นามรูปปริจเฉทญาณ ที่ ๑
มีปัญญารู้จักรูป รู้จักนาม แยกรูป แยกนามได้ดี ได้แก่วิสุทธิข้อที่ ๓ ทิฏฐิวิสุทธิ มีความรู้เห็นอันบริสุทธิ์ หรือความเห็นนามรูปตามความเป็นจริง
แบ่งออกเป็น
๑. โดยการอาศัยบัญญัติ คือ ยังมีการตรึก นึก คิด พิจรณา
๒. โดยการรู้ในสภาวะตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่
กล่าวในแง่ของปริยัติ
การที่โยคาวจรบุคคลตั้งใจกำหนดรู้,นาม เป็นอารมณ์ จนสามารถแยกรูปแยกนามจนเห็นได้ชัดว่า มีแต่รูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้น นอกจากรูป,นามแล้วไม่มีอะไร ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ตั้งใจกำหนดได้ด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกำหนด ไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถรู้เห็นได้เลย
เพราะรูปนามนี้ ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณืย่อมปรากฏได้ และเมื่อปรากฏนั้น เมื่อรูปปรากฏดีแล้ว นามจึงปรากฏตามดังนี้
ดังที่ท่านพุทธโฆษาจารย์ แสดงไว้ในวิสุทธิมัคคอรรถกถาว่า
ยถา ยถา หิสฺส รูปํ สุวิกฺขาสิตํ โหติ นิชฺชฏํ สุปริสุทฺธํ ตถา ตถา ตทารมฺมณา อรูปธมฺมา สยเมว ปากฏา โหนฺติ
เมื่อรูปสะอาดสดใสบริสุทธิ์ดีแล้ว นามที่มีรูปเป็นอารณ์ก็ปรากฏขึ้นเอง ดังนี้
เมื่อสามารถเห็นนามรูปตามความเป็นจริงของสภาวะที่มีอยู่จริงได้ ผลที่ได้รับคือ ย่อมมีเราหรือตัวของเรา( การให้ค่า ) น้อยลงในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น
การเห็นรูป,นามตามความเป็นจริงนี้ ต้องเห็นโดยการภาวนาของตนจริงๆ ไม่ใช่รู้จากการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่มีอธิบายไว้ แล้วใช้ปัญญาคิดไปตามที่กล่าวไว้ในตำรา
เสร็จแล้วก็คิดนึกไปในใจว่า รูปเป็นอย่างนี้เอง นามเป็นอย่างนี้เอง ตนเห็นทีจะได้บรรลุนาม-รูปปริเฉทญาณแล้ว เช่นนี้ เป็นการนึกคิดเอาเอง
การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการนึกเอาเดาเอาเองอย่างนี้เป็นเพียงสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาได้สดับรับฟังมา
และจินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นภาวนามยปัญญา
ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นปัญญาที่ละเอียด เพราะเป็นปัญญที่สามารถตัดกิเลสตัณหาได้ตามที่มุ่งหมาย
กล่าวในแง่ของการปฏิบัติ
คือ มีสติ สัมปชัญญะ กำหนดรู้รูปและนาม โดยอาศัยการใช้การกำหนดรู้ หรือ การใช้คำบริกรรมภาวนา แล้วรู้อยู่ในกาย เช่น รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ท้องพองยุบ ฯลฯ
กล่าวในแง่ของสภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
แยกรูป แยกนาม ออกจากกันได้
รูป คือ สิ่งที่ถูกรู้
จิต คือ รู้อารมณ์
รู้ว่าพองกับยุบ เป็นคนละอันกัน โดยอาการคือ
อาการพองขึ้นมา ใจรู้อาการพอง
ใจที่รู้อาการพองกับอาการพองนั้นแยกออกจากกัน คือ อาการพองอย่างหนึ่ง ใจที่รู้อย่างหนึ่ง
