ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 23/7/2560- เล่าเรื่องเทพเทวีไอยคุปต์

กระทู้คำถาม

ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับอมยิ้ม17 สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันอาทิตย์ MC WANG JIE (แอ๊ด) เข้าประจำการครับอมยิ้ม36

อันที่จริงต้องมาตั้งแต่เมื่อวานแล้วครับ แต่เผอิญคอมที่ใช้อยู่ขัดข้อง ต้องลงวินโดวส์ใหม่ จึงขอให้น้องๆช่วยตั้งแทน และผมก็จะประจำการสองวันรวดคือวันนี้และวันพรุ่งนี้อีก 1 วัน เป็นการชดเชย

วันนี้ นำเรื่องราวของ เทพเจ้าไอยคุปต์ (อียิปต์) มาฝากครับ

คงไม่มีอารยธรรมโบราณใด ที่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าที่หลากหลายเท่าชาวอียิปต์ เทพเจ้าของอียิปต์มักอยู่ในรูปของสัตว์นานาชนิดที่พบเห็นได้รอบ ๆ ตัว ต่างจากเทพเจ้าในจินตนาการของชาวกรีกและฮินดู หรือเทพเจ้าอื่นๆ

ชาวอียิปต์มีเรื่องเทพเจ้ามาไม่ต่ำกว่า 6 พันปี ยุคแรกๆ จะเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เทพแห่งอาหารเป็นต้น แต่เมื่ออียิปต์พัฒนาเข้าสู่ยุคฟาโรห์ เทพแห่งอียิปต์ก็พัฒนาซับซ้อนขึ้นเป็นลำดับ มีเทพประจำเมือง ประจำอาชีพ และเทพที่เคยใหญ่บางองค์ก็กลายเป็นเทพขั้นรองไป เทพที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ คือเทพที่ยังเหลือปรากฎให้คนในปัจจุบันได้พบเห็นในรูปของภาพวาด รูปปั้น เครื่องประดับ และงานศิลป์ต่างๆ หรือแม้แต่มัมมี่ของสัตว์ต่างๆ ซึ่งถือเป็นตัวแทนเทพเจ้า และเป็นเทพองค์ “ดัง” ที่คนอียิปต์โบราณส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ ดังต่อไปนี้


(1) "รา (RA) " สุริยเทพ (บางคนก็เรียก "เร")
เป็นสุริยเทพซึ่งเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งปวง รา เป็นเทพบิดรแห่งเทพทั้งปวง และเทพแห่งการสร้างสรรค์ ชื่อของพระองค์มาจากคำว่า เร และ อาเมน ซึ่งชื่อ เร มาจากอียิปต์ตอนบน และ อาเมน มาจากอียิปต์ตอนล่าง (ซึ่งในทางภูมิศาสตร์ อียิปต์ตอนบนจะอยู่ทางทิศใต้ ส่วนอียิปต์ตอนล่างจะอยู่ทางเหนือ นับว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดเรื่องหนึ่งของอาณาจักรไอยคุปต์โบราณ) และเมื่อสองอาณาจักรมารวมกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อาเมน เร และเมื่อเวลาผ่านไปนับพันปี ชื่อ อาเมน เร ก็กลายเป็น อาเมน รา หรือ อามอน รา และสุดท้ายก็เรียกกันสั้นๆ ว่า "เร" หรือ "รา"

แผนที่แสดง อียิปต์ตอนบน กับอียิปต์ตอนล่าง ซึ่งสวนทางกับภูมิศาสตร์

สัญลักษณ์ของสุริยเทพ รา คือ รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์ (Solar Disk) บางครั้งตั้งอยู่บนเรือ (Solar Boat) ที่พายเคลื่อนข้ามท้องฟ้าทุกวัน ๆ บางครั้งก็เป็นรูปเหยี่ยวที่มีจานกลมอยู่บนเศียร เพราะเชื่อกันว่า เหยี่ยวคือนกที่สามารถบินได้ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

