เชิญทบทวนพระสูตรกันครับ
มัชฌิมปัณณาสก์
อุปายวรรคที่ ๑
๑. อุปายสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น
[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเข้า
ถึง (ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มี
สังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน
สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์
ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุด
พ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่
สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=17&item=105&items=1
พระสูตรต่อไปครับ
อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จาก
สัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือ
มั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึง
ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1007&Z=1024
ข้อสังเกตุ
-บางวาระ ทั้งสองพระสูตรข้างต้น พระศาสดาตรัสเรียก จิตบ้าง วิญญาณบ้าง
แต่ทั้งสองคำนั้น ก็ยังคงความหมายที่เหมือนกัน
-คำว่า “จิตหลุดพ้น” โปรดพิจารณาคำว่า “หลุดพ้น” หลุดพ้นจากอะไร ดูทั้ง 2 พระสูตร
จะเห็นว่า หลุดพ้นจาก ความยินดี, ความกำหนัด, ความถือมั่น,
-“วิญญาณหลุดพ้น” แล้ววิญญาณไปไหนต่อ ดูประโยคนี้ (จากพระสูตรแรก)
“เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่” เมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส จิตก็ไม่ได้หายไปไหน
ยังคงดำรงอยู่ รู้เวทนาได้ต่อพระนิพพาน เป็นไปตามธรรมชาติธาตุรู้ของจิตนั่นเอง ดังพุทธพจน์ประโยคนี้
“วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่ง”ปฏิสนธิ(จิต)” (จึง)หลุดพ้นไป เพราะ(จิต)หลุดพ้นไป (จิต)จึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ (จิต)จึงยินดีพร้อม(รู้เวทนาต่อพระนิพพาน) เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ
เฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”.
จิตของพระอรหันต์จึงเหลือแต่ วิบากจิต และ กิริยาจิต ส่วนจิตอื่นๆ ที่เป็นไปด้วยความยินดี, ความกำหนัด, ความถือมั่น,
ไม่มีเลย และเมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลสแล้ว “ปฏิสนธิจิต” จึงไม่มี ด้วยอนันตรปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตดวงใหม่มันไม่มี
ดังนั้น ความยินดี ความกำหนัด ความถือมั่น กุศลจิต อกุศลจิต และปฏิสนธิจิต จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ที่ทำให้เกิดการท่องไป
ในสังสารวัฏ นั่นเองครับ
คราวนี้มาดูพระสูตรสำคัญสุดท้ายกันครับ
มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ
๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตเป็นต้นนี้
ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=57
พระสูตรนี้ จึงแสดงความชัดเจนที่ว่า ที่จิตไม่สามารถหลุดพ้นไปจากบุคคลได้เพราะถูกรัดไว้ด้วยตัณหา
ความกำหนัด และความยึดมั่นถือมั่น ดังนั้น จิต จึงไม่ได้เป็นขันธ์ธรรมดา แต่เป็นขันธ์สำคัญ
ที่ทำให้สัตว์ต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏมาตลอดกาลอันยาวนาน กันเลยทีเดียว
และจากสามพระสูตร
ที่เรียกว่า จิตบ้าง วิญญาณ บ้างนั้น พิจารณาได้ว่า พระองค์ไม่ได้ให้ความสำคัญที่จำเป็นต้องรักษาจิตเอาไว้
ตราบชั่วกัลปาวสาร แต่ต้องเพียรปฏิบัติ เพื่อ ละ คลาย สลัดออก ให้จิตหลุดพ้น”ออกไป” ไม่ใช่เก็บเข้ามา นะครับ
ที่จิตยังไม่หลุดพ้นเพราะอะไร เพราะบุคคลยังมีความยินดี มีความกำหนัด มีความถือมั่น ซึ่งก็คืออาสวกิเลสที่มีอยู่ในจิต
นั่นเอง และจากพระพุทธพจน์
“ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้”
จึงต้องตกเป็นทาสรับใช้ โดยมีจิตที่ถึงพร้อมด้วยกิเลสในระดับต่างๆ เป็นผู้บงการใหญ่ คอยเชื้อเชิญ ยั่วยวนให้บุคคล
กระทำกรรมทั้งกุศลและอกุศลอยู่ตลอดเวลา
สรุป
ที่เราเพียรปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์เพื่อให้ “จิตหลุดพ้น” นั้น
หาใช่การปฏิบัติให้จิตหลุดพ้น เพื่อนำจิตเข้าไปในพระนิพพาน เพราะนั่นก็คือการ “ติดข้อง” ในจิตอยู่นั่นเอง
เพราะ
เมื่อจิตหลุดพ้นไปจากอาสวกิเลสแล้ว การ “ติดข้อง” ระหว่างบุคคลกับจิตก็ย่อมขาดลงด้วย เช่นกันครับ.
