คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเอาบทความที่เคยเขียนเอาไว้ ในเรื่องการทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน มาให้ศึกษาตามข้อมูลด้านล่างนี้นะครับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประเด็นปัญหาความเข้าใจในการทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (สัญญาจ้างชั่วคราว)
สัญญาจ้างแบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภทคือ
1.สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน คือสัญญาจ้างโดยทั่วไปที่ไม่มีขอบเขตของเวลา จะมีการสิ้นสุดก็เพียงการเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับ
2.สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน นั่นคือ กำหนดห้วงเวลาการจ้างงานเอาไว้ชัดเจน แต่ทั้งนี้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาเอาไว้แน่นอนนั้น สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ประเภทล้อตามมาตรา 118 วรรค 3 คือ
2.1 สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน เป็นลักษณะงานตามมาตรา 118
2.2 สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน และไม่เข้าตามมาตรา 118
สำหรับสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน (ข้อที่1)นั้น ผมไม่ขออธิบายอะไรมาก ซึ่งเชื่อว่าท่านน่าจะเข้าใจหลักเกณฑ์การจ้างดีอยู่แล้ว และการเลิกจ้างหากลูกจ้างมิได้กระทำผิดตามมาตรา 119 จำเป็นต้องพิจารณา การบอกกล่าวล่วงหน้า (มาตรา 17) การจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง (มาตรา 118) และการเลิกจ้างอันเป็นธรรมด้วย (พรบ.จัดตั้งศาลฯ)
แต่ปัญหาที่ฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดกันคือ การจ้างงานชั่วคราว เป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ส่วนใหญ่แล้ว ฝ่ายบุคคลมักเข้าใจผิดว่า สัญญาจ้างงานชั่วคราวนี้ จะจ้างใครก็จ้างได้ จะจ้างเมื่อไรก็ได้ จบสัญญาแล้วจะต่อสัญญาเมื่อใดก็ได้ หรือจบสัญญาแล้วก็ทางใครทางมัน ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือรับผิดชอบแต่อย่างใด หากฝ่ายบุคคลท่านคิดเช่นนั้นต้องบอกว่า ผิดถนัด ซึ่งผมเชื่อว่า ในสังคมการทำงาน ยังมีฝ่ายบุคคลกว่าร้อยละ 80 ที่เข้าใจผิดเช่นนั้น
ทำไมผมถึงได้กล่าวเช่นนั้น เพราะในพรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 2 ปี 2551 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 118 ถึงเรื่องการจ่ายเงินชดเชยในกรณีการเลิกจ้าง และในวรรค 3-4 ท้ายเงิชดเชย ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“ การเลิกจ้างจามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสุ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำนนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น”
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม จะกระทำได้สำหรับงานในโครงการเฉพาะ ที่มิใช่งานปรกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลัษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง”
ด้วยข้อความทั้งหมดที่กล่าวไว้ในมาตรา 118 นั้น ฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่ไปอ่านถึงวรรคที่ 3 พบข้อความว่า “ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น” ก็ต่างเข้าใจผิดว่า จะสามารถจ้างลูกจ้างเป็นการชั่วคราวได้ โดยเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ก็ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ลืมที่จะอ่านต่อในวรรคที่ 4 ว่ากฎหมายได้กำหนดลักษณะสัญญาการจ้างงานอันมีกำหนดระยะเวลาเอาไว้อย่างไร
