ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุไปเป็นที่เรียบร้อย โดยมีสัดส่วนผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีอยู่ที่ 11% ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 7 ล้านคน
ขณะที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคมพยากรณ์ว่า สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.1% หรือ 16 ล้านคนในปี 2578 และในอีก 15 ปีข้างหน้าอัตราส่วนผู้สูงอายุในไทยจะกลายเป็น 1:4 หมายความว่า เดินไปเจอคน 4 คนจะเป็นผู้สูงอายุ 1 คน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งมิติด้านสังคม เศรษกิจมหภาค ในอนาคตกำลังแรงงานของประเทศจะลดลงเนื่องจากวัยทำงานในปัจจุบันกว่า 16 ล้านคนจะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต ขณะที่อัตราการเกิดของทารกในเมืองไทยอยู่ที่ประมาณ 8 แสนคน/ปีเท่านั้น
นอกจากธุรกิจที่ต้องปรับตัวผลิตสินค้าผู้สูงอายุมากขึ้นแล้ว นโยบายรัฐเองก็ต้องมีการปรับปรุง เช่น ต้องจัดหาสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น บริการสาธาณะต่างๆต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนชราด้วย
เนื่องจากรับผิดชอบเรื่องเงินบำนาญของลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนวัยเกษียณ แค่คำนวนง่ายๆ ว่ามีผู้สูงอายุมากขึ้น แต่มีแรงงานเข้าระบบประกันสังคมน้อยลง เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมย่อมมีน้อยตามลง แต่ต้องจ่ายเงินบำนาญทุกเดือนๆ สัดส่วนเงินไหลเข้า-ออกจึงไม่มีความสมดุลย์กันแล้ว
ปัจจุบันมีลูกจ้างที่เข้าระบบประกันสังคมรวมกันทั้งสิ้น 9.4 ล้านราย มีเงินที่สปส.ดูแลรวม 7 แสนล้านบาทแบ่งเป็นเงินกองทุนสงเคราะห์บุตรและชราภาพซึ่งเป็นเงินออมที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบทุกเดือนๆ 5.6 แสนล้านบาท
ที่เหลือเป็นเงินทุนดูแลกรณีเจ็บป่วย ຕาຍ ทุพพลภาพและคลอดบุตร 9.4 หมื่นล้านบาท และกองทุนชดเชยกรณีว่างงานอีก 4.5 หมื่นล้านบาท
แม้มูลค่ากองทุนจะสูงถึง 7 แสนล้านบาท แต่หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อีกไม่เกิน 30 ปีข้างหน้าเงินกองทุนประกันสังคมจะมีปัญหาแน่นอน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 3% ของรายได้ และนายจ้างสมทบอีก 3% รวมแล้วจะมีเงิน 6% เข้ากองทุนทุกเดือนๆ
แต่เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 15 ปีและมีอายุถึง 55 ปี นอกจากจะได้รับเงินบำเหน็จตามจำนวนที่สะสมไว้บวกดอกเบี้ยแล้ว ยังจะได้รับเงินบำนาญชราภาพอีกเดือนละ 20% ของเงินเดือน
นอกจากประเด็นเรื่องส่วนต่างเงินสมทบ 14% แล้ว ประเด็นเรื่องอายุผู้ประกันตนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วย เนื่องจากผู้ประกันตนจะได้บำนาญเมื่ออายุ 55 ปี แต่อายุเฉลี่ยของคนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 75 ปี เท่ากับว่าประกันสังคมต้องจ่ายบำนาญเฉลี่ยต่อไปอีก 20 ปี หักลบกับจำนวนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปีแล้วยังมีส่วนต่างอยู่ 5 ปี
ส่วนวิธีการแก้ไขนั้น ปั้นยอมรับว่าอาจต้องมีการปรับโมเดลการจ่ายเงินประกันสังคมในอนาคต แต่การเปลี่ยนแปลงต่างๆก็ต้องไม่กระทบสิทธิผู้ประกันตนที่มีอยู่เดิมด้วยเช่นกัน
สำนักข่าวบลูมเบิร์กของสหรัฐได้วิเคราะห์ว่า เพราะระบบสาธารณสุขของไทยมีต้นทุนที่เพิ่มโดยเฉลี่ย 12% ต่อปี แต่รายได้ของประชากรกลับไม่สมดุล มากไปกว่านั้นระบบประกันสังคมของไทยถ้าไม่มีการปรับปรุงด้านภาษี เงินจะหมดภายใน 15 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมากสำหรับอนาคต
สิ่งเหล่านี้ยังมีคำถามตามมาอีกว่าต้องทำ “เมื่อไหร่” ทำแล้วจะ “ดี” แค่ไหน ท้ายที่สุดก็ต้องทำประชาพิจารณ์เพราะสปส.บริหารเงินของชาวบ้าน การจะเปลี่ยนแปลงอะไรจึงต้องมีส่วนร่วมจากเจ้าของเงินด้วย
เครดิตบทความ ที่มา posttoday , bloomberg.com
“บลูมเบิร์ก” วิเคราะห์ ระบบประกันสังคมของไทย เงินจะหมดภายใน 15ปี
