กลุ่มนายจ้างถามเพิ่มเงินสมทบผู้ประกันตนได้อะไร ตั้งคำถามไร้การประชุมบอร์ดสปส. ไม่ได้รับการสอบถามความเห็น โดยหลักเห็นด้วย แต่ขอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ด้านสปส.ย้ำเพิ่มเงินสทบทบผ่านประชาพิจารณ์ตั้งแต่ปี 59 เห็นด้วยทั้งผู้ประกันตนและผู้ประกอบการ
ตามที่สำนักงานประกันสังคม(สปส.)เตรียมปรับการจ่ายเงินสมทบจาก 750 บาท เป็น 1,000 บาทสำหรับผู้ประกันตนเงินเดือน 20,000 บาท โดยสิทธิในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้น คาดว่าประกาศใช้ปี 2561 ขณะเดียวกันเตรียมแก้ปัญหาเงินบำนาญชราภาพสำหรับผู้ประกันตนเกษียณที่เสียชีวิตระหว่างรับเงินบำนาญ ให้มีช่องมอบทายาทบางกรณีนั้น ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่า ควรให้สิทธิทายาทหรือครอบครัวรับเงินชราภาพตามจำนวนที่ผู้ประกันตนออมไว้จริงๆ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม นาย
ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวว่า หากพิจารณาดีๆ การเพิ่มเงินสมทบก็ส่งผลดีต่อลูกจ้าง และส่งผลดีต่อนายจ้างในแง่การประกันให้ลูกจ้าง แต่ปัญหาคือ ตนยังไม่รู้รายละเอียดด้วยซ้ำว่าการเพิ่มเงินสมทบ มีอะไรเพิ่มบ้าง เห็นแต่ข่าวที่ออกมาเท่านั้น จึงไม่แน่ใจว่าผ่านการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร เพราะในกลุ่มตนไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ และไม่แน่ใจอีกเช่นกันว่าจะประกาศเป็นกฎหมายในอีก 3 เดือนตามที่ข่าวระบุได้อย่างไร
เพราะจริงๆ แล้วแม้จะมีร่างกฎหมาย แต่ต้องผ่านที่ประชุมของคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ดสปส.) ก่อนหรือไม่ เพราะจนขณะนี้ก็ยังไม่มีการเรียกประชุม หรือแม้คณะกรรมการค่าจ้าง ก็ไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้ ทั้งๆที่เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญต้องมีการพูดคุยกันบ้าง คงต้องรอให้มีการประชุมบอร์ดสปส.ก่อนถึงจะให้ความเห็นในรายละเอียดมากกว่านี้
“ถ้าถามในมุมมองผม ก็มองได้ว่าเป็นประโยชน์ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง แต่ก็ต้องศึกษาในรายละเอียดว่าการเก็บเงินผู้ประกันตนฐานเงินเดือน 20,000 บาทเพิ่มขึ้น จะมีรายละเอียดเก็บส่วนอื่นๆอย่างไร หมายถึงแล้วเงินที่เก็บเพิ่มจากผู้ประกันตนส่วนนี้จะไปช่วยผู้ประกันตนส่วนอื่นด้วยหรือไม่อย่างไร เรื่องนี้น่าคิด ที่สำคัญตนมองว่าหากเก็บเพิ่ม จะเป็นการประกันการเลิกจ้าง การว่างงานมากกว่าเดิมอย่างไร เพราะในต่างประเทศ หากเลิกจ้าง ทางสำนักงานประกันสังคมในต่างประเทศจ่ายให้หมด เหมือนตอนทำงานเราได้ทำประกันเอาไว้ ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่าแล้วในส่วนของสำนักงานประกันสังคมไทย กรณีนี้มีรายละเอียดอย่างไร ผมว่าต้องเปิดรายละเอียดมาก่อน ซึ่งผมเป็นส่วนนายจ้างยังไม่เห็นจุดนี้เลย” นาย
ธนิต กล่าว
ด้านนาย
