ต่อเนื่องจากกระทู้ล้งละลาย เรามาดูการการฟื้นฟูกิจการกันดีกว่า
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไปได้ เเละเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกัน การฟื้นฟูกิจการจึงเป็นการทำเพื่อประโยชน์เเก่ลูกหนี้ เเละเจ้าหนี้ทั้งหลาย การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น จึงถือว่าเป็นการกระทำเเทนบุคคลอื่นด้วย
ประโยชน์จากการฟื้นฟูกิจการ
1. ฐานะทางการเงินของลูกหนี้จะมีสภาพคล่องมากขึ้น
2. ลูกหนี้ได้รับประโยชน์จากการประนอมหนี้
3. กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้
4. ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้เเก่เจ้าหนี้ตามเเผนฟื้นฟูกิจการ
5. ลูกหนี้ไม่อาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับคดีกับทรัพย์สินได้ในระหว่างฟื้นฟูกิจการ
6. ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ตามเเผนทั้งปวง
7. เจ้าหนี้ตามเเผนฟื้นฟูกิจการจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
8. ปัญหาด้านเเรงงานจะน้อยกว่าการที่ลูกหนี้ล้มละลาย
ผู้มีสิทธิขอฟื้นฟูกิจการ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/2 ได้กำหนดหลักการร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้ให้ผู้มีอำนาจในการร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้นั้น ได้เเก่บุคคลดังต่อไปนี้
1.ลูกหนี้ หมายถึง ลูกหนี้ประเภทนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด บริษัทมหาชน เเละนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
2.เจ้าหนี้
3.หน่วงงานของรัฐ เช่น กรมการประกันภัย ธนาคารเเห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
หลักเกณฑ์เเละมูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ
1. ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระเเล้วหรือไม่ก็ตาม
2. กิจการของลูกหนี้นั้นมีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เเม้ลูกหนี้อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย ก็สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ถ้ายังไม่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเสียก่อน เเละเพียงเเค่ลูกหนี้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวเเต่มีเหตุเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ ก็ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเสียก่อน
เมื่อกิจการของลูกหนี้เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว บุคคลทั้งสามประเภทดังกล่าวสามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ตามกฎหมาย
คำร้องขอต้องมีรายละเอียดและสาระสำคัญดังต่อไปนี้
การบรรยายคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น ต้องบรรยายให้เเจ้งชัดถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ รายชื่อ ที่อยู่เจ้าหนี้เเละลูกหนี้ทั้งหมด เหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ รายชื่อผู้ทำเเผน คุณสมบัติของผู้ทำเเผน เเละหนังสือยินยอมของผู้ทำเเผน
เหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ หมายถึง เเนวทางหรือวิธีการใดที่จะทำให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างของกิจการ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
ข้อจำกัดในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ผู้มีสิทธิขอฟื้นฟูกิจการ จะยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
1. ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
2. ศาลหรือนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องเลิกกันด้วยเหตุอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าการชำระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่
ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการ
ศาลล้มละลาย เมื่อได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเเล้ว หากศาลไม่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ คำร้องขอฟื้นฟูกิจการก็ตกไป
เเต่หากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ลูกหนี้จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2583 มาตรา 90/12 ทันที ซึ่งก็คือ ระบบสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) เหตุที่มีหลักการนี้ก็เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ เเต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตราการดังกล่าว ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้ ถูกบังคับจำนองทรัพย์สิน ถูกฟ้องร้องเป็นคดีเเพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมถึงผู้ค้ำประกันด้วย เเละก็ห้ามลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมทั้งก่อให้เกิดภาระเเก่ทรัพย์สินของตนระหว่างฟื้นฟูกิจการด้วย มาตรการดังกล่าวเป็นการคุ้มครองสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการของตนเองได้โดยปราศจากเหตุรบกวน
