เข้าไปพบความเห็นของผู้ที่เรียกตัวว่าทนายคลายทุกข์ โพสต์ไว้ในเวบไซด์ว่า
"คดีนี้ต้องชื่นชมสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บัญชาตำรวจนครบาลที่สืบสวนสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน จนสามารถยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ออกหมายจับคนร้ายได้ยกทีม ทั้งทนายความที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จ้างวานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ทนายคลายทุกข์โดยตัวผมเอง ว่าความคดีอาญาเกี่ยวกับจ้างวานฆ่ามาหลายคดี ขอเรียนกับท่านผู้อ่านว่า ส่วนใหญ่คดีฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ทั้งมือปืนและผู้จ้างวานฆ่า ศาลมักจะยกฟ้องเพราะมีความยากลำบากมากในการพิสูจน์ความผิด เนื่องจากมีความสลับซับซ้อน ยากในการหาพยานหลักฐาน ดังนั้น ถ้าญาติคนตายตั้งความหวังว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษ ควรหาทนายความเก่งๆ ที่มีประสบการณ์คดีฆ่าคนตายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยเป็นตัวสนับสนุน ริเริ่มเติมเต็มให้กับพนักงานอัยการโจทก์ ในการปิดรอยรั่วของคดี ซึ่งมีมากเหลือเกินและง่ายในการที่ศาลจะยกฟ้อง เพราะเป็นคดีที่มีโทษฉกรรจ์ ระวางโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ถ้ามีข้อสงสัยตามสมควร ศาลยกฟ้องทันที ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง ทนายคลายทุกข์ขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนดังนี้
ประเด็กแรก มือปืนซึ่งเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดหรือผู้กระทำความผิดโดยไตร่ตรอง จะต้องมีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะยิงมายืนยัน จึงจะรับฟังได้ ถ้าไม่มีต้องมีวงจรปิดที่ชัดเจนเห็นการลงมือกระทำความผิด และความละเอียดของกล้องวงจรปิดต้องถึงขนาดเห็นรูปพรรณใบหน้าคนร้ายชัดเจนขณะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในคดีนี้ ถ้าไม่มีต้องมีวงจรปิดเห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดหรือใกล้ชิดกับผล เช่น เหตุการณ์ก่อนยิงและหลังยิงที่ใกล้ชิดกับการยิง โดยต้องนำภาพในวงจรปิดในแต่ละภาพมาต่อจิ๊กซอว์เพื่อให้ศาลเห็นว่าเป็นภาพเดียวกันและที่สำคัญภาพต้องไม่เป็นการตัดต่อเพราะถ้าตัดต่อถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่อง ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยได้
ประเด็นที่สอง ผู้จ้างวานใช้ เจ๊แหม่ม เป็นผู้ถูกใช้ให้ไปหามือปืน แต่ไม่ได้ไปหามือปืน แต่ไปติดต่อทนายอี๊ด และทนายอี๊ดไปติดต่อมือปืนเพื่อไปฆ่าผู้ตาย เจ๊แหม่มอยู่ในขั้นตระเตรียมการไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิด จึงไม่มีความผิด พนักงานสอบสวนควรกันไว้เป็นพยาน เพราะเป็นพยานที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือสูง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496) ส่วนมารดาหมอนิ่ม ยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้จ้างวานให้คนร้ายมาฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นลูกเขย การให้การรับสารต่อหน้าสื่อมวลชน เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้ว่า น่าเชื่อว่าจำเลยให้การด้วยความสมัครใจ ไม่มีผู้ใดข่มขู่เพราะถ้าสุจริตชน ถ้าไม่ได้กระทำความผิด ก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธได้ ดังนั้น