‘พิชัย’ แนะ ‘บิ๊กตู่’ เร่งช่วยผู้มีรายได้น้อย สร้างรายได้ยั่งยืนไม่ใช่แค่แจกเงิน ติงรัฐบาลไม่เข้าใจเศรษฐกิจ อยากให้คิดให้ดีก่อนออกมาตรการ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน กล่าวว่า ตามที่ได้พูดคุยกับทีมเศรษฐกิจ คสช. ในกองทัพภาคที่ 1 ตนได้แนะนำให้ รัฐบาลและคสช. เร่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะเกษตรกร แต่ทีมเศรษฐกิจ คสช. คิดเพียงเรื่องการแจกเงินคนจน การช่วยเหลือคนชรา ซึ่งแม้เป็นเรื่องที่ดีแต่ตนอยากเห็นการสร้างรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อยอย่างยั่งยืน และการช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันทั่วโลก โดยหลังจากการปฏิวัติแล้วการช่วยเหลือเกษตรกรได้ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เกษตรกรลำบากกันอย่างมาก แม้จะส่งออกข้าวได้มาก แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ชาวนามีความเป็นอยู่ดีขึ้นเลย
“โดยความเลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยของไทยได้พุ่งขึ้นมาอยู่อันดับที่ 3 จากอันดับเดิมที่ 11 ซึ่งรองจากรัสเซียและอินเดียเท่านั้น แสดงว่าคนรวยกลับยิ่งรวยเพิ่มขึ้นแต่คนจนกลับยิ่งจนลง ทั้งๆที่รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนมากในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยแต่กลับไม่ได้ผล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ๋ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจเคยพูดว่าได้ใช้เงินช่วยผู้มีรายได้น้อยไปแล้วกว่า 9 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำข้าวมาก แต่ประชาชนกลับไม่ได้รู้สึกว่ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น การใช้เงินจำนวนมากแต่ไม่ได้ผลเท่ากับสร้างความเสียหายให้กับประเทศหรือไม่
“อยากทราบว่าโครงการของรัฐ โครงการใดที่กำไรบ้าง และ หากบอกว่านายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบกับโครงการรัฐบาลที่ไม่กำไร ก็ต้องเอานายกรัฐมนตรีทุกคนย้อนหลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาดูว่าทำโครงการใดแล้วไม่กำไรบ้าง ซึ่งน่าจะต้องเอาผิดกันเยอะเลย เพราะนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบต่อนโยบายเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ การบริหารงานรัฐบาลจะมาหวังกำไรเป็นแต่ละโครงการคงไม่ได้ แต่ต้องดูผลของภาพรวม ทั้งนี้การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเหมือนประเทศต่างๆทำกัน เช่น ในสหรัฐมีการใช้ QE อัดฉีดเงินผ่านสถาบันการเงิน ญี่ปุ่นและ ยุโรปก็เช่นกัน แต่ของไทยเป็นการอัดฉีดเงินผ่านระบบเศรษฐกิจฐานราก และผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวถึง 6.5% ในปี 2555 ซึ่งโตสูงกว่าทั้ง 3 ปีที่ผ่านมามาก อีกทั้งขณะที่ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน หนี้สาธารณะของประเทศต่อรายได้ประชาชาติก็ยังอยู่ในระดับต่ำประมาณ 40% เท่านั้น ไม่ได้ทำให้ประเทศล่มจมตามวาทกรรมที่สร้างความเกลียดชังแต่อย่างไร
“ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลได้หาวิธีที่เหมาะสมในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และอยากให้ศึกษาให้ดีก่อนออกมาตรการต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลดูเหมือนจะไม่เข้าใจภาวะของประเทศไม่ว่าจะเป็นการห้ามประชาชนนั่งกระบะหลัง หรือล่าสุด การจัดการปัญหาคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก เพราะเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาแรงงานต่างประเทศสูง อีกทั้งงานที่แรงงานต่างประเทศทำคนไทยก็ไม่ทำแล้ว นอกจากนี้ คนไทยก็แห่กันไปลงทุนต่างประเทศกันกว่าสามแสนห้าหมื่นล้านบาท แต่ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยน้อยมากและคนไทยก็ไม่ลงทุนในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมาก หากรัฐบาลไม่เข้าใจจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ และ ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลจะยิ่งลดลง”