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุไปเป็นที่เรียบร้อย โดยมีสัดส่วนผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีอยู่ที่ 11% ของประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 7 ล้านคน
ขณะที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคมพยากรณ์ว่า สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.1% หรือ 16 ล้านคนในปี 2578 และในอีก 15 ปีข้างหน้าอัตราส่วนผู้สูงอายุในไทยจะกลายเป็น 1:4 หมายความว่า เดินไปเจอคน 4 คนจะเป็นผู้สูงอายุ 1 คน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งมิติด้านสังคม เศรษกิจมหภาค ในอนาคตกำลังแรงงานของประเทศจะลดลงเนื่องจากวัยทำงานในปัจจุบันกว่า 16 ล้านคนจะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต ขณะที่อัตราการเกิดของทารกในเมืองไทยอยู่ที่ประมาณ 8 แสนคน/ปีเท่านั้น
นอกจากธุรกิจที่ต้องปรับตัวผลิตสินค้าผู้สูงอายุมากขึ้นแล้ว นโยบายรัฐเองก็ต้องมีการปรับปรุง เช่น ต้องจัดหาสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น บริการสาธาณะต่างๆต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนชราด้วย
เนื่องจากรับผิดชอบเรื่องเงินบำนาญของลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนวัยเกษียณ แค่คำนวนง่ายๆ ว่ามีผู้สูงอายุมากขึ้น แต่มีแรงงานเข้าระบบประกันสังคมน้อยลง เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมย่อมมีน้อยตามลง แต่ต้องจ่ายเงินบำนาญทุกเดือนๆ สัดส่วนเงินไหลเข้า-ออกจึงไม่มีความสมดุลย์กันแล้ว
ปัจจุบันมีลูกจ้างที่เข้าระบบประกันสังคมรวมกันทั้งสิ้น 9.4 ล้านราย มีเงินที่สปส.ดูแลรวม 7 แสนล้านบาทแบ่งเป็นเงินกองทุนสงเคราะห์บุตรและชราภาพซึ่งเป็นเงินออมที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบทุกเดือนๆ 5.6 แสนล้านบาท
ที่เหลือเป็นเงินทุนดูแลกรณีเจ็บป่วย ຕาຍ ทุพพลภาพและคลอดบุตร 9.4 หมื่นล้านบาท และกองทุนชดเชยกรณีว่างงานอีก 4.5 หมื่นล้านบาท
แม้มูลค่ากองทุนจะสูงถึง 7 แสนล้านบาท แต่หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อีกไม่เกิน 30 ปีข้างหน้าเงินกองทุนประกันสังคมจะมีปัญหาแน่นอน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 3% ของรายได้ และนายจ้างสมทบอีก 3% รวมแล้วจะมีเงิน 6% เข้ากองทุนทุกเดือนๆ
แต่เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 15 ปีและมีอายุถึง 55 ปี นอกจากจะได้รับเงินบำเหน็จตามจำนวนที่สะสมไว้บวกดอกเบี้ยแล้ว ยังจะได้รับเงินบำนาญชราภาพอีกเดือนละ 20% ของเงินเดือน
นอกจากประเด็นเรื่องส่วนต่างเงินสมทบ 14% แล้ว ประเด็นเรื่องอายุผู้ประกันตนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วย เนื่องจากผู้ประกันตนจะได้บำนาญเมื่ออายุ 55 ปี แต่อายุเฉลี่ยของคนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 75 ปี เท่ากับว่าประกันสังคมต้องจ่ายบำนาญเฉลี่ยต่อไปอีก 20 ปี หักลบกับจำนวนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปีแล้วยังมีส่วนต่างอยู่ 5 ปี
ส่วนวิธีการแก้ไขนั้น ปั้นยอมรับว่าอาจต้องมีการปรับโมเดลการจ่ายเงินประกันสังคมในอนาคต แต่การเปลี่ยนแปลงต่างๆก็ต้องไม่กระทบสิทธิผู้ประกันตนที่มีอยู่เดิมด้วยเช่นกัน
สำนักข่าวบลูมเบิร์กของสหรัฐได้วิเคราะห์ว่า เพราะระบบสาธารณสุขของไทยมีต้นทุนที่เพิ่มโดยเฉลี่ย 12% ต่อปี แต่รายได้ของประชากรกลับไม่สมดุล มากไปกว่านั้นระบบประกันสังคมของไทยถ้าไม่มีการปรับปรุงด้านภาษี เงินจะหมดภายใน 15 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมากสำหรับอนาคต
สิ่งเหล่านี้ยังมีคำถามตามมาอีกว่าต้องทำ “เมื่อไหร่” ทำแล้วจะ “ดี” แค่ไหน ท้ายที่สุดก็ต้องทำประชาพิจารณ์เพราะสปส.บริหารเงินของชาวบ้าน การจะเปลี่ยนแปลงอะไรจึงต้องมีส่วนร่วมจากเจ้าของเงินด้วย
เครดิตบทความ ที่มา posttoday , bloomberg.com