สกู๊ปแนวหน้า: 'ล่าแม่มด' ประจานออนไลน์งานถนัดชาวเนต..ทำได้หรือไม่?
แนวหน้า ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
โดย : อารีรัตน์ คุมสุข
ยุคนี้สมัยนี้ที่สื่อออนไลน์กลายเป็นของคู่กับชีวิตมนุษย์ ใครจะทำอะไร ที่ไหน เวลาใด สามารถถูก "แชร์"ได้ตลอด เพราะใครๆ ต่างก็มีมือถือ สมาร์ทโฟนที่ถ่ายภาพและคลิปวีดีโอได้ ซึ่งถ้าถูกแชร์ในเรื่องที่ดีๆ ก็แล้วไป แต่บางครั้งหากไปทำในสิ่งที่ดูแล้วไม่ถูก ไม่งาม ไม่ว่าจะหมิ่นเหม่ต่อกฎหมาย หรือเพียงแค่ไม่ถูกจารีตประเพณี ไม่เข้าตากระแสสังคม ก็อาจถูก
"แฉ-ประจาน" ได้ และนั่นอาจหมายถึงการ
"หมดอนาคต" ไม่มีที่ยืน อีกต่อไป
เรื่องของการประจานคนที่ประพฤติตนไม่ดีไม่งามผ่านสื่อออนไลน์ ที่มีบางคนให้นิยามว่า
"ล่าแม่มดออนไลน์" เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่เสมอว่า
"ทำได้หรือไม่?" ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนมักให้เหตุผลว่า
"เพื่อกำจัดคนไม่ดีออกไป จากสังคม" เพราะบางครั้งมาตรการทางกฎหมายไปไม่ถึงจึงต้องใช้มาตรการทางสังคมแทน ขณะที่ฝ่ายคัดค้านก็จะแย้งว่า
"เข้าข่ายหมิ่นประมาท" เพราะบ่อยครั้งมิใช่แค่การแสดงภาพที่เป็นเหตุการณ์ แต่เป็นการลงรายละเอียดอื่นๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ที่ทำงาน ฯลฯ เพื่อให้คนไปกดดันให้ต้นสังกัดไล่บุคคลดังกล่าวออกจากงาน
นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทนายความชื่อดังอธิบายผ่าน
"สกู๊ปหน้า 5" ว่ากรณีแบบนี้ค่อนข้าง
"ซับซ้อน" และแบ่งได้เป็นหลายขั้นตอน
ประการแรก.. การโพสต์ภาพหรือคลิปวีดีโอลักษณะนี้จะเข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือไม่? หากอ้างอิงฐานความผิดจาก
ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 326 และ 328) รวมถึง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (มาตรา 14 ข้อ 1)
ทนายประมาณกล่าวว่า ทั้ง 2 ข้อกฎหมายนี้ต้องดูว่า
"เป็นเรื่องจริงหรือเท็จ" เพราะกฎหมายระบุนิยามการ
"ใส่ความอันทำให้ได้รับความเสียหาย" ว่าหมายถึงการ
"กุเรื่องหลอกลวง" ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดเท่านั้น แต่หากเป็นเรื่องจริงก็ไม่เข้าข่าย เพราะเป็นเพียงการแจ้งให้สังคมรับรู้ว่ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
"ถ้าหมิ่นประมาทต้องเป็นเรื่องในลักษณะของการ ใส่ความ คือการใส่ความต่อผู้อื่นหรือบุคคลที่สามให้เขามีความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ในลักษณะนี้ ถึงจะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเอา ความจริงมานำเสนอ ก็ถือว่าไม่ได้เป็นการใส่ความอะไรเขา ให้ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท" ทนายประมาณ กล่าว
ภาพล้อพฤติกรรมชอบตัดสินของชาวเนต (ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต)
ทว่า
ประการที่สอง.. นอกจากการพิจารณาว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จแล้ว ประมวลกฎหมายอาญายังให้หลักเกณฑ์อีกข้อหนึ่งด้วยว่า
"เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่?" (มาตรา 330) เพราะบางเรื่องถือเป็น
"เรื่องส่วนตัว" ที่ถึงจะเป็นความจริงก็ไม่สามารถนำมาเผยแพร่ในพื้นที่สาธารณะได้ ซึ่งการเปิดเผย
"ข้อมูลส่วนบุคคล" ก็อาจเข้าข่ายข้อนี้
