(รีวิวนี้เขียนหลังจิบไวน์สี่ เบียร์สี่ อย่าหวังหาสาระ นอกจากความคิดในหัวโดยไม่กรอง)
โนแลน (ที่ไม่ต้องเอ่ยชื่อหรืออ้างอิงผลงานเก่า ๆ) ทิ้งลายเซ็นต์ของตัวเองไว้ และพยายามสร้างสิ่งใหม่ไว้
สิ่งเดิมคือ โนแลนเป็น ผกก ที่ชอบเล่นกับ "การเล่าเรื่อง" โดยใช้ "มิติ" ของเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การลำดับเวลา, หรือมุมมองของภาพ (ทุกเรื่อง ย้ำว่าทุกเรื่องของเขามีสองสิ่งนี้เป็นเอกลักษณ์ทั้งหมด เช่น การย้อนลำดับเรื่องใน Memento, การเชื่อมโยงเรื่องราวได้แนบเนียนทั้งที่เป็นคนละเวลาใน The Prestige, ฉากหมอกและขอนไม้ใน Insomia, ฉากฝันซ้อนฝัน ล้อบบี้หมุนและลำดับเวลาใน Inception, ฉากการหมุนใน Interstella) ราวกับเขาพร้อมใช้ภาษาของภาพยนตร์ตอบสนองสิ่งที่ควรเล่าได้ โดยสามารถจินตนาการเรื่องราวและการสร้างสตอรี่บอร์ดได้เลยว่าเรื่องทั้งหลายจะมีเส้นทางเส้นแบ่งเส้นเชื่อมกันอย่างไร โดยผู้ชมก็จะรับสิ่งเหล่านั้นด้วยความทึ่งและประทับใจหากเราถูกจริตและตามเรื่องได้ทัน โดยความพิเศษยิ่งนี้เหมือนจะวิเคราะห์มาพูดได้ง่ายแต่ไม่ง่ายเลยสำหรับคนทำหนังที่ต้องคุมจังหวะการเล่าการลำดับการตัดต่อให้อยู่อย่างที่คิดไว้
สิ่งใหม่ คือ หนังทุกเรื่องของโนแลน ไม่เคยใช้ "การบรรยาย" ไม่เคยใช้ "การเกริ่นด้วยอักษรและเสียง" เหมือนใน Dunkirk ที่เปิดเรื่องมาด้วยคำพูดนำจากใครสักคน และอักษรบรรยายเหตุการณ์และการแบ่งภาคลำดับเหตุการณ์และเวลา หนังทุกเรื่องของเขาไม่เคยพึ่งสิ่งเหล่านี้ แต่จะใช้การเล่าเรื่องแบบเหตุการณ์ซึ่งหน้าโดยตัวละครเองดำเนินเรื่องไป ต่างจากการอ่านนิยายที่เราจะเจอการบรรยายเหตุการณ์เสมอ
สิ่งใหม่นี่เองที่ทำให้ผมเห็นว่า โนแลนกำลัง "ทดลอง" การเล่าทำหนังของเขา โดยใช้ต้นทุนความเป็นผู้กำกับระดับ (ใช้คำว่า blockbuster อาจแก่เกินคนรุ่นใหม่เข้าใจ) ตัวพ่อของวงการมาตอบสนองภาษาหนังที่นำยุคสมัยของเขา
นั่นคือ การใช้หนังเล่าเรื่องด้วยตัวเอง ผ่านการลำดับภาพ การแสดง ดนตรีประกอบ มุมกล้อง ฯลฯ โดยไม่สนใจ "ภาวะวิสัย" ของตัวละครที่หนังส่วนใหญ่ต้องการดึงอารมณ์ร่วมของผู้ชมผ่านความดราม่าของการแสดงหรือบทเหมือนเมโลดราม่าทั่วไป แต่ Dunkirk กลับยึดมั่นในประเด็นของการทำหนังเรื่องนี้เพื่อสื่อในการเล่าเรื่อง "การเอาตัวรอด" ที่โนแลนย้ำหลายครั้งว่า นี่ไม่ใช่หนังสงคราม เขาก็มุ่งไปที่จุดนั้น ในฐานะผู้เสพ เราอาจเห็นว่ามันไม่มีอะไรพิเศษนอกจากความเข้มข้นของหนังที่ไม่ค่อยอิน หากแต่มนมุมมองคนคิดและคนสร้าง ผมเชื่อว่านี่คือเรื่องพิเศษที่น้อยครั้งจะสามารถเห็นได้จากการกล้าทำหนังเช่นนี้
หลายคนที่เข้าไปชมเพราะเป็นคนดูหนังหรือเป็นอฟนของ ผกก อาจจะไม่อิน หากแต่เมื่อมองโจทย์ของตัวเขาที่ต้องการเล่าเรื่องแล้ว จะพบว่าแนวทางของหนังที่อาศัยเวลาเพียงเก้าสิบกว่านาทีเรื่องนี้ ชัดเจนและตรงไปตรงมา และสามารถตรึงคนดูได้ โดยไม่ต้องอาศัยขนบการเล่าเรื่องแบบเดิมที่ต้องให้ผู้ชมถูกตัวละครหรือบทดึงดูด แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรื่องราวมันมีพลังพอจะตรึงเราไว้กลับเป็นการเล่าเรื่องแบบบรรยายเหตุการณ์เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว บวกกับงานตัดต่อ มุมกล้อง ภาพ และเสียงประกอบ โดยไม่ยึดติดกับตัวละครหรือเรื่องปลีกย่อยใดเลย
8/10 ในฐานะแฟนเดนตาย ที่ยังรอการก้าวต่อไปของเขา
