ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้มุ่งประพฤติ กระทำอานาปานสติ
ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอด
อกุปปธรรม (ผู้มีธรรมไม่กำเริบ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.
๕ ประการอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ๕ ประการคือ ในกรณีนี้ ภิกษุ :
๑. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย
สันโดษในบริกขารแห่งชีวิต;
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความ
เป็นผู้มีท้องอันพร่อง;
๓. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ใน
ความตื่น;
๔. เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือ
ธรรมเหล่าใดอันงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง
งดงามในที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็น
ปานนั้น เป็นธรรมที่เธอสดับแล้วมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ;
๕. พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว
(ตามลำดับ) อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้มุ่งประพฤติกระทำ อานาปานสติ
ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล
ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๕/๙๖.
ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่ อานาปานสติภาวนา (นัยที่หนึ่ง)(พระสูตร)
ภิกษุผู้มุ่งประพฤติ กระทำอานาปานสติ
ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอด
อกุปปธรรม (ผู้มีธรรมไม่กำเริบ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.
๕ ประการอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ๕ ประการคือ ในกรณีนี้ ภิกษุ :
๑. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย
สันโดษในบริกขารแห่งชีวิต;
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความ
เป็นผู้มีท้องอันพร่อง;
๓. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ใน
ความตื่น;
๔. เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือ
ธรรมเหล่าใดอันงดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง
งดงามในที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็น
ปานนั้น เป็นธรรมที่เธอสดับแล้วมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ;
๕. พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว
(ตามลำดับ) อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้มุ่งประพฤติกระทำ อานาปานสติ
ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล
ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นานเทียว.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๕/๙๖.