยวกับ Behavioral Finance พบว่าสาเหตุที่เป็นแรงผลักดันให้เหล่าแมลงเม่ามีพฤติกรรมการลงทุนที่ไร้เหตุผลนั้นเกิดจากอคติในทางจิตวิทยาซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1.Overconfidence คือ ความเชื่อมั่นที่สูงเกินไป ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความเชื่อมั่นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรวดเร็วกว่านักลงทุนคนอื่นๆ และความเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจลงทุนจากข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องและแม่นยำ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอคติข้อนี้มักจะมีแนวโน้มที่จะประเมินความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำเกินไป พอร์ตการลงทุนกระจุกตัว ไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม และมักจะมีการซื้อขายบ่อยครั้งเนื่องจากเชื่อว่าตนเองสามารถคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
2. Representativeness คือการตีความอย่างง่ายๆ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือข้อมูลในอดีต การมีอคติในข้อนี้จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนจากข้อมูลในอดีตเป็นหลัก และไม่ได้วิเคราะห์การลงทุนอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในหุ้นที่มีผลการดำเนินงานที่ดีในอดีต หรือลงทุนในหุ้นตามอย่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จคนอื่นๆ โดยไม่ได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มในอนาคตหรือระดับราคาที่เหมาะสมของหุ้นเหล่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้การลงทุนเกิดความผิดพลาดกลายเป็นไปลงทุนในกิจการที่กำลังเข้าสู่ช่วงขาลง หรือซื้อหุ้นในราคาที่สูงเกินไป และมักจะนำมาซึ่งสถานการณ์ที่เหล่าแมลงเม่าเรียกกันว่าติดดอยนั่นเอง
3. Reducing Regret คือ ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความเสียใจ หรือหลีกเลี่ยงที่จะยอมรับว่าการตัดสินใจของตนนั้นผิดพลาด ในกรณีของแมลงเม่านั้นอคติข้อนี้มักจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากสถานการณ์ติดดอย กล่าวคือ เหล่าแมลงเม่านั้นมักจะไม่ยอมขายหุ้นที่ตนเองขาดทุนออกไป (เนื่องจากความเจ็บปวดที่จะรับรู้ถึงผลขาดทุนที่เกิดขึ้น) แต่จะถือหุ้นนั้นไว้เรื่อยๆ โดยหวังว่าราคาจะกลับมาที่ระดับเดิมได้ ทั้งนี้หากราคาที่ต่ำลงของหุ้นตัวนั้นเกิดจากพื้นฐานของกิจการที่แย่ลง การกระทำดังกล่าวจะทำให้ผลขาดทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานมากที่ราคาหุ้นจะกลับขึ้นมาสู่ระดับเดิม
4. Seeking of Pride อคติข้อนี้เป็นอคติที่ตรงข้ามกับอคติในข้อ 3 กล่าวคือ มนุษย์นั้นมักจะแสวงหาความภาคภูมิใจให้กับตนเองอยู่เสมอ ในกรณีของการลงทุนนั้น เหล่าแมลงเม่ามักจะแสวงหาความภาคภูมิใจว่าตนเองนั้นตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้องโดยการรีบขายหุ้นเพื่อรับรู้กำไร และไม่ได้พิจารณาถึงแนวโน้มของกิจการว่ากำลังไปได้ดีหรือไม่ จนมีหลายๆครั้งที่หุ้นซึ่งได้ตัดสินใจขายเพื่อรับรู้กำไรไปแล้วกลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้สูญเสียโอกาสในการทำกำไรที่สูงกว่าไปอย่างน่าเสียดาย สถานการณ์นี้ก็เป็นอีกสถานการณ์หนึ่งที่เหล่าแมลงเม่ามักจะประสบอยู่เสมอๆ ซึ่งก็คือสถานการณ์ที่เรียกกันว่าขายหมูนั่นเอง
5. Cognitive Dissonance คือ อคติที่เลือกรับรู้และใส่ใจเฉพาะข้อมูลที่เป็นบวกหรือสอดคล้องกับความคิดของตนเอง และละเลยข้อมูลที่เป็นลบหรือไม่สอดคล้องกับความคิดของตนเอง อคติข้อนี้จะทำให้นักลงทุนขาดการติดตามและประเมินผลการลงทุนอย่างรอบด้าน ทำให้ไม่สามารถปรับสถานะการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยสรุป พฤติกรรมการลงทุนที่ไม่สมเหตุสมผลของเหล่าแมลงเม่านั้นสามารถอธิบายได้ด้วยแรงผลักดันทางจิตวิทยาข้างต้น การรู้เท่าทันและตัดสินใจลงทุนโดยอาศัยการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน รวมทั้งการมีระเบียบวินัยในการลงทุนจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงจากวงจรของแมลงเม่าได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งมักจะดึงดูดให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนโดยใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล