ทุกวันนี้ผมเห็นสื่อนำเสนอข่าวจากคลิปที่ลงเฉพาะกลุ่มในโซเชียล หรือมาจากอินเตอร์เนทฯ
ทั้งๆที่จุดประสงค์การเผยแพร่คลิปของผู้เผยแพร่นั้นตั้งใจแค่ให้ดูในกลุ่มคนรู้จัก หรือเพื่อนๆของตน
ยกตัวอย่าง คลิปที่มีคนขโมยน้ำมัน ๖,๐๐๐ ลิตร แล้วเจ้าของจับได้ จึงให้โจร (ที่เป็นลูกน้องของตัวเจ้าของนั่นแหละ)
กราบ และเอาน้ำมันล้างหน้า...ฯลฯ ในการนำเสนอ ส่วนตัวผมเข้าใจในตัวผู้เสียหาย คือผู้ที่โดนขโมยน้ำมัน
ที่ต้องการนำเสนอ เพราะ ๑ อยากประจานหัวขโมย ๒ อยากได้หลักฐาน และพยาน (คือคนที่ชมคลิป)
เพราะมีการตกปากรับคำที่ว่า ถ้าให้โอกาสในครั้งนี้แล้วจะไม่หนีกลับบ้าน เพราะเดือนนี้ทั้งเดือน หัวขโมยทั้ง ๓ ต้องโดนริบเงินเดือน
แต่พอสื่อออกมานำเสนอ สื่อกลับออกความคิดเห็นและเข้าปรึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
กลายเป็นว่า สื่อเองกลับชี้ช่องให้หัวขโมยสามารถฟ้องร้องกลับ ในสิ่งที่ตัวเองโดนกระทำจากผู้เสียหาย
ประเด็นแรกที่ผมคิดออก คือ สื่อไม่เคยช่วยแก้ปัญหาสังคม, กฎหมายไม่เคยช่วยแก้ปัญหาสังคม
การให้อภัย และวิธีการลงโทษที่เป็นวิถีชาวบ้าน (แบบไม่ถึงชีวิตนะ!!) น่าจะเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ตรงจุดมากกว่า
หลายครั้งที่เราอ่านข่าวปล้น, ฆ่า, ข่มขืน ส่วนใหญ่มากจากผู้ที่เคยทำผิดแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น
คนพวกนี้ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย และไม่อาจเยียวยาได้
และคนพวกนี้ก็กลายเป็นเหยื่อของสื่อ เพราะเมื่อสื่อมีการนำเสนอไปแล้วสังคมคนรอบข้างเพื่อนบ้าน
ญาติของคนร้ายหรือเหยื่อที่เขาไม่มีความผิด ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องมารับผิดชอบผลกระทบ รวมทั้งฝั่งผู้เสียหายด้วย
ที่มาจากการนำเสนอของสื่อ ยกตัวอย่างเด็กที่โดนข่มขื่น แม้ว่ามาตรา ๙๓ และ ๑๑๓ ในพระราชบัญญัติกฎหมายสื่อมวลชน
หมวดความผิดเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ระบุชัดเจนว่า
มาตรา ๙๓ ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความ หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันจะทำให้รู้จักตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
มาตรา ๑๑๓ ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำคู่ความ ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ในคดี หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อหรือแสดงหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวถึงในคดี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
แต่การนำเสนอข่าวของสื่อส่วนใหญ่มีการอ้างถึงผู้ปกครองเด็ก ถิ่นที่อยู่, หมู่บ้าน, จังหวัด ฯลฯ
ร้อยทั้งร้อยของข่าวที่สื่อนำเสนอนั้นยังไม่ผ่านกระบวนการในชั้นศาลด้วยซ้ำ
มาตรา ๓๒๖ และ ๓๒๗ ในพระราชบัญญัติกฎหมายสื่อมวลชน
หมวดความผิดฐานหมิ่นประมาท ระบุชัดเจนว่า
มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นต้องมีการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม นั่นคือต้องมีการนำเรื่องราวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปกล่าวหรือเผยแพร่ โดยที่เรื่องราวนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรืออาจทำให้คนอื่นเข้าใจผิด โดยจะต้องมีบุคคลที่สามเข้ามารับรู้เรื่องราวนั้น ๆ ซึ่งบุคคลที่สามอาจมีเพียงคนเดียวหรือมากกว่าก็ได้
มาตรา ๓๒๗ ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒๖ นั้น
การใส่ความผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะถึงแม้ว่าบุคคลที่ถูกใส่ความจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้นๆ เช่น กรณีที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้นำภาพศพของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกฆ่าข่มขืนมาตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาตีพิมพ์ เพราะบุคคลดังกล่าวได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้น บิดา มารดาจึงสามารถฟ้องดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทได้
นี่เป็นพระราชบัญญัติกฎหมายควบคุมสื่อคร่าวๆที่ผมนำมาอ้างอิง
ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก ซึ่งถ้าประชาชนผู้เสียหายจากสื่อนำมาฟ้องร้องกับสื่อฯ
ผมคิดว่าสื่อฯบ้านเราคงจะมีจริยธรรมมากกว่านี้ ทำไมผมถึงได้จงเกลียดจงชังสื่อขนาดนี้นะเหรอ??!!