ผมสรุปข้อกำหนดตามกฎหมายให้ดังนี้
1.ต้องเป็นลักษณะงานที่ไม่ใช่ธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง หมายความว่า งานที่จ้างมาทำนั้น ต้องไม่ใช่งานธุรกิจหลัก เช่น นายจ้างทำร้านซ่อมมอร์เตอร์ไซด์ ต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราวอันมิใช่งานอันเกี่ยวกับธุรกิจซ่อมมอร์เตอไซด์ของนายจ้าง เช่น งานแม่บ้าน เป็นต้น แต่หากจ้างพนักงานสำนักงานมาทำบัญชี หรืองานฝ่ายขาย ถึงแม้เป็นการจ้างชั่วคราว แต่ลักษณะงานเป็นงานอันเกี่ยวกับธุรกิจนายจ้าง ก็ไม่เข้าด้วยมาตรา 118
2.เป็นงานโครงการชั่วคราว หรือเป็นลักษณะงานฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น นายจ้างเป็นเจ้าของสวนผลไม้ ถึงหน้าทุเรียนออกผล ก็จ้างลูกจ้างมาชั่วคราว 3 เดือนเพื่อให้เก็บผลทุเรียน เช่นนี้ถือเป็นงานตามฤดูกาล สามารถจ้างชั่วคราวตามมาตรา 118 ได้ แต่หากว่าท่านจ้างเป็นคนสวน ดูแลต้นทุเรียนเป็นปรกติวิสัย รดน้ำพรวนดิน โดยไม่สนใจฤดูกาล ถึงแม้มีอายุสัญญา 2 ปี แต่มีข้อพิจารณาว่า 1) ลูกจ้างดูแลต้นทุเรียน ซึ่งเป็นธุรกิจของนายจ้าง (นายจ้างเป็นเกษตรกร) 2) การจ้างงานถึงแม้มีอายุสัญญา 2 ปี แต่ไม่ใช่งานตามฤดูการ ดังนั้น การจ้างในประเภทหลังนี้ จึงมิใช่การจ้างงานตามมมตรา 118 แล้ว การเลิกจ้างถึงแม้สิ้นสุดสัญญาจ้าง ต้องจ่ายเงินชดเชย
3.มีระยะเวลาตามสัญญาจ้างไม่เกิน 2 ปี หากเป็นงานโครงการก็ตาม ไม่ใช่ธุรกิจของนายจ้างก็ตาม แต่หากอายุสัญญาเกิน 2 ปี ก็ไม่เข้าด้วยมาตรา 118 เช่นเดียวกัน (ฎีกาหมายเลข 1471/2525)
ดังนั้น ในเมื่อเป็นสัญญาจ้างงานชั่วคราวที่ไม่เข้าด้วยมาตรา 118 แล้ว การเลิกจ้างจึงต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง เพียงแต่ไม่ต้องจ่ายเงินบอกกล่าวล่วงหน้า เนื่องจากได้บอกกล่าวกันเอาไว้ก่อนหน้าแล้ว ตามสัญญาจ้าง ดังนั้น ประโยชน์ของการจ้างงานชั่วคราว อันไม่เข้าข้อกฎหมายมาตรา 118 มีประโยชน์ 2 ข้อคือ ไม่ต้องจ่ายเงินบอกกล่าวล่วงหน้า (เพราะบอกกล่าวกันไว้ก่อนแต่ต้นสัญญาแล้ว) และป้องกันการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม (เลิกจ้างเนื่องจากจบสัญญา เป็นการเลิกจ้างอันเป็นธรรม) แต่ท่านยังคงต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างอยู่ดี (เนื่องจากไม่เข้ามาตรา 118 วรรค 3)
ทั้งนี้ บริษัทส่วนใหญ่ที่ทำธุรกิจ หรือพาณิชยกรรม เช่นงานสำนักงาน หรืองานโรงงาน มักจ้างลูกจ้างเป็นการชั่วคราว 1-2 ปี เพื่อประหยัดงบประมาณ และไม่จ่ายเงินเลิกจ้างเมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งต้องบอกว่า ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ซึ่งผมเชื่อว่า ฝ่ายบุคคลทั้งหลาย ยังคงเข้าใจผิด และจ้างงานกันในลักษณะนี้อยู่มาก
อีกทั้ง การทำสัญญาจ้างชั่วคราว ฝ่ายบุคคลก็มักใส่ข้อความเพื่อเป็นการป้องสิทธิของตนเองเพื่อให้เป็นไปตามการจ้างงานชั่วคราว แต่ขัดเจตนารมย์ของกฎหมาย อาทิเช่น
1)ใส่ข้อความว่า สัญญาจ้างชั่วคราว มีกำหนดการทดลองงาน และเลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญากันเมื่อใดก็ได้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานได้พิพากษาเป็นแนวทางเอาไว้ว่า ในเมื่อสัญญาจ้างชั่วคราว แต่มีข้อความให้เลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญากันเมื่อใดก็ได้ ก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างงานชั่วคราวกันอีกต่อไป ถือเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน การเลิกจ้าง จึงต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายเงินชดเชย (ฎีกาฉบับที่ 888/2527)
