วัดไตรมิตรวิทยาราม เดิมชื่อวัดสามจีนใต้ สร้างขึ้นตั้งแต่ราว พ.ศ. 2374 มีตำนานเล่าว่าชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างขึ้น ต่อมาภายหลังสภาพภายในวัดชำรุดทรุดโทรมลงมาก จึงเริ่มดำเนินการบูรณะปรับปรุงตั้งแต่ พ.ศ. 2480 โดยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเติมทั้งหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยารามเมื่อ พ.ศ. 2482 จากนั้นต่อมา พ.ศ. 2497 ทางวัดจึงเริ่มก่อสร้างพระวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาจากวัดพระยาไกร เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นปูชนียวัตถุอันควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน
เมื่อการก่อสร้างพระวิหารใกล้เสร็จ วัดไตรมิตรวิทยารามจึงประกอบพิธีอัญเชิญ "หลวงพ่อวัดพระยาไกร" ขึ้นประดิษฐานบนพระวิหารเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 แต่ในวันนั้นดำเนินการไม่สำเร็จ เพราะเกิดเหตุเชือกขาดขณะยกองค์พระขึ้นสู่พระวิหาร ทำให้องค์พระตกกระแทกพื้น ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ปูนที่พอกหุ้มองค์พระอยู่กะเทาะออกบางส่วน จนพบว่ามีพระพุทธรูปทองคำอยู่ภายใน จากนั้นเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ทางวัดจึงได้สำรอกดินที่ใต้ฐานพระพุทธรูปออกเพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งทำให้พบว่าองค์พระสามารถถอดเป็นส่วนๆได้ จึงถอดบางส่วนออกจากกัน แล้วสกัดปูนและรักที่หุ้มอยู่ออก จากนั้นนำส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป ขึ้นไปประกอบใหม่บนพระวิหาร รวมแล้วใช้เวลาหลายเดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ และด้วยเหตุที่พระพุทธรูปทองคำองค์นี้เป็นศิลปะสุโขทัย จึงได้ตั้งนามในขณะนั้นว่า "หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร"
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ พระสุโขทัยไตรมิตร
ประวัติที่แน่ชัดของพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรสืบทราบย้อนไปได้เพียงว่าประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร กรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394) โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและที่ไหน
จากลักษณะทางศิลปะขององค์พระซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อันเป็นรูปแบบพระพุทธรูปที่งดงามสมบูรณ์ที่สุดในศิลปะสุโขทัย ซึ่งเกิดขึ้น ณ กรุงสุโขทัยในสมัยที่เป็นราชธานีเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ทำให้สันนิษฐานได้ว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” น่าจะสร้างขึ้นที่กรุงสุโขทัยในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงที่กรุงสุโขทัย มีความมั่งคั่งร่ำรวยและพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่อง ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" และด้วยความใหญ่โตขององค์พระที่สร้างด้วยทองคำล้ำค่า ก็ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยน่าจะเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว (313 เซนติเมตร) สูง 7 ศอก 1 คืน 9 นิ้ว (398 เซนติเมตร) หนักประมาณ 5.5 ตัน อิริยาบถปางมารวิชัย กล่าวคือ ประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี ลักษณะพุทธศิลป์เป็นแบบพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ ซึ่งถือว่างดงามที่สุดในศิลปะไทย ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปหมวดนี้คือ
- วงพระพักตร์เป็นรูปไข่
- ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยเวียนขวา หรือทักษิณาวรรต
- พระเกตุมาลา (รัศมี) เป็นรูปเปลวเพลิง
- พระขนงโก่งงดงาม โค้งบรรจบกันที่ดั้งพระนาสิก
- พระนาสิกโด่ง ปลายพระนาสิกค่อนข้างงุ้ม
- พระโอษฐ์เรียวงาม ดูคล้ายแย้มพระสรวล
- ครองจีวรห่มเฉียง พาดสังฆาฏิบนพระอังสาซ้าย ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแฉกเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ
- ประทับบนฐานหน้ากระดาน
พ.ศ. 2534
หนังสือกินเนสบู๊ดทำการประเมินค่าและบันทึกว่า พระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็น "วัตถุศักดิ์สิทธิ์" ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก (The sacred object with the highest intrinsic value) โดยมีมูลค่าเนื้อทองคำถึง 21.1 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2546 บันทึกอีกครั้งว่ามีมูลค่า 37.1 ล้านปอนด์)
พิกัด: วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
https://maps.app.goo.gl/GJoWHAJwjnq4hxY48?g_st=com.google.maps.preview.copy
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2568
17 January 2025
ตรงกับวันศุกร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะโรง
ศุกรวาร(ศ) ปุสยมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2025 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243 สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส อธิกวาร