ผมมีลูกเล็กๆ ทุกวันๆตอนเช้าเราจะเปิดทีวีเพื่อดูข่าว ยกตัวอย่าง "รายการเรื่องเล่าเช้านี้" ของช่อง ๓
ทุกวันๆมีการนำคลิปจากโลกโซเชียลมานำเสนอๆ ซึ่งมีแต่เนื้อหาความรุนแรง, ก้าวร้าว
คลิปพวกนี้ถ้ามันอยู่ในโซเชียล ผู้ปกครองยังสามารถควบคุมไม่ให้เด็กดูหรือเล่นโทรศัพท์ได้
แต่ในโทรทัศน์ ซึ่งผมยอมรับว่าต้องการให้ลูกเสพเฉพาะ Content ที่มีสาระประโยชน์ (ซึ่งน้อยมาก)
แล้วถามว่าทำไมต้องเจาะจงช่องนี้ ขอเรียนตรงๆว่าผมย้ายบ้านไปอยู่ชานเมืองคลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ช่องอื่น
ไม่สามารถรับชมได้ และจริงๆแล้วผมก็ไม่ได้ต้องการให้ลูกดูละครน้ำเน่าทางทีวีนั่นเอง
แต่ทีวีช่องที่เรารับชมได้ก็ดันมีแต่ขยะให้เราเสพ
๑ ใน ๑๐ ของเนื้อหาที่สื่อนำเสนอจะเป็นเรื่องสร้างสรรค์ เพราะสื่อฯคิดว่าประชาชนต้องการเสพเนื้อหา
ความรุนแรง, ความฟุ้งเฟ้อ, ฯลฯ ในฐานะประชาชนคนนึงผมคิดว่าสื่อฯกำลังชี้นำสังคม และล้างสมองประชาชน
เราต้องยอมรับความจริงกันว่าทุกวันนี้เราใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อบ้าแบรนด์เนม ก็เพราะละครน้ำเน่าบ้านเราที่มันล้างสมองเราแบบไม่รู้ตัว
มีแต่เรื่องราวคนรวยมีอันจะกิน แย่งสมบัติ, แย่งผู้ชาย/ผู้หญิง สื่อฯยัดเยียดสิ่งเหล่านี้ให้เรา
จั๊กแร้ขาว, หน้าขาว (แต่สันดานเลว) ก็เท่านั้น สื่อฯชี้นำให้เรามองคนแค่ภายนอก แค่รูปลักษณ์ในแบบที่สื่อฯเจาะจง
แม้แต่ข่าวเรื่องการเสพยาเสพติด, ข่าวลักเล็กขโมยน้อย ฯลฯ ที่สื่อฯนำเสนอ หลายๆเคสมันกลายเป็นแบบอย่างให้คนเลียนแบบ
และทำตาม สื่อฯไม่สามารถระบุคนที่มีวิจารณญาณหรือไม่มีวิจารณญาณให้มาเสพสื่อฯได้ เพราะโทรทัศน์เข้าถึงคนทุกชนชั้น
ถ้าถามผมว่ารังเกียจสื่อแล้วยังดูยังเสพ???
พวกเราเคยไม่ดูละครไม่ดูข่าว แต่เพื่อนบ้านเราดูทีวีดูข่าว เขาก็เอาขยะที่สื่อฯยัดเยียดให้มาบอกเล่าให้เราฟัง
วิถีประชาชนหรือมนุษย์มันก็ต้องมีสังคม เราคงหนีไม่พ้นเรื่องสื่อฯที่มาจากปากคนอื่น
ทางแก้ทางเดียวคือต้องถามคำถามแบบนี้กับสื่อฯ ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อฯโยนให้ประชาชนเผชิญหน้า
ความรับผิดชอบของสื่อฯหลังจากนำเสนอข่าว, Content ไปแล้วมีกันบ้างไหมครับ?
