วิหารล้านนา วัดหางดง อ.หางดง เชียงใหม่





สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2027 ในสมัยพญาติโลกราช ราชวงศ์เม็งรายแห่งล้านนา
เป็นยุคที่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ใหม่ มีความเจริญรุ่งเรือง ถึงกับมีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ที่วัดโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด

เดิมชื่อ วัดสันดอนแก้ว หรือดอนแก้ว เพราะตั้งอยู่กลางของชุมชน
ดอน ... หมายถึงที่สูง แก้ว ... หมายถึงสิ่งที่ดีน่ายกย่องบูชา
มีผู้ปกครอง ชุมชน ต่างให้การอุปถัมภ์ทำให้ มีการบูรณะอยู่ตลอดเวลา
ไม่เหมือนกับวัดโบราณอื่นอีกหลายวัด ที่กลายเป็นวัดร้างหรือถูกเผาทำลาย เมื่อพม่าเข้ามายึดครองล้านนา ... สมัยบุเรงนอง

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดบ้านดง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน และเป็นวัดหางดงเพื่อสอดคล้องกับชื่ออำเภอ
ที่ตั้ง




หัวเสาประตูวัด
เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มีกายเป็นสิงห์ หัวเป็นช้าง พลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน
ถ้ามีเคราและผมตั้ง คือ ทักทอ
ตัวนี้ไม่มีเครา คือ คชสีห์ เฝ้าประตูวัด




สิงห์ที่เสากำแพงแก้วของวิหาร




วิหาร
ในครั้งพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ เช่นเดียวกับกุฏิ
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพนิพาน มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนพระพุทธองค์
จึงสร้างอาคารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าว เป็นสถานที่สมมุติ ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ เรียกว่าวิหาร

วิหารล้านนา จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จของผนัง มีบันไดของพระทางด้านข้าง
เดิมรอบตัววิหารมีศาลาล้อมรอบทั้งสี่ด้าน แต่ได้ชำรุดทรุดโทรม ไม่ได้มีการบูรณะจึงถูกรื้ออกไปหมด

พื้นวัดเป็นพื้นทราย




บันไดทางขึ้นของพระ หน้าบันเป็นรูปนกยูง อันเป็นสัญญลักษณ์เจ้านายฝ่ายเหนือ




ด้านนอกจะแบ่งส่วนยกเก็จผนัง 5 ส่วน ตามพื้นที่ใช้สอย




คือ
โถงระเบียง 1 ส่วน




ตัววิหาร 3 ส่วน คือ โถงพระเจ้า พระสงฆ์ และอุบาสก - อุบาสิกา




และพิเศษตือหลังสุดเป็นหอเก็บพระธรรม ที่ติดอยู่กับตัววิหาร ซึ่งพบได้ยากในปัจจุบัน
... ที่ไม่มีเจาะช่องหน้าต่างคือโถงพระเจ้า ...







บันไดเป็นมกรคายนาค
นาคหน้าตาไม่เหมือนกัน สันนิษฐานว่า เป็นตัวผู้และตัวเมีย
มกรมีขาหน้าและอุ้งเล็บ การที่ไม่มีเกล็ด เป็นการปั้นแบบโบราณ




นาคลำยองหรือปั้นลม ตลอดจนนาคเบือน เป็นไม้แกะสลัก ติดกระจกสี
หน้าบันวิหาร เป็นฝาปะกน ... รูปสี่เหลี่ยมซ้อนสลับกัน
รูป เทพพนม และกินรี ตกแต่งด้วย ลวดลายปูนปั้นปิดทอง ประดับด้วยกระจกสี

โก่งคิ้ว ... ใต้สุดที่เหมือนคิ้วโก่ง ... แกะสลักลายเครือเถา

เสาคู่หน้าสุดของพระวิหารให้เป็นรูปแปดเหลี่ยม แสดงถึงความหยาบกระด้าง ของจิตใจและกิเลสตัณหาของมนุษย์ ที่ยังไม่ได้ขัดเกลา




โก่งคิ้วด้านข้าง




ในวิหาร

ลวดลายกรอบประตู




โครงหลังคา เป็นม้าต่างไหม







เสาคู่แรก ที่อยู่ระหว่างโถงระเบียง และ โถงวิหารเป็นเสาแปดเหลี่ยมเช่นกัน




เสาภายในวิหารเป็นเสากลม ลวดลายปูนปั้นปิดทอง
ส่วนผสมของปูนที่ใช้ในการปั้นรูปต่างๆ ของวิหารวัดหางดง เป็นสูตรต่างหากที่ช่างล้านนาได้คิดค้นขึ้นมาดังนี้
ทรายละเอียด จำนวน 7 ส่วน ปูน จำนวน 5 ส่วน น้ำยางไม้ ... ไม่แน่ใจว่าไม้อะไร ... จำนวน 2 ส่วน น้ำอ้อย จำนวน 1 ส่วน
ไม่ว่าจะใช้ปั้นติดไม้หรือติดกับปูนจะทำให้อยู่ได้คงทนถาวรจนถึงปัจจุบัน

ลายหน้ากาลคายนาค , คายพวงมาลัย

0cv9VrV04C0O-o.jpg[/img]


ครุฑยุดนาค




เทพพนมและลายดอกไม้








พระประธานปางมารวิชัย
ผนังด้านหลังประดับด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นองค์เล็ก ๆ จำนวนมาก




นาคกับหม้อดอก แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์




ธรรมาสน์ ... พระท่านต้องยืนเทศน์เนาะ และ หิ้งวางคัมภีร์ใบลาน







ฐานธรรมมาสน์




ฮูปแต้ม ทศชาติชาดก

1




2




3




4




5




6




ปิดท้ายด้วย รามเกียรติ์




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่