สวัสดีค่ะ ดีใจได้กลับมาเขียนบทความอีกครั้ง
จากการที่ได้เขียนบทความนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว เรารู้สึกดีใจมาก ที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากๆ มีคนหลังไมค์และเขียนอีเมลล์ มาคุยด้วยมากมาย บางคนเข้าใจว่าเราหายจากโรคซึมเศร้าแล้ว จะบอกตรงนี้ว่าอาการเราก็ลุ่มๆ ดอนๆอยู่ แต่ก็พยายามสร้างพลังใจที่เข้มแข็ง เพื่อต่อสู้กับโรค และอยู่บนโลกต่อไป การเขียนเป็นบทความเป็นทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ท่านจริงๆนะคะ เราเขียนให้กำลังใจผู้อื่น หลังจากโพสต์กระทู้ไป มีคนมาให้กำลังใจเราเยอะมาก บอกสู้ๆ นู่นนี่นั่น เราซาบซึ้งและเกิดกำลังใจมากจริงๆค่ะ ขอบคุณทุกคนเลยนะคะ ที่เขียนตอบมาในกระทู้นั้น
https://ppantip.com/topic/32745661
การกลับมาครั้งนี้ไม่ใช่แค่นำบทความมาฝากอย่างเดียว แต่อยากเชิญชวน ทุกคนมาต่อสู้โรคซึมเศร้าไปด้วยกัน ถ้าเข้าในเฟสบุ๊คจะพบว่ามีกลุ่มเกี่ยวกับ mental disorder มากมาย แต่ในกลุ่มส่วนใหย่ทุกคนจะบ่นถึงอาการที่เป็นในแต่ล่ะวัน วึ่งล้วนแล้วแต่เป็นลบ วึ่งเราเข้าใจทุกคนนะคะว่าการจะมีชีวิตในแต่ล่ะวันมันยากแค่ไหน เพราะเรา็เป็นผู้ป่วยเหมือนกัน แต่รู้มั้ยว่า สมองจะสร้างเส้นใยประสาทในสิ่งที่เราใช้บ่อยๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราบ่น หรือรับแต่เรื่องบ่นทุกวัน สมองก็จะเริ่มสร้างเส้นใยเหล่านั้นมากขึ้น กลายเป็นสมองส่วนที่แข็งแรงมากขึ้น วึ่งมันเป็นไปได้ยากมากถ้าเรารับเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นลบทุกวัน แล้วเราจะหายป่วยได้ เราจึงเชิญชวนมากดไลค์แฟนเพจของเราค่ะ
https://www.facebook.com/Unnutta-1733613466940470/
ในแฟนเพจนี้จะเขียนบทความให้ความรู้ในการเอาชนะโรคซึมเศร้าแบบเชิงบวก หลังจากที่เราได้สมาชิกพอสมควรแล้ว เราจะสร้างกลุ่มในเฟส ให้ทุกคนมาพุดถึงสิ่งดีๆในการเอาชนะ mental disorder กัน เช่นวันนี้ฉันออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ทุกคนเหมือนมีเพื่อนและมีกำลังใจในการเอาชนะโรคต่อไป โดยชุมชนนี้จะไม่มีการพูดจาที่เ็นลบ ไม่มีการบ่น ซึ่งจะทำให้สมองเราได้รับอะไรบวกๆมากขึ้นค่ะ ขอเชิญมาร่วมชุมชนกันเยอะๆนะคะ ต่อไปไปอ่านบทความกันเลยค่ะ
ถ้าในดีต มีคนบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า เป็นแพนิค อะไรทำนองนี้ ผู้ได้ยินคงงง และคิดว่าคนเรามันซึมเศร้าได้ แต่มันเป็นโรคได้ด้วยเหรอ แต่ถ้าในปัจจุบันนี้คนก็พอจะรู้จัก ทุกคนคงพอจะเคยได้ยินกันบ้าง แม้บางคนอาจไม่ได้รู้รายละเอียดอะไร แถมลึกๆ ยังทึกทักเอาเองว่า พวกโรคซึมเศร้า ก็คือพวกจิตใจอ่อนแอ ขี้แพ้ คิดมากคิดไม่เลิกนี่เอง