"มีความเชื่อที่ว่า ถ้ามาตรการทางกฎหมายทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องใช้มาตรการทางสังคม ต้องโพสต์เพื่อให้คนกดดัน ไปบีบให้เขาโดนไล่ออก พฤติกรรมแบบนี้มันทำให้เขาเสียหาย ถ้ามีคนโพสต์ภาพว่าคนนี้ แล้วมีคนมาคอมเมนต์ (แสดงความคิดเห็น) ว่า คนนี้เรารู้จัก ชื่ออะไร ทำงานที่ไหน อยู่ที่ไหน ในกรณีนี้ถ้าดูเผินๆ เหมือนจะไม่มีอะไร แต่เจตนาจริงๆ ก็คือต้องการใส่ความคนในภาพ ให้คนอื่นเกลียดชัง ก็อาจเป็นความผิดได้
แม้จะเป็นภาพจริงแต่เป็นเรื่องส่วนตัวก็มีความผิด เราก็ไม่มีสิทธิ์ไปประจานคนอื่นเขา แต่ถ้าเป็นการนำเสนอว่า สังคมมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการนำเสนอที่สุจริต แต่คนที่มาโพสต์ต่อเริ่มมีเจตนา ถ้าเป็นการนำภาพและเนื้อหา และเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีเจตนาทำให้เขาเสียหายถือว่าไม่มีความผิด แต่คนที่มาโพสต์เปิดเผยข้อมูลก็อาจมีความผิด" ทนายความชื่อดัง อธิบาย
เรื่องของการตัดสินว่าข้อมูลแบบใดเป็นสาธารณะ หรือส่วนตัวนี้ถือว่า
"ตัดสินได้ยาก" พอสมควร ดังที่
รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ตั้งข้อ สังเกตว่า การโพสต์ภาพโพสต์คลิปวีดีโอก็ดี การวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นก็ดี จะแยกแยะได้อย่างไรว่าสิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือสิ่งใดเป็นไปเพียงเพื่อความสะใจเท่านั้น
"ลองคิดย้อนดูง่ายๆ ว่าหากปล่อยให้คนสามารถที่จะทำเช่นนี้ได้โดยเสรี จะทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ตัดสินผู้อื่นกันอย่างกว้างขวาง และต่างคนต่างก็จะคิดว่าการประจาน หรือการกระทำของตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเหตุผลที่แตกต่างกันไป โดยไม่แน่ว่าสิ่งที่กระทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจริงหรือไม่ ดังนั้นการวัดง่ายๆ ก็อาจจะต้อง เปรียบเทียบกับความเสียหาย และความเดือดร้อนที่บุคคลผู้ถูกนำรูปหรือการกระทำต่างๆ มาลงไว้นั้นจะต้อง ได้รับ การที่จะอ้างลอยๆ ว่าเป็นประโยชน์นั้นย่อมไม่สามารถที่จะทำได้" อาจารย์เจษฎ์ อธิบาย
นักวิชาการด้านกฎหมายรายนี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนได้รับความเสียหายจากการถูกประจานดังกล่าว สามารถฟ้องร้องตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ใน 2 ลักษณะ คือ
1.หากเป็นการหมิ่นประมาทอันเป็นเท็จ สามารถที่จะดำเนินการตาม
มาตรา 423 และ
2.หากได้รับความเสียหายอื่นๆ ก็อาจจะสามารถดำเนินการตาม
มาตรา 420 ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำอันจงใจ หรือประมาทเลินเล่อทำให้ผู้อื่นเสียหาย ต่อชื่อเสียงของเขา ส่วนค่าเสียหายจะเป็นเท่าใดนั้น ก็คงจะต้องไปพิสูจน์เป็นแต่ละกรณีไป
"หากทุกคนเป็นคนตัดสินการกระทำอันเป็นการผิดกฎหมาย ทุกคนก็สามารถที่จะเป็นผู้พิพากษาคนได้ ทำให้กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในมือทุกคน โดยไม่ว่าจะชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม มีกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จะทำให้เกิดความวุ่นวายยุ่งเหยิงมาก
แต่หากจะให้ชัดเจนว่ากระทำได้และเป็นประโยชน์นั้น เช่น มีกลุ่มบุคคลจะทำการข่มขืนผู้หญิง มีกลุ่มบุคคลไปไล่คนเหล่านั้น มีคนที่ถ่ายคลิปเอาไว้ได้ จึงนำมาลงให้คนดู เช่นนี้คงจะอธิบายประโยชน์สาธารณะได้ชัดเจน ดังนั้นการพิจารณาจึงต้องทำให้รอบคอบ และไม่ใช่ทุกคนจะเป็นผู้ตัดสินเสียเองได้" อาจารย์เจษฎ์ ฝากข้อคิดทิ้งท้าย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 5)
สกู๊ปแนวหน้า: 'ล่าแม่มด' ประจานออนไลน์งานถนัดชาวเนต..ทำได้หรือไม่?