เมื่อการติดข้องระหว่างบุคคลกับจิตขาดลง ขันธ์ 5 จึงเป็น แค่ขันธ์ 5 ตามธรรมชาติของมัน ซึ่งก็มีจิตเป็นหนึ่งในขันธ์ด้วย
รอแค่วันขันธ์ดับตามธรรมชาติ ชาติจึงสิ้น พรหมจรรย์อยู่จบ กิจที่ควรทำนอกจากนี้จึงไม่มี ตอนพระอรหันต์ตายลง
จิตดวงสุดท้ายในสังสารวัฏอันยาวนาน จึงดับสิ้นไป เพราะไม่มี “การติดข้อง” ใดๆ ยึดมั่นถือมั่นจิต พากันไปปฏิสนธิอีก
“ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้”
นี้ จึงเป็นพุทธพจน์ที่ชัดเจนแล้ว สำหรับนักปฏิบัติทุกๆ ท่าน
ขัดเกลากำจัดอาสวกิเลสหรือเครื่องร้อยรัด เพื่อให้ขันธ์ 5 หลุดพ้นออกไปเป็น สมบัติของโลกตามความเป็นจริงของมัน
ไม่ใช่เป็นสมบัติของ “เรา” จะไม่เป็นสัตว์ที่เวียนว่ายไปในวัฏสงสารอีกครับ
คงเคยได้ยินมาบ้างนะครับ
“ปรมัตถธรรม คือสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เอง ว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น”
นั่นแหละครับ คือเรื่องราวทั้งหมด ว่าเราควรปฏิบัติธรรม แบบไหนอย่างไร เพื่อจะเกิดปัญญาและมีดวงตาเห็นสภาวะธรรม
เหล่านั้นตามความเป็นจริงของมัน ว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจ
บังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น แล้วจะมีความยินดี ความกำหนัด ความถือมั่นในธรรมชาติเหล่านั้น กันไปทำไม
ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นฯ......ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ
... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” นั่นเองครับ.
“มหาสติปัฏฐาน 4 “ (สัมมาสติในมรรค8) ก็คือเครื่องมือที่พระพุทธองค์ทรงประทานมาให้ ก็เพื่อการนี้
ใช้เครื่องมือนี้ ให้เกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ธรรมทั้งปวงไม่อยู่ใน
อำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด และธรรมทั้งปวงล้วนเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น
การปฏิบัติธรรมเพื่อให้รู้ถูก เห็นถูกตามความเป็นจริงของชีวิตนั้น “จึงต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้น” เพื่อ
พิจารณาให้ทะลุ “สมมุติสัจจะ” ออกมาให้เห็น “ปรมัตถสัจจะ” ตามความเป็นจริงของมัน และขอเพียงแค่แว่บเดียว
ที่สภาวะธรรมตามความเป็นจริงนั้นปรากฏ ก็จะกระจ่างแจ้งแก่ใจตนเอง ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา เราล้วนถูกหลอกลวง
มาตลอด ว่าร่างกายนี้ ใจนี้ มีเรา เป็นเรา และเป็นของเรา ครับ.
ฝากไว้ให้พิจารณา สักประโยคนึงครับ.
“ปฏิบัติธรรม เพื่อ ประจักษ์แจ้งปรมัตถธรรม”
เจริญในธรรม ทุกๆ ท่าน
เม็ดมะม่วง.