แต่ในช่วง 4-5 ปีมานี้คนเริ่มสนใจและตื่นตัวกับ mental disorder มากขึ้น ยิ่งเป็นยุคที่มีโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คการกระจายของข้อมูลก็ไปได้เร็ว ในทางการแพทย์ และเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ในไทยส่วนใหญ่ ข้อมูลส่วนมากก็จะเป็นไปในแนวที่ว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากการที่สารสื่อประสาทไม่สมดุล ผู้ป่วยซึมเศร้าจะขาดเซเรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่บทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ของมนุษย์ ทำให้มีจิตใจที่สบายเป็นปกติ เพราะฉะนั้น การที่จะหายจากโรคซึมเศร้าได้ก็คือการทำให้เซเรโทนินกลับมาเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ในบางครั้ง มีผู้ป่วย ซึ่งน่าจะไม่ใช่ผู้ป่วยระดับรุนแรง หรืออาจจะเป็นแค่ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่โรคซึมเศร้า บอกว่าออกกำลังกายแล้วหายจากซึมเศร้าได้ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร การออกกำลังกายนอกจากจะดีต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังทำให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขออกมาอีกด้วย มันก็เป็นไปได้เช่นกันที่เมื่ออกกำลังกายแล้วจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้น
ส่วนสำหรับคนที่ป่วยหนักมาก ในทางการแพทย์ก็จะมียา ที่คนเรียกว่า ยาต้านเศร้า หรือ antidepressant มาช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งมียาหลายตัวมาก แต่โดยรวแล้วการทำงานของยาต้านเศร้าส่วนใหญ่ก็คือการดูกลับของสารเซเรโทนิน
นี่คือเรื่องราวส่วนใหญ่ทราบต่อโรคซึมเศร้า ทุกคนจะกล่าวถึงสารสื่อประสาทไม่สมดุลต้องทานยาพบแพทย์เท่านั้นจึงจะหาย แต่ในวันนี้เราจะขอกล่าวถึงเรื่องสมองกันบ้าง
การป่วยของเราปีนี้กำลังจะเข้าปีที่ 9 เป็นปีที่โชคดีมาก เพราะช่วงการพบจิตแพทยืที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เราจะได้พบคุณหมอในเวลาที่สั้นมาก หมอจะถามเรื่องการตอบสนองต่อยา และปรับยาแค่นั้น หรือจิตแพทย์ที่ไฟแรงหน่อยก็จะพยายามคุยถึงความคิด ปัญหา ปรับการรับรู้การมองโลกด้วยการพูดคุยต่างๆ
แต่สำหรับเรื่องสมองแล้ว ยังไม่เคยเจอจิตแพทย์สักคนที่จะคุยให้ฟัง แต่ปีนี้เราได้รู้จักคุณหมอท่านนึงโดยบังเอิญ ที่มีประสบการณ์ในสายแพทย์มานาน และเป็นคนที่ขยันศึกษาหาความรู้ จึงทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสมองของผู้ป่วยซึมเศร้ารวมทั้งความรู้ใหม่ๆต่างๆเกี่ยวกับ mental disorder มากมาย
คุณหมอได้อธิบายว่าโรคซึมเศร้า สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ อาจเกิดจากการได้รับสารเคมีที่เป็นพิษมากเกินไป หรือแม้การที่ใช้สมองแต่ล่ะส่วนไม่สมดุลกัน ถ้าใครเคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับสมองมาบ้างก็พอจะรู้ว่า สมองส่วนในที่เราใช้บ่อยๆ มันก็จะแอคทีฟขึ้นเรื่อยๆ สร้างเส้นใหญ่ประสาทออกไปเรื่อยๆ เหมือนคนที่ทำบางอย่าง แม้ตอนเริ่มต้นจะยาก แต่พอทำไปสักพักก็จะชำนาญ ในขณะเดียวกันสมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ก็จะฝ่อลงเรื่อยๆนั่นเอง
ผู้ป่วยซึมเศร้าส่วนใหญ่ จะใช้สมองด้านอารมณ์ ความโกรธ เศร้า น้อยใจ หดหู่ ซึ่งจะทำให้สมองส่วนอื่นๆ ฝ่อลงๆ โดยเฉพาะสมองส่วนความสุข การรับส่งข้อมูลของสมองในแต่ล่ะส่วนก็จะเป็นไปได้ยาก (สมองที่มีบทบาทสำคัญต่อด้านอารมณ์รุนแรงต่าง คือ อมิกดาลา แต่จะขอลงรายละเอียดในอีกบทความนึง)
