มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป โดยจะมีผลบังคับใช้สำหรับผู้ขอสินเชื่อรายใหม่เท่านั้น และไม่มีผลย้อนหลังกับผู้ที่ขอสินเชื่อรายเดิม โดยเป็น 1 ใน 3 มาตรการดูแลหนี้ครัวเรือน ได้แก่ คลินิกแก้หนี้ ที่เปิดไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 และ การให้ความรู้ทางการเงิน
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ สิ้นปี 2558 ที่รวมข้อมูลหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบทั้งหมด กลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน มีประมาณ 5 ล้านคน และกลุ่มที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือรับจ้างที่มีรายได้ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน มีประมาณ 11 ล้านคน
หากพิจารณายอดสินเชื่อหรือการเป็นหนี้ของกลุ่มที่มีรายได้ประจำ จะมีหนี้ประมาณ 3.32 แสนล้านบาท หรือ 6.6 หมื่นบาทต่อคน แบ่งเป็น หนี้บ้าน 30% หนี้เพื่ออุปโภค-บริโภค 32% หนี้เช่าซื้อ 26% และหนี้เพื่อธุรกิจ 11% ขณะที่กลุ่มเจ้าของธุรกิจหรือรับจ้างจะมีหนี้ประมาณ 8.88 แสนล้านบาท หรือ 8 หมื่นบาทต่อคน แยกเป็นหนี้บ้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย 15% อุปโภคบริโภค 21% เช่าซื้อ 17% และสินเชื่อธุรกิจ 46%
จากสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการที่ออกมาใหม่นั้น ในเชิงผลกระทบต่อประชาชนไม่ใช่เพียงกลุ่มเงินเดือนประจำที่ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาทเท่านั้น แต่เป็นกลุ่มเจ้าของธุรกิจหรือรับจ้าง เช่น ขับรถรับจ้าง เป็นต้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจจะเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบและจะหันไปหานอกระบบมากขึ้น
นายนริศ กล่าวว่า สินเชื่อบัตรเครดิตไม่น่าห่วงมากนัก เนื่องจากปริมาณสินเชื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงเป็นผู้เล่นรายหลัก ซึ่งมีหลักเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อค่อนข้างเข้มงวด สิ้นปี 2559 มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้างอยู่ที่ 2.20 แสนล้านบาท และอยู่ในสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ 1.40 แสนล้านบาท
++บัตรกดเงินสดเสี่ยง
ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลหรือบัตรกดเงินสด เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงว่าหากเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้จะหันไปหาหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น เพราะผู้เล่นตลาดหลักจะเป็นกลุ่มนอนแบงก์โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปี2559 อยู่ที่ 1.80 แสนล้านบาท เทียบกับธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพียง 1.56 แสนล้านบาท
“คนเข้าถึงสินเชื่อส่วนบุคคลได้ง่ายกว่าบัตรเครดิตทั้งกลุ่มรายได้ประจำและกลุ่มเจ้าของธุรกิจ จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่กลุ่มนี้จะไหลออกไปสู่นอกระบบ หากถูกจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อ”
นายนริศ กล่าวว่า ผลต่อสถาบันการเงิน จะมีการแข่งขันรุนแรงและดุเดือด สิ่งที่ตามมาจะเริ่มเห็นสัญญาณการผ่อนหลักเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อ ทำให้คนที่ไม่ควรได้สินเชื่อ จะได้สินเชื่อไป และในระยะยาวจะเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น
“เป็นมาตรการที่ดี ช่วยให้คนมีวินัยการเงิน แต่ควรหามาตรการรองรับการไหลไปสู่นอกระบบด้วย เพราะไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนที่ได้รับผลกระทบ แต่กลุ่มรับจ้างที่มีกว่า 11 ล้านคน ก็ได้รับผลกระทบด้วย”
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ผวา 11 ล้านลูกหนี้ หันซบนอกระบบ
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ สิ้นปี 2558 ที่รวมข้อมูลหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบทั้งหมด กลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน มีประมาณ 5 ล้านคน และกลุ่มที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือรับจ้างที่มีรายได้ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน มีประมาณ 11 ล้านคน
หากพิจารณายอดสินเชื่อหรือการเป็นหนี้ของกลุ่มที่มีรายได้ประจำ จะมีหนี้ประมาณ 3.32 แสนล้านบาท หรือ 6.6 หมื่นบาทต่อคน แบ่งเป็น หนี้บ้าน 30% หนี้เพื่ออุปโภค-บริโภค 32% หนี้เช่าซื้อ 26% และหนี้เพื่อธุรกิจ 11% ขณะที่กลุ่มเจ้าของธุรกิจหรือรับจ้างจะมีหนี้ประมาณ 8.88 แสนล้านบาท หรือ 8 หมื่นบาทต่อคน แยกเป็นหนี้บ้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย 15% อุปโภคบริโภค 21% เช่าซื้อ 17% และสินเชื่อธุรกิจ 46%
จากสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการที่ออกมาใหม่นั้น ในเชิงผลกระทบต่อประชาชนไม่ใช่เพียงกลุ่มเงินเดือนประจำที่ตํ่ากว่า 3 หมื่นบาทเท่านั้น แต่เป็นกลุ่มเจ้าของธุรกิจหรือรับจ้าง เช่น ขับรถรับจ้าง เป็นต้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจจะเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบและจะหันไปหานอกระบบมากขึ้น
นายนริศ กล่าวว่า สินเชื่อบัตรเครดิตไม่น่าห่วงมากนัก เนื่องจากปริมาณสินเชื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงเป็นผู้เล่นรายหลัก ซึ่งมีหลักเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อค่อนข้างเข้มงวด สิ้นปี 2559 มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตคงค้างอยู่ที่ 2.20 แสนล้านบาท และอยู่ในสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ 1.40 แสนล้านบาท
++บัตรกดเงินสดเสี่ยง
ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลหรือบัตรกดเงินสด เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงว่าหากเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้จะหันไปหาหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น เพราะผู้เล่นตลาดหลักจะเป็นกลุ่มนอนแบงก์โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นปี2559 อยู่ที่ 1.80 แสนล้านบาท เทียบกับธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพียง 1.56 แสนล้านบาท
“คนเข้าถึงสินเชื่อส่วนบุคคลได้ง่ายกว่าบัตรเครดิตทั้งกลุ่มรายได้ประจำและกลุ่มเจ้าของธุรกิจ จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่กลุ่มนี้จะไหลออกไปสู่นอกระบบ หากถูกจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อ”
นายนริศ กล่าวว่า ผลต่อสถาบันการเงิน จะมีการแข่งขันรุนแรงและดุเดือด สิ่งที่ตามมาจะเริ่มเห็นสัญญาณการผ่อนหลักเกณฑ์อนุมัติสินเชื่อ ทำให้คนที่ไม่ควรได้สินเชื่อ จะได้สินเชื่อไป และในระยะยาวจะเห็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น
“เป็นมาตรการที่ดี ช่วยให้คนมีวินัยการเงิน แต่ควรหามาตรการรองรับการไหลไปสู่นอกระบบด้วย เพราะไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนที่ได้รับผลกระทบ แต่กลุ่มรับจ้างที่มีกว่า 11 ล้านคน ก็ได้รับผลกระทบด้วย”