คำรับสารภาพของมารดาหมอนิ่ม จึงรับฟังพิสูจน์ความผิดของผู้รับสารภาพได้ว่าเป็นผู้ใช้ให้มือปืนไปฆ่าลูกเขยตนเอง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134/4 แต่ถ้าต้องการให้คดีมีน้ำหนักมั่นคงเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ควรนำผู้จ้างวานใช้ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ โดยให้แสดงท่าทางตามที่เกิดขึ้นจริงและบันทึกภาพหรือวีดีโอไว้ ก็จะทำให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคงสูงขึ้น นอกจากนั้นจะต้องไปตรวจสอบบัญชีเงินฝากของผู้จ้างวานใช้ ว่ามีการถอนเงินค่าจ้างจำนวน 1.2 ล้านบาทจริงหรือไม่ นำมาประกอบภาพถ่ายของทนายอี๊ด เจ๊แหม่ม และมือปืนว่ามีการพบกันหรือไม่ เพราะถ้ามีการพบกันจริง พยานหลักฐานอื่นๆ ดังที่กล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่มีแหล่งที่มาอิสระ จากคำรับสารภาพและมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ เมื่อนำมาประกอบกับคำรับสารภาพของผู้จ้างวานใช้ ก็จะทำให้ผู้ต้องหาดิ้นไม่หลุด ต้องถูกลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว ตาม ป.อ.มาตรา 289(4)
ประเด็นที่สาม ทนายอี๊ด ซึ่งถูกตำรวจอ้างว่า ร่วมกันกระทำความผิดโดยเป็นผู้รับงานช่วงจากเจ๊แหม่ม โดยการหามือปืนไปฆ่าผู้ตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นผู้ใช้ เมื่อผู้ถูกใช้ไปฆ่าคนตาย ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนตัวการคือถูกประหารชีวิต ในอดีตที่ผ่านมาศาลฎีกาเคยตัดสินเกี่ยวกับคดีจ้างวานฆ่าหลายทอดต่อๆ กันไป ถ้าผู้ใช้คนแรกใช้ให้นาย ก. ไปหามือปืนมาฆ่าคน แต่ นาย ก. ไม่ยอมทำตามถือว่าอยู่ในขั้นตระเตรียมการ ยังไม่เป็นความผิดฐานใช้ เพราะยังห่างไกลต่อผลมาก แต่ต่อมาผู้รับจ้างคนแรกไปจ้างคนอื่นต่อและผู้รับจ้างคนที่ 2 ไปจ้างมือปืนเพื่อฆ่าคนตาย ผู้รับจ้างคนแรกซึ่งไม่ใช่ผู้ถูกใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496) ดังนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องระมัดระวังประเด็นนี้ให้ดี เนื่องจากคดีนี้เป็นกรณีมีการใช้ต่อๆ กันหลายทอด การนำสืบของพนักงานอัยการโจทก์จะต้องนำสืบไม่ให้ขาดสาย จึงจะเอาตัวผู้จ้างวานใช้ทุกช่วงมาเข้าคุกได้ทุกคนนะครับ แต่คดีนี้ผู้ต้องหาทุกคนยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์นะครับ จะทำจริงหรือไม่ทนายคลายทุกข์ไม่ทราบ ถ้าทำจริงก็ต้องรับเวรกรรมตายตกไปตามกันนะครับ ส่วนทนายความก็คงจะต้องหมดอนาคต ต้องอยู่ในคุก และอาจถูกถอนใบอนุญาตว่าความได้นะครับ
ประเด็นสุดท้าย ตัวการร่วม หมายถึง ต้องร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันและกระทำโดยเจตนาร่วมกัน ทุกคนที่ร่วมกระทำจะต้องรู้ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของกันและกัน มีความประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคนเป็นของตนเอง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5791/2554) ผู้ใช้ หมายถึง ผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีการอื่นใด ตาม ป.อ.มาตรา 84 วรรคหนึ่ง ส่วนตัวภริยา ถ้ารู้ว่ามารดาจะฆ่าสามีตนเอง ห้ามปรามได้แต่ไม่ห้ามปราม อาจมีความผิดฐานสนับสนุนให้ผู้อื่นให้ฆ่าสามีตนเองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1123/2526)"
อ้างอิงจาก
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10561
พวกคุณมีความคิดเห็นว่าอย่างไรคะ??