เที่ยววัดไทย teawwatthai
เที่ยวชมวัดและสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองไทย
#พระสุโขทัยไตรมิตร
#พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
#วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
#เที่ยววัดไทย
#teawwatthai
#เที่ยววัดไทยteawwatthai
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เมื่อการก่อสร้างพระวิหารใกล้เสร็จ วัดไตรมิตรวิทยารามจึงประกอบพิธีอัญเชิญ "หลวงพ่อวัดพระยาไกร" ขึ้นประดิษฐานบนพระวิหารเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 แต่ในวันนั้นดำเนินการไม่สำเร็จ เพราะเกิดเหตุเชือกขาดขณะยกองค์พระขึ้นสู่พระวิหาร ทำให้องค์พระตกกระแทกพื้น ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้ปูนที่พอกหุ้มองค์พระอยู่กะเทาะออกบางส่วน จนพบว่ามีพระพุทธรูปทองคำอยู่ภายใน จากนั้นเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ทางวัดจึงได้สำรอกดินที่ใต้ฐานพระพุทธรูปออกเพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งทำให้พบว่าองค์พระสามารถถอดเป็นส่วนๆได้ จึงถอดบางส่วนออกจากกัน แล้วสกัดปูนและรักที่หุ้มอยู่ออก จากนั้นนำส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูป ขึ้นไปประกอบใหม่บนพระวิหาร รวมแล้วใช้เวลาหลายเดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ และด้วยเหตุที่พระพุทธรูปทองคำองค์นี้เป็นศิลปะสุโขทัย จึงได้ตั้งนามในขณะนั้นว่า "หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร"
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ พระสุโขทัยไตรมิตร
ประวัติที่แน่ชัดของพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรสืบทราบย้อนไปได้เพียงว่าประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร กรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394) โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและที่ไหน
จากลักษณะทางศิลปะขององค์พระซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ อันเป็นรูปแบบพระพุทธรูปที่งดงามสมบูรณ์ที่สุดในศิลปะสุโขทัย ซึ่งเกิดขึ้น ณ กรุงสุโขทัยในสมัยที่เป็นราชธานีเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ทำให้สันนิษฐานได้ว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” น่าจะสร้างขึ้นที่กรุงสุโขทัยในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นช่วงที่กรุงสุโขทัย มีความมั่งคั่งร่ำรวยและพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรื่อง ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" และด้วยความใหญ่โตขององค์พระที่สร้างด้วยทองคำล้ำค่า ก็ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยน่าจะเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว (313 เซนติเมตร) สูง 7 ศอก 1 คืน 9 นิ้ว (398 เซนติเมตร) หนักประมาณ 5.5 ตัน อิริยาบถปางมารวิชัย กล่าวคือ ประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี ลักษณะพุทธศิลป์เป็นแบบพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ ซึ่งถือว่างดงามที่สุดในศิลปะไทย ลักษณะเด่นของพระพุทธรูปหมวดนี้คือ
- วงพระพักตร์เป็นรูปไข่
- ขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยเวียนขวา หรือทักษิณาวรรต
- พระเกตุมาลา (รัศมี) เป็นรูปเปลวเพลิง
- พระขนงโก่งงดงาม โค้งบรรจบกันที่ดั้งพระนาสิก
- พระนาสิกโด่ง ปลายพระนาสิกค่อนข้างงุ้ม
- พระโอษฐ์เรียวงาม ดูคล้ายแย้มพระสรวล
- ครองจีวรห่มเฉียง พาดสังฆาฏิบนพระอังสาซ้าย ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแฉกเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ
- ประทับบนฐานหน้ากระดาน
พ.ศ. 2534
หนังสือกินเนสบู๊ดทำการประเมินค่าและบันทึกว่า พระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็น "วัตถุศักดิ์สิทธิ์" ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก (The sacred object with the highest intrinsic value) โดยมีมูลค่าเนื้อทองคำถึง 21.1 ล้านปอนด์ (พ.ศ. 2546 บันทึกอีกครั้งว่ามีมูลค่า 37.1 ล้านปอนด์)
พิกัด: วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
https://maps.app.goo.gl/GJoWHAJwjnq4hxY48?g_st=com.google.maps.preview.copy
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2568
17 January 2025
ตรงกับวันศุกร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีมะโรง
ศุกรวาร(ศ) ปุสยมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2025 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243 สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส อธิกวาร
เที่ยววัดไทย teawwatthai
เที่ยวชมวัดและสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองไทย
#พระสุโขทัยไตรมิตร
#พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
#วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
#เที่ยววัดไทย
#teawwatthai
#เที่ยววัดไทยteawwatthai