บางช่วงในยุคกลาง เทพรา และ "โอซิริส" กลายเป็นสหายกัน ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย เพราะโอซิริส อยู่ใต้โลก (นรก) และ รา อยู่บนสวรรค์, เทพองค์อื่นๆ ล้วนอยากเป็นสหายกับราทั้งสิ้น เพราะเชื่อว่าเมื่อเป็นสหายของราแล้ว ราอาจจะเปิดเผยพระนามลับให้ได้รู้ แต่ราก็มีศัตรูบ้างเหมือนกัน เช่นเทพ "เซ็ธ" แต่เซ็ธก็ช่วยราปราบ "อาเป็บ" เทพอสรพิษได้ และการที่เซ็ธได้เคยช่วยรานั้น ทำให้หลายคนเชื่อว่าเซธนั้นแท้ที่จริงมิใช่จะเลวทรามไปหมด, "ไอซิส" เป็นอีกหนึ่งเทพที่เป็นศัตรูของรา เธอหลอกล่อให้ราเปิดเผยพระนามที่แท้จริง เพื่อโอซิริส สวามีของนางจะได้เป็นกษัตริย์แห่งเทพทั้งปวง

เชื่อกันว่า รา จะมีพลังอำนาจมากที่สุดเหนือเทพองค์ใดๆ พลังอำนาจนั้นอยู่ในพระนามลับ และคนที่รู้เท่านั้นจะสามารถใช้พลังนั้นได้ ซึ่งก็มีเพียงราพระองค์เดียว พระองค์มีพลังครอบคลุมทั้งดินแดน จะเสกสร้างอะไรก็ได้ พระองค์สร้างมนุษย์ สร้างโลกและสวรรค์ นี่แหละคือพลังของพระองค์  วันหนึ่งเทพีไอซิสอยากได้พลังอำนาจจากพระองค์ นางจึงส่งอสรพิษไปเพื่อวางยาพระองค์ และเมื่อราถูกพิษจนกำเริบ จึงได้ยอมแพ้และยินยอมบอกพระนามลับ เทพธิดาไอซิสจึงเนรเทศราไปอยู่ใน "ดูแอ็ต" (Duat แปลว่า โลกวิญญาณ), เพื่อให้โอซิริสผู้สวามีได้เป็นกษัตริย์

รา มีทายาทเป็นธิดา กับ "นุต" (Nut) ซึ่งเป็นหลานสาวตัวเอง โดยตั้งชื่อธิดานั้นว่า "ฮาเธอร์" (Hathor) เทพีแห่งความรัก, และทายาทอีกสององค์คือ "ซู" (Shu) เทพแห่งอากาศ และ "เทฟนุต" (Tefnut) เทพีแห่งหยาดน้ำค้างยามเช้า, ทั้งสองมีทายาท 2 องค์คือ "นุต" เทพีแห่งท้องฟ้า (ซึ่งภายหลังกลายเป็นชายาของ รา ผู้เป็นปู่) และ "เก๊บ" (Geb) เทพแห่งปฐพี, สององค์นี้มีทายาทคือ "ไอซิส" (Isis) เทพีแห่งเรือน, "เนฟธีส" (Nephthys) เทพีแห่งความตรอมตรม, "เซ็ต" (Set) เทพแห่งทะเลทรายและความแห้งแล้ง และ "โอซิริส" (Osiris) เทพแห่งชีวิตหลังความตาย, พวกเขาจับคู่กันแล้วมีทายาทอีกสององค์คือ "อนูบิส" (Anubis) เทพแห่งความตาย และ "ฮอรัส" (Horus) เทพแห่งสงครามและฟาโรห์

สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของสุริยเทพ "รา" คือ "แมลงสแคแร็บ" ซึ่งถ้าใครไปเที่ยวที่อียิปต์ จะเห็นมีตัวแมลงนี้ขายเป็นที่ระลึก

(2) อามุน (หรือ อาเมน,อามอน = AMUN)

เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองธีบส์ มีรูปเป็นชาย เศียรประดับอาภรณ์รูปขนนกยาว ยุคหลังพระนามเพี้ยนเป็น อาตอน หรือ อาเตน ในยุคของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 ได้ทรงพยายามให้คนอียิปต์ทั้งมวลหันมาเคารพเทพอาเตนเพียงองค์เดียว ซึ่งนับเป็นความพยายามในการปฎิวัติความเชื่อครั้งใหญ่ โดยฟาโรห์เองได้เปลี่ยนพระนามเป็น อัคเคนาเตน (Akhenaten) และฟาโรห์องค์ต่อมาก็ทรงพระนามที่เกี่ยวข้อง คือ ตุตันคาเมน เป็นต้น อาเตน หรืออามุน ถือเป็นสุริยเทพ เหมือนกับ รา ซึ่งภายหลังสองชื่อนี้จะมารวมกัน เป็น "อามุน รา" (หรือ อามอน รา) พระนามเดิมของ อามุน ทีแรกถูกบันทึกว่า "อิมน์" (Imn) ซึ่งแปลว่า "สิ่งที่ซ่อนเร้น" อักขระซึ่งเป็นสระนั้นมิได้จารึกด้วยอักษรเฮียรโรกลิฟฟิคซึ่งใช้ับันทึกภาษาอียิปต์โบราณ แต่นักอียิปต์วิทยา (Egyptologists) คิดว่า พระนามนั้นต้องออกเสียงว่า "ยาห์มานูห์" ในตอนแรก และในภาษาค็อปติค จารึกเป็น "อาโมน" (Amoun)

เทพอามุน มีรูปลักษณ์เป็นมนุษย์ นั่งบนบัลลังก์ ที่พระเศียรสวมมงกุฏทรงสูงมีต้นพลัมคู่สองคู่ชี้ขึ้นข้างบน บางทีอาจหมายถึงขนหางนก ให้ระลึกถึงสถานภาพในเบื้องต้นของพระองค์ ซึ่งเป็นวายุเทพ

อามุน มีความสำคัญมากกว่าเทพ "เม็นธู" (Menthu) เทพแห่งสงครามประจำท้องถิ่นแห่ง "ธีบีส" (Thebes) เม็นธู ก็ถูกเรียกว่า เป็นโอรสแห่งอามุน, เพราะเทพี "มุต" (Mut) (ชายาของอามุน) เป็นหมัน จึงเชื่อกันว่า พระนาง กับเทพอามุน ก็เลยรับเทพเมนธูมาเป็นบุตรบุญธรรม

(3) เทพี "นุต" หรือ "นัต" (NUT)


เป็นเทพีแห่งท้องฟ้า และเป็นพระมเหสีของเทพเร มีโอรส-ธิดา 5 องค์ และล้วนเป็นเทพสำคัญทั้ง 5 องค์ คือ โอซิริส ไอซิส เนฟธิส เซธ และ ฮาร์มาคิส

ตำนานเล่าว่า เทพีนุต จะกลืนกิน "รา" ผู้เป็นสุริยเทพ ทุกคืน และจะคายเพื่อให้ รา กำเนิดใหม่ ในทุกๆเช้า

เป็นที่น่าแปลกใจว่า แม้ตามวิหาร เพดานห้องฝังศพฟาโรห์หรือเชื้อพระวงศ์ หลายแห่งที่มีชื่อเสียงจะปรากฏภาพของพระนาง แต่ก็มักถูกมองข้าม ผู้คนไม่ค่อยสนใจ มักมองผ่านๆ

นุตเป็นเทพีแห่งท้องฟ้า แต่ก็เป็นเทพีเพื่อการอื่นอีก มีพระนามอีก 3 คือ นูอิต (Nuit), เนเว็ต (Newet) และ นูเอธ (Nueth), พระนางได้รับการนับถือว่าเป็น "เทพมารดา" แห่งเทพทั้งปวง แม้กระทั่ง "รา" ซึ่งเป็นปู่ด้วย !!! เพราะพระนางต้องกลืนกินราทุกคืน ๆ และคายออกให้พระองค์เกิดใหม่ทุก ๆ เช้า !! นอกจากนั้น พระนางยังเป็น "พระมารดาแห่งกายสวรรค์" เสียงสรวลของพระนางจะกลายเป็นฟ้าร้องฟ้าผ่า และเสียงร่ำไห้จะกลายเป็นสายฝน พระนางมักคอยประคองพระอาทิตย์ให้ข้ามขอบฟ้า และยังมีส่วนร่วมสำคัญในพิธีศพ บางครั้งจะมีภาพของพระนางบนโลงศพของชาวอียิปต์โบราณ นุ้ต เป็น 1 ใน 9 เทพเทวีหลักๆ พระนางคือสัญลักษณ์แห่งฟ้าและสวรรค์ ชาวอียิปต์เรียกพระนางว่า"พระมารดาแห่งนภากาศ" (The Mother of the Sky) และพระนางคือเทพีที่เก่าแก่มากที่สุดองค์หนึ่ง