คดีฆ่าเอ็กซ์ จักรกฤษณ์ คุณคิดว่าจะเอาผิดคนร้ายได้ทั้งหมดหรือไม่???
"คดีนี้ต้องชื่นชมสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยเฉพาะผู้บัญชาตำรวจนครบาลที่สืบสวนสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน จนสามารถยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ออกหมายจับคนร้ายได้ยกทีม ทั้งทนายความที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จ้างวานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ทนายคลายทุกข์โดยตัวผมเอง ว่าความคดีอาญาเกี่ยวกับจ้างวานฆ่ามาหลายคดี ขอเรียนกับท่านผู้อ่านว่า ส่วนใหญ่คดีฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ทั้งมือปืนและผู้จ้างวานฆ่า ศาลมักจะยกฟ้องเพราะมีความยากลำบากมากในการพิสูจน์ความผิด เนื่องจากมีความสลับซับซ้อน ยากในการหาพยานหลักฐาน ดังนั้น ถ้าญาติคนตายตั้งความหวังว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษ ควรหาทนายความเก่งๆ ที่มีประสบการณ์คดีฆ่าคนตายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยเป็นตัวสนับสนุน ริเริ่มเติมเต็มให้กับพนักงานอัยการโจทก์ ในการปิดรอยรั่วของคดี ซึ่งมีมากเหลือเกินและง่ายในการที่ศาลจะยกฟ้อง เพราะเป็นคดีที่มีโทษฉกรรจ์ ระวางโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ถ้ามีข้อสงสัยตามสมควร ศาลยกฟ้องทันที ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง ทนายคลายทุกข์ขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคดีนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนดังนี้
ประเด็กแรก มือปืนซึ่งเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดหรือผู้กระทำความผิดโดยไตร่ตรอง จะต้องมีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะยิงมายืนยัน จึงจะรับฟังได้ ถ้าไม่มีต้องมีวงจรปิดที่ชัดเจนเห็นการลงมือกระทำความผิด และความละเอียดของกล้องวงจรปิดต้องถึงขนาดเห็นรูปพรรณใบหน้าคนร้ายชัดเจนขณะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในคดีนี้ ถ้าไม่มีต้องมีวงจรปิดเห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดหรือใกล้ชิดกับผล เช่น เหตุการณ์ก่อนยิงและหลังยิงที่ใกล้ชิดกับการยิง โดยต้องนำภาพในวงจรปิดในแต่ละภาพมาต่อจิ๊กซอว์เพื่อให้ศาลเห็นว่าเป็นภาพเดียวกันและที่สำคัญภาพต้องไม่เป็นการตัดต่อเพราะถ้าตัดต่อถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่อง ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยได้
ประเด็นที่สอง ผู้จ้างวานใช้ เจ๊แหม่ม เป็นผู้ถูกใช้ให้ไปหามือปืน แต่ไม่ได้ไปหามือปืน แต่ไปติดต่อทนายอี๊ด และทนายอี๊ดไปติดต่อมือปืนเพื่อไปฆ่าผู้ตาย เจ๊แหม่มอยู่ในขั้นตระเตรียมการไม่ถึงขั้นลงมือกระทำความผิด จึงไม่มีความผิด พนักงานสอบสวนควรกันไว้เป็นพยาน เพราะเป็นพยานที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือสูง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496) ส่วนมารดาหมอนิ่ม ยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้จ้างวานให้คนร้ายมาฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นลูกเขย การให้การรับสารต่อหน้าสื่อมวลชน เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวางบรรทัดฐานไว้ว่า น่าเชื่อว่าจำเลยให้การด้วยความสมัครใจ ไม่มีผู้ใดข่มขู่เพราะถ้าสุจริตชน ถ้าไม่ได้กระทำความผิด ก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธได้ ดังนั้น คำรับสารภาพของมารดาหมอนิ่ม จึงรับฟังพิสูจน์ความผิดของผู้รับสารภาพได้ว่าเป็นผู้ใช้ให้มือปืนไปฆ่าลูกเขยตนเอง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134/4 แต่ถ้าต้องการให้คดีมีน้ำหนักมั่นคงเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ควรนำผู้จ้างวานใช้ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ โดยให้แสดงท่าทางตามที่เกิดขึ้นจริงและบันทึกภาพหรือวีดีโอไว้ ก็จะทำให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคงสูงขึ้น นอกจากนั้นจะต้องไปตรวจสอบบัญชีเงินฝากของผู้จ้างวานใช้ ว่ามีการถอนเงินค่าจ้างจำนวน 1.2 ล้านบาทจริงหรือไม่ นำมาประกอบภาพถ่ายของทนายอี๊ด เจ๊แหม่ม และมือปืนว่ามีการพบกันหรือไม่ เพราะถ้ามีการพบกันจริง พยานหลักฐานอื่นๆ ดังที่กล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่มีแหล่งที่มาอิสระ จากคำรับสารภาพและมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ เมื่อนำมาประกอบกับคำรับสารภาพของผู้จ้างวานใช้ ก็จะทำให้ผู้ต้องหาดิ้นไม่หลุด ต้องถูกลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว ตาม ป.อ.มาตรา 289(4)
ประเด็นที่สาม ทนายอี๊ด ซึ่งถูกตำรวจอ้างว่า ร่วมกันกระทำความผิดโดยเป็นผู้รับงานช่วงจากเจ๊แหม่ม โดยการหามือปืนไปฆ่าผู้ตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นผู้ใช้ เมื่อผู้ถูกใช้ไปฆ่าคนตาย ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนตัวการคือถูกประหารชีวิต ในอดีตที่ผ่านมาศาลฎีกาเคยตัดสินเกี่ยวกับคดีจ้างวานฆ่าหลายทอดต่อๆ กันไป ถ้าผู้ใช้คนแรกใช้ให้นาย ก. ไปหามือปืนมาฆ่าคน แต่ นาย ก. ไม่ยอมทำตามถือว่าอยู่ในขั้นตระเตรียมการ ยังไม่เป็นความผิดฐานใช้ เพราะยังห่างไกลต่อผลมาก แต่ต่อมาผู้รับจ้างคนแรกไปจ้างคนอื่นต่อและผู้รับจ้างคนที่ 2 ไปจ้างมือปืนเพื่อฆ่าคนตาย ผู้รับจ้างคนแรกซึ่งไม่ใช่ผู้ถูกใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 392/2496) ดังนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องระมัดระวังประเด็นนี้ให้ดี เนื่องจากคดีนี้เป็นกรณีมีการใช้ต่อๆ กันหลายทอด การนำสืบของพนักงานอัยการโจทก์จะต้องนำสืบไม่ให้ขาดสาย จึงจะเอาตัวผู้จ้างวานใช้ทุกช่วงมาเข้าคุกได้ทุกคนนะครับ แต่คดีนี้ผู้ต้องหาทุกคนยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์นะครับ จะทำจริงหรือไม่ทนายคลายทุกข์ไม่ทราบ ถ้าทำจริงก็ต้องรับเวรกรรมตายตกไปตามกันนะครับ ส่วนทนายความก็คงจะต้องหมดอนาคต ต้องอยู่ในคุก และอาจถูกถอนใบอนุญาตว่าความได้นะครับ
ประเด็นสุดท้าย ตัวการร่วม หมายถึง ต้องร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันและกระทำโดยเจตนาร่วมกัน ทุกคนที่ร่วมกระทำจะต้องรู้ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของกันและกัน มีความประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคนเป็นของตนเอง (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 5791/2554) ผู้ใช้ หมายถึง ผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีการอื่นใด ตาม ป.อ.มาตรา 84 วรรคหนึ่ง ส่วนตัวภริยา ถ้ารู้ว่ามารดาจะฆ่าสามีตนเอง ห้ามปรามได้แต่ไม่ห้ามปราม อาจมีความผิดฐานสนับสนุนให้ผู้อื่นให้ฆ่าสามีตนเองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 1123/2526)"
อ้างอิงจาก http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10561
พวกคุณมีความคิดเห็นว่าอย่างไรคะ??