หลังจากที่ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ศาลจะทำการไต่สวน เเละหากไต่สวนเเล้วเห็นว่าคำร้องขอของลูกหนี้นั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟู ศาลก็จะยกคำร้อง เเละระบบสภาวะการพักชำระหนี้ก็สิ้นสุดลง เเต่หากศาลไต่สวนเเล้วเห็นควรให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลก็จะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือ
1. สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเต่ไม่ตั้งผู้ทำเเผน
2. สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน
1. คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเต่ไม่ตั้งผู้ทำเเผน
เป็นกรณีที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ทำการคัดค้านการตั้งผู้ทำเเผน เเละไม่ได้เสนอผู้ทำเเผนระหว่างที่ศาลพิจารณาตั้งผู้ทำเเผน ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทำเเผน กรณีที่ลูกหนี้ไม่ได้เสนอผู้ทำเเผน มติในการเลือกผู้ทำเเผนต้องเป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากซึ่งได้ออกเสียงลงคะเเนนในมตินั้น หากที่ประชุมเจ้าหนี้เลือกผู้ทำเเผนได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำรายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตั้งผู้ทำเเผน
หากที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจเลือกผู้ทำเเผนได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานต่อศาล เเละศาลจะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ระบบสภาวะการพักชำระหนี้ก็สิ้นสุดลง
ในระหว่างการเลือกผู้ทำเเผน อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้จะอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
2. คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน
เป็นกรณีที่ศาลไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้วเห็นว่ามีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละไม่มีผู้ใดคัดค้านผู้ทำเเผน ศาลจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผนเเล้ว อำนาจในการบริหารกิจการทรัพย์สินเเละหนี้สินจะตกเเก่ผู้ทำเเผนทันที ผู้ทำเเผนจะจัดการทรัพย์สิน เเละหนี้สินของลูกหนี้รวมทั้งจัดทำเเผนฟื้นฟูกิจการ เเละบริหารกิจการของลูกหนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งตั้งผู้บริหารเเผนต่อไป
เมื่อผู้ทำเเผนดำเนินการทำเเผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จเเล้ว ต้องส่งเเผนฟื้นฟูกิจการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เเละเจ้าหนี้ทุกคน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเเผน เเละลงมติเห็นชอบด้วยกับเเผนฟื้นฟูกิจการหรือไม่ หากที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบด้วยเเผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำรายงานต่อศาล เเละศาลจะนัดพิจารณาเพื่อมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อไป
เเต่หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบด้วยเเผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานต่อศาล เเละศาลจะทำการพิจารณาเพื่อมีคำสั่งเห็นชอบด้วยเเผน หรือไม่เห็นชอบด้วยเเผน หากศาลพิจารณาเเล้วมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยเเผน ศาลจะนัดพิจารณาเพื่อมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เเละอาจจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อไป
เเต่หากศาลพิจารณาเเล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยเเผน ศาลจะทำการเเต่งตั้งผู้บริหารเเผนต่อไป หลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้บริหารเเผนเเล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่กับผู้ทำเเผนจะตกอยู่ที่ผู้บริหารเเผนทันที ผู้บริหารเเผนจะทำการจัดการทรัพย์สินเเละหนี้สิน บริหารกิจการของลูกหนี้ รวมทั้งชำระหนี้ตามเเผนฟื้นฟูกิจการ
หากการฟื้นฟูกิจการสำเร็จตามเเผน ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ อำนาจหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินจะกลับมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิม เเต่หากการฟื้นฟูกิจการไม่เป็นผลสำเร็จ ศาลนัดพิจารณาเพื่อมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ เเละอาจจะให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดต่อไป
กระทู้อื่นๆ
ไขข้อข้องใจ “การล้มละลาย” ??:
http://ppantip.com/topic/32411265
อายุ รายได้ บอกความสามารถซื้อบ้านในฝัน:
http://ppantip.com/topic/32365548
ที่มาจาก
TerraBKK.com
ขั้นตอนการฟื้นฟูกิจการ
ต่อเนื่องจากกระทู้ล้งละลาย เรามาดูการการฟื้นฟูกิจการกันดีกว่า
