ตลอดทั้งวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนี SET index ยังคงเคลื่อนไหว แกว่งตัวsideway ในกรอบ(1564-1570จุด)
เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามาหนุนนำตลาด อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงเฝ้ารอปัจจัยสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8มิถุนายน
จะมาถึงนี้ นั้นก็คือ การเลือกตั้งของสหราชอณาจักร และการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ว่าผลจะออกมาเป็นเช่นใด
ซึ่งผลที่จะออกมานั้น น่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำตลาด ให้มีทิศทางเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ ดัชนี SET index
ปิดตัวไปที่ระดับ 1567จุด +4.49 จุด วันนี้มาติดตาทกันต่อ ว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวแกว่งตัวเป็นเช่นไร
Fundamental
เอเชียเช้านี้
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดลดลงในวันนี้ ด้วยแรงฉุดจากหุ้นกลุ่มส่งออก สืบเนื่องจากปัจจัยเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
หลังสหรัฐเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิเปิดลดลง 41.86 จุด หรือ -0.21%
แตะที่ 20,135.42 จุดหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวลงนำโดยหุ้นกลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า หุ้นกลุ่มโลหะนอกกลุ่มเหล็ก และหุ้นกลุ่มอุปกรณ์ขนส่ง
ฝั่งยุโรป
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 มิ.ย.) โดยดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
เพราะได้แรงหนุนจากรายงานยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่งของเยอรมนี โดยข้อมูลดังกล่าวได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า
ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.2% ปิดที่ 392.55 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,343.41 จุด เพิ่มขึ้น 24.74 จุด หรือ +0.47%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,822.94 จุด เพิ่มขึ้น 158.02 จุด หรือ +1.25%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,547.63 จุด เพิ่มขึ้น 3.86 จุด หรือ +0.05%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานที่ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 13% ในเดือนพ.ค. ซึ่งช่วยหนุนหุ้นโฟล์คสวาเกน
พุ่งขึ้น 1.3% และหุ้นบีเอ็มดับเบิลยู พุ่งขึ้น 1.2% ความแข็งแกร่งของยอดขายรถยนต์ในเยอรมนีได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากรายงานของกระทรวง
แรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 138,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 174,000 ตำแหน่ง
ในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.3% จากระดับ 4.4% ในเดือนเม.ย. ทางด้านนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า
การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.4%
นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์โรเบิร์ต แบรด แอนด์ โค กล่าวว่า แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์
แต่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ
FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึงเกือบ 94% ที่เฟดจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันในระหว่างวันหลังจากหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง ภายหลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงราว 1.5% อันเนื่อง
มาจากความกังวลที่ว่า การที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจนำสหรัฐถอนตัวออกจาก "ความตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงทาง
สภาพภูมิอากาศ" จะส่งผลให้สหรัฐขุดเจาะและผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด
ทั้งนี้ หุ้นบีพี ร่วงลง 1.5% หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ดิ่งลง 5.4% และหุ้น Eni SpA ร่วงลง 1.5%
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในระหว่างวันของตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลือกตั้งในอังกฤษ
หลังจากผลการสำรวจของ Ipsos MORI บ่งชี้ว่า คะแนนนิยมของพรรคอนุรักษ์นิยมของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่นำหน้าพรรคแรงงาน
ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านนั้น ได้ลดลงเหลือเพียง 5 จุด จาก 15 จุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า พรรคอนุรักษ์นิยมได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน 45% ลดลง 4 จุดจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 พ.ค.
ขณะที่คะแนนนิยมของพรรคแรงงานเพิ่มขึ้น 6 จุด สู่ระดับ 40% โดยผลการสำรวจนี้มีขึ้นก่อนที่ชาวอังกฤษจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 8 มิ.ย.
