\_ Oops! _/ แค็บกว้างนั่งสบาย วลีเด็ดเซลส์กระบะโฆษณาเกินจริง หรือลูกค้าเข้าใจผิด? สะท้อนกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่อ่อนแอ



   เรื่องการ “ห้ามนั่งกระบะ” หรือ “ห้ามนั่งแค็บ” ดูเหมือนว่าจะยังไม่จบง่ายๆ เมื่อเหล่าลูกค้ารถกระบะ ต่างออกมาแสดงความเห็นในทำนองที่ว่า...

“เซลส์บอกว่าแค็บกว้างนั่งสบาย” หรือ “คนขายแนะนำว่ามีแค็บให้นั่งสบาย พื้นกว้าง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า” แม้กระทั่ง “ทางโชว์รูมไม่ได้มีการชี้แจงลูกค้าตั้งแต่แรกว่า แค็บห้ามนั่ง”


  สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ถือเป็นการโฆษณาเกินจริง ปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริง หรือหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่!?

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ หยิบประเด็นร้อนของสังคมมาตามต่อ โดยผู้ที่จะมาอธิบายเรื่องนี้ เป็นผู้ที่มาจากหน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

    น.ส.นฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อ้างอิงจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่า การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ ตาม



    หมายความว่า หากคนขายรถ เซลส์ ได้โฆษณากับลูกค้าในทำนองที่ว่า รถกระบะแค็บนั้น สามารถนำไปบรรทุกให้ผู้โดยสารนั่งได้ จึงถือเป็นการโฆษณาที่เป็นเท็จ เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว “แค็บไม่สามารถที่จะนั่งได้” โดยมีไว้เพื่อ “บรรทุกของ” เท่านั้น!

   แม้จะเป็นเพียงการโฆษณาด้วยปากเปล่าต่อลูกค้าก็ตาม โดยถือเป็นการทำให้เชื่อ ซึ่งในวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกำหนดอยู่แล้วว่า แม้ไม่ได้ลงลายลักษณ์อักษรก็ถือว่าเป็นการโฆษณา

  แต่โดยปัจจุบันเป็นเรื่องการโฆษณาที่ทำให้วิญญูชนทั่วไปเข้าใจ หมายถึง การที่คนขายทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของกระบวนการผลิต จนทำให้ประชาชน “คิด” หรือ “เข้าใจ” ได้ว่า เรื่องแค็บสามารถนั่งได้ ทั้งที่ความเป็นจริงตามกฎหมาย ไม่สามารถนั่งบนแค็บได้ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นเจตนา!


“ในความเป็นจริงแล้วนั้น มันไม่เคยมีโฆษณาขายรถที่ไหนระบุไว้อย่างชัดเจนหรอกว่า สามารถนั่งบนแค็บได้ มันเป็นเพียงคำชวนเชื่อของเซลส์ขายรถบางคนเท่านั้น” หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค อธิบายอย่างชัดถ้อยชัดคำ



   “แค็บ กว้าง มากกกก” ประโยคเด็ดเซลส์ ส่อลูกค้าเข้าใจผิด
นอกจากนี้ การที่คนขายมักจะพูดว่า “แค็บด้านหลังกว้างมาก” ทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดได้ว่า “มันกว้างจนสามารถนั่งได้” ส่วนทางบริษัทผู้จำหน่ายรถจะต้องไปแก้คำโฆษณาด้วยหรือไม่นั้น ก็ต้องตรวจสอบดูให้แน่ชัดอีกครั้งว่า คำว่า “กว้าง” ตีความหมายได้หลายอย่าง และอาจจะไม่ได้บอกชัดเจนว่า “กว้างให้คนนั่งได้สบาย” หรืออาจจะมองว่า “กว้างเพื่อบรรทุกของได้เยอะ” เพราะบางครั้งรถกระบะจำเป็นต้องเอาของไว้ในแค็บเวลาฝนตกได้ด้วย

  ลูกค้าถูกหลอก ฟ้องร้องได้ไหม!?
หากผู้ใช้รถกระบะประสงค์จะฟ้องร้องต่อบริษัทจัดจำหน่ายรถ โทษฐานหลอกลวงผู้บริโภค ปกปิดข้อมูลสำคัญ ไม่แนะนำหรือชี้แจงตอนซื้อ-ขายนั้น สามารถทำได้หรือไม่?

ในฐานะหัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้แจงว่า สามารถทำได้ เพียงแต่ว่าต้องดูว่าซื้อมานานหรือยัง รวมทั้ง มาตรการห้ามนั่งแค็บนี้ออกมานานหรือยัง หากประชาชนต้องการจะเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภค ต้องเรียกร้องตั้งแต่ต้น เพราะว่ามีการปล่อยปละละเลยให้รถเหล่านี้วิ่งมาโดยตลอดอยู่แล้ว

  อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังไม่เคยมีประชาชนมาร้องเรียนเรื่องรถกระบะแค็บเลย เนื่องจากประชาชนยังเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่

  สคบ. รับร้องเรียน ไม่ฟันธงเซลส์โฆษณาเกินจริงหรือไม่​ ยันต้องดูข้อเท็จจริง
ด้าน พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผยว่า หากผู้บริโภคมองว่าถูกเอาเปรียบจากบริษัทผู้จำหน่ายรถกระบะ สามารถร้องเรียนมาได้ที่ สคบ. โดยทุกเรื่องที่ผู้บริโภครู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ทั้งหมด

  แต่ขอไม่ฟันธงว่า บริษัทผู้ผลิตรถ หรือ เซลส์ จะมีความผิดฐานโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ ต้องดูข้อเท็จจริงว่า หลอกลวง หรือโฆษณาเป็นเท็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละบุคคลไปว่าเจอปัญหาอะไรมาบ้าง ซึ่งถ้าให้ตอบตอนนี้ คงยาก ต้องดูรายละเอียดเป็นเคสๆ ไป

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ครั้งหนึ่งนานมาแล้วละ หลายปี
ผมเคยไปดูรถที่โชว์รูม ก็ไปดูตัวแค็บกับตัวสี่ประตู
ผมก็ถามเซลล์ว่า ทำไมแค็บไม่มีเบาะ
เขาก็หัวเราะบอกว่า เดี๋ยวตอนออกรถมีแน่ครับ (เป็นของแถมอะไรพวกนี้นะ)
แต่เขาบอกชัดเจนต่อไปว่า ตามกฎหมายแล้วนั่งแค็บไม่ได้ครับ
เป็นเซลล์คนเดียวในโลกที่เคยบอกผมว่า แค็บนั่งไม่ได้
แต่ตอนนั้นผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก แค่บอกไปว่า เหรอ..

กรณีนี้ก็คล้ายๆกับบ้านแฝดนะ ลองไปดูเทคนิคการสร้างบ้านแฝดแล้วกันนะ

ส่วนตัวนั่งแค็บมาตั้งแต่เด็ก... เพิ่งจะรู้ตอนนั้นแหละว่า แค็บกฏหมายไม่ได้อนุญาตให้นั่ง

เรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องที่ดูแปลกๆนะ
มีครั้งหนึ่ง มีคนมาขออาศัยรถผมไปที่แห่งหนึ่ง รถผมรถเก๋งนะครับ
จะไปกันรวมทั้งหมด ๗ คน (ผู้ใหญ่ทั้งหมดครับ)
ผมก็บอกว่ามันไม่ไหวหรอกมั้ง เต็มที่ก็ ๖ คน (อัดแน่นมาก)
เขาบอกผมว่า รถมันจดทะเบียนนั่งไม่เกิน ๗ ที่นั่ง มันต้องไปได้หมด...

กล้วยทอดมากครับ ประเทศไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่