ปัญญา และ ดวงตาเห็นธรรม
เชิญทบทวนพระสูตรกันครับ
มัชฌิมปัณณาสก์
อุปายวรรคที่ ๑
๑. อุปายสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นความหลุดพ้นและไม่หลุดพ้น
[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเข้า
ถึง (ด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นความไม่หลุดพ้น ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฯลฯ วิญญาณที่มี
สังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ใน
สังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์
ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุด
พ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่
สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=17&item=105&items=1
พระสูตรต่อไปครับ
อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จาก
สัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือ
มั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึง
ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1007&Z=1024
ข้อสังเกตุ
-บางวาระ ทั้งสองพระสูตรข้างต้น พระศาสดาตรัสเรียก จิตบ้าง วิญญาณบ้าง
แต่ทั้งสองคำนั้น ก็ยังคงความหมายที่เหมือนกัน
-คำว่า “จิตหลุดพ้น” โปรดพิจารณาคำว่า “หลุดพ้น” หลุดพ้นจากอะไร ดูทั้ง 2 พระสูตร
จะเห็นว่า หลุดพ้นจาก ความยินดี, ความกำหนัด, ความถือมั่น,
-“วิญญาณหลุดพ้น” แล้ววิญญาณไปไหนต่อ ดูประโยคนี้ (จากพระสูตรแรก)
“เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่” เมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลส จิตก็ไม่ได้หายไปไหน
ยังคงดำรงอยู่ รู้เวทนาได้ต่อพระนิพพาน เป็นไปตามธรรมชาติธาตุรู้ของจิตนั่นเอง ดังพุทธพจน์ประโยคนี้
“วิญญาณอันไม่มีที่ตั้ง ไม่งอกงาม ไม่แต่ง”ปฏิสนธิ(จิต)” (จึง)หลุดพ้นไป เพราะ(จิต)หลุดพ้นไป (จิต)จึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ (จิต)จึงยินดีพร้อม(รู้เวทนาต่อพระนิพพาน) เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ
เฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”.
จิตของพระอรหันต์จึงเหลือแต่ วิบากจิต และ กิริยาจิต ส่วนจิตอื่นๆ ที่เป็นไปด้วยความยินดี, ความกำหนัด, ความถือมั่น,
ไม่มีเลย และเมื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวกิเลสแล้ว “ปฏิสนธิจิต” จึงไม่มี ด้วยอนันตรปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตดวงใหม่มันไม่มี
ดังนั้น ความยินดี ความกำหนัด ความถือมั่น กุศลจิต อกุศลจิต และปฏิสนธิจิต จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ที่ทำให้เกิดการท่องไป
ในสังสารวัฏ นั่นเองครับ
คราวนี้มาดูพระสูตรสำคัญสุดท้ายกันครับ
มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ
๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตเป็นต้นนี้
ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=16&siri=57
พระสูตรนี้ จึงแสดงความชัดเจนที่ว่า ที่จิตไม่สามารถหลุดพ้นไปจากบุคคลได้เพราะถูกรัดไว้ด้วยตัณหา
ความกำหนัด และความยึดมั่นถือมั่น ดังนั้น จิต จึงไม่ได้เป็นขันธ์ธรรมดา แต่เป็นขันธ์สำคัญ
ที่ทำให้สัตว์ต้องท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏมาตลอดกาลอันยาวนาน กันเลยทีเดียว
และจากสามพระสูตร
ที่เรียกว่า จิตบ้าง วิญญาณ บ้างนั้น พิจารณาได้ว่า พระองค์ไม่ได้ให้ความสำคัญที่จำเป็นต้องรักษาจิตเอาไว้
ตราบชั่วกัลปาวสาร แต่ต้องเพียรปฏิบัติ เพื่อ ละ คลาย สลัดออก ให้จิตหลุดพ้น”ออกไป” ไม่ใช่เก็บเข้ามา นะครับ
ที่จิตยังไม่หลุดพ้นเพราะอะไร เพราะบุคคลยังมีความยินดี มีความกำหนัด มีความถือมั่น ซึ่งก็คืออาสวกิเลสที่มีอยู่ในจิต
นั่นเอง และจากพระพุทธพจน์ “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้”
จึงต้องตกเป็นทาสรับใช้ โดยมีจิตที่ถึงพร้อมด้วยกิเลสในระดับต่างๆ เป็นผู้บงการใหญ่ คอยเชื้อเชิญ ยั่วยวนให้บุคคล
กระทำกรรมทั้งกุศลและอกุศลอยู่ตลอดเวลา
สรุป
ที่เราเพียรปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์เพื่อให้ “จิตหลุดพ้น” นั้น
หาใช่การปฏิบัติให้จิตหลุดพ้น เพื่อนำจิตเข้าไปในพระนิพพาน เพราะนั่นก็คือการ “ติดข้อง” ในจิตอยู่นั่นเอง
เพราะเมื่อจิตหลุดพ้นไปจากอาสวกิเลสแล้ว การ “ติดข้อง” ระหว่างบุคคลกับจิตก็ย่อมขาดลงด้วย เช่นกันครับ.
