รบกวนสอบถามหน่อยครับ
พอดีส่วนตัว ไม่ไดซื้อหุ้นของ บลจ. earth แต่กองทุนตราสารหนี้ (one-hyper) ดันไปถือตั๋ว b/e อยู่ 5.45% และติดลบไปแล้ว เกือบ6% (ปัจจุบันกองนี้ได้ทำ set aside คัด earth ออกไปแล้ว)
ต่อมาอยากสอบถามครับ หาความรู้จาก internet เรื่องการฟื้นฟูกิจการ
https://www.finnomena.com/suchart-th/default-bill-of-exchange/
https://www.dlo.co.th/node/102
หลักเกณฑ์เเละมูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ
ในการฟื้นฟูกิจการเริ่มต้นจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระเเล้วหรือไม่ก็ตาม เเละกิจการของลูกหนี้นั้นมีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เเม้ลูกหนี้อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย ก็สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ถ้ายังไม่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเสียก่อน เเละเพียงเเค่ลูกหนี้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวเเต่มีเหตุเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ ก็ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเสียก่อน
เมื่อกิจการของลูกหนี้เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว บุคคลทั้งสามประเภทดังกล่าวสามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ตามกฎหมาย
การบรรยายคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น ต้องบรรยายให้เเจ้งชัดถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ รายชื่อ ที่อยู่เจ้าหนี้เเละลูกหนี้ทั้งหมด เหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ รายชื่อผู้ทำเเผน คุณสมบัติของผู้ทำเเผน เเละหนังสือยินยอมของผู้ทำเเผน ซึ่งเหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ หมายถึง เเนวทางหรือวิธีการใดที่จะทำให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างของกิจการ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
เมื่อได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเเล้ว หากศาลไม่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ คำร้องขอฟื้นฟูกิจการก็ตกไป เเต่ หากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ลูกหนี้จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2583 มาตรา 90/12 ทันที ซึ่งก็คือ ระบบสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) เหตุที่มีหลักการนี้ก็เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้** เเต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตราการดังกล่าว ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้ ถูกบังคับจำนองทรัพย์สิน ถูกฟ้องร้องเป็นคดีเเพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมถึงผู้ค้ำประกันด้วย เเละก็ห้ามลูกหนี้จำหน่าย จาย โอน ทรัพย์สิน รวมทั้งก่อให้เกิดภาระเเก่ทรัพย์สินของตนระหว่างฟื้นฟูกิจการด้วย มาตารการดังกล่าวเป็นการคุ้มครองสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการของตนเองได้โดยปราศจากเหตุรบกวน
หลังจากที่ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ศาลจะทำการไต่สวน เเละหากไต่สวนเเล้วเห็นว่าคำร้องขอของลูกหนี้นั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟู ศาลก็จะยกคำร้อง เเละระบบสภาวะการพักชำระหนี้ก็สิ้นสุดลง เเต่หากศาลไต่สวนเเล้วเห็นควรให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลก็จะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือ 1.สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเต่ไม่ตั้งผู้ทำเเผน 2.สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน
หากตั๋วบีอีที่ลงทุนอยู่มีการผิดนัดฯ จะต้องทำอย่างไร
ด้วยสถานภาพของผู้ลงทุนในตั๋วบีอี ที่อยู่ในฐานะของการเป็น “เจ้าหนี้” ความน่ากังวลจึงน้อยกว่าผู้ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่ออกตั๋ว เนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว บริษัทจะถูกบังคับตามกฎหมายให้นำเงินมาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาเพื่อดำเนินการอยู่บ้าง ขณะที่ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการลดลงของราคาหุ้น และหากมีการบังคับขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินไปชำระคืนให้กับเจ้าหนี้ด้วยแล้ว ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงได้อีกตามมูลค่าของกิจการที่ลดลง (การเป็นเจ้าหนี้ ยังอยู่ในสถานะที่ดีอยู่)
หากเป็นการลงทุนผ่านกอง AI บลจ.จะเป็นผู้ดำเนินการติดตามให้มีการชำระหนี้ โดยในช่วงที่ยังไม่ได้รับเงินคืน บลจ.จะคิดดอกเบี้ยค่าปรับให้กับผู้ลงทุน เพื่อชดเชยโอกาสที่ต้องสูญเสียไปจากการได้รับเงินล่าช้า แต่หากเป็นการซื้อตั๋วบีอีจากตัวกลาง (เช่น บริษัทหลักทรัพย์) หรือซื้อจากบริษัทผู้ออกตั๋วโดยตรง (ผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์) ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะช่วยดำเนินการติดตามให้มีการชำระหนี้ในที่สุด
จากกรณี Earth นี่ศาลท่านจะให้ ฟื้นฟูกิจการไหมครับ?
และ และเป็นผลดี-เสีย กับเจ้าหนี้ ที่ถือตั๋ว B/E อย่างไรครับ? เพราะเคยคุยกับเพื่อนว่า บางเคสนี่เจ้าหนี้ได้คืนน้อยมาก จากปริมาณหนี้ที่มี
ขอบคุณมากครับ
กรณีของ Earth ศาลจะให้ฟื้นฟูกิจการไหมครับ และเป็นผลดี-เสีย กับเจ้าหนี้ ตั๋ว B/E อย่างไรครับ?
