ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะแก่ อานาปานสติภาวนา(นัยที่สอง)(พระสูตร)

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้ต่อกาลไม่นาน
เทียว.
๕ ประการอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ๕ ประการ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุ :
๑. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย
สันโดษในบริกขารแห่งชีวิต;
๒. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความ
เป็นผู้มีท้องอันพร่อง;
๓. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ใน
ความตื่น;
๔. เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่
ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อการขูดเกลากิเลส เป็นที่
สบายแก่ธรรมเครื่องเปิดโล่งแห่งจิต คือ :-
อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย)
สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ)
ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด)
อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี)
วิริยารัมภกถา (เรื่องมีความเพียร)
สีลกถา (เรื่องศีล)
สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ)
ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ)
วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ);
๕. พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว
(ตามลำดับ) อย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้เจริญ อานาปานสติซึ่งประกอบด้วยธรรม
๕ ประการ เหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรม ได้
ต่อกาลไม่นานเทียว.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๖/๙๗.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่