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินการต่อไปได้ เเละเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกัน การฟื้นฟูกิจการจึงเป็นการทำเพื่อประโยชน์เเก่ลูกหนี้ เเละเจ้าหนี้ทั้งหลาย การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น จึงถือว่าเป็นการกระทำเเทนบุคคลอื่นด้วย
ประโยชน์จากการฟื้นฟูกิจการ
1. ฐานะทางการเงินของลูกหนี้จะมีสภาพคล่องมากขึ้น
2. ลูกหนี้ได้รับประโยชน์จากการประนอมหนี้
3. กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้
4. ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้เเก่เจ้าหนี้ตามเเผนฟื้นฟูกิจการ
5. ลูกหนี้ไม่อาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับคดีกับทรัพย์สินได้ในระหว่างฟื้นฟูกิจการ
6. ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ตามเเผนทั้งปวง
7. เจ้าหนี้ตามเเผนฟื้นฟูกิจการจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
8. ปัญหาด้านเเรงงานจะน้อยกว่าการที่ลูกหนี้ล้มละลาย
ผู้มีสิทธิขอฟื้นฟูกิจการ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/2 ได้กำหนดหลักการร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้ให้ผู้มีอำนาจในการร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้นั้น ได้เเก่บุคคลดังต่อไปนี้
1.ลูกหนี้ หมายถึง ลูกหนี้ประเภทนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด บริษัทมหาชน เเละนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
2.เจ้าหนี้
3.หน่วงงานของรัฐ เช่น กรมการประกันภัย ธนาคารเเห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
หลักเกณฑ์เเละมูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการ
1. ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียว หรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นถึงกำหนดชำระเเล้วหรือไม่ก็ตาม
2. กิจการของลูกหนี้นั้นมีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ เเม้ลูกหนี้อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย ก็สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ถ้ายังไม่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเสียก่อน เเละเพียงเเค่ลูกหนี้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวเเต่มีเหตุเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการได้ ก็ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเสียก่อน
เมื่อกิจการของลูกหนี้เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว บุคคลทั้งสามประเภทดังกล่าวสามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ตามกฎหมาย
คำร้องขอต้องมีรายละเอียดและสาระสำคัญดังต่อไปนี้
การบรรยายคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น ต้องบรรยายให้เเจ้งชัดถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ รายชื่อ ที่อยู่เจ้าหนี้เเละลูกหนี้ทั้งหมด เหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ รายชื่อผู้ทำเเผน คุณสมบัติของผู้ทำเเผน เเละหนังสือยินยอมของผู้ทำเเผน
เหตุผลอันสมควรเเละช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ หมายถึง เเนวทางหรือวิธีการใดที่จะทำให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างของกิจการ เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้
ข้อจำกัดในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ผู้มีสิทธิขอฟื้นฟูกิจการ จะยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
1. ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
2. ศาลหรือนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องเลิกกันด้วยเหตุอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าการชำระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่
ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการ
ศาลล้มละลาย เมื่อได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางเเล้ว หากศาลไม่รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ คำร้องขอฟื้นฟูกิจการก็ตกไป
เเต่หากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ลูกหนี้จะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2583 มาตรา 90/12 ทันที ซึ่งก็คือ ระบบสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) เหตุที่มีหลักการนี้ก็เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ เเต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตราการดังกล่าว ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่ต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้ ถูกบังคับจำนองทรัพย์สิน ถูกฟ้องร้องเป็นคดีเเพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมถึงผู้ค้ำประกันด้วย เเละก็ห้ามลูกหนี้จำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สิน รวมทั้งก่อให้เกิดภาระเเก่ทรัพย์สินของตนระหว่างฟื้นฟูกิจการด้วย มาตรการดังกล่าวเป็นการคุ้มครองสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้สามารถดำเนินกิจการของตนเองได้โดยปราศจากเหตุรบกวน