เพราะพระนางเป็นเทพีแห่งฟ้าสวรรค์ จึงมีศักดิ์สูงกว่าเทพ "เก๊บ" เทพแห่งผืนปฐพี, ปลายองคุลีหัตถ์ของพระนางปรากฏใกล้เศียรของเก๊บ และนิ้วเท้าก็ปรากฏใกล้เท้าของเก๊บเช่นกัน ภาพเขียนรูปพระนางมักเป็นสีน้ำเงินเข้มและไร้เชือก แม้นักอียิปต์วิทยาบางคนเชื่อว่าพระนางมีเชือกสายรุ้งประดับอยู่กับดวงดาวรอบพระกาย ภาพของพระนางมักปรากฏบนเพดานห้องฝังศพ ในลักษณะกางปีกนก หรือมีแจกันบนพระเศียร และหลายครั้งที่พระนางปรากฏตัวเป็นรูปแม่โค ขณะกำลังประคองพระอาทิตย์ข้ามขอบฟ้า แม่โคนั้นเองคือสัญลักษณ์บอกความเป็นพระมารดา

เทพีนุต เป็นเทพีที่สวยและใจดี มีความรักและห่วงใย พระนางเสน่หากับ "ธอธ" เทพแห่งวิทยาการ และ "เก๊บ" เทพแห่งผืนพสุธา, พระนางเป็นเทพมารดาผู้แข็งแกร่งและเป็นอิสระเสรี เพราะพระนางไม่อภิเสกกับใครเป็นการเฉพาะ พระนางจะทำในสิ่งที่ประสงค์ และยามกริ้วขึ้นมาละก็ ใครก็อย่ามาขวางทางเสียให้ยาก (ผู้หญิงก็เป็นแบบนี้.....ไม่ว่าจะคนหรือเทพี ก็พอๆกันอมยิ้ม16)
นุตมีสัมพันธ์กับเก๊บผู้เป็นน้องชายฝาแฝด และธอธ เทพแห่งอาลักษณ์และปัญญา เพราะพระนางคือเทพีแห่งฟ้าและเก๊บเป็นเทพแห่งปฐพี ดังนั้นตอนเช้าทั้งสองจึงต้องแยกกัน กลางคืนจึงจะอยู่ด้วยกัน ซึ่งทำให้กำเนิดความมืด มีตำนานเล่าว่าปฏิทินชาวอียิปต์โบราณเดิม 1 ปี มี 360 วันเท่านั้น, นุตทรงรักกับเก๊บและธอธ แต่ต้องอภิเสกกับรา เมื่อราทรงทราบความสัมพันธ์อย่างลับๆนี้ก็กริ้ว และทรงสาบว่า พระนางจะไม่อาจมีโอรสหรือธิดาได้เลยตลอดปี นุตเสียพระทัยมาก จึงไปขอให้ธอธช่วย ธอธจึงไปพนันกับ "โคนซู" (Khonsu) เทพจันทรา โดยขอวันเพิ่มอีก 5 วันเพื่อที่ตนและนุตจะได้มีลูกด้วยกัน 5 องค์ๆละวัน และปรากฏว่าธอธชนะพนัน (ไม่รู้เล่นอะไรกัน?อมยิ้ม19) นุตจึงมีทายาทออกมาจนได้ 5 องค์ คือ โอซิริส,ฮอรัส,เซ็ต,ไอสิส และเน็ฟธี ตามลำดับ และวันทั้ง 5 ที่ได้เพิ่ม คือวันที่ 27-31 ธันวาคม ถูกขนานนามว่า "วันแห่งปีศาจ" (Demon Days), พระนางกับ รา ก็มีธิดาด้วยกัน 1 องค์ คือ "เซคเม็ท" (Sekhmet) เทพีแห่งสีหะ ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น "ฮาเธอร์" (Hathor) เทพีแห่งความรักและสันติภาพผู้งดงามและเป็นที่เคารพบูชาและยังเป็นเทพีผู้พิทักษ์อีกด้วย