สกู๊ปแนวหน้า: 'ล่าแม่มด' ประจานออนไลน์งานถนัดชาวเนต..ทำได้หรือไม่?
แนวหน้า ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
โดย : อารีรัตน์ คุมสุข
ยุคนี้สมัยนี้ที่สื่อออนไลน์กลายเป็นของคู่กับชีวิตมนุษย์ ใครจะทำอะไร ที่ไหน เวลาใด สามารถถูก "แชร์"ได้ตลอด เพราะใครๆ ต่างก็มีมือถือ สมาร์ทโฟนที่ถ่ายภาพและคลิปวีดีโอได้ ซึ่งถ้าถูกแชร์ในเรื่องที่ดีๆ ก็แล้วไป แต่บางครั้งหากไปทำในสิ่งที่ดูแล้วไม่ถูก ไม่งาม ไม่ว่าจะหมิ่นเหม่ต่อกฎหมาย หรือเพียงแค่ไม่ถูกจารีตประเพณี ไม่เข้าตากระแสสังคม ก็อาจถูก "แฉ-ประจาน" ได้ และนั่นอาจหมายถึงการ "หมดอนาคต" ไม่มีที่ยืน อีกต่อไป
เรื่องของการประจานคนที่ประพฤติตนไม่ดีไม่งามผ่านสื่อออนไลน์ ที่มีบางคนให้นิยามว่า "ล่าแม่มดออนไลน์" เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่เสมอว่า "ทำได้หรือไม่?" ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนมักให้เหตุผลว่า "เพื่อกำจัดคนไม่ดีออกไป จากสังคม" เพราะบางครั้งมาตรการทางกฎหมายไปไม่ถึงจึงต้องใช้มาตรการทางสังคมแทน ขณะที่ฝ่ายคัดค้านก็จะแย้งว่า "เข้าข่ายหมิ่นประมาท" เพราะบ่อยครั้งมิใช่แค่การแสดงภาพที่เป็นเหตุการณ์ แต่เป็นการลงรายละเอียดอื่นๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ที่ทำงาน ฯลฯ เพื่อให้คนไปกดดันให้ต้นสังกัดไล่บุคคลดังกล่าวออกจากงาน
นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทนายความชื่อดังอธิบายผ่าน "สกู๊ปหน้า 5" ว่ากรณีแบบนี้ค่อนข้าง "ซับซ้อน" และแบ่งได้เป็นหลายขั้นตอน ประการแรก.. การโพสต์ภาพหรือคลิปวีดีโอลักษณะนี้จะเข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือไม่? หากอ้างอิงฐานความผิดจาก ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 326 และ 328) รวมถึง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (มาตรา 14 ข้อ 1)
ทนายประมาณกล่าวว่า ทั้ง 2 ข้อกฎหมายนี้ต้องดูว่า "เป็นเรื่องจริงหรือเท็จ" เพราะกฎหมายระบุนิยามการ "ใส่ความอันทำให้ได้รับความเสียหาย" ว่าหมายถึงการ "กุเรื่องหลอกลวง" ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดเท่านั้น แต่หากเป็นเรื่องจริงก็ไม่เข้าข่าย เพราะเป็นเพียงการแจ้งให้สังคมรับรู้ว่ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
"ถ้าหมิ่นประมาทต้องเป็นเรื่องในลักษณะของการ ใส่ความ คือการใส่ความต่อผู้อื่นหรือบุคคลที่สามให้เขามีความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ในลักษณะนี้ ถึงจะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเอา ความจริงมานำเสนอ ก็ถือว่าไม่ได้เป็นการใส่ความอะไรเขา ให้ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท" ทนายประมาณ กล่าว
ทว่า ประการที่สอง.. นอกจากการพิจารณาว่าเป็นเรื่องจริงหรือเท็จแล้ว ประมวลกฎหมายอาญายังให้หลักเกณฑ์อีกข้อหนึ่งด้วยว่า "เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่?" (มาตรา 330) เพราะบางเรื่องถือเป็น "เรื่องส่วนตัว" ที่ถึงจะเป็นความจริงก็ไม่สามารถนำมาเผยแพร่ในพื้นที่สาธารณะได้ ซึ่งการเปิดเผย "ข้อมูลส่วนบุคคล" ก็อาจเข้าข่ายข้อนี้