แต่ทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ อาการพองก็รู้ อาการยุบก็รู้
ลมหายใจเข้ากับออก เป็นคนละอันกัน
หูกับเสียง เป็นคนละอันกัน
จมูกกับกลิ่น เป็นคนละอันกัน เป็นต้น
กล่าวในแง่ของการเห็น
๑. อย่างหยาบ ได้แก่ โดยสุตตะ หรือ เกิดจากการฟัง การอ่าน แล้วนำมาเทียบเคียงกับสภาวะที่ตัวเองได้พบเจอมา เช่น ปฏิบัติแล้ว นำสิ่งที่พบในการปฏิบัติมาเทียบเคียง ไม่ว่าจะเกิดจากการเดินจงกรม หรือเกิดจากการนั่งก็ตาม
๒. อย่างกลาง ได้แก่ โดยจินตะ หรือ พัฒนามาจากการอ่าน การฟัง แล้วนำมาคิดพิจรณา รู้จากองค์ประกอบของสภาวะว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
๓. อย่างละเอียด ได้แก่ โดยภาวนา เกิดจากสัมมาสติและสัมมาสมาธิทำงานร่วมกัน ทำให้เห็นเอง รู้เอง โดยไม่ได้รู้จักตำราแต่อย่างใด หรือรู้จากการจำของตัวสัญญาแต่อย่างใด
กล่าวโดยตัวสภาวะแท้ๆของตัวสภาวะคือ สภาวะ จะมีแค่ สิ่งที่ถูกรู้ ( สิ่งที่เกิดขึ้น ) กับ สิ่งที่รู้เท่านั้นเอง ( จิต )
แต่ที่นำมากล่าวหลักๆในขั้นต้นนั้น กล่าวในแง่ของการเรียกตามบัญญัติหรือปริยัติ ว่าสภาวะที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆเรียกว่าอะไร
และ ตามตัวสภาวะที่เกิดขึ้น บ่งบอกถึงกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิว่าตั้งมั่นได้มากน้อยแค่ไหน
ตั้งมั่นได้มาก ย่อมรู้ชัดได้มาก
ตั้งมั่นได้น้อย ย่อมรู้ชัดได้น้อย ต้องอาศัยการเทียบเคียงเอาจากตำรา
ที่มา :
http://walaiblog.blogspot.com/2011/02/blog-post_23.html
นามรูปปริจเฉทญาณ มีสภาวะอย่างไร
มีปัญญารู้จักรูป รู้จักนาม แยกรูป แยกนามได้ดี ได้แก่วิสุทธิข้อที่ ๓ ทิฏฐิวิสุทธิ มีความรู้เห็นอันบริสุทธิ์ หรือความเห็นนามรูปตามความเป็นจริง
แบ่งออกเป็น
๑. โดยการอาศัยบัญญัติ คือ ยังมีการตรึก นึก คิด พิจรณา
๒. โดยการรู้ในสภาวะตามความเป็นจริงที่เป็นอยู่
กล่าวในแง่ของปริยัติ
การที่โยคาวจรบุคคลตั้งใจกำหนดรู้,นาม เป็นอารมณ์ จนสามารถแยกรูปแยกนามจนเห็นได้ชัดว่า มีแต่รูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้น นอกจากรูป,นามแล้วไม่มีอะไร ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ตั้งใจกำหนดได้ด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกำหนด ไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถรู้เห็นได้เลย
เพราะรูปนามนี้ ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณืย่อมปรากฏได้ และเมื่อปรากฏนั้น เมื่อรูปปรากฏดีแล้ว นามจึงปรากฏตามดังนี้
ดังที่ท่านพุทธโฆษาจารย์ แสดงไว้ในวิสุทธิมัคคอรรถกถาว่า
ยถา ยถา หิสฺส รูปํ สุวิกฺขาสิตํ โหติ นิชฺชฏํ สุปริสุทฺธํ ตถา ตถา ตทารมฺมณา อรูปธมฺมา สยเมว ปากฏา โหนฺติ
เมื่อรูปสะอาดสดใสบริสุทธิ์ดีแล้ว นามที่มีรูปเป็นอารณ์ก็ปรากฏขึ้นเอง ดังนี้
เมื่อสามารถเห็นนามรูปตามความเป็นจริงของสภาวะที่มีอยู่จริงได้ ผลที่ได้รับคือ ย่อมมีเราหรือตัวของเรา( การให้ค่า ) น้อยลงในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น
