คำสอนของพระพุทธศาสนาเรื่องกฎแห่งกรรม
มีคุณลักษณะพิเศษที่เราชาวพุทธควรภูมิใจ ผู้สำเร็จปริญญาเอกทางวรรณคดีและวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้กล่าวชมเชย พระพุทธศาสนาว่ามีลักษณะพิเศษคือ พระพุทธศาสนาสอนว่าความทุกข์ในโลกเกิดจากผลของกรรม ไม่ใช่การแทรกแซงของพระผู้เป็นเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว จะได้รับสุขหรือทุกข์ก็เพราะกรรมหรือการกระทำของตนเองทั้งสิ้น
พระพุทธองค์ทรงชี้ทางให้เท่านั้น ส่วนจะเดินตามทางที่พระองค์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ชาวพุทธควรมีศรัทธา 4 อย่างให้คือ
1.เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
2.เชื่อในเรื่องกรรม ว่า กรรมมีจริง
3.เชื่อผลของกรรม คือ เชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมได้ผลเสมอ
4.เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนคือ เชื่อว่าผลที่เราได้รับเป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมในปัจจุบันหรืออดีตชาติ
คนที่เชื่อในเรื่องกรรมจะทำความดีต่อไป จะเป็นผู้สามารถให้อภัยแก่ผู้อื่นได้ จะเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ กรรมที่คนส่วนใหญ่เข้าใจคือ การกระทำ ซึ่งมีทั้งกระทำดี และกระทำชั่ว แต่ความเข้าใจนี้ไม่ผิด แต่ยังไม่รัดกุมและถูกต้องทั้งหมด เพราะมีการกระทำบางอย่างที่ไม่นับว่าเป็นกรรม จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ ผู้ทำมีเจตนาและการกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป มีหลักการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เจตนาได้แก่ความรับรู้แบ่งเป็น 4อย่างคือ 1.เจตนาก่อนกระทำ 2.เจตนาเมื่อเวลาทำ 3.เจตนาเมื่อทำไปแล้วใหม่ๆ 4.เจตนาเมื่อทำไปนานแล้ว การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่งถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น
ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนาคือใจไม่ได้สั่งให้ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรมเช่น คนเจ็บที่มีไข้สูงเกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำหยาบคายออกมาหรือเอามือเอาเท้าไปถูกใครก้ไม่เป็นกรรม และที่ว่าการกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาปก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ออกจากปุตุชน
เนื่องจากพระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน การกระทำก็สักแต่ว่าทำไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว บุญและบาปก็ไม่มีแล้วคือพระอรหันต์ การกระทำของพระอรหันต์จึงไม่เรียกว่ากรรม แต่เรียกว่ากิริยา การกระทำของปุถุชนที่มีความยึดมั่นในตัวตน จะกระทำสิ่งใดก็ยึดถือว่าเป็นผู้กระทำ การกระทำของปุถุชนจึงเป็นกรรม ซึ่งย่อมก่อให้เกิดผลหรือวิบากเสมอ กรรมดีก่อให้เกิดบุญ(กุศลกรรม) กรรมชั่วก่อให้เกิดบาป(อกุศลกรรม)
อ้างอิงจากหนังสือ พุทโธโลยี หลวงพ่อจรัญสอนการเจริญพระกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน 4 สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนราประกาศ
ท่านเชื่อเรื่องกรรมหรือไม่
มีคุณลักษณะพิเศษที่เราชาวพุทธควรภูมิใจ ผู้สำเร็จปริญญาเอกทางวรรณคดีและวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้กล่าวชมเชย พระพุทธศาสนาว่ามีลักษณะพิเศษคือ พระพุทธศาสนาสอนว่าความทุกข์ในโลกเกิดจากผลของกรรม ไม่ใช่การแทรกแซงของพระผู้เป็นเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง บุคคลจะได้ดีหรือชั่ว จะได้รับสุขหรือทุกข์ก็เพราะกรรมหรือการกระทำของตนเองทั้งสิ้น
พระพุทธองค์ทรงชี้ทางให้เท่านั้น ส่วนจะเดินตามทางที่พระองค์หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ชาวพุทธควรมีศรัทธา 4 อย่างให้คือ
1.เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
2.เชื่อในเรื่องกรรม ว่า กรรมมีจริง
3.เชื่อผลของกรรม คือ เชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมได้ผลเสมอ
4.เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนคือ เชื่อว่าผลที่เราได้รับเป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมในปัจจุบันหรืออดีตชาติ
คนที่เชื่อในเรื่องกรรมจะทำความดีต่อไป จะเป็นผู้สามารถให้อภัยแก่ผู้อื่นได้ จะเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ กรรมที่คนส่วนใหญ่เข้าใจคือ การกระทำ ซึ่งมีทั้งกระทำดี และกระทำชั่ว แต่ความเข้าใจนี้ไม่ผิด แต่ยังไม่รัดกุมและถูกต้องทั้งหมด เพราะมีการกระทำบางอย่างที่ไม่นับว่าเป็นกรรม จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ ผู้ทำมีเจตนาและการกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป มีหลักการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เจตนาได้แก่ความรับรู้แบ่งเป็น 4อย่างคือ 1.เจตนาก่อนกระทำ 2.เจตนาเมื่อเวลาทำ 3.เจตนาเมื่อทำไปแล้วใหม่ๆ 4.เจตนาเมื่อทำไปนานแล้ว การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่งถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น
ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนาคือใจไม่ได้สั่งให้ทำ ไม่จัดว่าเป็นกรรมเช่น คนเจ็บที่มีไข้สูงเกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำหยาบคายออกมาหรือเอามือเอาเท้าไปถูกใครก้ไม่เป็นกรรม และที่ว่าการกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาปก็เพื่อแยกการกระทำของพระอรหันต์ออกจากปุตุชน
เนื่องจากพระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน การกระทำก็สักแต่ว่าทำไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว บุญและบาปก็ไม่มีแล้วคือพระอรหันต์ การกระทำของพระอรหันต์จึงไม่เรียกว่ากรรม แต่เรียกว่ากิริยา การกระทำของปุถุชนที่มีความยึดมั่นในตัวตน จะกระทำสิ่งใดก็ยึดถือว่าเป็นผู้กระทำ การกระทำของปุถุชนจึงเป็นกรรม ซึ่งย่อมก่อให้เกิดผลหรือวิบากเสมอ กรรมดีก่อให้เกิดบุญ(กุศลกรรม) กรรมชั่วก่อให้เกิดบาป(อกุศลกรรม)
อ้างอิงจากหนังสือ พุทโธโลยี หลวงพ่อจรัญสอนการเจริญพระกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน 4 สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนราประกาศ