ภาพประกอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยเรียบร้อยแล้ว ทุกจังหวัดตอนนี้มีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือสูงวัยมากกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ในปี 2573 คาดการณ์ว่าทุกจังหวัดจะมีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขณะที่บางจังหวัดอาจมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30
เพื่อไม่ให้คนไทยติดกับดักอายุ และเตรียมพร้อมสู่การเกษียณอย่างมีคุณภาพ ซิกน่า ธุรกิจด้านประกัน ได้สำรวจ “คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360°” ซึ่งได้ศึกษาทัศนคติของผู้คนเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเอง โดยสะท้อนความรู้สึกของแต่ละคนที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองในด้านต่างๆ 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพและความเป็นอยู่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านครอบครัว ด้านการเงิน และด้านการงาน จากความคิดเห็นโดยรวมของประชากรไทย พบ 3 สิ่งสำคัญที่ผู้สูงอายุอยากบอกลูกหลาน
1. 60 ยังแจ๋ว
คนวัยทำงานเข้าใจว่าเมื่อเกษียณไปแล้วนับเป็นการเข้าสู่ ‘วัยชรา’อย่างเป็นทางการ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ เช่น สุขภาพที่เสื่อมถอย มีอาการหลงลืม ทำอะไรเชื่องช้าลง และอาจเป็นจุดสิ้นสุดของความรื่นเริงและความกระฉับกระเฉง แต่ในความเป็นจริงแล้ว จากผลสำรวจกลับพบว่าคนไทยในวัยเกษียณ คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองแก่เลยแม้แต่น้อย และยังต้องการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินทางท่องเที่ยว ทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือแม้แต่การทำงานต่อหลังวัยเกษียณอีกด้วย
โดยร้อยละ 69 ของคนไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปบอกว่า การทำงานหลังวัยเกษียณเป็นเรื่องที่พวกเขาทำได้และอยากทำ โดยมีเหตุผลหลักคือ เพื่อทำให้ความคิดและร่างกายรู้สึกกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ข้อมูลจากผลสำรวจฯยังพบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมากกว่าคนที่ยังอายุน้อยอีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวยังตรงกับรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า การที่ผู้สูงอายุมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา โดยมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบข้างนั้น จะสามารถช่วยชะลอ ‘ความแก่’ ทำให้สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจไม่โรยราไปตามอายุได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. ยิ่งสูงวัย ยิ่งจ่ายมาก
ในวันที่เรายังแข็งแรง ยังสามารถทำงานได้ เราอาจรู้สึกว่าการวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลไม่ใช่เรื่องที่สำคัญที่สุด โดยจากผลสำรวจพบว่าวัยทำงานไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ด้วยตนเอง เช่น การซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานหรือการพักผ่อนให้เพียงพอ มากกว่าการเดินทางไปพบแพทย์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่แผนประกันสุขภาพที่เป็นสวัสดิการของบริษัทไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง โดยนอกจากการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยด้วยตนเองแล้ว วัยทำงานไทยถึงร้อยละ 40 ยังต้องควักกระเป๋าตัวเองเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนต่างที่เกิดขึ้นแทนการวางแผนค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระยะยาว
ผลสำรวจพบว่าคนไทยในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เลือกที่จะไปพบแพทย์เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย แม้ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย มากกว่าการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน ส่วนคนไทยในช่วงอายุ 50 – 59 ปีมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลราว 11,000 บาทต่อปี แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าใช้จ่ายดังกล่าวกลับเพิ่มสูงขึ้นราว 23,000 บาทต่อปี ซึ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว
ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะมีเงินเพียงพอ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น การมองหาหลักประกันด้านสุขภาพเพิ่มเติม นอกเหนือจากสวัสดิการที่บริษัทให้อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา
และ 3. รีบเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ เพราะเวลาโบยบินไปอย่างรวดเร็ว
สิ่งสำคัญที่สุดที่คนวัยเกษียณอยากบอกกับหนุ่มสาววัยทำงานในตอนนี้คือ “อย่าชะล่าใจ” เพราะเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยผลสำรวจในช่วงสองปีที่ผ่านมาจะพบว่า สิ่งที่คนไทยมีความกังวลมากที่สุดคือ ความมั่นคงทางด้านการเงิน ของตนเองจากกรณีการขาดรายได้เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้และจากสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน โดยมีคนไทยวัยทำงานเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น ที่บอกว่าตนเองมีความพร้อมทางด้านการเงินแม้จะไม่ได้ทำงาน และมีผู้สูงอายุเพียง 25% เท่านั้น ที่คิดว่าตนมีเงินออมเพียงพอสำหรับการเกษียณ ทำให้เห็นได้อย่างชัดว่าแม้คนไทยจะมีความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านการเงิน แต่คนไทยส่วนใหญ่กลับยังไม่รีบเตรียมตัวและไม่มีความพร้อมด้านการเงินเพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ และความไม่พร้อมที่สั่งสมมาตั้งแต่วัยทำงานนั่นเอง ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ต้องติด ‘กับดักอายุ’ (Age trap) เมื่ออายุล่วงเลยมาถึงวัยเกษียณ
ฉะนั้น สิ่งที่คนวัยทำงานควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้คือ การวางแผนด้านการเงินเพื่ออนาคต รวมถึงการวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพื่อก้าวข้ามกับดักอายุต่อไป
บทความจาก : มติชนออนไลน์
https://www.matichon.co.th/news/579762