2)สัญญาจ้างชั่วคราวกำหนดระยะเวลาเอาไว้แน่นอน แต่ระบุให้ต่อสัญญาได้ตามที่ตกลงกัน จะเห็นได้ว่า ในเมื่อสัญญาดังกล่าว สามารถยืดหรือขยายได้ตามตกลงกัน จึงมิใช่สัญญาที่มีระยะเวลาแน่นอนอีกต่อไป (ฎีกาฉบับที่ 1804/2540)
3)สัญญาจ้างงานชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลา แต่มีการทดลองงาน 4 เดือน การทดลองงานเป็นการตัดสินใจจากนายจ้างที่จะจ้างต่อไปหรือไม่ ถือว่าสัญญาฉบับนี้ ไม่ใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาฉบับที่ 8682/2548)
4)สัญญาจ้างงานระบุระยะเวลา 1 ปี หรือมากกว่าตามที่ตกลงกัน ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาฉบับที่ 2281/2526)
5)สัญญาจ้างที่มีระบุระยะเวลาจ้างต่อสุด และสูงสุดเอาไว้ (กำหนดเพดานการจ้าง ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาฉบับที่ 1604/2528)
6)สัญญาจ้างงานชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลา โดยมีเงื่อนไขการเกษียณอายุ ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาหมายเลข 1/2525)
7)สัญญาจ้างทดลองงานไม่เกิน 120 วัน ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาหมายเลข 6796/2526)
ดังนั้น ท่านฝ่ายบุคคลทั้งหลาย ลองกลับไปทบทวนลักษณะการจ้างงานและสัญญาการจ้างงานของท่านให้ดีครับ จะได้ไม่เสี่ยงที่จะบริหารงานบุคคลขัดต่อกฎหมาย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประเด็นปัญหาความเข้าใจในการทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (สัญญาจ้างชั่วคราว)
สัญญาจ้างแบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภทคือ
1.สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน คือสัญญาจ้างโดยทั่วไปที่ไม่มีขอบเขตของเวลา จะมีการสิ้นสุดก็เพียงการเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับ
2.สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน นั่นคือ กำหนดห้วงเวลาการจ้างงานเอาไว้ชัดเจน แต่ทั้งนี้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาเอาไว้แน่นอนนั้น สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ประเภทล้อตามมาตรา 118 วรรค 3 คือ
2.1 สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน เป็นลักษณะงานตามมาตรา 118
2.2 สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน และไม่เข้าตามมาตรา 118
สำหรับสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน (ข้อที่1)นั้น ผมไม่ขออธิบายอะไรมาก ซึ่งเชื่อว่าท่านน่าจะเข้าใจหลักเกณฑ์การจ้างดีอยู่แล้ว และการเลิกจ้างหากลูกจ้างมิได้กระทำผิดตามมาตรา 119 จำเป็นต้องพิจารณา การบอกกล่าวล่วงหน้า (มาตรา 17) การจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง (มาตรา 118) และการเลิกจ้างอันเป็นธรรมด้วย (พรบ.จัดตั้งศาลฯ)
แต่ปัญหาที่ฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดกันคือ การจ้างงานชั่วคราว เป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ส่วนใหญ่แล้ว ฝ่ายบุคคลมักเข้าใจผิดว่า สัญญาจ้างงานชั่วคราวนี้ จะจ้างใครก็จ้างได้ จะจ้างเมื่อไรก็ได้ จบสัญญาแล้วจะต่อสัญญาเมื่อใดก็ได้ หรือจบสัญญาแล้วก็ทางใครทางมัน ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือรับผิดชอบแต่อย่างใด หากฝ่ายบุคคลท่านคิดเช่นนั้นต้องบอกว่า ผิดถนัด ซึ่งผมเชื่อว่า ในสังคมการทำงาน ยังมีฝ่ายบุคคลกว่าร้อยละ 80 ที่เข้าใจผิดเช่นนั้น