นี่คือภาพสมอง จาก PET scan ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง สมองของคนปกติ และสมองคนเป็นโรคซึมเศร้า ด้านซ้ายคือสมองของคนเป็นโรคซึมเศร้า ด้านขวาคือสมองของคนปกติ สีเหลืองคือกระแสประสาท จะเห็นว่าคนทั่วไปกระแสประสาทสามารถส่งได้อย่างคล่องตัวไปทั่วสมอง แต่คนเป็นโรคซึมเศร้า กระแสประสาทจะส่งยากมาก ซึ่งทำให้สมองเกิดการทำงานหนัก และมีคลื่นความถี่สูง* ซึ่งคลื่นสมองในระดับที่สูงจะทำให้เรากระวลกระวาย ว้าวุ้น และยังเป็นสาเหตุให้เรานอนไม่หลับอีกด้วย
สิ่งหนึ่งที่คุณหมอแนะนำนอกเหนือจากการทานยาแล้ว คือการทำกิจกรรมบำบัด จริงๆแล้ว มีอาชีพอาชีพนึงคือนักกิจกรรมบำบัด แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก แต่ถึงเราจะไม่มีนักกิจกรรมบำบัด เราสามารถทำกิจกรรมบำบัดด้วยตัวเองได้ที่บ้าน กิจกรรมที่ทำควรจะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ กิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุข และไม่ก่อให้เกิดการปรุงแต่งในจิตใจ บางคนบอกว่า การดูละครคือความสุข แต่การดูละคร ไม่เหมาะที่จะเป็นกิจกรรมสำหรับผู้ป่วย เพราะ การดูละครทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆมากมาย เช่น สงสารนางเอก อยากตบนางร้ายเป็นต้น การฟังเพลงก็เช่นกัน เพลงที่ฟังควรจะเป็นเพลงที่มีแต่ดนตรีไม่มีเนื้อร้อง เพราะเนื้อร้องทำให้เกิดการปรุงแต่งของจิตได้ การว่ายน้ำถือเป็นกิจกรรรมที่ดีมาก การที่เราว่ายน้ำก้เสมือนการที่ตัวเราล่องลอยอยู่ในสภาวะสุญญากาศ เราจะต้องใช้ประสาทหลายๆอย่างเพื่อให้เราสามารถทรงตัวอยู่ได้ ทั้งกายที่สัมผัสกับน้ำ และประสาทการทรงตัว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองส่วนที่ไม่ทำงานกลับมาทำงาน และกระแสประสาทก็จะส่งรับง่ายขึ้น หากกีฬาว่ายน้ำยากเกินไป เพราะบางคนอาจจะไม่สะดวกที่จะหาสระว่ายน้ำ การตีปิงปอง ก็เป็นกีฬาที่ช่วยกระตุ้นประสาทได้ดี เพราะการที่จะรับลูกปิงปองสได้ มันต้องใช้หลายท่า ตาต้องไว ซึ่งจะกระตุ้นให้สมองทั้งสองซีกทำงานอย่างได้อย่างสมดุลมากขึ้น
วันนี้ขอนำเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับสมองกับ mental disorder ที่ในประเทศเราไม่ค่อยพูดถึงกัน หวังว่าทุกคนจะได้รับความเข้าใจกันมากขึ้น ในส่วนของการบำบัด จะค่อยอัพเดทลงบล็อกเรื่อยๆยังไงก็ฝากติดตามกันด้วยนะคะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
https://fellowshipoftheminds.com/2015/07/01/proof-that-liberalism-is-a-mental-illness-in-one-sentence/
*
คลื่นสมองระดับเบต้า Beta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 14 – 30 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่เร็วที่สุด สมองควบคุมจิตใต้สำนึก
เมื่อใช้สมองเปิดรับข้อมูลพร้อมระบบประสาทสัมผัสทุกด้าน
เช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น
.