ทั้งๆที่จุดประสงค์การเผยแพร่คลิปของผู้เผยแพร่นั้นตั้งใจแค่ให้ดูในกลุ่มคนรู้จัก หรือเพื่อนๆของตน
ยกตัวอย่าง คลิปที่มีคนขโมยน้ำมัน ๖,๐๐๐ ลิตร แล้วเจ้าของจับได้ จึงให้โจร (ที่เป็นลูกน้องของตัวเจ้าของนั่นแหละ)
กราบ และเอาน้ำมันล้างหน้า...ฯลฯ ในการนำเสนอ ส่วนตัวผมเข้าใจในตัวผู้เสียหาย คือผู้ที่โดนขโมยน้ำมัน
ที่ต้องการนำเสนอ เพราะ ๑ อยากประจานหัวขโมย ๒ อยากได้หลักฐาน และพยาน (คือคนที่ชมคลิป)
เพราะมีการตกปากรับคำที่ว่า ถ้าให้โอกาสในครั้งนี้แล้วจะไม่หนีกลับบ้าน เพราะเดือนนี้ทั้งเดือน หัวขโมยทั้ง ๓ ต้องโดนริบเงินเดือน
แต่พอสื่อออกมานำเสนอ สื่อกลับออกความคิดเห็นและเข้าปรึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
กลายเป็นว่า สื่อเองกลับชี้ช่องให้หัวขโมยสามารถฟ้องร้องกลับ ในสิ่งที่ตัวเองโดนกระทำจากผู้เสียหาย
ประเด็นแรกที่ผมคิดออก คือ สื่อไม่เคยช่วยแก้ปัญหาสังคม, กฎหมายไม่เคยช่วยแก้ปัญหาสังคม
การให้อภัย และวิธีการลงโทษที่เป็นวิถีชาวบ้าน (แบบไม่ถึงชีวิตนะ!!) น่าจะเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ตรงจุดมากกว่า
หลายครั้งที่เราอ่านข่าวปล้น, ฆ่า, ข่มขืน ส่วนใหญ่มากจากผู้ที่เคยทำผิดแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น
คนพวกนี้ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย และไม่อาจเยียวยาได้
และคนพวกนี้ก็กลายเป็นเหยื่อของสื่อ เพราะเมื่อสื่อมีการนำเสนอไปแล้วสังคมคนรอบข้างเพื่อนบ้าน
ญาติของคนร้ายหรือเหยื่อที่เขาไม่มีความผิด ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องมารับผิดชอบผลกระทบ รวมทั้งฝั่งผู้เสียหายด้วย
ที่มาจากการนำเสนอของสื่อ ยกตัวอย่างเด็กที่โดนข่มขื่น แม้ว่ามาตรา ๙๓ และ ๑๑๓ ในพระราชบัญญัติกฎหมายสื่อมวลชน
หมวดความผิดเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ระบุชัดเจนว่า
มาตรา ๙๓ ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อ หรือแสดงข้อความ หรือกระทำการด้วยประการใด ๆ อันจะทำให้รู้จักตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
มาตรา ๑๑๓ ในการโฆษณาไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือซึ่งคำคู่ความ ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ใด ๆ ในคดี หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัว ห้ามมิให้ระบุชื่อหรือแสดงหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกล่าวถึงในคดี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
แต่การนำเสนอข่าวของสื่อส่วนใหญ่มีการอ้างถึงผู้ปกครองเด็ก ถิ่นที่อยู่, หมู่บ้าน, จังหวัด ฯลฯ
ร้อยทั้งร้อยของข่าวที่สื่อนำเสนอนั้นยังไม่ผ่านกระบวนการในชั้นศาลด้วยซ้ำ
มาตรา ๓๒๖ และ ๓๒๗ ในพระราชบัญญัติกฎหมายสื่อมวลชน
หมวดความผิดฐานหมิ่นประมาท ระบุชัดเจนว่า
มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นต้องมีการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม นั่นคือต้องมีการนำเรื่องราวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปกล่าวหรือเผยแพร่ โดยที่เรื่องราวนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรืออาจทำให้คนอื่นเข้าใจผิด โดยจะต้องมีบุคคลที่สามเข้ามารับรู้เรื่องราวนั้น ๆ ซึ่งบุคคลที่สามอาจมีเพียงคนเดียวหรือมากกว่าก็ได้
มาตรา ๓๒๗ ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒๖ นั้น
การใส่ความผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะถึงแม้ว่าบุคคลที่ถูกใส่ความจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้นๆ เช่น กรณีที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้นำภาพศพของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกฆ่าข่มขืนมาตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม และไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาตีพิมพ์ เพราะบุคคลดังกล่าวได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้น บิดา มารดาจึงสามารถฟ้องดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทได้
นี่เป็นพระราชบัญญัติกฎหมายควบคุมสื่อคร่าวๆที่ผมนำมาอ้างอิง
ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก ซึ่งถ้าประชาชนผู้เสียหายจากสื่อนำมาฟ้องร้องกับสื่อฯ
ผมคิดว่าสื่อฯบ้านเราคงจะมีจริยธรรมมากกว่านี้ ทำไมผมถึงได้จงเกลียดจงชังสื่อขนาดนี้นะเหรอ??!!