อรรถยุทธ ลียะวณิช สภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ตนเห็นด้วยในการขยายเพดานเก็บเงินสมทบเพิ่ม เพราะว่าสถานะกองทุนในระยะยาวจะอยู่ได้อีกไม่นาน หากใช้เงินแบบนี้ จ่ายเกษียณ ชราภาพไปเรื่อยๆ คำนวณแล้วอยู่ได้อีก 20 กว่าปีก็หมด ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนอยู่ได้นานก็ต้องเก็บเพิ่ม คือเพิ่มเปอร์เซ็นต์เก็บเงินสมทบจาก 3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 5 เปอร์เซ็นต์ กับการเพิ่มยอดเงิน จาก15,000 เป็น 20,000 ก็ไมได้เยอะอะไร แต่เพื่อตัวลูกจ้างเอง นายจ้างก็ซับพอร์ต รัฐบาลก็ซับพอร์ตส่วนหนึ่ง ก็ต้องจ่ายด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลยังเป็นหนี้สปส.อยู่เลย ซึ่งตอนที่ตนยังเป็นกรรมการสปส. อยู่นั้นรัฐบาลเป็นหนี้อยู่ประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาท ตอนนี้ไม่รู้เท่าไหร่ หากรัฐบาลจ่าย สปส.เอาไปลงทุนจะได้ดอกผลให้กองทุนแข็งแรงได้
อย่างไรก็ตามการจะเดินหน้าเก็บเงินเพิ่มในช่วงนี้เลยหรือไม่นั้นตนเห็นว่ายังต้องทบทวนอีกครั้ง ต้องปรึกษากันให้มากกว่านี้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากทุกฝ่าย ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง
นพ.
สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวถึงกรณีการเพิ่มอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตน ว่า ขอย้ำว่าการเพิ่มเงินสมทบของผู้ประกันตนเป็นไปเฉพาะคนที่มีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปเท่านั้น นอกนั้นยังคงเดิม เนื่องจากยังคิดในอัตราร้อยละ 5 จากฐานเงินเดือนของแต่ละคน ซึ่งมีสูตรการคำนวณอยู่ ดังนั้น ไม่อยากให้เข้าใจผิดว่า ผู้ประกันตนทุกคนต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็น 1,000 บาท จาก 750 บาททุกคน เพราะข้อเท็จจริงแล้ว การเก็บเงินสมทบ 1,000 บาทเป็นการคิดจากฐานเงินเดือนเพดานสูงสุดคือ 20,000 บาท โดยคำนวณจากอัตราร้อยละ 5 เท่าเดิม หมายความว่า ผู้ประกันตนที่เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบคิดเป็น 750 บาท ผู้ประกันตนเงินเดือน 16,000 บาทจ่ายเงินสมทบ 800 บาท แต่หากเงินเดือน 10,000 บาทจ่ายเงินสมทบ 500 บาท ดังนั้น จะเพิ่มเพียงผู้ประกันตนเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปปรับจ่ายเงินเพิ่มเป็น 1,000 บาท ซึ่งการเพิ่มเงินสมทบจะได้รับสิทธิทดแทนที่เป็นตัวเงินเพิ่มในหลายกรณี
“เมื่อจ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็น 1,000 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ ซึ่งคาดว่ามีไม่มากประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในกลุ่มฐานเงินเดือนด้านบนของระบบประกันสังคม ซึ่งเมื่อเพิ่มเงินส่วนนี้ ก็จะเพิ่มส่วนอื่น อย่างเงินชราภาพก็จะไปเพิ่ม โดยเดิมแบ่งเก็บออมส่วนนี้คิดเพดานสูงสุดของผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท เก็บอยู่ที่ 450 บาทเข้าเงินออมชราภาพก็จะเพิ่มในส่วนของคนเงินเดือน 20,000 บาท เพิ่มอีก 150 บาท กลายเป็น 600 บาท ทำให้เมื่อเกษียณก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มเติมไปด้วย ยกตัวอย่าง หากทำงานในระบบ 35 ปี คิดคำนวณตามสูตรของระบบประกันสังคม โดยคิด 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง คนเงินเดือน 20,000 บาทจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 10,000 บาทไปตลอดชีวิต จะเห็นได้ว่าการเพิ่มเงินจ่ายสมทบของผู้มีเงินเดือน 20,000 บาทเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ประกันตนเอง” นพ.
