ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ( คนไทยเข้าใจผิดเป็นอันมาก )

พระมักพูดกันว่า คนเรานี้ชอบยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง
แล้วคนเมืองวัยทำงาน ก็บอกว่า ต้องยึดสิ ต้องทำงาน หากิน เดี๋ยวอดตาย
   แท้ที่จริงแล้ว ยึดมั่นถือมั่น มันละเอียดละอ่อนมาก ก็คือ จิตนั้นเองที่เข้าไปยึดถือสิ่งต่างๆ ว่านั้นของเรา นี้ตัวเรา แล้วไปมั่นหมายสิ่งต่างๆ
พอเข้าไปยึดถือ เป็นทุกข์ นั้นเอง
   แล้วคนธรรมดาๆภูมิจิตภูมิธรรมไม่ถึงก็ยิ่งกันไปใหญ่ไป เชื่อพระ ปล่อยวางทำจิตสงบ ทำจิตว่าง หรือไม่ยึดอะไร เข้าใจผิดกันไปแถว

ยึดมั่นถือมั่นพระเขาเห็น ไม่ใช่ไปทำยึดมั่นถือมั่น
เพราะเห็น ทุกข์ เห็นโทษนั้นเองจึงปล่อยวาง
ผมก็เห็น ยึดมั่นถือมั่น เลยมาบอก
มันจะไปสอดคล้อง ไตรลักษณ์
จิตเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จะสั่งให้ไม่ปล่อยวางก็ไม่ได้ แต่ต้องรู้ที่เหตุ จนรู้ว่า
ความเข้าไปยึดถือนั้นแล
เป็นทุกข์

ยึดมั่นถือมั่นไม่ใช่แปลผิดๆนะ เราต้องทำงาน ต้องเลี้ยงลูก ต้องหาดูแลครอบครัว จะไม่ยึดถือได้ไง อย่าไปเข้าใจผิดนะ
ธรรมสัมมาสัมพุทธเจ้า ละเอียดอ่อนมาก
ต้องปฏิบัติเรียนรู้กายรู้ใจจนไปเห็น ยึดมั่นถือมั่น ต่างหาก
ไม่ใช่ไปทำ ยึดมั่นถือมั่น

คนไทยชอบพูดว่า ปล่อยวาง  มันก็แค่คำพูด เหมือนหินทับหญ้างอกมาใหม่
แต่ไม่รู้เหตุของทุกข์นั้นเอง  

  พระพูดถูก พระเห็น   
แต่เราไปสำคัญมั่นหมายแบบผิดๆ ก็เลยผิดๆกันทุกวันนี้
ไปมั่นหมายว่า  จิตต้องสงบ  
ไปมั่นหมายว่า  ต้องมีความสุข
ไปมั่นหมายว่า  ทุกอย่างเป็นดั่งใจเรา ล้วนแล้วเป็นไปตามความอยากทั้งสิ้น

ก็เลย จมอยู่กองทุกข์ มายาจิตใจตัวเองซับซ้อน ยากเกินที่จะไปสิ่งดีๆหรือเข้าสู่ภูมิจิตภูมิธรรม
  ธรรมชาติของจิตใจเรา ชอบของร้อนๆ  ความสุขทางโลกมันร้อน  ร้อนจริงๆ เมืองไทยกะร้อน ยิ่งร้อนไปใหญ่
ชอบสงครามอยู่เป็นประจำ
พร้อมรบ พร้อมก่อสงครามอยู่ตลอดเวลา ร่ำไป เพียงแต่เคยชิน ไม่รู้สึกตัวเท่านั้นเอง
เลยเป็นวัฏฏะ หมุนอยู่อย่างนั้น

ใครได้อ่านแล้วเกิดเข้าใจ นั้นแล  ปาฏิหาริย์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่