ถึงชราก็สายเสียแล้ว! เปิด 3 สิ่งที่ผู้สูงอายุอยากบอกลูกหลานในวันนี้
ภาพประกอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยเรียบร้อยแล้ว ทุกจังหวัดตอนนี้มีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือสูงวัยมากกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ในปี 2573 คาดการณ์ว่าทุกจังหวัดจะมีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขณะที่บางจังหวัดอาจมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30
เพื่อไม่ให้คนไทยติดกับดักอายุ และเตรียมพร้อมสู่การเกษียณอย่างมีคุณภาพ ซิกน่า ธุรกิจด้านประกัน ได้สำรวจ “คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360°” ซึ่งได้ศึกษาทัศนคติของผู้คนเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเอง โดยสะท้อนความรู้สึกของแต่ละคนที่มีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองในด้านต่างๆ 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพและความเป็นอยู่ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านครอบครัว ด้านการเงิน และด้านการงาน จากความคิดเห็นโดยรวมของประชากรไทย พบ 3 สิ่งสำคัญที่ผู้สูงอายุอยากบอกลูกหลาน
1. 60 ยังแจ๋ว
คนวัยทำงานเข้าใจว่าเมื่อเกษียณไปแล้วนับเป็นการเข้าสู่ ‘วัยชรา’อย่างเป็นทางการ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ เช่น สุขภาพที่เสื่อมถอย มีอาการหลงลืม ทำอะไรเชื่องช้าลง และอาจเป็นจุดสิ้นสุดของความรื่นเริงและความกระฉับกระเฉง แต่ในความเป็นจริงแล้ว จากผลสำรวจกลับพบว่าคนไทยในวัยเกษียณ คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น ไม่ได้รู้สึกว่าตนเองแก่เลยแม้แต่น้อย และยังต้องการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินทางท่องเที่ยว ทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือแม้แต่การทำงานต่อหลังวัยเกษียณอีกด้วย
โดยร้อยละ 69 ของคนไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปบอกว่า การทำงานหลังวัยเกษียณเป็นเรื่องที่พวกเขาทำได้และอยากทำ โดยมีเหตุผลหลักคือ เพื่อทำให้ความคิดและร่างกายรู้สึกกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ข้อมูลจากผลสำรวจฯยังพบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมากกว่าคนที่ยังอายุน้อยอีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวยังตรงกับรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า การที่ผู้สูงอายุมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา โดยมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบข้างนั้น จะสามารถช่วยชะลอ ‘ความแก่’ ทำให้สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจไม่โรยราไปตามอายุได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. ยิ่งสูงวัย ยิ่งจ่ายมาก
ในวันที่เรายังแข็งแรง ยังสามารถทำงานได้ เราอาจรู้สึกว่าการวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลไม่ใช่เรื่องที่สำคัญที่สุด โดยจากผลสำรวจพบว่าวัยทำงานไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ด้วยตนเอง เช่น การซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานหรือการพักผ่อนให้เพียงพอ มากกว่าการเดินทางไปพบแพทย์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่แผนประกันสุขภาพที่เป็นสวัสดิการของบริษัทไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง โดยนอกจากการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยด้วยตนเองแล้ว วัยทำงานไทยถึงร้อยละ 40 ยังต้องควักกระเป๋าตัวเองเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนต่างที่เกิดขึ้นแทนการวางแผนค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลในระยะยาว
ผลสำรวจพบว่าคนไทยในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เลือกที่จะไปพบแพทย์เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย แม้ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย มากกว่าการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน ส่วนคนไทยในช่วงอายุ 50 – 59 ปีมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลราว 11,000 บาทต่อปี แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าใช้จ่ายดังกล่าวกลับเพิ่มสูงขึ้นราว 23,000 บาทต่อปี ซึ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว
ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะมีเงินเพียงพอ เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น การมองหาหลักประกันด้านสุขภาพเพิ่มเติม นอกเหนือจากสวัสดิการที่บริษัทให้อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา
และ 3. รีบเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ เพราะเวลาโบยบินไปอย่างรวดเร็ว
สิ่งสำคัญที่สุดที่คนวัยเกษียณอยากบอกกับหนุ่มสาววัยทำงานในตอนนี้คือ “อย่าชะล่าใจ” เพราะเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยผลสำรวจในช่วงสองปีที่ผ่านมาจะพบว่า สิ่งที่คนไทยมีความกังวลมากที่สุดคือ ความมั่นคงทางด้านการเงิน ของตนเองจากกรณีการขาดรายได้เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้และจากสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน โดยมีคนไทยวัยทำงานเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น ที่บอกว่าตนเองมีความพร้อมทางด้านการเงินแม้จะไม่ได้ทำงาน และมีผู้สูงอายุเพียง 25% เท่านั้น ที่คิดว่าตนมีเงินออมเพียงพอสำหรับการเกษียณ ทำให้เห็นได้อย่างชัดว่าแม้คนไทยจะมีความกังวลเรื่องความมั่นคงด้านการเงิน แต่คนไทยส่วนใหญ่กลับยังไม่รีบเตรียมตัวและไม่มีความพร้อมด้านการเงินเพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ และความไม่พร้อมที่สั่งสมมาตั้งแต่วัยทำงานนั่นเอง ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ต้องติด ‘กับดักอายุ’ (Age trap) เมื่ออายุล่วงเลยมาถึงวัยเกษียณ
ฉะนั้น สิ่งที่คนวัยทำงานควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้คือ การวางแผนด้านการเงินเพื่ออนาคต รวมถึงการวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพื่อก้าวข้ามกับดักอายุต่อไป
บทความจาก : มติชนออนไลน์
https://www.matichon.co.th/news/579762