ผมมีลูกเล็กๆ ทุกวันๆตอนเช้าเราจะเปิดทีวีเพื่อดูข่าว ยกตัวอย่าง "รายการเรื่องเล่าเช้านี้" ของช่อง ๓
ทุกวันๆมีการนำคลิปจากโลกโซเชียลมานำเสนอๆ ซึ่งมีแต่เนื้อหาความรุนแรง, ก้าวร้าว
คลิปพวกนี้ถ้ามันอยู่ในโซเชียล ผู้ปกครองยังสามารถควบคุมไม่ให้เด็กดูหรือเล่นโทรศัพท์ได้
แต่ในโทรทัศน์ ซึ่งผมยอมรับว่าต้องการให้ลูกเสพเฉพาะ Content ที่มีสาระประโยชน์ (ซึ่งน้อยมาก)
แล้วถามว่าทำไมต้องเจาะจงช่องนี้ ขอเรียนตรงๆว่าผมย้ายบ้านไปอยู่ชานเมืองคลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ช่องอื่น
ไม่สามารถรับชมได้ และจริงๆแล้วผมก็ไม่ได้ต้องการให้ลูกดูละครน้ำเน่าทางทีวีนั่นเอง
แต่ทีวีช่องที่เรารับชมได้ก็ดันมีแต่ขยะให้เราเสพ
๑ ใน ๑๐ ของเนื้อหาที่สื่อนำเสนอจะเป็นเรื่องสร้างสรรค์ เพราะสื่อฯคิดว่าประชาชนต้องการเสพเนื้อหา
ความรุนแรง, ความฟุ้งเฟ้อ, ฯลฯ ในฐานะประชาชนคนนึงผมคิดว่าสื่อฯกำลังชี้นำสังคม และล้างสมองประชาชน
เราต้องยอมรับความจริงกันว่าทุกวันนี้เราใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อบ้าแบรนด์เนม ก็เพราะละครน้ำเน่าบ้านเราที่มันล้างสมองเราแบบไม่รู้ตัว
มีแต่เรื่องราวคนรวยมีอันจะกิน แย่งสมบัติ, แย่งผู้ชาย/ผู้หญิง สื่อฯยัดเยียดสิ่งเหล่านี้ให้เรา
จั๊กแร้ขาว, หน้าขาว (แต่สันดานเลว) ก็เท่านั้น สื่อฯชี้นำให้เรามองคนแค่ภายนอก แค่รูปลักษณ์ในแบบที่สื่อฯเจาะจง
แม้แต่ข่าวเรื่องการเสพยาเสพติด, ข่าวลักเล็กขโมยน้อย ฯลฯ ที่สื่อฯนำเสนอ หลายๆเคสมันกลายเป็นแบบอย่างให้คนเลียนแบบ
และทำตาม สื่อฯไม่สามารถระบุคนที่มีวิจารณญาณหรือไม่มีวิจารณญาณให้มาเสพสื่อฯได้ เพราะโทรทัศน์เข้าถึงคนทุกชนชั้น
ถ้าถามผมว่ารังเกียจสื่อแล้วยังดูยังเสพ???
พวกเราเคยไม่ดูละครไม่ดูข่าว แต่เพื่อนบ้านเราดูทีวีดูข่าว เขาก็เอาขยะที่สื่อฯยัดเยียดให้มาบอกเล่าให้เราฟัง
วิถีประชาชนหรือมนุษย์มันก็ต้องมีสังคม เราคงหนีไม่พ้นเรื่องสื่อฯที่มาจากปากคนอื่น
ทางแก้ทางเดียวคือต้องถามคำถามแบบนี้กับสื่อฯ ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สื่อฯโยนให้ประชาชนเผชิญหน้า