ประกันสังคม ม.33 ปรับสิทธิเงินชราภาพ เงินบำเหน็จ-เงินบำนาญ เลือกแบบไหนดี

ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมปรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเงินชราภาพ ให้เลือกได้ระหว่าง "เงินบำเหน็จ-เงินบำนาญ" ผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องรู้รายละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกให้ดี



หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.ประกันสังคม ด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนไปนั้น หนึ่งในข้อสำคัญคือ ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินชราภาพแบบบำเหน็จ หรือบำนาญ ได้ และเพื่อให้ผู้ประกันตนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น Sanook Money จะพาไปดูรายละเอียดเพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกันตนตัดสินใจง่ายขึ้นว่าจะเลือกบำเหน็จ หรือบำนาญ



เงินบำเหน็จชราภาพ

- ผู้ประกันตนจะได้สิทธิเฉพาะกรณี คือ คนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือกรณีเป็นผู้ทุพพลภาพหรือตายก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์จะได้รับเงินเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ
- เป็นการจ่ายเงินก้อนครั้งเดียว
- คำนวณสิทธิที่ได้รับ : จ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับเงินสมทบเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย ได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
- จ่ายสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน : เงินออมชราภาพของผู้ประกันตน+เงินสมทบนายจ้าง+ผลประโยชน์ตอบแทน

เงินบำนาญชราภาพ

- ผู้ประกันตนได้สิทธิต่เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
เป็นการจ่ายรายเดือนตลอดชีพ
- คำนวณสิทธิที่ได้รับ : จ่ายสมทบ 180 เดือน (15 ปี) พอดี 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่จ่ายประกันสังคม (คำนวณจากฐานค่าจ้างขั้น-ต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)
- จ่ายสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) : บวกเพิ่มปีละ 1.5% ต่อปี

ทั้งนี้ หากมีการประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมใหม่ล่าสุดจะทำให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินก้อนในครั้งเดียว หรือรับเงินรายเดือนทุกๆ เดือนจนกว่าจะเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินรวมถึงปรับเกณฑ์ให้สามารถขอนำเงินบางส่วนออกมาใช้ได้ก่อน

https://www.sanook.com/money/868611/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่