สุรเดช กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการเพิ่มเงินสมทบของผู้ประกันตน ในส่วนของนายจ้างต้องเพิ่มด้วยหรือไม่ นพ.
สุรเดช กล่าวว่า ตามกฎหมายต้องเพิ่มทั้งหมด ในอัตราการจ่ายสมทบเท่ากับทางผู้ประกันตน อย่างกรณีผู้ประกันตนเงินเดือน 20,000 บาทก็ต้องจ่ายเพิ่ม 1,000 บาท นายจ้างก็ต้องจ่ายสมทบเพิ่มเท่ากัน ซึ่งจุดนี้จากการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการเพิ่มเงินสมทบเมื่อปี 2559 ซึ่งรับฟังความคิดเห็น 5 ครั้งด้วยกัน พบว่าผู้ประกันตนร้อยละ 81 จากผู้แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ประมาณ 1,700 คน เห็นด้วยกับการเพิ่มการจ่ายเงินสมทบจากการคิดฐานคำนวณเงินเดือนใหม่ จาก 15,000 บาทต่อเดือนเป็น 20,000 บาทต่อเดือน และอีกร้อยละ 77 ที่แสดงความเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมก็เห็นด้วยเช่นกัน ขณะที่นายจ้างส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้กว่าร้อยละ 70 ด้วย ดังนั้น การเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสมทบ ขอยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมทำจากการรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด และขอย้ำว่าการเพิ่มเงินส่วนนี้ไม่ได้มาอุดปัญหาเรื่องกองทุนไม่มีเงิน เพราะยืนยันว่า กองทุนประกันสังคมมีเงินถึง 1.7 ล้านล้านบาท ไม่มีถังแตกอย่างที่บางกลุ่มเข้าใจ
JJNY : ปฏิรูปดี๊ดี...ซี้จุกสูญ สปส.เก็บเงินสมทบ ‘นายจ้าง’ เพิ่มเท่า ‘ผู้ประกันตน’ ผู้ประกอบการถาม! ผ่านบอร์ดสปส.แล้วหรือ
ตามที่สำนักงานประกันสังคม(สปส.)เตรียมปรับการจ่ายเงินสมทบจาก 750 บาท เป็น 1,000 บาทสำหรับผู้ประกันตนเงินเดือน 20,000 บาท โดยสิทธิในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้น คาดว่าประกาศใช้ปี 2561 ขณะเดียวกันเตรียมแก้ปัญหาเงินบำนาญชราภาพสำหรับผู้ประกันตนเกษียณที่เสียชีวิตระหว่างรับเงินบำนาญ ให้มีช่องมอบทายาทบางกรณีนั้น ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่า ควรให้สิทธิทายาทหรือครอบครัวรับเงินชราภาพตามจำนวนที่ผู้ประกันตนออมไว้จริงๆ
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) กล่าวว่า หากพิจารณาดีๆ การเพิ่มเงินสมทบก็ส่งผลดีต่อลูกจ้าง และส่งผลดีต่อนายจ้างในแง่การประกันให้ลูกจ้าง แต่ปัญหาคือ ตนยังไม่รู้รายละเอียดด้วยซ้ำว่าการเพิ่มเงินสมทบ มีอะไรเพิ่มบ้าง เห็นแต่ข่าวที่ออกมาเท่านั้น จึงไม่แน่ใจว่าผ่านการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร เพราะในกลุ่มตนไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ และไม่แน่ใจอีกเช่นกันว่าจะประกาศเป็นกฎหมายในอีก 3 เดือนตามที่ข่าวระบุได้อย่างไร เพราะจริงๆ แล้วแม้จะมีร่างกฎหมาย แต่ต้องผ่านที่ประชุมของคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ดสปส.) ก่อนหรือไม่ เพราะจนขณะนี้ก็ยังไม่มีการเรียกประชุม หรือแม้คณะกรรมการค่าจ้าง ก็ไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้ ทั้งๆที่เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญต้องมีการพูดคุยกันบ้าง คงต้องรอให้มีการประชุมบอร์ดสปส.ก่อนถึงจะให้ความเห็นในรายละเอียดมากกว่านี้