ฝั่งสหรัฐ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มอุตสาหกรรม
ซึ่งช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์, S&P 500 และ Nasdaq เดินหน้าทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดติดต่อกันเป็นวันที่ 2 อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขาย
ในตลาดได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ก็ตาม
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 21,206.29 จุด เพิ่มขึ้น 62.11 จุด หรือ +0.29%
ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,439.07 จุด เพิ่มขึ้น 9.01 จุด หรือ +0.37%
ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,305.80 จุด เพิ่มขึ้น 58.97 จุด หรือ +0.94%
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 0.59% ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.95% และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 1.54%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทะยานขึ้น 1.04% ซึ่งปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุด
เมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ นำโดยหุ้นบรอดคอม ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ ซึ่งพุ่งขึ้นกว่า 8% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาด
ขณะที่หุ้นไมโครซอฟท์ ดีดตัวขึ้น 0.5%ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 0.49% นำโดยหุ้นโบอิ้ง พุ่งขึ้น 1.5% และมีส่วนช่วยหนุน
ดัชนีดาวโจนส์เดินหน้าทำสถิติสูงสุดเป็นวันที่ 2
หุ้นลูลูเลมอน แอธลีติกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตชุดออกกำลังกายชื่อดัง พุ่งขึ้นเกือบ 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด
และประกาศปรับโฉมสินค้าแบรนด์ Ivivva ของบริษัทอย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลง 1.5%
เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจนำสหรัฐถอนตัวออกจาก "ความตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลง
ทางสภาพภูมิอากาศ" จะส่งผลให้สหรัฐขุดเจาะและผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด
ทั้งนี้ หุ้นทรานส์โอเชียน ร่วงลง 2.2% หุ้นเดวอน เอนเนอร์จี ร่วงลง 3.3% หุ้นนิวฟิลด์ เอ็กซ์พลอเรชัน ดิ่งลง 5% หุ้นเรนจ์ รีซอสเซส ร่วงลง 3.8%
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้ แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก็ตาม
โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึงเกือบ 94% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 138,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 174,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.3% จากระดับ 4.4% ในเดือนเม.ย.นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงาน
จะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.4%
ทางด้านนายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นกรรมการเฟดที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในปีนี้ กล่าวว่า เฟดยังคงมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ในช่วงสิ้นปีนี้ และเขาสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ นักลงทุนจับตาสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซึ่งจะลงมติ กฎหมายปฎิรูปการเงินในสัปดาห์หน้า โดยนายเควิน แมคคาร์ธี
ผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีการยกเลิกเนื้อหาส่วนใหญ่ในกฎหมายดอดด์-แฟรงค์ปี 2010
ทั้งนี้ คาดว่าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากนั้น จะให้การอนุมัติต่อร่างกฎหมายดังกล่าว แต่ก็คาดว่าร่างกฎหมายนี้จะ
เผชิญภาวะไม่แน่นอนในวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกพรรคเดโมแครตแสดงท่าทีคัดค้าน ขณะที่พรรครีพับลิกันจำเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคเดโมแครต
Credit : สำนักข่าวอินโฟวเควสท์
Technical Analysis
SET index Daily : เมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนียังคงเคลื่อนไหวแกว่งตัว Sideway ในกรอบ (1564-1570 จุด) แม้จะมีความพยายาม
ขึ้นไปยืนเหนือระดับ 1570 แต่ก็ไม่สามารถปิดตัวยืนเหนือได้ เนื่อจากเผชิญแรงเทขายทำกำไรออกมา อย่างไรก็ตามรูปแบบการปิดตัว
ของแท่งเทียนนั้น เป็น "Inside bar" ซึ่งแนวโน้มวันนี้ ต้องมาดูกันว่ากรอบ 1560-1570 ดัชนีจะเลือกไปในทิศทางใด /หากหลุด 1560 ลงไป
