พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
อันวิถีชีวิตของคนเราตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้แล้วนั้น
ข้อที่ว่า
"สุโข ปุญฺญสฺส อุจโย การสั่งสมบุญนำมาซึ่งความสุขดังนี้"
นี่เป็นเครื่องส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า
บุคคลที่จะได้ประสบความสุขในขั้นใดๆก็ดี
นับแต่ขั้นต่ำนี้แหละขึ้นไป จนถึงขั้นสูงสุดคือ พระนิพพาน
ก็เพราะอาศัย "การสั่งสมบุญ" นี้เอง ตามพระพุทธภาษิตนี้
ทีนี้ตรงกันข้ามนะ
"ทุกฺโข ปาปสฺส อุจโย การสั่งสมบาปนำมาซึ่งความทุกข์"
นี่ก็เป็นอันได้ความว่า
บรรดาความทุกข์ทั้งหลาย ที่มีอยู่ในสัตว์ทั้งปวงนั้นน่ะ
มันเกิดเพราะ "การกระทำบาป" เป็นมูลเหตุ ให้บุคคลได้เสวยทุกข์ทนทรมาน
มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังแห่งบาปกรรมที่บุคคลกระทำนั้น
ไม่ใช่สิ่งอื่นมาทำให้คนเราเป็นทุกข์อย่างที่ความเห็นของลัทธิอื่น
ซึ่งมีความเห็นว่า มีเทวดามาลงโทษเอาบ้าง มีท้าวมหาพรหมมาลงโทษเอาบ้าง
อย่างนี้นะ มีพวกภูตผีปีศาจมาลงโทษเอาบ้าง คนบางคนเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย
หรือถึงซึ่งความวิบัติกะทันหันบางครั้งบางคราวอย่างนี้พวกลัทธิอื่นบางลัทธิ
เขาก็ถือว่า ไปทำผิดพระภูมิเจ้าที่ พระแม่ธรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
นี่ถูกพระภูมิเจ้าที่เล่นงานเอาแล้วไปอย่างนั้นความเห็นของลัทธิอื่น
สำหรับใน "พระพุทธศาสนา" นี้แล้วไม่ได้ทรงแสดงอย่างนั้นเลย
คือ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสอย่างนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า
สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา เป็นต้น นี่สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรมที่ตนกระทำนั้น อย่างนี้แล้
เพราะฉะนั้นแหละ
เราเป็นชาวพุทธนี่ไม่ควรที่จะไปสงสัยลังเลในชีวิต
ชีวิตนี้มันเป็นมาด้วยอำนาจแห่งกรรม คือ การกระทำของตัวเอง
ในอดีตนู่นจนมาถึงปัจจุบันนี่แหละ แล้วก็จะเป็นไปในเบื้องหน้านู้น
ก็อาศัยการกระทำในปัจจุบันนี้แหละ จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ไปในเบื้องหน้าก็ดี
ถ้าตนกระทำดี ละชั่วในปัจจุบันนี้ได้ ตนก็ไม่มีบาปกรรมอันชั่วร้ายติดตามไป
ก็จะมีแต่บุญกรรมอันดีงามติดตามไปตกแต่งความสุขความเจริญให้ในภพในชาติต่อไป
ถ้าหากว่า
ผู้ใดบาปก็ทำ บุญก็ทำ อย่างนี้นะมันก็ติดตามไปสู่โลกหน้า
ทั้งสองอย่างนั้นแหละ แต่ถ้าอย่างใดมีกำลังมากกว่า สิ่งนั้นก็ย่อมให้ผลก่อน
ถ้าบุญมีกำลังมากกว่าบาปอย่างนี้นะ บุญมันก็ให้ผลก่อน พอไปเกิดในที่สุขสบาย
เอ้า
บาปมันก็ติดตามไปอยู่นั่นแหละแต่ว่ามันให้ผลยังไม่ได้
เพราะว่า กำลังของบุญกุศลมันเหนือกว่า มันก็ต้องให้ผลไปก่อน
ทีนี้เมื่อหมดกำลังของบุญกุศลนั้นลงเมื่อใด บาปมันก็ให้ผลได้ทันทีเลย