"มีความเชื่อที่ว่า ถ้ามาตรการทางกฎหมายทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องใช้มาตรการทางสังคม ต้องโพสต์เพื่อให้คนกดดัน ไปบีบให้เขาโดนไล่ออก พฤติกรรมแบบนี้มันทำให้เขาเสียหาย ถ้ามีคนโพสต์ภาพว่าคนนี้ แล้วมีคนมาคอมเมนต์ (แสดงความคิดเห็น) ว่า คนนี้เรารู้จัก ชื่ออะไร ทำงานที่ไหน อยู่ที่ไหน ในกรณีนี้ถ้าดูเผินๆ เหมือนจะไม่มีอะไร แต่เจตนาจริงๆ ก็คือต้องการใส่ความคนในภาพ ให้คนอื่นเกลียดชัง ก็อาจเป็นความผิดได้
แม้จะเป็นภาพจริงแต่เป็นเรื่องส่วนตัวก็มีความผิด เราก็ไม่มีสิทธิ์ไปประจานคนอื่นเขา แต่ถ้าเป็นการนำเสนอว่า สังคมมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการนำเสนอที่สุจริต แต่คนที่มาโพสต์ต่อเริ่มมีเจตนา ถ้าเป็นการนำภาพและเนื้อหา และเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีเจตนาทำให้เขาเสียหายถือว่าไม่มีความผิด แต่คนที่มาโพสต์เปิดเผยข้อมูลก็อาจมีความผิด" ทนายความชื่อดัง อธิบาย
เรื่องของการตัดสินว่าข้อมูลแบบใดเป็นสาธารณะ หรือส่วนตัวนี้ถือว่า "ตัดสินได้ยาก" พอสมควร ดังที่ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ตั้งข้อ สังเกตว่า การโพสต์ภาพโพสต์คลิปวีดีโอก็ดี การวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นก็ดี จะแยกแยะได้อย่างไรว่าสิ่งใดเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือสิ่งใดเป็นไปเพียงเพื่อความสะใจเท่านั้น
"ลองคิดย้อนดูง่ายๆ ว่าหากปล่อยให้คนสามารถที่จะทำเช่นนี้ได้โดยเสรี จะทำให้ทุกคนกลายเป็นผู้ตัดสินผู้อื่นกันอย่างกว้างขวาง และต่างคนต่างก็จะคิดว่าการประจาน หรือการกระทำของตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเหตุผลที่แตกต่างกันไป โดยไม่แน่ว่าสิ่งที่กระทำนั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจริงหรือไม่ ดังนั้นการวัดง่ายๆ ก็อาจจะต้อง เปรียบเทียบกับความเสียหาย และความเดือดร้อนที่บุคคลผู้ถูกนำรูปหรือการกระทำต่างๆ มาลงไว้นั้นจะต้อง ได้รับ การที่จะอ้างลอยๆ ว่าเป็นประโยชน์นั้นย่อมไม่สามารถที่จะทำได้" อาจารย์เจษฎ์ อธิบาย
นักวิชาการด้านกฎหมายรายนี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนได้รับความเสียหายจากการถูกประจานดังกล่าว สามารถฟ้องร้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ใน 2 ลักษณะ คือ 1.หากเป็นการหมิ่นประมาทอันเป็นเท็จ สามารถที่จะดำเนินการตาม มาตรา 423 และ 2.หากได้รับความเสียหายอื่นๆ ก็อาจจะสามารถดำเนินการตามมาตรา 420 ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำอันจงใจ หรือประมาทเลินเล่อทำให้ผู้อื่นเสียหาย ต่อชื่อเสียงของเขา ส่วนค่าเสียหายจะเป็นเท่าใดนั้น ก็คงจะต้องไปพิสูจน์เป็นแต่ละกรณีไป
"หากทุกคนเป็นคนตัดสินการกระทำอันเป็นการผิดกฎหมาย ทุกคนก็สามารถที่จะเป็นผู้พิพากษาคนได้ ทำให้กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในมือทุกคน โดยไม่ว่าจะชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม มีกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จะทำให้เกิดความวุ่นวายยุ่งเหยิงมาก
แต่หากจะให้ชัดเจนว่ากระทำได้และเป็นประโยชน์นั้น เช่น มีกลุ่มบุคคลจะทำการข่มขืนผู้หญิง มีกลุ่มบุคคลไปไล่คนเหล่านั้น มีคนที่ถ่ายคลิปเอาไว้ได้ จึงนำมาลงให้คนดู เช่นนี้คงจะอธิบายประโยชน์สาธารณะได้ชัดเจน ดังนั้นการพิจารณาจึงต้องทำให้รอบคอบ และไม่ใช่ทุกคนจะเป็นผู้ตัดสินเสียเองได้" อาจารย์เจษฎ์ ฝากข้อคิดทิ้งท้าย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 5)