การเห็นรูป,นามตามความเป็นจริงนี้ ต้องเห็นโดยการภาวนาของตนจริงๆ ไม่ใช่รู้จากการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่มีอธิบายไว้ แล้วใช้ปัญญาคิดไปตามที่กล่าวไว้ในตำรา
เสร็จแล้วก็คิดนึกไปในใจว่า รูปเป็นอย่างนี้เอง นามเป็นอย่างนี้เอง ตนเห็นทีจะได้บรรลุนาม-รูปปริเฉทญาณแล้ว เช่นนี้ เป็นการนึกคิดเอาเอง
การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการนึกเอาเดาเอาเองอย่างนี้เป็นเพียงสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาได้สดับรับฟังมา
และจินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นภาวนามยปัญญา
ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นปัญญาที่ละเอียด เพราะเป็นปัญญที่สามารถตัดกิเลสตัณหาได้ตามที่มุ่งหมาย
กล่าวในแง่ของการปฏิบัติ
คือ มีสติ สัมปชัญญะ กำหนดรู้รูปและนาม โดยอาศัยการใช้การกำหนดรู้ หรือ การใช้คำบริกรรมภาวนา แล้วรู้อยู่ในกาย เช่น รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ท้องพองยุบ ฯลฯ
กล่าวในแง่ของสภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
แยกรูป แยกนาม ออกจากกันได้
รูป คือ สิ่งที่ถูกรู้
จิต คือ รู้อารมณ์
รู้ว่าพองกับยุบ เป็นคนละอันกัน โดยอาการคือ
อาการพองขึ้นมา ใจรู้อาการพอง
ใจที่รู้อาการพองกับอาการพองนั้นแยกออกจากกัน คือ อาการพองอย่างหนึ่ง ใจที่รู้อย่างหนึ่ง
แต่ทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ อาการพองก็รู้ อาการยุบก็รู้
ลมหายใจเข้ากับออก เป็นคนละอันกัน
หูกับเสียง เป็นคนละอันกัน
จมูกกับกลิ่น เป็นคนละอันกัน เป็นต้น
กล่าวในแง่ของการเห็น
๑. อย่างหยาบ ได้แก่ โดยสุตตะ หรือ เกิดจากการฟัง การอ่าน แล้วนำมาเทียบเคียงกับสภาวะที่ตัวเองได้พบเจอมา เช่น ปฏิบัติแล้ว นำสิ่งที่พบในการปฏิบัติมาเทียบเคียง ไม่ว่าจะเกิดจากการเดินจงกรม หรือเกิดจากการนั่งก็ตาม
๒. อย่างกลาง ได้แก่ โดยจินตะ หรือ พัฒนามาจากการอ่าน การฟัง แล้วนำมาคิดพิจรณา รู้จากองค์ประกอบของสภาวะว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
๓. อย่างละเอียด ได้แก่ โดยภาวนา เกิดจากสัมมาสติและสัมมาสมาธิทำงานร่วมกัน ทำให้เห็นเอง รู้เอง โดยไม่ได้รู้จักตำราแต่อย่างใด หรือรู้จากการจำของตัวสัญญาแต่อย่างใด
กล่าวโดยตัวสภาวะแท้ๆของตัวสภาวะคือ สภาวะ จะมีแค่ สิ่งที่ถูกรู้ ( สิ่งที่เกิดขึ้น ) กับ สิ่งที่รู้เท่านั้นเอง ( จิต )
แต่ที่นำมากล่าวหลักๆในขั้นต้นนั้น กล่าวในแง่ของการเรียกตามบัญญัติหรือปริยัติ ว่าสภาวะที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆเรียกว่าอะไร
และ ตามตัวสภาวะที่เกิดขึ้น บ่งบอกถึงกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิว่าตั้งมั่นได้มากน้อยแค่ไหน
ตั้งมั่นได้มาก ย่อมรู้ชัดได้มาก
ตั้งมั่นได้น้อย ย่อมรู้ชัดได้น้อย ต้องอาศัยการเทียบเคียงเอาจากตำรา
ที่มา : http://walaiblog.blogspot.com/2011/02/blog-post_23.html