เพราะฉะนั้นเราจะสังเกตเห็นได้ว่า คนบางคนน่ะอยู่เย็นเป็นสุขมาดีๆมาอยู่นี่น่ะ
ปุ๊บปั๊บเกิดอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเลย เช่นอย่างนั่งรถไปก็รถคว่ำ
ตายโหงกันเลยอย่างนี้นะ นี่เรียกว่า บาปกรรมที่ผู้นั้นทำมาในชาติก่อนนู้นน่ะมันได้โอกาสแล้ว
บุญของผู้นั้นที่ทำมานั้นมันหมดลง บาปให้ผลสืบต่อ
บาปอย่างร้ายแรงนะ ท่านเรียกว่า "อุปฆาตกรรม" น่ะ "กรรมตัดรอน" น่ะ
มันทำลายชีวิตเอาลงในปัจจุบันทันด่วนเลย อย่างนี้แหละ
กรรมบางอย่างที่ท่านเรียกว่า "อุปปีฬกกรรม" (อุบ-ปะ-ปี-ละ-กะ-กำ)
กรรมอันบีบคั้นให้เจ็บให้ป่วยให้วิบัติไปทีละเล็กทีละน้อยไป
เอ้าเจ็บป่วยลงจะมากซะจริงๆก็ไม่มาก จะหายก็ไม่หาย
ก็ทนทุกข์ทรมานไปอยู่อย่างนั้นแหละ จะตายก็ไม่ตาย อย่างนี้แหละ
ท่านเรียกว่า
"อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น" นี่มันเป็นอย่างนั้น ต้องทบทวนดูให้ดี
ดังนั้นแหละความเป็นมาและความเป็นอยู่ของมนุษย์เราน่ะจึงไม่เหมือนกันน่ะแหละ
ก็เพราะว่าต่างคนต่างทำกรรมดีกรรมชั่วติดตัวมา คราวใดกรรมดีให้ผล
ก็มีความสุขความสบายไป ถึงคราวใดกรรมชั่วให้ผลก็เป็นทุกข์ทนทรมานไป
จนกว่าจะหมดผลแห่งกรรมชั่วเหล่านั้น ถ้าหากว่าบุญมีบุญนั้นก็จะให้ผลสืบต่อ
ถ้าหมดบุญแล้วก็อย่างว่าก็เร่ร่อนไปตามกรรมแหละ
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"อานุภาพแห่งศีล"
อำนาจกรรม : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
อันวิถีชีวิตของคนเราตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้แล้วนั้น
ข้อที่ว่า "สุโข ปุญฺญสฺส อุจโย การสั่งสมบุญนำมาซึ่งความสุขดังนี้"
นี่เป็นเครื่องส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า บุคคลที่จะได้ประสบความสุขในขั้นใดๆก็ดี
นับแต่ขั้นต่ำนี้แหละขึ้นไป จนถึงขั้นสูงสุดคือ พระนิพพาน
ก็เพราะอาศัย "การสั่งสมบุญ" นี้เอง ตามพระพุทธภาษิตนี้
ทีนี้ตรงกันข้ามนะ "ทุกฺโข ปาปสฺส อุจโย การสั่งสมบาปนำมาซึ่งความทุกข์"
นี่ก็เป็นอันได้ความว่า บรรดาความทุกข์ทั้งหลาย ที่มีอยู่ในสัตว์ทั้งปวงนั้นน่ะ
มันเกิดเพราะ "การกระทำบาป" เป็นมูลเหตุ ให้บุคคลได้เสวยทุกข์ทนทรมาน
มากบ้างน้อยบ้างตามกำลังแห่งบาปกรรมที่บุคคลกระทำนั้น
ไม่ใช่สิ่งอื่นมาทำให้คนเราเป็นทุกข์อย่างที่ความเห็นของลัทธิอื่น
ซึ่งมีความเห็นว่า มีเทวดามาลงโทษเอาบ้าง มีท้าวมหาพรหมมาลงโทษเอาบ้าง
อย่างนี้นะ มีพวกภูตผีปีศาจมาลงโทษเอาบ้าง คนบางคนเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย
หรือถึงซึ่งความวิบัติกะทันหันบางครั้งบางคราวอย่างนี้พวกลัทธิอื่นบางลัทธิ
เขาก็ถือว่า ไปทำผิดพระภูมิเจ้าที่ พระแม่ธรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
นี่ถูกพระภูมิเจ้าที่เล่นงานเอาแล้วไปอย่างนั้นความเห็นของลัทธิอื่น
