วิหารล้านนา ... วัดบวกครกหลวง อ.เมือง เชียงใหม่






วัดบวกครกหลวงตั้งอยู่ใกล้ ๆ โรงแรมดาราเทวี
เข้าซอยเดียวกัน แต่วัดถึงก่อน ถ้ามาจากถนนสายเชียงใหม่สันกำแพงสายเก่า




ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดสร้างขึ้นเมื่อไร เดิมชื่อวัดม่วงคำ
เมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมา ปรากฏในพระคัมภีร์ใบลานตำนานล้านนาหลายแห่ง ว่า วัดบวกครก

จากนิทานพื้นบ้านของหมู่บ้านที่เล่าต่อมาว่า
นานมาแล้วหมู่บ้านนี้ได้เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก
เจ้านายทางเชียงใหม่จึงนำข้าวออกมาจากท้องพระคลัง และได้ขุดหลุมขนาดใหญเพื่อตำข้าวแจกจ่ายแกประชาชน

บ้างก็ว่าลำเหมือง(ลำคลอง)ในหมู่บ้าน กัดเซาะบริเวณหน้าวัดเป็นหลุมขนาดใหญ่คล้ายครก ชาวบ้านเรียกว่า บวกครก

หรือครก มาจากพื้นที่เป็นแอ่งลึกคล้ายก้นครก
ปรักที่มีควายมานอนแช่โคลนภาษาเหนือเรียกบวก
บวกครกคือแอ่งปรักควายนั่นเอง
หลวงแปลว่าใหญ่
เมื่อแยกออกมาสร้างวัดบวกครกน้อย วัดนี้จึงเรียกเป็นวัดบวกครกหลวง




อุโบสถ



หน้าบันลายพรรณพฤกษา
โก่งคิ้วเหมือนเกียรติมุขยุดนาค











บันไดมกรคายนาค อุ้งเท้ามกรจับปลาหรือกบดี





ปีจอ ปีกุญชร




เจดีย์ทรงปราสาท รูปทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนชั้น คล้ายปราสาทที่อยู่ของกษัตริย์
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ส่วนยอดเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็ก เป็นรูปแบบเอกลักษณ์ของเจดีย์ทรงปราสาทล้านนา
ล้อมด้วยกำแพงแก้ว




เรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยม ซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน




หอไตรแบบหอสูง




วิหาร




ไม่ทราบว่าสร้างมาแต่เมื่อใด มีการบูรณะหลายครั้ง

ในสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9 ( พ.ศ.2452-2482 )
โดยเฉพาะจากเจ้าราชภาคิไนย (แผ่นฟ้า) บิดาของเจ้าจามรี ชายาของเจ้าแก้วนวรัฐ มีการบูรณะวิหารครั้งใหญ่ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่หน้าบัน ระบุปีพ.ศ.2468

และมีการบูรณะอีกครั้งในปีพ.ศ. 2498 มีการเทพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน




ก่ออิฐถือปูน
หลังคา 5 ซด 2 ตับ
ผังวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จผนังแบบล้านนา




ช่อฟ้ารูปนกหัสดีลิงค์ หางหงส์รูปนาค
บันไดด้านข้าง




คนแบกเทวดาที่มุม




การบูรณะครั้งหลังสุด มีการเปลี่ยนเสาไม้สักขนาดใหญ่ที่ผุออก ต่อมุขด้านหน้าให้คลุมบันไดนาคด้วยเสาไม้ที่นำมาจากวัดสวนดอก
บันไดเป็นรุปมกร คายนาคปากนกแก้ว







จับกบ




จับปลา




หน้าบันของหลังคาที่ต่อออกมาคลุมบันได




หน้าบันวิหารเดิม ได้ติดบานประตูเพิ่มเพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย แกะสลักรูปทวารบาลมีลิงและสิงห์เป็นบริวาร ปิดทอง




โก่งคิ้วปีกนกเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนมนั่งเหนือเมฆ เสาเขียนลายคำ ซี่ลูกกรงรูปเจดีย์




นาคทัณฑ์ ด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ




ตำแหน่งอื่น ๆ จะเป็นลายเมฆไหล







ใช้เสาขนาดใหญ่ 12 ต้น
ในการรับน้ำหนักของหลังคาทั้งหมด
โครงสร้างไม้แบบม้าต่างไหม




พื้นที่ด้านในวิหารแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
พื้นที่ในสุดเป็นแท่นแก้ว ประดิษฐานพระประธานของวัด
พื้นที่ ของพระสงฆ์ ได้แก่อาสนสงฆ์เป็นแท่นยกพื้นอยู่ทางด้านขวามือของพระประธาน และบุษบกธรรมมาสน์
พื้นที่ของฆราวาส ได้แก่โถงส่วนกลางของอาคาร จะนั่งต่ำกว่าพระสงฆ์ และพระประธาน




ธรรมาสน์ปราสาทบุษบกแบบล้านนนา ตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา




สัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียน 7 ชั้น หมายถึงทิวเขาทั้ง 7 ที่เรียงรายลดหลั่นล้อมรอบเขาพระสุเมรุ



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่