เครดิตข้อมูล=http://www.2by4travel.com/home/Data-travel/egypt/thephcea-haeng-xiyipt

และ วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ MC แปลเองทั้งหมด
https://simple.wikipedia.org/wiki/List_of_Egyptian_gods_and_goddesses

ยังมีต่ออีกเยอะ พบกันใหม่พรุ่งนี้อีก 1 วันครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
เอามาแจมด้วยครับกับเรื่องที่พอจะเกี่ยวกัน

ตำนานอียิปต์.. เรื่องของคลีโอพัตรา ที่คุณยังไม่รู้?



"คลีโอพัตรา ในมุมหนึ่งที่คุณไม่เคยรู้"

พอเอ่ยชื่อ " พระนางคลีโอพัตรา " ก็ให้รู้สึกลำบากใจที่จะต้องเขียนถึง ด้วยความที่เป็นชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เอาเป็นว่าเราจะกล่าว ถึงเรื่องของพระนางเพียงพอสังเขปรวมถึงเรื่องราวในแง่มุม ที่คุณเองก็อาจจะไม่เคยได้รับรู้มาก่อน

เริ่มกันตั้ง แต่ชื่อ " คลีโอพัตรา " ที่ใครๆ เข้าใจเป็นชื่ออิยิปต์ แต่แท้ที่จริงแล้วชื่อนี้เป็นชื่อกรีกและยังเป็นกรีกมาซีโดเนียเสียด้วย ตามหน้าประวัติศาสตร์แล้วพระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้าลิปซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้า

อเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ทรงมีพระนามว่า " คลีโอพัตรา " และเมื่อราชวงศ์ปโตเลมีของมาซีโดเนี่ยนขึ้นปกครอง


"คลีโอพัตรา องค์สุดท้าย"

ไอยคุปต์นาม " คลีโอพัตรา " จึงนิยมตั้งชื่อกันอย่างแพร่หลายในหมู่เจ้าหญิงของราชวงศ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ราชินีคลีโอพัตราแห่งไอยคุปต์จึงมีถึง 7 พระองค์ ส่วนองค์ที่เราจะได้รับรู้เรื่องเบื้องลึกของพระนางในวันนี้เป็น ราชินีคลีโอพัตราองค์สุดท้าย พระนางทรงเป็นราชธิดาของฟาโรห์ออลีตีส

พระนางคลีโอพัตราในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปคือพระราชินี้ผู้ทรงเสน่ห์ที่สุด มีรูปโฉมที่งดงาม เพียบพร้อมไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายในเชิงพิศวาส ที่สามารถมัดใจชายผู้เป็นยอดนักรบที่กล้าแกร่งให้มาซบอยู่ตักได้ถึงสองคนในเวลาใกล้เคียงกันแต่แท้ที่จริงแล้ว เสน่ห์ของพระนางคลีโอพัตราไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนังมังสาหรือความงดงามแห่งใบหน้าและเรือนกายเลย แต่อยู่ที่สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันคนต่างหาก


"วาจาท่าทางแห่งมนต์เสน่ห์อันล้ำลึก"