“ถ้าถามในมุมมองผม ก็มองได้ว่าเป็นประโยชน์ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง แต่ก็ต้องศึกษาในรายละเอียดว่าการเก็บเงินผู้ประกันตนฐานเงินเดือน 20,000 บาทเพิ่มขึ้น จะมีรายละเอียดเก็บส่วนอื่นๆอย่างไร หมายถึงแล้วเงินที่เก็บเพิ่มจากผู้ประกันตนส่วนนี้จะไปช่วยผู้ประกันตนส่วนอื่นด้วยหรือไม่อย่างไร เรื่องนี้น่าคิด ที่สำคัญตนมองว่าหากเก็บเพิ่ม จะเป็นการประกันการเลิกจ้าง การว่างงานมากกว่าเดิมอย่างไร เพราะในต่างประเทศ หากเลิกจ้าง ทางสำนักงานประกันสังคมในต่างประเทศจ่ายให้หมด เหมือนตอนทำงานเราได้ทำประกันเอาไว้ ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่าแล้วในส่วนของสำนักงานประกันสังคมไทย กรณีนี้มีรายละเอียดอย่างไร ผมว่าต้องเปิดรายละเอียดมาก่อน ซึ่งผมเป็นส่วนนายจ้างยังไม่เห็นจุดนี้เลย” นายธนิต กล่าว
ด้านนายอรรถยุทธ ลียะวณิช สภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ตนเห็นด้วยในการขยายเพดานเก็บเงินสมทบเพิ่ม เพราะว่าสถานะกองทุนในระยะยาวจะอยู่ได้อีกไม่นาน หากใช้เงินแบบนี้ จ่ายเกษียณ ชราภาพไปเรื่อยๆ คำนวณแล้วอยู่ได้อีก 20 กว่าปีก็หมด ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนอยู่ได้นานก็ต้องเก็บเพิ่ม คือเพิ่มเปอร์เซ็นต์เก็บเงินสมทบจาก 3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 5 เปอร์เซ็นต์ กับการเพิ่มยอดเงิน จาก15,000 เป็น 20,000 ก็ไมได้เยอะอะไร แต่เพื่อตัวลูกจ้างเอง นายจ้างก็ซับพอร์ต รัฐบาลก็ซับพอร์ตส่วนหนึ่ง ก็ต้องจ่ายด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลยังเป็นหนี้สปส.อยู่เลย ซึ่งตอนที่ตนยังเป็นกรรมการสปส. อยู่นั้นรัฐบาลเป็นหนี้อยู่ประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาท ตอนนี้ไม่รู้เท่าไหร่ หากรัฐบาลจ่าย สปส.เอาไปลงทุนจะได้ดอกผลให้กองทุนแข็งแรงได้ อย่างไรก็ตามการจะเดินหน้าเก็บเงินเพิ่มในช่วงนี้เลยหรือไม่นั้นตนเห็นว่ายังต้องทบทวนอีกครั้ง ต้องปรึกษากันให้มากกว่านี้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากทุกฝ่าย ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวถึงกรณีการเพิ่มอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตน ว่า ขอย้ำว่าการเพิ่มเงินสมทบของผู้ประกันตนเป็นไปเฉพาะคนที่มีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปเท่านั้น นอกนั้นยังคงเดิม เนื่องจากยังคิดในอัตราร้อยละ 5 จากฐานเงินเดือนของแต่ละคน ซึ่งมีสูตรการคำนวณอยู่ ดังนั้น ไม่อยากให้เข้าใจผิดว่า ผู้ประกันตนทุกคนต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็น 1,000 บาท จาก 750 บาททุกคน เพราะข้อเท็จจริงแล้ว การเก็บเงินสมทบ 1,000 บาทเป็นการคิดจากฐานเงินเดือนเพดานสูงสุดคือ 20,000 บาท โดยคำนวณจากอัตราร้อยละ 