พอดีส่วนตัว ไม่ไดซื้อหุ้นของ บลจ. earth แต่กองทุนตราสารหนี้ (one-hyper) ดันไปถือตั๋ว b/e อยู่ 5.45% และติดลบไปแล้ว เกือบ6% (ปัจจุบันกองนี้ได้ทำ set aside คัด earth ออกไปแล้ว)
ต่อมาอยากสอบถามครับ หาความรู้จาก internet เรื่องการฟื้นฟูกิจการ
https://www.finnomena.com/suchart-th/default-bill-of-exchange/
https://www.dlo.co.th/node/102
หลักเกณฑ์เเละมูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ
ในการฟื้นฟูกิจการเริ่มต้นจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระเเล้วหรือไม่ก็ตาม เเละกิจการของลูกหนี้นั้นมีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เเม้ลูกหนี้อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย ก็สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ถ้ายังไม่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเสียก่อน เเละเพียงเเค่ลูกหนี้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวเเต่มีเหตุเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ ก็ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเสียก่อน
เมื่อกิจการของลูกหนี้เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว บุคคลทั้งสามประเภทดังกล่าวสามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ตามกฎหมาย
การบรรยายคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น ต้องบรรยายให้เเจ้งชัดถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ รายชื่อ ที่อยู่เจ้าหนี้เเละลูกหนี้ทั้งหมด เหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ รายชื่อผู้ทำเเผน คุณสมบัติของผู้ทำเเผน เเละหนังสือยินยอมของผู้ทำเเผน ซึ่งเหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ หมายถึง เเนวทางหรือวิธีการใดที่จะทำให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างของกิจการ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
เมื่อได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเเล้ว หากศาลไม่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ คำร้องขอฟื้นฟูกิจการก็ตกไป เเต่ หากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ลูกหนี้จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2583 มาตรา 90/12 ทันที ซึ่งก็คือ ระบบสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) เหตุที่มีหลักการนี้ก็เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้** เเต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตราการดังกล่าว ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้ ถูกบังคับจำนองทรัพย์สิน ถูกฟ้องร้องเป็นคดีเเพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมถึงผู้ค้ำประกันด้วย เเละก็ห้ามลูกหนี้จำหน่าย จาย โอน ทรัพย์สิน รวมทั้งก่อให้เกิดภาระเเก่ทรัพย์สินของตนระหว่างฟื้นฟูกิจการด้วย มาตารการดังกล่าวเป็นการคุ้มครองสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการของตนเองได้โดยปราศจากเหตุรบกวน
หลังจากที่ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ศาลจะทำการไต่สวน เเละหากไต่สวนเเล้วเห็นว่าคำร้องขอของลูกหนี้นั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟู ศาลก็จะยกคำร้อง เเละระบบสภาวะการพักชำระหนี้ก็สิ้นสุดลง เเต่หากศาลไต่สวนเเล้วเห็นควรให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลก็จะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือ 1.สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเต่ไม่ตั้งผู้ทำเเผน 2.สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน
หากตั๋วบีอีที่ลงทุนอยู่มีการผิดนัดฯ จะต้องทำอย่างไร
ด้วยสถานภาพของผู้ลงทุนในตั๋วบีอี ที่อยู่ในฐานะของการเป็น “เจ้าหนี้” ความน่ากังวลจึงน้อยกว่าผู้ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทที่ออกตั๋ว เนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว บริษัทจะถูกบังคับตามกฎหมายให้นำเงินมาชำระคืนแก่เจ้าหนี้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาเพื่อดำเนินการอยู่บ้าง ขณะที่ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการลดลงของราคาหุ้น และหากมีการบังคับขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินไปชำระคืนให้กับเจ้าหนี้ด้วยแล้ว ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงได้อีกตามมูลค่าของกิจการที่ลดลง (การเป็นเจ้าหนี้ ยังอยู่ในสถานะที่ดีอยู่)
หากเป็นการลงทุนผ่านกอง AI บลจ.จะเป็นผู้ดำเนินการติดตามให้มีการชำระหนี้ โดยในช่วงที่ยังไม่ได้รับเงินคืน บลจ.จะคิดดอกเบี้ยค่าปรับให้กับผู้ลงทุน เพื่อชดเชยโอกาสที่ต้องสูญเสียไปจากการได้รับเงินล่าช้า แต่หากเป็นการซื้อตั๋วบีอีจากตัวกลาง (เช่น บริษัทหลักทรัพย์) หรือซื้อจากบริษัทผู้ออกตั๋วโดยตรง (ผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์) ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะช่วยดำเนินการติดตามให้มีการชำระหนี้ในที่สุด
จากกรณี Earth นี่ศาลท่านจะให้ ฟื้นฟูกิจการไหมครับ?
และ และเป็นผลดี-เสีย กับเจ้าหนี้ ที่ถือตั๋ว B/E อย่างไรครับ? เพราะเคยคุยกับเพื่อนว่า บางเคสนี่เจ้าหนี้ได้คืนน้อยมาก จากปริมาณหนี้ที่มี
ขอบคุณมากครับ