Dunkirk: เมื่อตัวพ่อ 'ลอง' 'เล่า' หนัง
โนแลน (ที่ไม่ต้องเอ่ยชื่อหรืออ้างอิงผลงานเก่า ๆ) ทิ้งลายเซ็นต์ของตัวเองไว้ และพยายามสร้างสิ่งใหม่ไว้
สิ่งเดิมคือ โนแลนเป็น ผกก ที่ชอบเล่นกับ "การเล่าเรื่อง" โดยใช้ "มิติ" ของเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การลำดับเวลา, หรือมุมมองของภาพ (ทุกเรื่อง ย้ำว่าทุกเรื่องของเขามีสองสิ่งนี้เป็นเอกลักษณ์ทั้งหมด เช่น การย้อนลำดับเรื่องใน Memento, การเชื่อมโยงเรื่องราวได้แนบเนียนทั้งที่เป็นคนละเวลาใน The Prestige, ฉากหมอกและขอนไม้ใน Insomia, ฉากฝันซ้อนฝัน ล้อบบี้หมุนและลำดับเวลาใน Inception, ฉากการหมุนใน Interstella) ราวกับเขาพร้อมใช้ภาษาของภาพยนตร์ตอบสนองสิ่งที่ควรเล่าได้ โดยสามารถจินตนาการเรื่องราวและการสร้างสตอรี่บอร์ดได้เลยว่าเรื่องทั้งหลายจะมีเส้นทางเส้นแบ่งเส้นเชื่อมกันอย่างไร โดยผู้ชมก็จะรับสิ่งเหล่านั้นด้วยความทึ่งและประทับใจหากเราถูกจริตและตามเรื่องได้ทัน โดยความพิเศษยิ่งนี้เหมือนจะวิเคราะห์มาพูดได้ง่ายแต่ไม่ง่ายเลยสำหรับคนทำหนังที่ต้องคุมจังหวะการเล่าการลำดับการตัดต่อให้อยู่อย่างที่คิดไว้
สิ่งใหม่ คือ หนังทุกเรื่องของโนแลน ไม่เคยใช้ "การบรรยาย" ไม่เคยใช้ "การเกริ่นด้วยอักษรและเสียง" เหมือนใน Dunkirk ที่เปิดเรื่องมาด้วยคำพูดนำจากใครสักคน และอักษรบรรยายเหตุการณ์และการแบ่งภาคลำดับเหตุการณ์และเวลา หนังทุกเรื่องของเขาไม่เคยพึ่งสิ่งเหล่านี้ แต่จะใช้การเล่าเรื่องแบบเหตุการณ์ซึ่งหน้าโดยตัวละครเองดำเนินเรื่องไป ต่างจากการอ่านนิยายที่เราจะเจอการบรรยายเหตุการณ์เสมอ
สิ่งใหม่นี่เองที่ทำให้ผมเห็นว่า โนแลนกำลัง "ทดลอง" การเล่าทำหนังของเขา โดยใช้ต้นทุนความเป็นผู้กำกับระดับ (ใช้คำว่า blockbuster อาจแก่เกินคนรุ่นใหม่เข้าใจ) ตัวพ่อของวงการมาตอบสนองภาษาหนังที่นำยุคสมัยของเขา
นั่นคือ การใช้หนังเล่าเรื่องด้วยตัวเอง ผ่านการลำดับภาพ การแสดง ดนตรีประกอบ มุมกล้อง ฯลฯ โดยไม่สนใจ "ภาวะวิสัย" ของตัวละครที่หนังส่วนใหญ่ต้องการดึงอารมณ์ร่วมของผู้ชมผ่านความดราม่าของการแสดงหรือบทเหมือนเมโลดราม่าทั่วไป แต่ Dunkirk กลับยึดมั่นในประเด็นของการทำหนังเรื่องนี้เพื่อสื่อในการเล่าเรื่อง "การเอาตัวรอด" ที่โนแลนย้ำหลายครั้งว่า นี่ไม่ใช่หนังสงคราม เขาก็มุ่งไปที่จุดนั้น ในฐานะผู้เสพ เราอาจเห็นว่ามันไม่มีอะไรพิเศษนอกจากความเข้มข้นของหนังที่ไม่ค่อยอิน หากแต่มนมุมมองคนคิดและคนสร้าง ผมเชื่อว่านี่คือเรื่องพิเศษที่น้อยครั้งจะสามารถเห็นได้จากการกล้าทำหนังเช่นนี้
หลายคนที่เข้าไปชมเพราะเป็นคนดูหนังหรือเป็นอฟนของ ผกก อาจจะไม่อิน หากแต่เมื่อมองโจทย์ของตัวเขาที่ต้องการเล่าเรื่องแล้ว จะพบว่าแนวทางของหนังที่อาศัยเวลาเพียงเก้าสิบกว่านาทีเรื่องนี้ ชัดเจนและตรงไปตรงมา และสามารถตรึงคนดูได้ โดยไม่ต้องอาศัยขนบการเล่าเรื่องแบบเดิมที่ต้องให้ผู้ชมถูกตัวละครหรือบทดึงดูด แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรื่องราวมันมีพลังพอจะตรึงเราไว้กลับเป็นการเล่าเรื่องแบบบรรยายเหตุการณ์เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว บวกกับงานตัดต่อ มุมกล้อง ภาพ และเสียงประกอบ โดยไม่ยึดติดกับตัวละครหรือเรื่องปลีกย่อยใดเลย
8/10 ในฐานะแฟนเดนตาย ที่ยังรอการก้าวต่อไปของเขา