ทำไมผมถึงได้กล่าวเช่นนั้น เพราะในพรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 2 ปี 2551 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 118 ถึงเรื่องการจ่ายเงินชดเชยในกรณีการเลิกจ้าง และในวรรค 3-4 ท้ายเงิชดเชย ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“ การเลิกจ้างจามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสุ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำนนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น”
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม จะกระทำได้สำหรับงานในโครงการเฉพาะ ที่มิใช่งานปรกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลัษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง”
ด้วยข้อความทั้งหมดที่กล่าวไว้ในมาตรา 118 นั้น ฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่ไปอ่านถึงวรรคที่ 3 พบข้อความว่า “ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น” ก็ต่างเข้าใจผิดว่า จะสามารถจ้างลูกจ้างเป็นการชั่วคราวได้ โดยเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ก็ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ลืมที่จะอ่านต่อในวรรคที่ 4 ว่ากฎหมายได้กำหนดลักษณะสัญญาการจ้างงานอันมีกำหนดระยะเวลาเอาไว้อย่างไร
ผมสรุปข้อกำหนดตามกฎหมายให้ดังนี้
1.ต้องเป็นลักษณะงานที่ไม่ใช่ธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง หมายความว่า งานที่จ้างมาทำนั้น ต้องไม่ใช่งานธุรกิจหลัก เช่น นายจ้างทำร้านซ่อมมอร์เตอร์ไซด์ ต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราวอันมิใช่งานอันเกี่ยวกับธุรกิจซ่อมมอร์เตอไซด์ของนายจ้าง เช่น งานแม่บ้าน เป็นต้น แต่หากจ้างพนักงานสำนักงานมาทำบัญชี หรืองานฝ่ายขาย ถึงแม้เป็นการจ้างชั่วคราว แต่ลักษณะงานเป็นงานอันเกี่ยวกับธุรกิจนายจ้าง ก็ไม่เข้าด้วยมาตรา 118
2.เป็นงานโครงการชั่วคราว หรือเป็นลักษณะงานฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น นายจ้างเป็นเจ้าของสวนผลไม้ ถึงหน้าทุเรียนออกผล ก็จ้างลูกจ้างมาชั่วคราว 3 เดือนเพื่อให้เก็บผลทุเรียน เช่นนี้ถือเป็นงานตามฤดูกาล สามารถจ้างชั่วคราวตามมาตรา 118 ได้ แต่หากว่าท่านจ้างเป็นคนสวน ดูแลต้นทุเรียนเป็นปรกติวิสัย รดน้ำพรวนดิน โดยไม่สนใจฤดูกาล ถึงแม้มีอายุสัญญา 2 ปี แต่มีข้อพิจารณาว่า 1) ลูกจ้างดูแลต้นทุเรียน ซึ่งเป็นธุรกิจของนายจ้าง (นายจ้างเป็นเกษตรกร) 2) การจ้างงานถึงแม้มีอายุสัญญา 2 ปี แต่ไม่ใช่งานตามฤดูการ ดังนั้น การจ้างในประเภทหลังนี้ จึงมิใช่การจ้างงานตามมมตรา 118 แล้ว การเลิกจ้างถึงแม้สิ้นสุดสัญญาจ้าง ต้องจ่ายเงินชดเชย
3.มีระยะเวลาตามสัญญาจ้างไม่เกิน 2 ปี หากเป็นงานโครงการก็ตาม ไม่ใช่ธุรกิจของนายจ้างก็ตาม แต่หากอายุสัญญาเกิน 2 ปี ก็ไม่เข้าด้วยมาตรา 118 เช่นเดียวกัน (ฎีกาหมายเลข 1471/2525)
