มาดู พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 กัน

ช่วงนี้เป็นข่าวดัง เนื่องจากมีแรงงานต่างด้าว กลับประเทศกันเยอะเลย
ไปดูรายละเอียดกันว่า มันน่ากลัวจริงไหม

พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560


ในพรก.นี้มีข้อยกเว้นนะครับว่า ใครไม่เข้าข่ายในกฎหมายนี้บ้าง
พระราชกำหนดนี้ไม่ใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าว
เฉพาะในฐานะ ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลในคณะผู้แทนทางทูต
(๒) บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล
(๓) ผู้แทนของประเทศสมาชิกและพนักงานขององค์การสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษ
(๔) คนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานประจำอยู่กับบุคคลตาม (๑) (๒)
หรือ (๓)
(๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจตามความตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ
หรือองค์การระหว่างประเทศ
(๖) บุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ การกีฬา
หรือกิจการอื่น ทั้งนี้ ตามที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง
(๗) บุคคลซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใด
โดยจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

มาดูเรื่องราวที่หลายคนคิดว่าเป็นปัญหากัน

มาตรา ๗ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดให้งานใด
เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในท้องที่ใด เมื่อใด โดยห้ามเด็ดขาดหรือห้ามโดยมีเงื่อนไขอย่างใดเพียงใดก็ได้
การออกประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความมั่นคงของชาติ โอกาสในการประกอบอาชีพ
ของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

มาตรา ๘ ห้ามคนต่างด้าวทำงานที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง
หรือทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน
มาตรา ๙ ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานที่กำหนดไว้ในประกาศที่ออกตามมาตรา ๗
วรรคหนึ่ง หรือรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน
มาตรา ๒๖ ห้ามผู้ใดประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี
มาตรา ๓๐ ใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานตามมาตรา ๒๖ ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่
ออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน

ที่น่ากลัว คือค่าปรับครับ
มาตรา ๑๐๒ ผู้ใดรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่
สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน


แถมถ้าเข้ามาทำงานแล้ว มีเหตุให้เลิกจ้าง แล้วนายจ้างไม่ส่งกลับ มีโทษอีก
มาตรา ๑๑๖ นายจ้างผู้ใดไม่จัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทาง ตามมาตรา ๕๐
วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน

มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวของคนต่างด้าวไว้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่สำคัญเลย แม้ว่าจะทำถูกกฎหมายก็ตาม แต่ค่าธรรมเนียม มันแพงจริงๆ
นายจ้างก็ต้องเจอผลกระทบจากอัตราค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น ทั้งใบอนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน 2 หมื่นบาท หรือการต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานครั้งละ 2 หมื่นบาท และการขยายระยะเวลาการทำงานของแรงงานต่างด้าวอีกครั้งละ 2 หมื่นบาท


ที่ทำงานผม ไม่มีต่างด้าวจาก พ.ร.ก.นี้ จึงไม่มีผลกระทบ แต่เห็นค่าธรรมเนียมแล้ว ถึงผมเป็นนายจ้าง ผมว่าถอยดีกว่า

แล้วคุณคิดอย่างไรกับ พ.ร.ก.ฉบับนี้ครับ

อัพเดท (เครดิตคุณสิงห์สองล้อ)
อัตราค่าธรรมเนียม ตาม  1-7  เป็นของ  ผู้รับอนุญาต  คือ บ.ที่นำเข้าแรงงานต่างด้าว  (มีเงินประกัน 5 ล้าน)
อัตราค่าธรรมเนียม ตาม  8-13  เป็นลูกจ้างตาม  มาตรา 12
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่