หลังจากที่ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้ว ศาลจะทำการไต่สวน เเละหากไต่สวนเเล้วเห็นว่าคำร้องขอของลูกหนี้นั้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการร้องขอฟื้นฟู ศาลก็จะยกคำร้อง เเละระบบสภาวะการพักชำระหนี้ก็สิ้นสุดลง เเต่หากศาลไต่สวนเเล้วเห็นควรให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลก็จะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี คือ
1. สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเต่ไม่ตั้งผู้ทำเเผน
2. สั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน
1. คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเต่ไม่ตั้งผู้ทำเเผน
เป็นกรณีที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ทำการคัดค้านการตั้งผู้ทำเเผน เเละไม่ได้เสนอผู้ทำเเผนระหว่างที่ศาลพิจารณาตั้งผู้ทำเเผน ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทำเเผน กรณีที่ลูกหนี้ไม่ได้เสนอผู้ทำเเผน มติในการเลือกผู้ทำเเผนต้องเป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากซึ่งได้ออกเสียงลงคะเเนนในมตินั้น หากที่ประชุมเจ้าหนี้เลือกผู้ทำเเผนได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำรายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตั้งผู้ทำเเผน
หากที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจเลือกผู้ทำเเผนได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานต่อศาล เเละศาลจะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ระบบสภาวะการพักชำระหนี้ก็สิ้นสุดลง
ในระหว่างการเลือกผู้ทำเเผน อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้จะอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
2. คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน
เป็นกรณีที่ศาลไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเเล้วเห็นว่ามีเหตุอันควรให้ฟื้นฟูกิจการ เเละไม่มีผู้ใดคัดค้านผู้ทำเเผน ศาลจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผน เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเเละตั้งผู้ทำเเผนเเล้ว อำนาจในการบริหารกิจการทรัพย์สินเเละหนี้สินจะตกเเก่ผู้ทำเเผนทันที ผู้ทำเเผนจะจัดการทรัพย์สิน เเละหนี้สินของลูกหนี้รวมทั้งจัดทำเเผนฟื้นฟูกิจการ เเละบริหารกิจการของลูกหนี้ก่อนที่จะมีคำสั่งตั้งผู้บริหารเเผนต่อไป
เมื่อผู้ทำเเผนดำเนินการทำเเผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จเเล้ว ต้องส่งเเผนฟื้นฟูกิจการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เเละเจ้าหนี้ทุกคน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเเผน เเละลงมติเห็นชอบด้วยกับเเผนฟื้นฟูกิจการหรือไม่ หากที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบด้วยเเผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำรายงานต่อศาล เเละศาลจะนัดพิจารณาเพื่อมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อไป
เเต่หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบด้วยเเผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรายงานต่อศาล เเละศาลจะทำการพิจารณาเพื่อมีคำสั่งเห็นชอบด้วยเเผน หรือไม่เห็นชอบด้วยเเผน หากศาลพิจารณาเเล้วมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยเเผน ศาลจะนัดพิจารณาเพื่อมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เเละอาจจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อไป
เเต่หากศาลพิจารณาเเล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยเเผน ศาลจะทำการเเต่งตั้งผู้บริหารเเผนต่อไป หลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้บริหารเเผนเเล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่กับผู้ทำเเผนจะตกอยู่ที่ผู้บริหารเเผนทันที ผู้บริหารเเผนจะทำการจัดการทรัพย์สินเเละหนี้สิน บริหารกิจการของลูกหนี้ รวมทั้งชำระหนี้ตามเเผนฟื้นฟูกิจการ
หากการฟื้นฟูกิจการสำเร็จตามเเผน ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ อำนาจหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินจะกลับมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิม เเต่หากการฟื้นฟูกิจการไม่เป็นผลสำเร็จ ศาลนัดพิจารณาเพื่อมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ เเละอาจจะให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดต่อไป
กระทู้อื่นๆ
ไขข้อข้องใจ “การล้มละลาย” ??: http://ppantip.com/topic/32411265
อายุ รายได้ บอกความสามารถซื้อบ้านในฝัน: http://ppantip.com/topic/32365548
ที่มาจาก TerraBKK.com