เครดิต :
https://www.blognone.com/node/93587
หลังจาก กสทช. ขีดเส้นตาย 22 ก.ค. นี้ ถ้าเว็บเผยแพร่ภาพยังไม่ลงทะเบียนผิดกฎหมาย ซื้อโฆษณาต้องรับโทษด้วย / YouTube - Facebook ยังไม่ลงทะเบียน ทาง AIC (Asia Internet Coalition) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเข้าใจนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียแปซิฟิก ที่ประกอบไปด้วย
Apple, Facebook, Google, LinkedIn, Twitter และ Yahoo
Jeff Paine ผู้อำนวยการผู้จัดการ AIC ได้ทำจดหมายเปิดผนึกส่งถึง พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื้อหาจดหมายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกพูดถึงความกังวลที่มีต่อนโยบาย OTT (Over The Top หรือผู้ให้บริการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอ์เน็ต) ของ กสทช. ส่วนที่สองคือผลกระทบหากดำเนินนโยบายนี้
ในส่วนแรกของจดหมายนั้น ระบุว่า ผู้บริโภค นักธุรกิจ และผู้ผลิตคอนเทนต์ในไทยทั้งหลายนั้น รู้กันดีว่าธุรกิจเติบโตได้เพราะอินเทอร์เน็ตที่เสรีและเปิดกว้าง แต่หลังจากที่ กสทช. เตรียมดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการดูแล OTT ล่าสุดนั้นจะส่งผลกระทบต่อไทยในแง่การลงทุนในไทยที่มีขีดจำกัดมากขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจก็ชะลอตัวลง โดยเฉพาะธุรกิจดิจิทัล ทาง AIC กังวลว่านโยบายเช่นนี้จะไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารือในที่สาธารณะ อีกทั้งไม่ได้ส่งเสริมการลงทุนด้วย
ตามที่สื่อรายงานว่า กสทช. เรียกร้องให้บริษัทต่างๆที่ใช้บริการ OTT นี้ต้องลงทะเบียนภายใน 30 วัน นโยบายดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อบรรดาเอเยนซี่ทั้งหลาย และทำให้ผู้บริโภทรวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจในการผลิตคอนเทนต์เสียเปรียบ ไม่ได้ส่งเสริมความพยายามของไทยที่ต้องการจะพัฒนาเป็น Thailand 4.0 ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการลงทุนแก่นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล
ข้อกังวลที่ AIC เป็นห่วง หากดำเนินนโยบายดังกล่าว
ผลสะท้อนจากการดำเนินนโยบาย OTT ของ กสทช. ในระดับโลก
- แนวทางการกำกับดูแลของกสทช. ทำให้การกำกับดูแล OTT ของไทยแตกต่างจากทั่วโลก
- การกำกับดังกล่าวต้องสอดคล้องกับพันธะสัญญาตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATS) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไทยเคยมีข้อตกลงว่าจะไม่จำกัดขอบเขตการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ข้อตกลงนี้ครอบคลุมถึงการให้บริการ OTT ด้วย
- การกำกับดูแล OTT ภายใต้ GATS มีรายละเอียดปลีกย่อย ทางที่ดีที่สุดคือ กสทช. ควรเปิดข้อเสนอที่จะกำกับดูแลต่อสาธารณะให้มีการแสดงความเห็นไปยังกสทช.ก่อน
- การบังคับให้ผู้ให้บริการ OTT ต้องมีฐานะเป็นผู้เสียภาษีในไทยไม่ว่าจะทำการในไทยหรือไม่ ไม่ตรงกับข้อตกลงการเสียภาษีซ้อน
- การเรียกเก็บภาษีเป็นกรณีพิเศษจาก OTT สะท้อนให้เห็นว่าไทยไม่สามารถทำตามวิถีปฏิบัติในระดับสากลได้ และทำให้ไทยเสียประโยชน์ในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วย
สร้างผลสะท้อนกลับทันทีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศของไทย
- กรอบความร่วมมือภายใต้ OTT ของ กสทช. ส่งผลทันทีในระดับปฏิบัติการ คือเกิดความเสียเปรียบต่อธุรกิจขนาดเล็กในไทย เพราะสร้างความยุ่งยากภายใต้การกำกับนี้
- OTT มีธรรมชาติต่างจากบริการกระจายเสียง การกำกับดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจกลายเป็นการปิดกั้นแทนที่จะสนับสนุน
- ผู้สร้างเนื้อหาจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบกระจายเสียงเดิมกลายเป็นผู้เสียหายจากที่ไม่สามารถเผยแพร่เนื้อหาในแพลตฟอร์มเปิดได้
ทาง AIC ยินดีช่วยทบทวนข้อเสนอการกำกับดูแล และให้คำแนะนำต่อการลงทะเบียน OTT ต่อไป
เนื้อหาฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) อยู่ใน
https://www.blognone.com/node/93587
ขอขอบคุณ Blognone ด้วยครับ
AIC ท้วง กสทช. การควบคุม OTT ทำไทยล้าหลัง ปิดทาง Thailand 4.0 !!!