การที่เราเข้าใจกันว่าพระนางมีเสน่ห์อันล้ำลึกยั่วยวนใจชายจนเหลือกำลังนั้นเป็นผลมาจากภาพของพระนางคลีโอพัตราที่เราเห็นจากภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทละครอันลือลั่นของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ชื่อเรื่อง " แอนโทนีคลีโอพัตรา " นั่นเอง และยิ่งละครและภาพยนตร์ยิ่งดังเท่าไรผู้คนก็พากันเชื่อมั่นว่าพระนางคลีโอพัตราจะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเท่านั้นแต่จากหลักฐานที่นักเขียนชีวประวัติลือนามอย่าง" พลูตาร์ค " ได้เขียนถึงพระนางคลีโอพัตราไว้ว่า " เราได้รับคำบอกเล่าว่า ความงามของคลีโอพัตรานั้นมิใช่งามเลิศไร้ที่ติจนดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นในนาทีแรก แต่นางมีนางมีเสน่ห์อันใครต้านทานไม่ได้ มีบุคลิกแปลกและทรงอำนาจ จนทำให้ทุกวาจาและท่าทีของนางสะกดผู้คนให้ตกอยู่ในมนต์เสน่ห์อันนี้เอง "



Cleopatra & Caesar


"สติปัญญาอันชาญฉลาด"

ส่วนหลักฐานยืนยันสิ่งที่สองคือรูปสลักของพระนางที่วิหารแห่งอเล็กซานเดรียกับลูกนกบนเหรียญกษาปณ์ที่ทำขึ้นในสมัยนั้น ภาพของพระนางคลีโอพัตราคือหญิงสาวที่มีเรือนร่างอันอวบอ้วนใบหน้ากลม ปากบางสวย

แต่มีจมูกที่ทั้งใหญ่และงุ้มแม้ว่ารูปโฉมของพระนางคลีโอพัตรา ราชินีแห่งไอยคุปต์จะไม่เหมือนอย่างที่เราเคยรับรู้ แต่บุคลิกและเอกลักษณ์ของพระนางที่เลอค่ามากกว่ารูปโฉมจนกลายเป็นเสน่ห์ที่มั่นคงและมากขึ้นตามอายุไข นั่นก็คือ สติปัญญาและความรอบรู้พระนางทรงเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์รอบรู้เรื่องรัฐศาสตร์และหลักการปกครองอันเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถพูดได้ถึง 6 ภาษา รวมทั้งยังเก่งเรื่องอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพราะตลอดเวลา 22 ปีที่ทรงครองบัลลังก์อยู่ พระนางแต่งโคลงกลอนไว้มากมายรวมทั้งให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปกรรมสาขาต่างๆ มากมายด้วยความเก่งกาจของพระนางคลีโอพัตราที่มีอยู่มากมาย ทำให้ฟาโรห์ผู้เป็นพระราชบิดาของพระนางแต่งตั้งให้พระนางขึ้นครองราชบัลลังก์คู่กับพระองค์ในปี 52 ก่อนค.ศ. และพระนางก็สามารถบริหารราชการบ้านเมืองคู่พระบิดามาได้ด้วยความเรียบร้อย จนเมื่อพระบิดาสวรรคต ความทุกข์ความขมขื่นในชีวิตของพระนางก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อตามธรรมเนียมไอยคุปต์ ที่สืบทอดบัลลังก์กันทางผู้หญิง โดยที่ราชธิดาของฟาโรห์จะได้รับการตระเตรียมเพื่อเป็นราชินีโดยที่จะต้องแต่งงานกันในระหว่างพี่น้อง

พระนางคลีโอพัตราจึงหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ข้อนี้ พระนางถูกวางตัวให้อยู่ในตำแหน่งาชินีและต้องแต่งงานกับฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 น้องชายของพระนางเอง แต่โชคร้ายที่พี่น้องคู่นี้เกลียดกันถึงขนาดต้องการจะฟาดฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่งทีเดียว ผู้เป็นน้องชายจึงจ้องจะหาทางกำจัดพี่สาว ส่วนพระนางคลีโอพัตราก็อยากจะกำจัดน้องชายเสียให้สิ้นเรื่อง แต่ในเวลานั้นพระนางยังไม่ทรงแน่ใจในอำนาจที่มีอยู่ในมือ จึงต้องเป็นฝ่ายล่าถอยออกจากเมืองอเล็กซานเดรียเพื่อไปตั้งหลักพระนางเริ่มมองหาพันธมิตรเพื่อช่วยเหลือในการกำจัดฟาโรห์ออกจากบัลลังก์ให้ได้ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ที่โรงเริ่มรุกรานดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมี จูเลียส ซีซาร์เป็นแม่ทัพยกมาทางอียิปต์ พระนางเห็นเป็นจังหวะเหมาะถึงจึงลอบเข้าเมืองเพื่อไปหาซีซาร์มาถึงตอนนี้ที่เราเห็นในภาพยนตร์คือพระนางคลีโอพัตราซ่อนร่างอยู่ในม้วนพรมแล้วให้ทาสแบกเข้าไปในวังที่ซีซาร์พัก เมื่อคลี่พรมออกก็ปรากฏเรือนร่างเปลือยเปล่าของพระนางออกมาร่ายรำแต่จริงๆ แล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่แต่เป็นเพราะการเจรจาที่ฉลาดเฉียบแหลมทางสติปัญญาของพระนางต่างหากที่ทำให้ จูเลียต ซีซาร์ ยอมช่วยราชินีไอยคุปต์ให้ได้ครองบัลลังก์ แต่เพียงผู้เดียว

ซีซาร์บัญชาการทหารให้ทำลายล้างกองทัพอียิปห์ที่ต่อต้านพระนางคลีโอพัตรา และการสงครามในครั้งนี้ซีซาร์ได้เผาเรือรบของตนตามแผนยุทธการ แต่บังเอิญไฟได้ลามไปถึงหอสมุดอเล็กซานเดรียไหม้ส่วนที่เป็นเอกสารสำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ในครั้งนนั้นได้รับการขนามนามให้เป็น " ความทรงจำของมนุษชาติ " พอเพลิงสงบก็พบศพของปโตเลมีที่ 13 จมอยู่ในแม่น้ำไนล์ในชุดเกราะทองครบครัน และเล่าลือกันว่าพระนางคลีโอพัตรานั่นเองที่เป็นคนผลักลงไปเมื่อปราศจากผู้ครองนคร ซีซาร์ในฐานะที่ตีเมืองได้ก็ต้องแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้นมา น้องชายอายุ 12 ปีของพระนางคลีโอพัตราจึงได้เป็นปโตเลมีที่ 14

ส่วนซีซาร์และพระนางคลีโอพัตราก็กลายเป็นคู่เชยคู่ดังแห่งยุคเมื่อซีซาร์ยกทัพกลับกรุงโรมได้ไม่นาน พระนางคลีโอพัตราก็ตั้งครรภ์ พระนางได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า ปโตเลมีซีซาร์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า ซีซาร์เรียน พระนางพาโอรสมาเยือนกรุงโรมในปี 46 ก่อน ค.ศ. ตามคำเชิญของซีซาร์ซึ่งทำการต้อนรับพระนางอย่างยิ่งใหญ่ พระนางนั้นหวังว่าซีซาร์จะแต่งตั้งโอรสให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ แต่ว่าจูเลียต ซีซาร์ก็ต้องมาถูกฆ่าตายกลางสภาในกลางเดือนมีนาคมปี 44 ก่อน ค.ศ. นั่นเอง ก่อนตายเขาได้แต่งตั้งหลานชายคือ อ๊อคตาเวีย ขึ้นครองกรุงโรม พระนางคลีโอพัตราจึงต้องพาโอรสกลับอเล็กซานเดรียด้วยความผิดหวัง


"ความรัก คลีโอพัตรา มาร์ค แอนโทนี่"

พระนางคลีโอพัตราเงียบหายไปหลายปีเพราะมัวยุ่งอยู่กับการฟื้นฟูอียิปต์และผูกไมตรีกับเพื่อนบ้านไม่ว่าจะ ยิว หรือ อาหรับ ในที่สุดอียิปต์ก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งจนกระทั่ง มาร์คุส อันโทนิอุส หรือ มาร์ค แอนโทนี ขุนพลของโรมันต้องส่งสารเชิญพระนางคลีโอพัตราไปพบเพื่อหารือขอความช่วยเหลือเมื่อพระนางไปพบ มาร์ค แอนโทนี่ ที่เมืองทาร์ซุส ความรักครั้งยิ่งใหญ่ก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปด้วยความหวานชื่น แต่ก็ให้เกิดเหตุบังเอิญเมื่อ ฟุลเวีย ภรรยาคนที่สามก่อกบฏ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่อ๊อคตาเวีย