เมื่อการติดข้องระหว่างบุคคลกับจิตขาดลง ขันธ์ 5 จึงเป็น แค่ขันธ์ 5 ตามธรรมชาติของมัน ซึ่งก็มีจิตเป็นหนึ่งในขันธ์ด้วย
รอแค่วันขันธ์ดับตามธรรมชาติ ชาติจึงสิ้น พรหมจรรย์อยู่จบ กิจที่ควรทำนอกจากนี้จึงไม่มี ตอนพระอรหันต์ตายลง
จิตดวงสุดท้ายในสังสารวัฏอันยาวนาน จึงดับสิ้นไป เพราะไม่มี “การติดข้อง” ใดๆ ยึดมั่นถือมั่นจิต พากันไปปฏิสนธิอีก
“ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้”
นี้ จึงเป็นพุทธพจน์ที่ชัดเจนแล้ว สำหรับนักปฏิบัติทุกๆ ท่าน
ขัดเกลากำจัดอาสวกิเลสหรือเครื่องร้อยรัด เพื่อให้ขันธ์ 5 หลุดพ้นออกไปเป็น สมบัติของโลกตามความเป็นจริงของมัน
ไม่ใช่เป็นสมบัติของ “เรา” จะไม่เป็นสัตว์ที่เวียนว่ายไปในวัฏสงสารอีกครับ
คงเคยได้ยินมาบ้างนะครับ “ปรมัตถธรรม คือสภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เอง ว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น”
นั่นแหละครับ คือเรื่องราวทั้งหมด ว่าเราควรปฏิบัติธรรม แบบไหนอย่างไร เพื่อจะเกิดปัญญาและมีดวงตาเห็นสภาวะธรรม
เหล่านั้นตามความเป็นจริงของมัน ว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจ
บังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น แล้วจะมีความยินดี ความกำหนัด ความถือมั่นในธรรมชาติเหล่านั้น กันไปทำไม
ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นฯ......ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ
... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” นั่นเองครับ.
“มหาสติปัฏฐาน 4 “ (สัมมาสติในมรรค8) ก็คือเครื่องมือที่พระพุทธองค์ทรงประทานมาให้ ก็เพื่อการนี้
ใช้เครื่องมือนี้ ให้เกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ธรรมทั้งปวงไม่อยู่ใน
อำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด และธรรมทั้งปวงล้วนเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น
การปฏิบัติธรรมเพื่อให้รู้ถูก เห็นถูกตามความเป็นจริงของชีวิตนั้น “จึงต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะเท่านั้น” เพื่อ
พิจารณาให้ทะลุ “สมมุติสัจจะ” ออกมาให้เห็น “ปรมัตถสัจจะ” ตามความเป็นจริงของมัน และขอเพียงแค่แว่บเดียว
ที่สภาวะธรรมตามความเป็นจริงนั้นปรากฏ ก็จะกระจ่างแจ้งแก่ใจตนเอง ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา เราล้วนถูกหลอกลวง
มาตลอด ว่าร่างกายนี้ ใจนี้ มีเรา เป็นเรา และเป็นของเรา ครับ.
ฝากไว้ให้พิจารณา สักประโยคนึงครับ.
“ปฏิบัติธรรม เพื่อ ประจักษ์แจ้งปรมัตถธรรม”
เจริญในธรรม ทุกๆ ท่าน
เม็ดมะม่วง.