หลังจาก กสทช. ขีดเส้นตาย 22 ก.ค. นี้ ถ้าเว็บเผยแพร่ภาพยังไม่ลงทะเบียนผิดกฎหมาย ซื้อโฆษณาต้องรับโทษด้วย / YouTube - Facebook ยังไม่ลงทะเบียน ทาง AIC (Asia Internet Coalition) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเข้าใจนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียแปซิฟิก ที่ประกอบไปด้วย Apple, Facebook, Google, LinkedIn, Twitter และ Yahoo
Jeff Paine ผู้อำนวยการผู้จัดการ AIC ได้ทำจดหมายเปิดผนึกส่งถึง พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื้อหาจดหมายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกพูดถึงความกังวลที่มีต่อนโยบาย OTT (Over The Top หรือผู้ให้บริการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอ์เน็ต) ของ กสทช. ส่วนที่สองคือผลกระทบหากดำเนินนโยบายนี้
ในส่วนแรกของจดหมายนั้น ระบุว่า ผู้บริโภค นักธุรกิจ และผู้ผลิตคอนเทนต์ในไทยทั้งหลายนั้น รู้กันดีว่าธุรกิจเติบโตได้เพราะอินเทอร์เน็ตที่เสรีและเปิดกว้าง แต่หลังจากที่ กสทช. เตรียมดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการดูแล OTT ล่าสุดนั้นจะส่งผลกระทบต่อไทยในแง่การลงทุนในไทยที่มีขีดจำกัดมากขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจก็ชะลอตัวลง โดยเฉพาะธุรกิจดิจิทัล ทาง AIC กังวลว่านโยบายเช่นนี้จะไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารือในที่สาธารณะ อีกทั้งไม่ได้ส่งเสริมการลงทุนด้วย
ตามที่สื่อรายงานว่า กสทช. เรียกร้องให้บริษัทต่างๆที่ใช้บริการ OTT นี้ต้องลงทะเบียนภายใน 30 วัน นโยบายดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อบรรดาเอเยนซี่ทั้งหลาย และทำให้ผู้บริโภทรวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจในการผลิตคอนเทนต์เสียเปรียบ ไม่ได้ส่งเสริมความพยายามของไทยที่ต้องการจะพัฒนาเป็น Thailand 4.0 ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการลงทุนแก่นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล
ข้อกังวลที่ AIC เป็นห่วง หากดำเนินนโยบายดังกล่าว
ผลสะท้อนจากการดำเนินนโยบาย OTT ของ กสทช. ในระดับโลก
- แนวทางการกำกับดูแลของกสทช. ทำให้การกำกับดูแล OTT ของไทยแตกต่างจากทั่วโลก
- การกำกับดังกล่าวต้องสอดคล้องกับพันธะสัญญาตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATS) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไทยเคยมีข้อตกลงว่าจะไม่จำกัดขอบเขตการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ข้อตกลงนี้ครอบคลุมถึงการให้บริการ OTT ด้วย
- การกำกับดูแล OTT ภายใต้ GATS มีรายละเอียดปลีกย่อย ทางที่ดีที่สุดคือ กสทช. ควรเปิดข้อเสนอที่จะกำกับดูแลต่อสาธารณะให้มีการแสดงความเห็นไปยังกสทช.ก่อน
- การบังคับให้ผู้ให้บริการ OTT ต้องมีฐานะเป็นผู้เสียภาษีในไทยไม่ว่าจะทำการในไทยหรือไม่ ไม่ตรงกับข้อตกลงการเสียภาษีซ้อน
- การเรียกเก็บภาษีเป็นกรณีพิเศษจาก OTT สะท้อนให้เห็นว่าไทยไม่สามารถทำตามวิถีปฏิบัติในระดับสากลได้ และทำให้ไทยเสียประโยชน์ในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วย
สร้างผลสะท้อนกลับทันทีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศของไทย
- กรอบความร่วมมือภายใต้ OTT ของ กสทช. ส่งผลทันทีในระดับปฏิบัติการ คือเกิดความเสียเปรียบต่อธุรกิจขนาดเล็กในไทย เพราะสร้างความยุ่งยากภายใต้การกำกับนี้
- OTT มีธรรมชาติต่างจากบริการกระจายเสียง การกำกับดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจกลายเป็นการปิดกั้นแทนที่จะสนับสนุน
- ผู้สร้างเนื้อหาจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบกระจายเสียงเดิมกลายเป็นผู้เสียหายจากที่ไม่สามารถเผยแพร่เนื้อหาในแพลตฟอร์มเปิดได้
ทาง AIC ยินดีช่วยทบทวนข้อเสนอการกำกับดูแล และให้คำแนะนำต่อการลงทะเบียน OTT ต่อไป
เนื้อหาฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) อยู่ใน https://www.blognone.com/node/93587
ขอขอบคุณ Blognone ด้วยครับ