JJNY : ‘พิชัย’ แนะ ‘บิ๊กตู่’ เร่งช่วยผู้มีรายได้น้อย สร้างรายได้ยั่งยืนไม่ใช่แค่แจกเงิน ติงรัฐบาลไม่เข้าใจเศรษฐกิจ ฯ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน กล่าวว่า ตามที่ได้พูดคุยกับทีมเศรษฐกิจ คสช. ในกองทัพภาคที่ 1 ตนได้แนะนำให้ รัฐบาลและคสช. เร่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะเกษตรกร แต่ทีมเศรษฐกิจ คสช. คิดเพียงเรื่องการแจกเงินคนจน การช่วยเหลือคนชรา ซึ่งแม้เป็นเรื่องที่ดีแต่ตนอยากเห็นการสร้างรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อยอย่างยั่งยืน และการช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำกันทั่วโลก โดยหลังจากการปฏิวัติแล้วการช่วยเหลือเกษตรกรได้ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เกษตรกรลำบากกันอย่างมาก แม้จะส่งออกข้าวได้มาก แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ชาวนามีความเป็นอยู่ดีขึ้นเลย
“โดยความเลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวยของไทยได้พุ่งขึ้นมาอยู่อันดับที่ 3 จากอันดับเดิมที่ 11 ซึ่งรองจากรัสเซียและอินเดียเท่านั้น แสดงว่าคนรวยกลับยิ่งรวยเพิ่มขึ้นแต่คนจนกลับยิ่งจนลง ทั้งๆที่รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนมากในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยแต่กลับไม่ได้ผล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ๋ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจเคยพูดว่าได้ใช้เงินช่วยผู้มีรายได้น้อยไปแล้วกว่า 9 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำข้าวมาก แต่ประชาชนกลับไม่ได้รู้สึกว่ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น การใช้เงินจำนวนมากแต่ไม่ได้ผลเท่ากับสร้างความเสียหายให้กับประเทศหรือไม่
“อยากทราบว่าโครงการของรัฐ โครงการใดที่กำไรบ้าง และ หากบอกว่านายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบกับโครงการรัฐบาลที่ไม่กำไร ก็ต้องเอานายกรัฐมนตรีทุกคนย้อนหลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาดูว่าทำโครงการใดแล้วไม่กำไรบ้าง ซึ่งน่าจะต้องเอาผิดกันเยอะเลย เพราะนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบต่อนโยบายเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ การบริหารงานรัฐบาลจะมาหวังกำไรเป็นแต่ละโครงการคงไม่ได้ แต่ต้องดูผลของภาพรวม ทั้งนี้การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเหมือนประเทศต่างๆทำกัน เช่น ในสหรัฐมีการใช้ QE อัดฉีดเงินผ่านสถาบันการเงิน ญี่ปุ่นและ ยุโรปก็เช่นกัน แต่ของไทยเป็นการอัดฉีดเงินผ่านระบบเศรษฐกิจฐานราก และผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวถึง 6.5% ในปี 2555 ซึ่งโตสูงกว่าทั้ง 3 ปีที่ผ่านมามาก อีกทั้งขณะที่ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน หนี้สาธารณะของประเทศต่อรายได้ประชาชาติก็ยังอยู่ในระดับต่ำประมาณ 40% เท่านั้น ไม่ได้ทำให้ประเทศล่มจมตามวาทกรรมที่สร้างความเกลียดชังแต่อย่างไร
“ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลได้หาวิธีที่เหมาะสมในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และอยากให้ศึกษาให้ดีก่อนออกมาตรการต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลดูเหมือนจะไม่เข้าใจภาวะของประเทศไม่ว่าจะเป็นการห้ามประชาชนนั่งกระบะหลัง หรือล่าสุด การจัดการปัญหาคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ซึ่งสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างมาก เพราะเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาแรงงานต่างประเทศสูง อีกทั้งงานที่แรงงานต่างประเทศทำคนไทยก็ไม่ทำแล้ว นอกจากนี้ คนไทยก็แห่กันไปลงทุนต่างประเทศกันกว่าสามแสนห้าหมื่นล้านบาท แต่ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยน้อยมากและคนไทยก็ไม่ลงทุนในประเทศ ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมาก หากรัฐบาลไม่เข้าใจจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ และ ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลจะยิ่งลดลง”