รบกวนถามเรื่องการปรับบทกฎหมายกับการลงโทษโดยไม่มีพยานหลักฐานครับ

นื่องจากตอนนี้มีประเด็นคดีเรื่องการฮั้วประมูลคดีนึงซึ่งกระผมมีข้อสงสัยเชิงวิชาการในแง่ข้อกฎหมายที่ทางทนายไม่สามารถชี้แจงได้แน่ชัด ผมจึงขออนุญาตถามเผื่อมีผู้เชี่ยวชาญในนี้ครับ

ประเด็นข้อสังสัยคือ จำเลย(ในฐานะผู้รับเหมา/เอกชน) ถูกฟ้องรวมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพรบ.เสนอราคา พศ.๒๕๔๒  มาตรา ๑๒   (โดยยกมาตรา ๘๖ ว่าด้วยการเป็นผู้สนับสนุนประกอบ) ในขณะที่ พรบ.ฉบับเดียวกันกำหนดโทษในฐานะบุคคลทั่วไปไว้ชัดในมาตรา ๔ ถึง ๗ โดยที่ศาลพิจารณาแล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ (เพราะเป็นผู้รับเหมา) เลยให้ลงโทษในฐานะผู้สนับสนุนในมาตรา ๘๖ ได้ คำถามที่ผมอยากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคือ เราจะโต้แย้งศาลว่าใช้มาตราเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากมีมาตรา ๔-๗ คลอบคลุบและตรงชัดเจนสำหรับเอกชนแล้ว แต่กลับลงมาตรา ๑๒ที่เป็นของเจ้าหน้าที่แทน และโทษในมาตรานี้มีความรุนแรงกว่าโทษของบุคคลทั่วไปถึงสามเท่า

ประเด็นข้อที่สองคือคดีนี้ไม่มีประจักษ์พยาน และหลักฐาน แต่มีพยานแวดล้อมที่ให้การว่า "คาดว่า" จำเลยกระทำความผิด แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าได้ดำเนินการอย่างไรจึงผิด ศาลจึงพิพากษาว่า"เชื่อว่า"จำเลยกระทำความผิด ไม่ทราบว่าจะต่อสู้ได้หรือไม่ว่าขาดน้ำหนักพยานหลักฐาน และในเมื่อไม่ได้กล่าวหาว่าเรามีขั้นตอนกระทำผิดอย่างไร ทำให้แก้ข้อกล่าวหาลำบากครับ

ขอบพระคุณมากนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่