สำหรับใน "พระพุทธศาสนา" นี้แล้วไม่ได้ทรงแสดงอย่างนั้นเลย
คือ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสอย่างนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า
สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา เป็นต้น นี่สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรมที่ตนกระทำนั้น อย่างนี้แล้
เพราะฉะนั้นแหละ เราเป็นชาวพุทธนี่ไม่ควรที่จะไปสงสัยลังเลในชีวิต
ชีวิตนี้มันเป็นมาด้วยอำนาจแห่งกรรม คือ การกระทำของตัวเอง
ในอดีตนู่นจนมาถึงปัจจุบันนี่แหละ แล้วก็จะเป็นไปในเบื้องหน้านู้น
ก็อาศัยการกระทำในปัจจุบันนี้แหละ จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ไปในเบื้องหน้าก็ดี
ถ้าตนกระทำดี ละชั่วในปัจจุบันนี้ได้ ตนก็ไม่มีบาปกรรมอันชั่วร้ายติดตามไป
ก็จะมีแต่บุญกรรมอันดีงามติดตามไปตกแต่งความสุขความเจริญให้ในภพในชาติต่อไป
ถ้าหากว่า ผู้ใดบาปก็ทำ บุญก็ทำ อย่างนี้นะมันก็ติดตามไปสู่โลกหน้า
ทั้งสองอย่างนั้นแหละ แต่ถ้าอย่างใดมีกำลังมากกว่า สิ่งนั้นก็ย่อมให้ผลก่อน
ถ้าบุญมีกำลังมากกว่าบาปอย่างนี้นะ บุญมันก็ให้ผลก่อน พอไปเกิดในที่สุขสบาย
เอ้า บาปมันก็ติดตามไปอยู่นั่นแหละแต่ว่ามันให้ผลยังไม่ได้
เพราะว่า กำลังของบุญกุศลมันเหนือกว่า มันก็ต้องให้ผลไปก่อน
ทีนี้เมื่อหมดกำลังของบุญกุศลนั้นลงเมื่อใด บาปมันก็ให้ผลได้ทันทีเลย
เพราะฉะนั้นเราจะสังเกตเห็นได้ว่า คนบางคนน่ะอยู่เย็นเป็นสุขมาดีๆมาอยู่นี่น่ะ
ปุ๊บปั๊บเกิดอุบัติเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเลย เช่นอย่างนั่งรถไปก็รถคว่ำ
ตายโหงกันเลยอย่างนี้นะ นี่เรียกว่า บาปกรรมที่ผู้นั้นทำมาในชาติก่อนนู้นน่ะมันได้โอกาสแล้ว
บุญของผู้นั้นที่ทำมานั้นมันหมดลง บาปให้ผลสืบต่อ
บาปอย่างร้ายแรงนะ ท่านเรียกว่า "อุปฆาตกรรม" น่ะ "กรรมตัดรอน" น่ะ
มันทำลายชีวิตเอาลงในปัจจุบันทันด่วนเลย อย่างนี้แหละ
กรรมบางอย่างที่ท่านเรียกว่า "อุปปีฬกกรรม" (อุบ-ปะ-ปี-ละ-กะ-กำ)
กรรมอันบีบคั้นให้เจ็บให้ป่วยให้วิบัติไปทีละเล็กทีละน้อยไป
เอ้าเจ็บป่วยลงจะมากซะจริงๆก็ไม่มาก จะหายก็ไม่หาย
ก็ทนทุกข์ทรมานไปอยู่อย่างนั้นแหละ จะตายก็ไม่ตาย อย่างนี้แหละ
ท่านเรียกว่า "อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น" นี่มันเป็นอย่างนั้น ต้องทบทวนดูให้ดี
ดังนั้นแหละความเป็นมาและความเป็นอยู่ของมนุษย์เราน่ะจึงไม่เหมือนกันน่ะแหละ
ก็เพราะว่าต่างคนต่างทำกรรมดีกรรมชั่วติดตัวมา คราวใดกรรมดีให้ผล
ก็มีความสุขความสบายไป ถึงคราวใดกรรมชั่วให้ผลก็เป็นทุกข์ทนทรมานไป
จนกว่าจะหมดผลแห่งกรรมชั่วเหล่านั้น ถ้าหากว่าบุญมีบุญนั้นก็จะให้ผลสืบต่อ
ถ้าหมดบุญแล้วก็อย่างว่าก็เร่ร่อนไปตามกรรมแหละ
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"อานุภาพแห่งศีล"