5 เท่าเดิม หมายความว่า ผู้ประกันตนที่เงินเดือน 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบคิดเป็น 750 บาท ผู้ประกันตนเงินเดือน 16,000 บาทจ่ายเงินสมทบ 800 บาท แต่หากเงินเดือน 10,000 บาทจ่ายเงินสมทบ 500 บาท ดังนั้น จะเพิ่มเพียงผู้ประกันตนเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไปปรับจ่ายเงินเพิ่มเป็น 1,000 บาท ซึ่งการเพิ่มเงินสมทบจะได้รับสิทธิทดแทนที่เป็นตัวเงินเพิ่มในหลายกรณี
“เมื่อจ่ายเงินสมทบเพิ่มเป็น 1,000 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ ซึ่งคาดว่ามีไม่มากประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในกลุ่มฐานเงินเดือนด้านบนของระบบประกันสังคม ซึ่งเมื่อเพิ่มเงินส่วนนี้ ก็จะเพิ่มส่วนอื่น อย่างเงินชราภาพก็จะไปเพิ่ม โดยเดิมแบ่งเก็บออมส่วนนี้คิดเพดานสูงสุดของผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท เก็บอยู่ที่ 450 บาทเข้าเงินออมชราภาพก็จะเพิ่มในส่วนของคนเงินเดือน 20,000 บาท เพิ่มอีก 150 บาท กลายเป็น 600 บาท ทำให้เมื่อเกษียณก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มเติมไปด้วย ยกตัวอย่าง หากทำงานในระบบ 35 ปี คิดคำนวณตามสูตรของระบบประกันสังคม โดยคิด 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้าง คนเงินเดือน 20,000 บาทจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 10,000 บาทไปตลอดชีวิต จะเห็นได้ว่าการเพิ่มเงินจ่ายสมทบของผู้มีเงินเดือน 20,000 บาทเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ประกันตนเอง” นพ.สุรเดช กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการเพิ่มเงินสมทบของผู้ประกันตน ในส่วนของนายจ้างต้องเพิ่มด้วยหรือไม่ นพ.สุรเดช กล่าวว่า ตามกฎหมายต้องเพิ่มทั้งหมด ในอัตราการจ่ายสมทบเท่ากับทางผู้ประกันตน อย่างกรณีผู้ประกันตนเงินเดือน 20,000 บาทก็ต้องจ่ายเพิ่ม 1,000 บาท นายจ้างก็ต้องจ่ายสมทบเพิ่มเท่ากัน ซึ่งจุดนี้จากการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการเพิ่มเงินสมทบเมื่อปี 2559 ซึ่งรับฟังความคิดเห็น 5 ครั้งด้วยกัน พบว่าผู้ประกันตนร้อยละ 81 จากผู้แสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ ประมาณ 1,700 คน เห็นด้วยกับการเพิ่มการจ่ายเงินสมทบจากการคิดฐานคำนวณเงินเดือนใหม่ จาก 15,000 บาทต่อเดือนเป็น 20,000 บาทต่อเดือน และอีกร้อยละ 77 ที่แสดงความเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมก็เห็นด้วยเช่นกัน ขณะที่นายจ้างส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้กว่าร้อยละ 70 ด้วย ดังนั้น การเพิ่มสัดส่วนการจ่ายเงินสมทบ ขอยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมทำจากการรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด และขอย้ำว่าการเพิ่มเงินส่วนนี้ไม่ได้มาอุดปัญหาเรื่องกองทุนไม่มีเงิน เพราะยืนยันว่า กองทุนประกันสังคมมีเงินถึง 1.7 ล้านล้านบาท ไม่มีถังแตกอย่างที่บางกลุ่มเข้าใจ