คลื่นสมองระดับอัลฟ่า Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )
เมื่อเราพักผ่อน และมีความสงบ (relaxation) แต่อยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว สภาวะนี้จะทำให้รับข้อมูลได้ดีที่สุด สามารถเรียนรู้ได้ดี (superlearning)
เข้าถึงและเรียกความจำได้ง่ายและรวดเร็ว พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข และผู้ใหญ่ที่มีจิตสมดุล หรือผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ
หรือในขณะร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย สภาวะก่อนหลับ
ในทางการแพทย์ คลื่นระดับนี้เหมาะกับการสะกดจิต เพื่อบำบัดโรค
ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก สมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง
.
คลื่นสมองระดับธีต้า Theta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 4 – 7.9 Hz )
เมื่อมีการผ่อนคลายระดับลึก ความคิดสร้างสรรค์ (inspiration) คลื่นปัญญาญาณ เป็นคลื่นที่เราสามารถดึงข้อมูลจากจิตใต้สำนึกได้ (subconscious mind)
การแก้ไขปัญหาโดยไม่รู้ตัว เป็นคลื่นระดับเดียวกับสมาธิระดับลึก (meditaion) เข้าถึงและเรียกความทรงจำระยะยาวได้ดี
คลื่นสมองสภาวะนี้ จะมีความสุข ลืมความทุกข์ มีแต่ความปิติยินดี
เป็นคลื่นสมองที่สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind)
.
คลื่นสมองระดับเดลต้า Delta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 0.1 – 3.9 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ สมองทำงานตามความจำเป็นเท่านั้น แต่กระบวนการของจิตใต้สำนึกจะจัดและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลับลึกโดยไม่มีความฝัน จะรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษเมื่อยามตื่น
โรคซึมเศร้า กับ สมอง
จากการที่ได้เขียนบทความนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว เรารู้สึกดีใจมาก ที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากๆ มีคนหลังไมค์และเขียนอีเมลล์ มาคุยด้วยมากมาย บางคนเข้าใจว่าเราหายจากโรคซึมเศร้าแล้ว จะบอกตรงนี้ว่าอาการเราก็ลุ่มๆ ดอนๆอยู่ แต่ก็พยายามสร้างพลังใจที่เข้มแข็ง เพื่อต่อสู้กับโรค และอยู่บนโลกต่อไป การเขียนเป็นบทความเป็นทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ท่านจริงๆนะคะ เราเขียนให้กำลังใจผู้อื่น หลังจากโพสต์กระทู้ไป มีคนมาให้กำลังใจเราเยอะมาก บอกสู้ๆ นู่นนี่นั่น เราซาบซึ้งและเกิดกำลังใจมากจริงๆค่ะ ขอบคุณทุกคนเลยนะคะ ที่เขียนตอบมาในกระทู้นั้น
https://ppantip.com/topic/32745661
การกลับมาครั้งนี้ไม่ใช่แค่นำบทความมาฝากอย่างเดียว แต่อยากเชิญชวน ทุกคนมาต่อสู้โรคซึมเศร้าไปด้วยกัน ถ้าเข้าในเฟสบุ๊คจะพบว่ามีกลุ่มเกี่ยวกับ mental disorder มากมาย แต่ในกลุ่มส่วนใหย่ทุกคนจะบ่นถึงอาการที่เป็นในแต่ล่ะวัน วึ่งล้วนแล้วแต่เป็นลบ วึ่งเราเข้าใจทุกคนนะคะว่าการจะมีชีวิตในแต่ล่ะวันมันยากแค่ไหน เพราะเรา็เป็นผู้ป่วยเหมือนกัน แต่รู้มั้ยว่า สมองจะสร้างเส้นใยประสาทในสิ่งที่เราใช้บ่อยๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราบ่น หรือรับแต่เรื่องบ่นทุกวัน สมองก็จะเริ่มสร้างเส้นใยเหล่านั้นมากขึ้น กลายเป็นสมองส่วนที่แข็งแรงมากขึ้น วึ่งมันเป็นไปได้ยากมากถ้าเรารับเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นลบทุกวัน แล้วเราจะหายป่วยได้ เราจึงเชิญชวนมากดไลค์แฟนเพจของเราค่ะ https://www.facebook.com/Unnutta-1733613466940470/
