การรักตัวเอง หรือการเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-esteem) เป็นประเด็นที่วงการจิตวิทยาให้ความสำคัญค่อนข้างมาก และมีงานวิจัยจำนวนมหาศาล เพราะสิ่งนี้เป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนทุกคน อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายหลายประเด็นที่ถกกันไม่รู้จบ และมีอีกหลายเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่
1. คุณอาจรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองขึ้นๆ ลงๆ ต่างกัน ในแต่ละบทบาท
เช่น คุณอาจรู้สึกมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่ออยู่ในที่ทำงาน แต่อาจรู้สึกไร้ค่าในเรื่องความสัมพันธ์ ดังนั้น การมองเห็นคุณค่าในตัวเองหรือ self-esteem ไม่ได้มีระดับที่แน่นอนและแน่นิ่งเสมอไป
2. การมองเห็นค่าในตัวเองต่ำจะเริ่มมีปัญหา หากบทบาทนั้นสำคัญกับชีวิตของคุณ
เช่น คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอในเรื่องทำอาหาร เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาหากบทบาทการทำอาหารไม่ได้สำคัญกับชีวิตของคุณ แต่เมื่อไหร่ที่คุณมีอาชีพเชฟหรือแม่ครัวพ่อครัว เรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหาชีวิตสำหรับคุณทันที
3. ระดับ self-esteem ของคนเราขึ้นๆ ลงๆ ทั้งวัน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ เช่น หากวันนี้คุณรู้สึกว่าทรงผมแย่ หรือแต่งตัวไม่ดี ก็จะทำให้วันนั้นทั้งวัน ระดับ self-esteem ของคุณจะลดต่ำลง ทั้งนี้ระดับที่ว่านั้นเกิดจากความรู้สึกที่คุณมีต่อตัวเองและ Feedback ที่คุณได้รับจากปฏิกิริยาจากคนอื่น
4. ระดับ self-esteem ที่สูงมากๆ ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป
คนที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก แต่หวั่นไหวกับคำวิจารณ์หรือ feedback จากคนอื่นได้ง่ายนั้น ไม่ดีแน่ๆ ต่างจากคนที่มีระดับ self-esteem ที่เหมาะสมและมั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ย่อมจะได้เปรียบกว่า
5. ระดับ Self-esteem ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตา
แปลว่าคนหน้าตาดีรูปร่างดีไม่ได้เห็นคุณค่าของตัวเองเสมอไป เพราะมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าคนที่มี self-esteem ต่ำ ถูกประเมินว่าหน้าตาดีพอๆ กับคนที่มีระดับ self-esteem สูง สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะคนที่รู้สึกดีกับตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่านั้น จะดูแลตัวเองและแต่งตัวให้ดูดี และแสดงออกด้วยความมั่นใจ (ไม่เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา) ซึ่งจะทำให้เป็นที่ประทับใจและชื่นชมแก่ผู้ที่พบเห็นมากกว่าคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ไม่ดูแลตัวเอง และแสดงออกด้วยความไม่มั่นใจ (แม้จะหน้าตาดีก็ตาม)
6. คนที่มี self-esteem ต่ำจะไม่รับคำชม
จริงๆ แล้วการได้รับฟีดแบ็คในทางที่ดีและคำชมจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพัฒนา self-esteem ของคนเรา แต่โชคร้ายจริงๆ ที่คนที่มี self-esteem ต่ำ จะมองว่าตัวเองไม่มีค่าพอคู่ควรกับคำชมเชยเหล่านั้น เมื่อมีใครชม ในใจพวกเขาจะต่อต้านและรู้สึกว่าเป็นคำลวง หรืออาจทำให้เครียดเพิ่มขึ้นเพราะรู้สึกว่าถูกคาดหวังสูงเกินจริง
7. Self-talk ชมตัวเองจะยิ่งทำให้คน self-esteem ต่ำรู้สึกแย่ลงไปอีก
คนเหล่านี้จะมองตัวเองว่าไม่มีดี ดังนั้นเมื่อพยายามพูดชมตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ชมนั้นห่างไกลจากทัศนคติและความเชื่อที่พวกเขามีต่อตัวเอง พวกเขาจึงต่อต้านมันโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม คนที่ใช้ self-talk แล้วได้ผลคือคนที่มี self-esteem ที่สูงอยู่แล้วต่างหาก
