หนี้เสีย SMEs แตะ 3 แสนล้าน
https://www.thansettakij.com/content/money_market/470657
ธปท.ชี้ โควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบเศรษฐกิจชัด ส่งผลแบงก์เข้มปล่อยกู้เอสเอ็มอี หวั่นหนี้เสียเพิ่ม รั้งการฟื้นตัวเศรษฐกิจปี 2564 ทีเอ็มบีคาดหนี้เสียเอสเอ็มอีมีโอกาสแตะ 3 แสนล้านบาท
รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมกราคม 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยแย่ลงทุกหมวด จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้การฟื้นตัวไม่ทั่วถึงมากขึ้น แม้ภาพรวมจะไม่รุนแรงเท่าการระบาดรอบแรก แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ขณะที่เมื่อมองไปข้างหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาและขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูง ไม่ว่าการควบคุมการระบาดหรือไวรัสกลายพันธุ์หรือไม่ ประสิทธิผลของวัคซีนและการฉีดจะได้ตามแผนหรือไม่ รวมถึงโอกาสที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น
นาย
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร TMB Analytics ธนาคาร ทหารไทย (ทีเอ็มบี) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แนวโน้มเอ็นพีแอลของสินเชื่อเอสเอ็มอีสิ้นปีนี้ มีโอกาสที่จะแตะ 3 แสนล้านบาท คิดเป็น 8% จากยอดเอ็นพีแอลรวมในระบบ 5.2 แสนล้านบาท ซึ่งเอ็นพีแอลของกลุ่มเอสเอ็มอีเพิ่มมีสัดส่วน 65% เพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมา จะอยู่ที่ราว 55% ทำให้ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีมาก จะเห็นเอ็นพีแอลเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
ดังนั้นปัจจัยคุณภาพสินเชื่อเอสเอ็มอียังส่งผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2564 ที่มีแนวโน้มหดตัว 0.5% จากปีก่อนที่หดตัวราว 8% เพราะธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบจะเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ขณะที่มีความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งโกดังเก็บหนี้ (Asset Warehousing) แล้ว
“
ปีนี้สินเชื่อใหม่กลุ่มเอสเอ็มอี ไม่โต เพราะคุณภาพสินเชื่อเก่ายังหนักหน่วงอยู่ ซึ่งเราก็ห่วงเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เหนื่อยก่อนโควิด-19 อยู่แล้ว เมื่อบวกผลกระทบโควิด-19 ยิ่งหนักต่อเนื่อง โดยกลุ่มที่เหนื่อยอยู่แล้วเช่น โรงสี ซึ่งมีสัดส่วน 20% ของสินเชื่อรวม เหมืองแร่ 26% เหล็ก 15% ผู้ผลิตเสื้อผ้า 16% ก่อสร้าง 11% กลุ่มพวกนี้มีสินเชื่อรวม 2.2 แสนล้านบาทคิดเป็นเอ็นพีแอลแล้วราว 20%” นายนริศกล่าว
ส่วนกลุ่มที่เหนื่อยในช่วงโควิด-19 เช่น ภาคบริการ ร้านอาหาร ร้านนวด สปา สถานบันเทิง ค้าปลีกเสื้อผ้า กลุ่มนี้มีสินเชื่อรวมประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งก่อนโควิด-19 เป็นเอ็นพีแอลแล้วราว 8% ฉะนั้นหลังบริหารจัดการเรื่องโกดังเก็บหนี้แล้ว น่าจะอยู่ที่ 8% สินเชื่อท่องเที่ยวและบริการราว 3 แสนล้านบาท แม้จะปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ก็ยังต้องระวังและอีกกลุ่มคือ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสินเชื่อกว่า 5.5 แสนล้านบาท เพราะมีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายเล็กที่ยังไม่เห็นมาตรการช่วยเหลือชัดเจน
นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทย พาณิชย์กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นโยบายเกี่ยวกับลูกค้าเอสเอ็มอีปี 2564 นี้ หลักๆ ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลและช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งธนาคารให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าปัจจุบันที่ต้องประคองให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ ส่วนสินเชื่อใหม่จะให้การสนับสนุนกลุ่มที่มีความเป็นไปได้ของธุรกิจ มีความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต และกลุ่มที่จะกระตุ้นทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
“เป้าหมายสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้น่าจะทรงตัว พยายามรักษาระดับพอร์ตของสินเชื่อให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาประมาณ 2.6 แสนล้านบาท โดยธนาคารเน้นการช่วยเหลือลูกค้าเป็นหลัก”นางพิกุลกล่าว
สำหรับปี 2564 ธนาคารจะเร่งปล่อยมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสามารถก้าวผ่านวิกฤติไปได้ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม โดยขยายเวลาผ่อนชำระตามความรุนแรงของผลกระทบในแต่ละพื้นที่ท่องเที่ยว และมีมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากที่สุด ยิ่งในพื้นที่ที่อ้างอิงท่องเที่ยวของต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ เพราะธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศ
ด้านธนาคาร กสิกรไทยระบุว่ามุ่งเน้นเป็นธนาคารเพื่อลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ) ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบครบวงจร และให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพสินทรัพย์เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าและธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังตระหนักในการบริหารคุณภาพหนี้ลูกค้ารายเดิม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยมีมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ทั้งปี
ปี 2563 สินเชื่อกลุ่มธุรกิจ(ธุรกิจลูกค้าบรรษัทและธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ) เติบโต 183,547 ล้านบาทหรือ 13.46% จากปี 2562 ซึ่งธนาคารยังคงสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องใช้หมุนเวียน ด้วยการนำข้อมูลเชิงวิเคราะห์มาประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ธนาคารยอมรับได้
ขายทุกอย่างที่มี 'ศิต โมทีฟ' ประกาศขายกิจการ ทั้งบ้าน-รถ เผยสุดๆ ไม่ไหวแล้ว
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_2608582
ขายทุกอย่างที่มี ‘ศิต โมทีฟ’ ประกาศขายกิจการ ทั้งบ้าน-รถ เผยสุดๆ ไม่ไหวแล้ว
เป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์ เมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อ ศิต โมทีฟ หรือ ประกาศิต สากลวารี แห่งวง โมทีฟ หายตัวไปพร้อมรถเบนซ์ ทำให้มีการประกาศหาตัววุ่น ก่อนพบตัวและพาส่งโรงพยาบาล ก่อนจะปรากฏตัวในงาน เทศกาลดนตรีพัทยามิวสิคเฟสติวัล 2020 ตามตารางงาน เผยว่ามีเพื่อนๆ ให้กำลังใจ และกลับมาต่อสู้กันอีกครั้ง
ล่าสุด ออกมาประกาศขายทุกอย่างที่มี หลังจากเจอกับวิกฤตโควิด โดยโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
“
พี่ๆน้องๆ ที่โอเค ขออนุญาตขายกิจการเครื่องเสียง Sound clear ครับ ขายบ้าน รถ และทุกอย่าง สุดครับ ไม่ไหวละ หรือใครพร้อมจะดูแลกิจการต่อ ติดต่อผมหรือ ผู้จัดการส่วนตัวได้เลยครับ ขอบพระคุณทุกคน”
จากนั้น ได้โพสต์ภาพรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ รถบรรทุก เครื่องเสียงต่างๆ ฯลฯ พร้อมแคปชั่นข้อความว่า
“
ขายทุกอย่างที่มีคับ ขอคนใจดี ที่อยากซื้อทั้งกิจการก่อนนะคับ 6 ล้อ เวที เครื่องเสียง ทรัส บ้าน มีอีกเยอะ นัดดูของได้ครับ อะไรแยกได้ผมแยกให้คับ ทัก IB มานะคับ ขอบคุณครับ”
โดยมีแฟนๆ แห่เข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก
https://www.facebook.com/zit.motif