ก็อาจจะไถลลงไปปิด Gap 1545 /หากทะยานขึ้นไปยืนเหนือ 1570 ก็อาจจะเลยไปทดสอบระดับ 1580 จุด ก็เป็นได้/ แต่หากยังงอแง
ไม่เลือกข้างใด ก็คงจะ sideway ในกรอบนี้ต่อไปอีกสักพัก
S50M17 TF Daily : ภายหลังจากวันพุธ-พฤหัส ที่ผ่านมา ดัชนีได้ย่องตัวลงไปทดสอบ "Support line" แล้วก็สามารถรับอยู่ จึงทำให้
เมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา ได้เห็นการฟื้นตัวของดัชนี กลับขึ้นไปยืนเหนือ EMA25 วัน ได้อีกครั้ง ซึ่งแนวโน้มวันนี้ คาดว่าดัชนีมีโอกาสขึ้นไปได้ต่อ
ลุ้นกันว่า เส้นแนวต้าน(สีส้ม) จะสามารถทะลุผ่านขึ้นไปได้ไหม ถ้าผ่านไปได้ ก็เตรียมโบยบิน สู่ดวงดาวอันไกลโพ้น // แต่ถ้าหากไม่สามารถ
ผ่านขึ้นไปได้แล้วไหลหลุดร่วง Support line ลงมา อาจจะมี Panic เบาๆลงไป ทดสอบ EMA75 วัน ก็เป็นได้
TF60 : เมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีได้ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถทะยานขึ้นไปปิดตัวยืนเหนือ EMA ทั้ง 3 เส้น ได้สำเร็จ
นับว่าเป็นการทำให้ภาพสัญญาณระยะสั้น กลับมาดูดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม มุมมองภาพใหญ่ ยังคงเป็น Sideway และ Sideway Down
ซึ่งถ้าหากวันนี้ ดัชนีสามารถเคลียร์ต้าน 994 ทะยานขึ้นไปได้ ก็จะทำให้ภาพของ Sideway Down หายไป // แต่ถ้าหากไม่สามารถไปได้ต่อ
แล้วหลุด EMA ทั้งสามเส้นลงมาอีกครั้ง กจะเป็นการยืนยันรูปแบบ Bearish Flag อาจจะมี Panic เบาๆ ทำให้ลงไปทดสอบ 986 Low เดิม
ก็เป็นได้
Resistance : 994 999 1002 / 1570 1575 1580
Support : 986 982 979 / 1561 1555 1550
*EOD end of day
ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะ
สำหรับพี่ๆ น้องๆ ที่ เล่น Put,Call Option ครับ ผมอาจจะไม่ ถนัดด้านนี้
แต่ ในกระทู้นี้ รับรองว่ามี จอมขมังเวทย์ Option เยอะครับ เชิญแชร์ iDea เจ๋งๆ เด็ดๆ / หรือข้อสงสัย สอบถามกันตามสบายเลยครับ
กู๊ดมอนิ่ง ชาว ขาS และ ขาL & ชาว Put,Call (5 Jun 17)
ตลอดทั้งวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนี SET index ยังคงเคลื่อนไหว แกว่งตัวsideway ในกรอบ(1564-1570จุด)
เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามาหนุนนำตลาด อีกทั้งนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงเฝ้ารอปัจจัยสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8มิถุนายน
จะมาถึงนี้ นั้นก็คือ การเลือกตั้งของสหราชอณาจักร และการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ว่าผลจะออกมาเป็นเช่นใด
ซึ่งผลที่จะออกมานั้น น่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำตลาด ให้มีทิศทางเคลื่อนไหวที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ ดัชนี SET index
ปิดตัวไปที่ระดับ 1567จุด +4.49 จุด วันนี้มาติดตาทกันต่อ ว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวแกว่งตัวเป็นเช่นไร
Fundamental
เอเชียเช้านี้
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวเปิดลดลงในวันนี้ ด้วยแรงฉุดจากหุ้นกลุ่มส่งออก สืบเนื่องจากปัจจัยเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
หลังสหรัฐเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีนิกเกอิเปิดลดลง 41.86 จุด หรือ -0.21%
แตะที่ 20,135.42 จุดหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวลงนำโดยหุ้นกลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า หุ้นกลุ่มโลหะนอกกลุ่มเหล็ก และหุ้นกลุ่มอุปกรณ์ขนส่ง
ฝั่งยุโรป
ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 มิ.ย.) โดยดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
เพราะได้แรงหนุนจากรายงานยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่งของเยอรมนี โดยข้อมูลดังกล่าวได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากรายงานที่ว่า
ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวขึ้น 0.2% ปิดที่ 392.55 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,343.41 จุด เพิ่มขึ้น 24.74 จุด หรือ +0.47%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,822.94 จุด เพิ่มขึ้น 158.02 จุด หรือ +1.25%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,547.63 จุด เพิ่มขึ้น 3.86 จุด หรือ +0.05%
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานที่ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 13% ในเดือนพ.ค. ซึ่งช่วยหนุนหุ้นโฟล์คสวาเกน
พุ่งขึ้น 1.3% และหุ้นบีเอ็มดับเบิลยู พุ่งขึ้น 1.2% ความแข็งแกร่งของยอดขายรถยนต์ในเยอรมนีได้ช่วยสกัดปัจจัยลบจากรายงานของกระทรวง
แรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 138,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 174,000 ตำแหน่ง
ในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.3% จากระดับ 4.4% ในเดือนเม.ย. ทางด้านนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า
การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.4%
นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์โรเบิร์ต แบรด แอนด์ โค กล่าวว่า แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์
แต่นักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ
FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึงเกือบ 94% ที่เฟดจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันในระหว่างวันหลังจากหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง ภายหลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงราว 1.5% อันเนื่อง
มาจากความกังวลที่ว่า การที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจนำสหรัฐถอนตัวออกจาก "ความตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงทาง
สภาพภูมิอากาศ" จะส่งผลให้สหรัฐขุดเจาะและผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด
ทั้งนี้ หุ้นบีพี ร่วงลง 1.5% หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ดิ่งลง 5.4% และหุ้น Eni SpA ร่วงลง 1.5%
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในระหว่างวันของตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลือกตั้งในอังกฤษ
หลังจากผลการสำรวจของ Ipsos MORI บ่งชี้ว่า คะแนนนิยมของพรรคอนุรักษ์นิยมของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่นำหน้าพรรคแรงงาน
ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านนั้น ได้ลดลงเหลือเพียง 5 จุด จาก 15 จุดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า พรรคอนุรักษ์นิยมได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน 45% ลดลง 4 จุดจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 พ.ค.
ขณะที่คะแนนนิยมของพรรคแรงงานเพิ่มขึ้น 6 จุด สู่ระดับ 40% โดยผลการสำรวจนี้มีขึ้นก่อนที่ชาวอังกฤษจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 8 มิ.ย.
ฝั่งสหรัฐ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 มิ.ย.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มอุตสาหกรรม
ซึ่งช่วยหนุนดัชนีดาวโจนส์, S&P 500 และ Nasdaq เดินหน้าทำสถิติปิดที่ระดับสูงสุดติดต่อกันเป็นวันที่ 2 อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขาย
ในตลาดได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน จากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ก็ตาม
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 21,206.29 จุด เพิ่มขึ้น 62.11 จุด หรือ +0.29%
ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,439.07 จุด เพิ่มขึ้น 9.01 จุด หรือ +0.37%
ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,305.80 จุด เพิ่มขึ้น 58.97 จุด หรือ +0.94%
ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นทั้งสิ้น 0.59% ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.95% และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 1.54%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยดัชนีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทะยานขึ้น 1.04% ซึ่งปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุด
เมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ นำโดยหุ้นบรอดคอม ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ ซึ่งพุ่งขึ้นกว่า 8% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาด
ขณะที่หุ้นไมโครซอฟท์ ดีดตัวขึ้น 0.5%ส่วนดัชนีหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 0.49% นำโดยหุ้นโบอิ้ง พุ่งขึ้น 1.5% และมีส่วนช่วยหนุน
ดัชนีดาวโจนส์เดินหน้าทำสถิติสูงสุดเป็นวันที่ 2
หุ้นลูลูเลมอน แอธลีติกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตชุดออกกำลังกายชื่อดัง พุ่งขึ้นเกือบ 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด
และประกาศปรับโฉมสินค้าแบรนด์ Ivivva ของบริษัทอย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ดิ่งลง 1.5%
เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ตัดสินใจนำสหรัฐถอนตัวออกจาก "ความตกลงปารีสว่าด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลง
ทางสภาพภูมิอากาศ" จะส่งผลให้สหรัฐขุดเจาะและผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด
ทั้งนี้ หุ้นทรานส์โอเชียน ร่วงลง 2.2% หุ้นเดวอน เอนเนอร์จี ร่วงลง 3.3% หุ้นนิวฟิลด์ เอ็กซ์พลอเรชัน ดิ่งลง 5% หุ้นเรนจ์ รีซอสเซส ร่วงลง 3.8%
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้ แม้ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพ.ค.ของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก็ตาม
โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึงเกือบ 94% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 138,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 174,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.3% จากระดับ 4.4% ในเดือนเม.ย.นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงาน
จะเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.4%
ทางด้านนายแพทริค ฮาร์เกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นกรรมการเฟดที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในปีนี้ กล่าวว่า เฟดยังคงมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ในช่วงสิ้นปีนี้ และเขาสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ นักลงทุนจับตาสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซึ่งจะลงมติ กฎหมายปฎิรูปการเงินในสัปดาห์หน้า โดยนายเควิน แมคคาร์ธี
ผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีการยกเลิกเนื้อหาส่วนใหญ่ในกฎหมายดอดด์-แฟรงค์ปี 2010
ทั้งนี้ คาดว่าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากนั้น จะให้การอนุมัติต่อร่างกฎหมายดังกล่าว แต่ก็คาดว่าร่างกฎหมายนี้จะ
เผชิญภาวะไม่แน่นอนในวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกพรรคเดโมแครตแสดงท่าทีคัดค้าน ขณะที่พรรครีพับลิกันจำเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคเดโมแครต
Credit : สำนักข่าวอินโฟวเควสท์
Technical Analysis
SET index Daily : เมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนียังคงเคลื่อนไหวแกว่งตัว Sideway ในกรอบ (1564-1570 จุด) แม้จะมีความพยายาม
ขึ้นไปยืนเหนือระดับ 1570 แต่ก็ไม่สามารถปิดตัวยืนเหนือได้ เนื่อจากเผชิญแรงเทขายทำกำไรออกมา อย่างไรก็ตามรูปแบบการปิดตัว
ของแท่งเทียนนั้น เป็น "Inside bar" ซึ่งแนวโน้มวันนี้ ต้องมาดูกันว่ากรอบ 1560-1570 ดัชนีจะเลือกไปในทิศทางใด /หากหลุด 1560 ลงไป
ก็อาจจะไถลลงไปปิด Gap 1545 /หากทะยานขึ้นไปยืนเหนือ 1570 ก็อาจจะเลยไปทดสอบระดับ 1580 จุด ก็เป็นได้/ แต่หากยังงอแง
ไม่เลือกข้างใด ก็คงจะ sideway ในกรอบนี้ต่อไปอีกสักพัก
S50M17 TF Daily : ภายหลังจากวันพุธ-พฤหัส ที่ผ่านมา ดัชนีได้ย่องตัวลงไปทดสอบ "Support line" แล้วก็สามารถรับอยู่ จึงทำให้
เมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา ได้เห็นการฟื้นตัวของดัชนี กลับขึ้นไปยืนเหนือ EMA25 วัน ได้อีกครั้ง ซึ่งแนวโน้มวันนี้ คาดว่าดัชนีมีโอกาสขึ้นไปได้ต่อ
ลุ้นกันว่า เส้นแนวต้าน(สีส้ม) จะสามารถทะลุผ่านขึ้นไปได้ไหม ถ้าผ่านไปได้ ก็เตรียมโบยบิน สู่ดวงดาวอันไกลโพ้น // แต่ถ้าหากไม่สามารถ
ผ่านขึ้นไปได้แล้วไหลหลุดร่วง Support line ลงมา อาจจะมี Panic เบาๆลงไป ทดสอบ EMA75 วัน ก็เป็นได้
TF60 : เมื่อวานศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีได้ฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถทะยานขึ้นไปปิดตัวยืนเหนือ EMA ทั้ง 3 เส้น ได้สำเร็จ
นับว่าเป็นการทำให้ภาพสัญญาณระยะสั้น กลับมาดูดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม มุมมองภาพใหญ่ ยังคงเป็น Sideway และ Sideway Down
ซึ่งถ้าหากวันนี้ ดัชนีสามารถเคลียร์ต้าน 994 ทะยานขึ้นไปได้ ก็จะทำให้ภาพของ Sideway Down หายไป // แต่ถ้าหากไม่สามารถไปได้ต่อ
แล้วหลุด EMA ทั้งสามเส้นลงมาอีกครั้ง กจะเป็นการยืนยันรูปแบบ Bearish Flag อาจจะมี Panic เบาๆ ทำให้ลงไปทดสอบ 986 Low เดิม
ก็เป็นได้
Resistance : 994 999 1002 / 1570 1575 1580
Support : 986 982 979 / 1561 1555 1550
*EOD end of day
ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะ
สำหรับพี่ๆ น้องๆ ที่ เล่น Put,Call Option ครับ ผมอาจจะไม่ ถนัดด้านนี้
แต่ ในกระทู้นี้ รับรองว่ามี จอมขมังเวทย์ Option เยอะครับ เชิญแชร์ iDea เจ๋งๆ เด็ดๆ / หรือข้อสงสัย สอบถามกันตามสบายเลยครับ