และโดนประหารในที่สุด แอนโทนีจึงต้องกลับบ้านและตกลงแต่งงานกับน้องสาวของอ๊อคตาเวียเพื่อสานสัมพันธ์กันใหม่พระนางคลีโอพัตราแทบคลั่งเมื่อได้ทราบการแต่งงานของชู้รัก ต่อมาพระนางก็ให้กำเนิดลูกแฝดแก่แอนโทนีและตั้งชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตราเซเลเน แล้วจู่ๆ มาร์ค แอนโทนี ก็ติดต่อมาอีกทั้งคู่จึงกลับมาคืนดีกันด้วยความหวานชื่นอีกครั้งทางด้านกรุงโรมก็กำลังวุ่นวายเมื่อรู้ว่าแอนโทนีกับคลีโอพัตราสนิทแนบแน่นกันนั้น อาจจะกำลังมีแผนการอย่างอื่นอยู่ อ๊อคตาเวียจึงเรียกร้องให้คลีโอพัตราส่งเสบียงกรังมาเป็นส่วย แต่แอนโทนีห้ามไว้


"สงครามอียิปต์"

เมื่อแน่ใจแล้วว่าแอนโทนีกำลังแปรพักตร์ไปเข้ากับอียิปต์ อ๊อคตาเวียจึงประกาศให้ชาวโรมฟังว่าแอนโทนีมีแผนจะย้ายเมืองหลวงหรือก่อกบฎนั่นเอง แอนโทนีจึงประกาศว่าอ๊อคตาเวียไม่ใช่ทายาทที่ถูกต้อง แต่ซีซาร์เรียนเท่านั้นที่เป็นทายาทตัวจริงของซีซาร์และมีสิทธ์ครองกรุงโรม อ๊อคตาเวียจึงเกลี้ยกล่อมสภาซีเนทของโรมให้เห็นถึงอันตรายของอียิปต์ภายใต้การปกครองของแอนโทนีและคลีโอพัตรา ในที่สุดโรมจึงประกาศสงครามกับอียิปต์ปี 31 ก่อน ค.ศ. กองทัพโรมันก็บ่ายหน้าสู่อียิปต์ มาร์ค แอนโทนียกกองทัพเรือออกไป โดยมีคลีโอพัตราลงเรือของเธอไปสังเกตการณ์ กองทัพของฝ่ายโรมันและอียิปต์เข้าโรมรันกันอย่างดุเดือด พระนางคลีโอพัตราตกพระทัยในศึกดุเดือดเบื้องหน้า จึงสั่งให้เรือของเธอกลับลำหนี เมื่อแอนโทนีหันมาเห็นเข้าก็ถอดเสื้อเกราะทิ้งแล้วแล่นเรือไล่ตามหลังพระนางมา การรบเป็นอันจบสิ้น รวมทั้งชีวิตของคนทั้งสองด้วย



Death of Cleopatra


"ความลับตลอดกาล"

เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ มาร์ค แอนโทนี จึงฆ่าตัวตายในอ้อมแขนของพระนางคลีโอพัตรา ส่วนพระนางก็ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายตามคู่รักไป อียิปต์จึงตกเป็นของโรมันตั้งแต่นั้นมาหลักฐานของเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงปรากฏให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาหลายยุคหลายสมัย แต่เว้นอยู่อย่างเดียวคือ ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะระบุสุสานของ มาร์ค แอนโทนี และ พระนางคลีโอพัตรา อยู่ที่ไหนความลับเกี่ยวกับที่เก็บศพของคู่รักบันลือโลกคู่นี้จึงยังเป็นความลับอยู่ตลอดมา


แหล่งข้อมูล : รวมเรื่องโบราณคดี
http://variety.teenee.com/world/1269.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่