JJNY : หนี้เสียSMEsแตะ3แสนล.│‘ศิต โมทีฟ’ประกาศขายกิจการทั้งบ้าน-รถ│สกัดทัพเมียนมาถอนเงิน│"ชัชชาติ"ผ่าตัดขาถือเป็นโชคดี
https://www.thansettakij.com/content/money_market/470657
ธปท.ชี้ โควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบเศรษฐกิจชัด ส่งผลแบงก์เข้มปล่อยกู้เอสเอ็มอี หวั่นหนี้เสียเพิ่ม รั้งการฟื้นตัวเศรษฐกิจปี 2564 ทีเอ็มบีคาดหนี้เสียเอสเอ็มอีมีโอกาสแตะ 3 แสนล้านบาท
รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมกราคม 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยแย่ลงทุกหมวด จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้การฟื้นตัวไม่ทั่วถึงมากขึ้น แม้ภาพรวมจะไม่รุนแรงเท่าการระบาดรอบแรก แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ขณะที่เมื่อมองไปข้างหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาและขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูง ไม่ว่าการควบคุมการระบาดหรือไวรัสกลายพันธุ์หรือไม่ ประสิทธิผลของวัคซีนและการฉีดจะได้ตามแผนหรือไม่ รวมถึงโอกาสที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร TMB Analytics ธนาคาร ทหารไทย (ทีเอ็มบี) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แนวโน้มเอ็นพีแอลของสินเชื่อเอสเอ็มอีสิ้นปีนี้ มีโอกาสที่จะแตะ 3 แสนล้านบาท คิดเป็น 8% จากยอดเอ็นพีแอลรวมในระบบ 5.2 แสนล้านบาท ซึ่งเอ็นพีแอลของกลุ่มเอสเอ็มอีเพิ่มมีสัดส่วน 65% เพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมา จะอยู่ที่ราว 55% ทำให้ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีมาก จะเห็นเอ็นพีแอลเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
ดังนั้นปัจจัยคุณภาพสินเชื่อเอสเอ็มอียังส่งผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2564 ที่มีแนวโน้มหดตัว 0.5% จากปีก่อนที่หดตัวราว 8% เพราะธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบจะเน้นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ขณะที่มีความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งโกดังเก็บหนี้ (Asset Warehousing) แล้ว
“ปีนี้สินเชื่อใหม่กลุ่มเอสเอ็มอี ไม่โต เพราะคุณภาพสินเชื่อเก่ายังหนักหน่วงอยู่ ซึ่งเราก็ห่วงเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เหนื่อยก่อนโควิด-19 อยู่แล้ว เมื่อบวกผลกระทบโควิด-19 ยิ่งหนักต่อเนื่อง โดยกลุ่มที่เหนื่อยอยู่แล้วเช่น โรงสี ซึ่งมีสัดส่วน 20% ของสินเชื่อรวม เหมืองแร่ 26% เหล็ก 15% ผู้ผลิตเสื้อผ้า 16% ก่อสร้าง 11% กลุ่มพวกนี้มีสินเชื่อรวม 2.2 แสนล้านบาทคิดเป็นเอ็นพีแอลแล้วราว 20%” นายนริศกล่าว
ส่วนกลุ่มที่เหนื่อยในช่วงโควิด-19 เช่น ภาคบริการ ร้านอาหาร ร้านนวด สปา สถานบันเทิง ค้าปลีกเสื้อผ้า กลุ่มนี้มีสินเชื่อรวมประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งก่อนโควิด-19 เป็นเอ็นพีแอลแล้วราว 8% ฉะนั้นหลังบริหารจัดการเรื่องโกดังเก็บหนี้แล้ว น่าจะอยู่ที่ 8% สินเชื่อท่องเที่ยวและบริการราว 3 แสนล้านบาท แม้จะปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ก็ยังต้องระวังและอีกกลุ่มคือ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสินเชื่อกว่า 5.5 แสนล้านบาท เพราะมีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายเล็กที่ยังไม่เห็นมาตรการช่วยเหลือชัดเจน
นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทย พาณิชย์กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นโยบายเกี่ยวกับลูกค้าเอสเอ็มอีปี 2564 นี้ หลักๆ ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลและช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งธนาคารให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าปัจจุบันที่ต้องประคองให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ ส่วนสินเชื่อใหม่จะให้การสนับสนุนกลุ่มที่มีความเป็นไปได้ของธุรกิจ มีความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต และกลุ่มที่จะกระตุ้นทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
“เป้าหมายสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้น่าจะทรงตัว พยายามรักษาระดับพอร์ตของสินเชื่อให้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาประมาณ 2.6 แสนล้านบาท โดยธนาคารเน้นการช่วยเหลือลูกค้าเป็นหลัก”นางพิกุลกล่าว
สำหรับปี 2564 ธนาคารจะเร่งปล่อยมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสามารถก้าวผ่านวิกฤติไปได้ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม โดยขยายเวลาผ่อนชำระตามความรุนแรงของผลกระทบในแต่ละพื้นที่ท่องเที่ยว และมีมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากที่สุด ยิ่งในพื้นที่ที่อ้างอิงท่องเที่ยวของต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ เพราะธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศ
ด้านธนาคาร กสิกรไทยระบุว่ามุ่งเน้นเป็นธนาคารเพื่อลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ) ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบครบวงจร และให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพสินทรัพย์เพื่อให้ธุรกิจของลูกค้าและธนาคารสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังตระหนักในการบริหารคุณภาพหนี้ลูกค้ารายเดิม โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยมีมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ทั้งปี
ปี 2563 สินเชื่อกลุ่มธุรกิจ(ธุรกิจลูกค้าบรรษัทและธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ) เติบโต 183,547 ล้านบาทหรือ 13.46% จากปี 2562 ซึ่งธนาคารยังคงสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องใช้หมุนเวียน ด้วยการนำข้อมูลเชิงวิเคราะห์มาประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ธนาคารยอมรับได้
ขายทุกอย่างที่มี 'ศิต โมทีฟ' ประกาศขายกิจการ ทั้งบ้าน-รถ เผยสุดๆ ไม่ไหวแล้ว
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_2608582
ขายทุกอย่างที่มี ‘ศิต โมทีฟ’ ประกาศขายกิจการ ทั้งบ้าน-รถ เผยสุดๆ ไม่ไหวแล้ว
เป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์ เมื่อปลายปีที่แล้ว เมื่อ ศิต โมทีฟ หรือ ประกาศิต สากลวารี แห่งวง โมทีฟ หายตัวไปพร้อมรถเบนซ์ ทำให้มีการประกาศหาตัววุ่น ก่อนพบตัวและพาส่งโรงพยาบาล ก่อนจะปรากฏตัวในงาน เทศกาลดนตรีพัทยามิวสิคเฟสติวัล 2020 ตามตารางงาน เผยว่ามีเพื่อนๆ ให้กำลังใจ และกลับมาต่อสู้กันอีกครั้ง
ล่าสุด ออกมาประกาศขายทุกอย่างที่มี หลังจากเจอกับวิกฤตโควิด โดยโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
“พี่ๆน้องๆ ที่โอเค ขออนุญาตขายกิจการเครื่องเสียง Sound clear ครับ ขายบ้าน รถ และทุกอย่าง สุดครับ ไม่ไหวละ หรือใครพร้อมจะดูแลกิจการต่อ ติดต่อผมหรือ ผู้จัดการส่วนตัวได้เลยครับ ขอบพระคุณทุกคน”
จากนั้น ได้โพสต์ภาพรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ รถบรรทุก เครื่องเสียงต่างๆ ฯลฯ พร้อมแคปชั่นข้อความว่า
“ขายทุกอย่างที่มีคับ ขอคนใจดี ที่อยากซื้อทั้งกิจการก่อนนะคับ 6 ล้อ เวที เครื่องเสียง ทรัส บ้าน มีอีกเยอะ นัดดูของได้ครับ อะไรแยกได้ผมแยกให้คับ ทัก IB มานะคับ ขอบคุณครับ”
โดยมีแฟนๆ แห่เข้ามาคอมเมนต์ให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก
https://www.facebook.com/zit.motif