ในแฟนเพจนี้จะเขียนบทความให้ความรู้ในการเอาชนะโรคซึมเศร้าแบบเชิงบวก หลังจากที่เราได้สมาชิกพอสมควรแล้ว เราจะสร้างกลุ่มในเฟส ให้ทุกคนมาพุดถึงสิ่งดีๆในการเอาชนะ mental disorder กัน เช่นวันนี้ฉันออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ทุกคนเหมือนมีเพื่อนและมีกำลังใจในการเอาชนะโรคต่อไป โดยชุมชนนี้จะไม่มีการพูดจาที่เ็นลบ ไม่มีการบ่น ซึ่งจะทำให้สมองเราได้รับอะไรบวกๆมากขึ้นค่ะ ขอเชิญมาร่วมชุมชนกันเยอะๆนะคะ ต่อไปไปอ่านบทความกันเลยค่ะ
ถ้าในดีต มีคนบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า เป็นแพนิค อะไรทำนองนี้ ผู้ได้ยินคงงง และคิดว่าคนเรามันซึมเศร้าได้ แต่มันเป็นโรคได้ด้วยเหรอ แต่ถ้าในปัจจุบันนี้คนก็พอจะรู้จัก ทุกคนคงพอจะเคยได้ยินกันบ้าง แม้บางคนอาจไม่ได้รู้รายละเอียดอะไร แถมลึกๆ ยังทึกทักเอาเองว่า พวกโรคซึมเศร้า ก็คือพวกจิตใจอ่อนแอ ขี้แพ้ คิดมากคิดไม่เลิกนี่เอง
แต่ในช่วง 4-5 ปีมานี้คนเริ่มสนใจและตื่นตัวกับ mental disorder มากขึ้น ยิ่งเป็นยุคที่มีโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คการกระจายของข้อมูลก็ไปได้เร็ว ในทางการแพทย์ และเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ในไทยส่วนใหญ่ ข้อมูลส่วนมากก็จะเป็นไปในแนวที่ว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากการที่สารสื่อประสาทไม่สมดุล ผู้ป่วยซึมเศร้าจะขาดเซเรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่บทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ของมนุษย์ ทำให้มีจิตใจที่สบายเป็นปกติ เพราะฉะนั้น การที่จะหายจากโรคซึมเศร้าได้ก็คือการทำให้เซเรโทนินกลับมาเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ในบางครั้ง มีผู้ป่วย ซึ่งน่าจะไม่ใช่ผู้ป่วยระดับรุนแรง หรืออาจจะเป็นแค่ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่โรคซึมเศร้า บอกว่าออกกำลังกายแล้วหายจากซึมเศร้าได้ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร การออกกำลังกายนอกจากจะดีต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังทำให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขออกมาอีกด้วย มันก็เป็นไปได้เช่นกันที่เมื่ออกกำลังกายแล้วจะมีความรู้สึกที่ดีขึ้น
ส่วนสำหรับคนที่ป่วยหนักมาก ในทางการแพทย์ก็จะมียา ที่คนเรียกว่า ยาต้านเศร้า หรือ antidepressant มาช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งมียาหลายตัวมาก แต่โดยรวแล้วการทำงานของยาต้านเศร้าส่วนใหญ่ก็คือการดูกลับของสารเซเรโทนิน
นี่คือเรื่องราวส่วนใหญ่ทราบต่อโรคซึมเศร้า ทุกคนจะกล่าวถึงสารสื่อประสาทไม่สมดุลต้องทานยาพบแพทย์เท่านั้นจึงจะหาย แต่ในวันนี้เราจะขอกล่าวถึงเรื่องสมองกันบ้าง
