กรณีชราภาพ (เงินออมชราภาพ) บำเหน็จ หรือ บำนาญ ดี?????

กรณีชราภาพ (เงินออมชราภาพ) บำเหน็จ หรือ บำนาญ ดี?????

สาระอื่นๆ จากเพจประกันสังคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ร่วมด้วยช่วยกันแชร์ กดไลด์เพจได้ที่นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ (เงินรายเดือน)
    -  จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
    -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง(ลาออกจากงาน และลาออกจาก ม.39)
  
เงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน)
    -  จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง(ลาออกจากงาน และลาออกจาก ม.39)
    -  มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ
    -  กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง
    -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน
      -  กรณีผู้รับเงิน บำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย(ตย.ได้บำนาญเดือนละ 3,000 บาท 10 เท่า คือ 30,000 บาท)

ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ
    -  กรณีที่มีการจ่าย เงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
    - กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ลองมาคำนวนกันเล่นๆสิครับว่าจะได้กันเท่าไหร่???
ตัวอย่างที่ 1 ส่งมาครบ 180 พอดี
20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย     =  20 x 15,000 / 100      = 3,000    
    ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 3,000 บาท ไปจนตลอดชีวิต
    
    การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60 (แต่ไม่เกิน 15,000 บาท)
    ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน
ตัวอย่าง
ฐานเงินเดือน 15,000 x 60 / 60 = 15,000

ตัวอย่างที่ 2 ส่งเกิน 180 เดือน
ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55    ปีบริบูรณ์  และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร
        
          1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ
              =  15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
              =  5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) × 5ปี ) = 7.5%
              รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 7.5% = 27.5%
              ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 15,000 บาท
                                                              = 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต  

          2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
              = 4,125 บาท  × 10 เท่า
              = 41,250 บาท
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่