ดังนั้น ในเมื่อเป็นสัญญาจ้างงานชั่วคราวที่ไม่เข้าด้วยมาตรา 118 แล้ว การเลิกจ้างจึงต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้าง เพียงแต่ไม่ต้องจ่ายเงินบอกกล่าวล่วงหน้า เนื่องจากได้บอกกล่าวกันเอาไว้ก่อนหน้าแล้ว ตามสัญญาจ้าง ดังนั้น ประโยชน์ของการจ้างงานชั่วคราว อันไม่เข้าข้อกฎหมายมาตรา 118 มีประโยชน์ 2 ข้อคือ ไม่ต้องจ่ายเงินบอกกล่าวล่วงหน้า (เพราะบอกกล่าวกันไว้ก่อนแต่ต้นสัญญาแล้ว) และป้องกันการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม (เลิกจ้างเนื่องจากจบสัญญา เป็นการเลิกจ้างอันเป็นธรรม) แต่ท่านยังคงต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างอยู่ดี (เนื่องจากไม่เข้ามาตรา 118 วรรค 3)
ทั้งนี้ บริษัทส่วนใหญ่ที่ทำธุรกิจ หรือพาณิชยกรรม เช่นงานสำนักงาน หรืองานโรงงาน มักจ้างลูกจ้างเป็นการชั่วคราว 1-2 ปี เพื่อประหยัดงบประมาณ และไม่จ่ายเงินเลิกจ้างเมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งต้องบอกว่า ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน ซึ่งผมเชื่อว่า ฝ่ายบุคคลทั้งหลาย ยังคงเข้าใจผิด และจ้างงานกันในลักษณะนี้อยู่มาก
อีกทั้ง การทำสัญญาจ้างชั่วคราว ฝ่ายบุคคลก็มักใส่ข้อความเพื่อเป็นการป้องสิทธิของตนเองเพื่อให้เป็นไปตามการจ้างงานชั่วคราว แต่ขัดเจตนารมย์ของกฎหมาย อาทิเช่น
1)ใส่ข้อความว่า สัญญาจ้างชั่วคราว มีกำหนดการทดลองงาน และเลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญากันเมื่อใดก็ได้ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานได้พิพากษาเป็นแนวทางเอาไว้ว่า ในเมื่อสัญญาจ้างชั่วคราว แต่มีข้อความให้เลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญากันเมื่อใดก็ได้ ก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างงานชั่วคราวกันอีกต่อไป ถือเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน การเลิกจ้าง จึงต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายเงินชดเชย (ฎีกาฉบับที่ 888/2527)
2)สัญญาจ้างชั่วคราวกำหนดระยะเวลาเอาไว้แน่นอน แต่ระบุให้ต่อสัญญาได้ตามที่ตกลงกัน จะเห็นได้ว่า ในเมื่อสัญญาดังกล่าว สามารถยืดหรือขยายได้ตามตกลงกัน จึงมิใช่สัญญาที่มีระยะเวลาแน่นอนอีกต่อไป (ฎีกาฉบับที่ 1804/2540)
3)สัญญาจ้างงานชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลา แต่มีการทดลองงาน 4 เดือน การทดลองงานเป็นการตัดสินใจจากนายจ้างที่จะจ้างต่อไปหรือไม่ ถือว่าสัญญาฉบับนี้ ไม่ใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาฉบับที่ 8682/2548)
4)สัญญาจ้างงานระบุระยะเวลา 1 ปี หรือมากกว่าตามที่ตกลงกัน ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาฉบับที่ 2281/2526)
5)สัญญาจ้างที่มีระบุระยะเวลาจ้างต่อสุด และสูงสุดเอาไว้ (กำหนดเพดานการจ้าง ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาฉบับที่ 1604/2528)
6)สัญญาจ้างงานชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลา โดยมีเงื่อนไขการเกษียณอายุ ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาหมายเลข 1/2525)
7)สัญญาจ้างทดลองงานไม่เกิน 120 วัน ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน (ฎีกาหมายเลข 6796/2526)
ดังนั้น ท่านฝ่ายบุคคลทั้งหลาย ลองกลับไปทบทวนลักษณะการจ้างงานและสัญญาการจ้างงานของท่านให้ดีครับ จะได้ไม่เสี่ยงที่จะบริหารงานบุคคลขัดต่อกฎหมาย
แสดงความคิดเห็น
ขอสอบถามเกี่ยวกับการจ้างงานครับ
เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี เป็นต้น จะสามารถทำสัญญาจ้างได้ไหม และขัดต่อ
กฏหมายแรงงานหรือไม่ครับ หรือสัญญาจะมีผลเช่นเดียวกับการจ้างแบบปกติที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