การป่วยของเราปีนี้กำลังจะเข้าปีที่ 9 เป็นปีที่โชคดีมาก เพราะช่วงการพบจิตแพทยืที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เราจะได้พบคุณหมอในเวลาที่สั้นมาก หมอจะถามเรื่องการตอบสนองต่อยา และปรับยาแค่นั้น หรือจิตแพทย์ที่ไฟแรงหน่อยก็จะพยายามคุยถึงความคิด ปัญหา ปรับการรับรู้การมองโลกด้วยการพูดคุยต่างๆ
แต่สำหรับเรื่องสมองแล้ว ยังไม่เคยเจอจิตแพทย์สักคนที่จะคุยให้ฟัง แต่ปีนี้เราได้รู้จักคุณหมอท่านนึงโดยบังเอิญ ที่มีประสบการณ์ในสายแพทย์มานาน และเป็นคนที่ขยันศึกษาหาความรู้ จึงทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสมองของผู้ป่วยซึมเศร้ารวมทั้งความรู้ใหม่ๆต่างๆเกี่ยวกับ mental disorder มากมาย
คุณหมอได้อธิบายว่าโรคซึมเศร้า สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ อาจเกิดจากการได้รับสารเคมีที่เป็นพิษมากเกินไป หรือแม้การที่ใช้สมองแต่ล่ะส่วนไม่สมดุลกัน ถ้าใครเคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับสมองมาบ้างก็พอจะรู้ว่า สมองส่วนในที่เราใช้บ่อยๆ มันก็จะแอคทีฟขึ้นเรื่อยๆ สร้างเส้นใหญ่ประสาทออกไปเรื่อยๆ เหมือนคนที่ทำบางอย่าง แม้ตอนเริ่มต้นจะยาก แต่พอทำไปสักพักก็จะชำนาญ ในขณะเดียวกันสมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ก็จะฝ่อลงเรื่อยๆนั่นเอง
ผู้ป่วยซึมเศร้าส่วนใหญ่ จะใช้สมองด้านอารมณ์ ความโกรธ เศร้า น้อยใจ หดหู่ ซึ่งจะทำให้สมองส่วนอื่นๆ ฝ่อลงๆ โดยเฉพาะสมองส่วนความสุข การรับส่งข้อมูลของสมองในแต่ล่ะส่วนก็จะเป็นไปได้ยาก (สมองที่มีบทบาทสำคัญต่อด้านอารมณ์รุนแรงต่าง คือ อมิกดาลา แต่จะขอลงรายละเอียดในอีกบทความนึง)
นี่คือภาพสมอง จาก PET scan ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง สมองของคนปกติ และสมองคนเป็นโรคซึมเศร้า ด้านซ้ายคือสมองของคนเป็นโรคซึมเศร้า ด้านขวาคือสมองของคนปกติ สีเหลืองคือกระแสประสาท จะเห็นว่าคนทั่วไปกระแสประสาทสามารถส่งได้อย่างคล่องตัวไปทั่วสมอง แต่คนเป็นโรคซึมเศร้า กระแสประสาทจะส่งยากมาก ซึ่งทำให้สมองเกิดการทำงานหนัก และมีคลื่นความถี่สูง* ซึ่งคลื่นสมองในระดับที่สูงจะทำให้เรากระวลกระวาย ว้าวุ้น และยังเป็นสาเหตุให้เรานอนไม่หลับอีกด้วย
สิ่งหนึ่งที่คุณหมอแนะนำนอกเหนือจากการทานยาแล้ว คือการทำกิจกรรมบำบัด จริงๆแล้ว มีอาชีพอาชีพนึงคือนักกิจกรรมบำบัด แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก แต่ถึงเราจะไม่มีนักกิจกรรมบำบัด เราสามารถทำกิจกรรมบำบัดด้วยตัวเองได้ที่บ้าน กิจกรรมที่ทำควรจะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ กิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุข และไม่ก่อให้เกิดการปรุงแต่งในจิตใจ บางคนบอกว่า การดูละครคือความสุข แต่การดูละคร ไม่เหมาะที่จะเป็นกิจกรรมสำหรับผู้ป่วย เพราะ การดูละครทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆมากมาย เช่น สงสารนางเอก อยากตบนางร้ายเป็นต้น การฟังเพลงก็เช่นกัน เพลงที่ฟังควรจะเป็นเพลงที่มีแต่ดนตรีไม่มีเนื้อร้อง เพราะเนื้อร้องทำให้เกิดการปรุงแต่งของจิตได้ การว่ายน้ำถือเป็นกิจกรรรมที่ดีมาก การที่เราว่ายน้ำก้เสมือนการที่ตัวเราล่องลอยอยู่ในสภาวะสุญญากาศ เราจะต้องใช้ประสาทหลายๆอย่างเพื่อให้เราสามารถทรงตัวอยู่ได้ ทั้งกายที่สัมผัสกับน้ำ และประสาทการทรงตัว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองส่วนที่ไม่ทำงานกลับมาทำงาน และกระแสประสาทก็จะส่งรับง่ายขึ้น หากกีฬาว่ายน้ำยากเกินไป เพราะบางคนอาจจะไม่สะดวกที่จะหาสระว่ายน้ำ การตีปิงปอง ก็เป็นกีฬาที่ช่วยกระตุ้นประสาทได้ดี เพราะการที่จะรับลูกปิงปองสได้ มันต้องใช้หลายท่า ตาต้องไว ซึ่งจะกระตุ้นให้สมองทั้งสองซีกทำงานอย่างได้อย่างสมดุลมากขึ้น
วันนี้ขอนำเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับสมองกับ mental disorder ที่ในประเทศเราไม่ค่อยพูดถึงกัน หวังว่าทุกคนจะได้รับความเข้าใจกันมากขึ้น ในส่วนของการบำบัด จะค่อยอัพเดทลงบล็อกเรื่อยๆยังไงก็ฝากติดตามกันด้วยนะคะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://fellowshipoftheminds.com/2015/07/01/proof-that-liberalism-is-a-mental-illness-in-one-sentence/
*
คลื่นสมองระดับเบต้า Beta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 14 – 30 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่เร็วที่สุด สมองควบคุมจิตใต้สำนึก
เมื่อใช้สมองเปิดรับข้อมูลพร้อมระบบประสาทสัมผัสทุกด้าน
เช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น
.
คลื่นสมองระดับอัลฟ่า Alpha Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 8 – 13.9 Hz )
เมื่อเราพักผ่อน และมีความสงบ (relaxation) แต่อยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว สภาวะนี้จะทำให้รับข้อมูลได้ดีที่สุด สามารถเรียนรู้ได้ดี (superlearning)
เข้าถึงและเรียกความจำได้ง่ายและรวดเร็ว พบบ่อยในเด็กที่มีความสุข และผู้ใหญ่ที่มีจิตสมดุล หรือผู้ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ
หรือในขณะร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย สภาวะก่อนหลับ
ในทางการแพทย์ คลื่นระดับนี้เหมาะกับการสะกดจิต เพื่อบำบัดโรค
ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก สมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง
.
คลื่นสมองระดับธีต้า Theta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 4 – 7.9 Hz )
เมื่อมีการผ่อนคลายระดับลึก ความคิดสร้างสรรค์ (inspiration) คลื่นปัญญาญาณ เป็นคลื่นที่เราสามารถดึงข้อมูลจากจิตใต้สำนึกได้ (subconscious mind)
การแก้ไขปัญหาโดยไม่รู้ตัว เป็นคลื่นระดับเดียวกับสมาธิระดับลึก (meditaion) เข้าถึงและเรียกความทรงจำระยะยาวได้ดี
คลื่นสมองสภาวะนี้ จะมีความสุข ลืมความทุกข์ มีแต่ความปิติยินดี
เป็นคลื่นสมองที่สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind)
.
คลื่นสมองระดับเดลต้า Delta Brainwave ( ความถี่ระหว่าง 0.1 – 3.9 Hz )
เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ สมองทำงานตามความจำเป็นเท่านั้น แต่กระบวนการของจิตใต้สำนึกจะจัดและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลับลึกโดยไม่มีความฝัน จะรู้สึกสดชื่นเป็นพิเศษเมื่อยามตื่น