8. โปรแกรมพัฒนาความมั่นใจส่วนใหญ่มักไม่เวิร์ค
มีการสำรวจแล้วพบว่า คอร์สพัฒนาความมั่นใจที่มักพาคนกลับไปดูอดีตของตัวเองแล้วทำให้รู้สึกว่าประสบการณ์ในอดีตของตัวเองเลวร้ายกว่าความเป็นจริง พอเมื่อกลับมาที่ปัจจุบัน เมื่อถูกสอนทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นกับตัวเอง พวกเขาจึงเชื่อว่าตัวเองมั่นใจและรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น ทั้งๆ ที่จริงระดับ self-esteem ของพวกเขายังคงเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงใดๆ
9. self-esteem คือระบบภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ
ในยามที่ self-esteem ของคุณเพิ่มสูงขึ้น คุณจะต้านทานความเครียดและความวิตกกังวลได้มากขึ้นด้วย รวมทั้งจะรู้สึกเจ็บปวดกับการถูกปฏิเสธและความล้มเหลวได้น้อยกว่ามาก และคุณจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า ซึ่ง self-esteem ในที่นี้จะทำงานเหมือนภูมิคุ้มกันในร่างกายของคน แต่ในที่นี้คือภูมิต้านทานทางใจ นั่นแสดงว่าเพื่อให้ตัวเองสตรอง คุณจำเป็นต้องพัฒนา self-esteem ให้กล้าแกร่ง
10. สิ่งที่ทำลาย self-esteem ของคุณคือการเอาแต่โทษตัวเอง
โชคร้ายเหลือเกินที่คนเรามักจะตอบสนองต่อการถูกปฏิเสธและความล้มเหลวโดยการดุด่าและตำหนิตัวเอง ถึงเวลานั้นภาพจำเก่าๆ เกี่ยวกับความล้มเหลวในอดีตก็จะถาโถมเข้ามาซ้ำเติม เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกย่ำแย่ดำดิ่งลึกลงไปอีก แต่แทนที่จะรีบหาทางพาตัวเองให้ขึ้นจากหลุมดำนั้น แต่บางคนเลือกที่จะยอมรับและตราหน้าตัวเองว่า ก็สมควรแล้ว ฉันคู่ควรกับสิ่งเหล่านี้ ฉันไม่ควรทะเยอทะยาน ฉันมันไม่ได้เรื่อง และฉันเกลียดตัวเอง! ทางแก้ง่ายๆ ที่คุณเริ่มได้เลย คือ เลิกดุด่าว่ากล่าวตัวเอง คุณก็คือคนคนหนึ่งที่ทำผิดพลาดได้ และสมควรจะได้รับการให้อภัยและปลอบโยนจากตัวคุณเองเช่นกัน
ที่มา จากบทความเรื่อง 10 Things You Didn't Know About Self-Esteem จาก ดร. Guy Winch
10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรักตัวเอง โดย คุณพิชาวีร์ เมฆขยาย
1. คุณอาจรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองขึ้นๆ ลงๆ ต่างกัน ในแต่ละบทบาท
เช่น คุณอาจรู้สึกมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่ออยู่ในที่ทำงาน แต่อาจรู้สึกไร้ค่าในเรื่องความสัมพันธ์ ดังนั้น การมองเห็นคุณค่าในตัวเองหรือ self-esteem ไม่ได้มีระดับที่แน่นอนและแน่นิ่งเสมอไป
2. การมองเห็นค่าในตัวเองต่ำจะเริ่มมีปัญหา หากบทบาทนั้นสำคัญกับชีวิตของคุณ
เช่น คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอในเรื่องทำอาหาร เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาหากบทบาทการทำอาหารไม่ได้สำคัญกับชีวิตของคุณ แต่เมื่อไหร่ที่คุณมีอาชีพเชฟหรือแม่ครัวพ่อครัว เรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหาชีวิตสำหรับคุณทันที
3. ระดับ self-esteem ของคนเราขึ้นๆ ลงๆ ทั้งวัน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ เช่น หากวันนี้คุณรู้สึกว่าทรงผมแย่ หรือแต่งตัวไม่ดี ก็จะทำให้วันนั้นทั้งวัน ระดับ self-esteem ของคุณจะลดต่ำลง ทั้งนี้ระดับที่ว่านั้นเกิดจากความรู้สึกที่คุณมีต่อตัวเองและ Feedback ที่คุณได้รับจากปฏิกิริยาจากคนอื่น
4. ระดับ self-esteem ที่สูงมากๆ ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป
คนที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก แต่หวั่นไหวกับคำวิจารณ์หรือ feedback จากคนอื่นได้ง่ายนั้น ไม่ดีแน่ๆ ต่างจากคนที่มีระดับ self-esteem ที่เหมาะสมและมั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ย่อมจะได้เปรียบกว่า
5. ระดับ Self-esteem ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตา
แปลว่าคนหน้าตาดีรูปร่างดีไม่ได้เห็นคุณค่าของตัวเองเสมอไป เพราะมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าคนที่มี self-esteem ต่ำ ถูกประเมินว่าหน้าตาดีพอๆ กับคนที่มีระดับ self-esteem สูง สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะคนที่รู้สึกดีกับตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่านั้น จะดูแลตัวเองและแต่งตัวให้ดูดี และแสดงออกด้วยความมั่นใจ (ไม่เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา) ซึ่งจะทำให้เป็นที่ประทับใจและชื่นชมแก่ผู้ที่พบเห็นมากกว่าคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ไม่ดูแลตัวเอง และแสดงออกด้วยความไม่มั่นใจ (แม้จะหน้าตาดีก็ตาม)
6. คนที่มี self-esteem ต่ำจะไม่รับคำชม
จริงๆ แล้วการได้รับฟีดแบ็คในทางที่ดีและคำชมจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพัฒนา self-esteem ของคนเรา แต่โชคร้ายจริงๆ ที่คนที่มี self-esteem ต่ำ จะมองว่าตัวเองไม่มีค่าพอคู่ควรกับคำชมเชยเหล่านั้น เมื่อมีใครชม ในใจพวกเขาจะต่อต้านและรู้สึกว่าเป็นคำลวง หรืออาจทำให้เครียดเพิ่มขึ้นเพราะรู้สึกว่าถูกคาดหวังสูงเกินจริง
7. Self-talk ชมตัวเองจะยิ่งทำให้คน self-esteem ต่ำรู้สึกแย่ลงไปอีก
คนเหล่านี้จะมองตัวเองว่าไม่มีดี ดังนั้นเมื่อพยายามพูดชมตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ชมนั้นห่างไกลจากทัศนคติและความเชื่อที่พวกเขามีต่อตัวเอง พวกเขาจึงต่อต้านมันโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม คนที่ใช้ self-talk แล้วได้ผลคือคนที่มี self-esteem ที่สูงอยู่แล้วต่างหาก
8. โปรแกรมพัฒนาความมั่นใจส่วนใหญ่มักไม่เวิร์ค
มีการสำรวจแล้วพบว่า คอร์สพัฒนาความมั่นใจที่มักพาคนกลับไปดูอดีตของตัวเองแล้วทำให้รู้สึกว่าประสบการณ์ในอดีตของตัวเองเลวร้ายกว่าความเป็นจริง พอเมื่อกลับมาที่ปัจจุบัน เมื่อถูกสอนทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นกับตัวเอง พวกเขาจึงเชื่อว่าตัวเองมั่นใจและรู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น ทั้งๆ ที่จริงระดับ self-esteem ของพวกเขายังคงเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงใดๆ
9. self-esteem คือระบบภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ
ในยามที่ self-esteem ของคุณเพิ่มสูงขึ้น คุณจะต้านทานความเครียดและความวิตกกังวลได้มากขึ้นด้วย รวมทั้งจะรู้สึกเจ็บปวดกับการถูกปฏิเสธและความล้มเหลวได้น้อยกว่ามาก และคุณจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า ซึ่ง self-esteem ในที่นี้จะทำงานเหมือนภูมิคุ้มกันในร่างกายของคน แต่ในที่นี้คือภูมิต้านทานทางใจ นั่นแสดงว่าเพื่อให้ตัวเองสตรอง คุณจำเป็นต้องพัฒนา self-esteem ให้กล้าแกร่ง
10. สิ่งที่ทำลาย self-esteem ของคุณคือการเอาแต่โทษตัวเอง
โชคร้ายเหลือเกินที่คนเรามักจะตอบสนองต่อการถูกปฏิเสธและความล้มเหลวโดยการดุด่าและตำหนิตัวเอง ถึงเวลานั้นภาพจำเก่าๆ เกี่ยวกับความล้มเหลวในอดีตก็จะถาโถมเข้ามาซ้ำเติม เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกย่ำแย่ดำดิ่งลึกลงไปอีก แต่แทนที่จะรีบหาทางพาตัวเองให้ขึ้นจากหลุมดำนั้น แต่บางคนเลือกที่จะยอมรับและตราหน้าตัวเองว่า ก็สมควรแล้ว ฉันคู่ควรกับสิ่งเหล่านี้ ฉันไม่ควรทะเยอทะยาน ฉันมันไม่ได้เรื่อง และฉันเกลียดตัวเอง! ทางแก้ง่ายๆ ที่คุณเริ่มได้เลย คือ เลิกดุด่าว่ากล่าวตัวเอง คุณก็คือคนคนหนึ่งที่ทำผิดพลาดได้ และสมควรจะได้รับการให้อภัยและปลอบโยนจากตัวคุณเองเช่นกัน
ที่มา จากบทความเรื่อง 10 Things You Didn't Know About Self-Esteem จาก ดร. Guy Winch