เรียนเพื่อนสมาชิกพันทิปทุกท่านครับ นี่เป็นกระทู้แรกของผม ซึ่งหากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ
สืบเนื่องจาก วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผมได้รับจดหมายเลิกจ้างจากทางบริษัท โดยในจดหมายระบุสาเหตุของการเลิกจ้างไว้ว่า;
“ท่านไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้ โดยได้กระทำการฝ่าฝืนกฎระเบียบของบริษัท เช่น การไม่เข้า-ออก ออฟฟิตตามข้อกำหนดของบริษัท กระทำการตามใจตนเองโดยไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา และท่านไม่ได้เข้าพบลูกค้าตามที่ท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ”
จากเหตุผลข้างต้นนั้น ทำให้ผมไม่สามารถได้รับเงินค่าชดเชยใดๆกับทางบริษัทได้เลย ซึ่งผมเองมองว่ามันก็เป็นไปตามตัวบทกฎหมายที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายแรงงาน หากแต่เหตุผลที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงการยกข้ออ้าง เพียงเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินค่าชดเชยต่างๆแก่ผม (ลูกจ้าง) ผมก็จะต่อสู้ให้ถึงที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถทำได้
วันเดียวกันหลังจากที่ได้รับจดหมายเลิกจ้าง ช่วงบ่ายผมได้เข้าไปที่สำนักงานเขตประกันสังคม เพื่อยื่นเรื่องขอรับเงินชดเชยในกรณีว่างงาน พร้อมทั้งแสดงหลักฐานต่างๆเพื่อประกอบการอนุมัติ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่สามารถอนุมัติการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวได้ เนื่องจากสาเหตุการเลิกจากนั้น ผมเป็นฝ่ายกระทำความผิด ซึ่งต้องให้ทางศาลท่านพิสูจน์ก่อนว่าสาเหตุที่ทางบริษัทกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง จึงค่อยกลับมาติดต่อเพื่อขอรับเงินชดเชยย้อนหลังได้
จนกระทั่งวันที่ ๐๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ทางประกันสังคมได้มีการโอนเงินค่าชดเชยงวดแรก จากกรณีว่างงานให้แก่ผม โดยโอนเงินผ่านทางบัญชีที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ (ซึ่งผมได้โทรตรวจสอบกับทางประกันสังคมเรียบร้อยแล้ว)
ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่า ทางบริษัทแจ้งยกเลิกการจ่ายเงินประกันสังคมแบบปกติ ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ระบุสาเหตุของการเลิกจ้างเอาไว้ในจดหมายเลิกจ้าง
ต่อมาวันที่ ๐๔ เมษายน ๒๕๖๐ ผมได้เข้าไปที่ศาลแรงงานกลาง เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวกับทางเจ้าหน้าที่นิติกร เจ้าหน้าที่นิติกรรับทราบเรื่องพร้อมทั้งช่วยเขียนคำฟ้อง เพื่อเรียกร้องเงินชดเชยต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด จากนั้นผมก็ยื่นเรื่องทั้งหมดกับเจ้าหน้าที่ศาลแรงงาน และรอศาลท่านนัดไกล่เกลี่ย ช่วงต้นเดือน มิถุนายน ที่จะถึงนี้
จากที่ได้กล่าวมา อาจจะดูว่ามันก็เป็นไปตามกระบวนการ/ขั้นตอนของกฎหมายแล้ว แต่ผมเองอยากจะสอบถามเพิ่มเติมอีกว่า ในกรณีแบบนี้ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดดังที่ทางบริษัทได้กล่าวหามาเลยนั้น ผมเอง (ลูกจ้าง) ยังพอมีหนทางอื่นหรือไม่ที่จะเอาผิดกับทางบริษัท ซึ่งทางเจ้าหน้าที่นิติกรให้คำแนะนำว่าในส่วนของอำนาจของศาลแรงงานสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่หากผมยังต้องการฟ้องร้องข้อหาอื่นๆกับทางบริษัท เช่นแจ้งข้อมูล บอกสาเหตุการเลิกจ้างอันเป็นเท็จ จนเป็นสาเหตุให้ผม (ลูกจ้าง) ไม่ได้รับเงินค่าชดเชยต่างๆ และ/หรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะจ่ายเงินชดเชยนั้นๆแก่ผม (ลูกจ้าง) ผมต้องไปฟ้องร้องกับศาลอาญา เพราะมันจะกลายเป็นคดีอาญาไปแล้ว
ด้วยความที่ผมเอง ยังไม่เคยขึ้นโรงขึ้นศาล และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่เจอกับสถานการณ์แบบนี้ ผมเองเลยอยากขอคำแนะนำจากพี่ๆ เพื่อนๆในพันทิปหน่อยครับ ว่าที่เจ้าหน้าที่นิติกรบอกมานั้น จริงหรือไม่ หากจริงมีขั้นตอนการประสานงาน/ดำเนินการอย่างไร
ผมยินดีรับฟังทุกๆความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่าง และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ
ปล.
๑.) ผมมี/เก็บหลักฐานทุกอย่างเพื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผมบริสุทธิ์ และไม่ได้เป็นไปตามที่ทางบริษัทกล่าวหาอย่างแน่นอน
๒.) บริษัทนี้ซื้อตัวผมมาจากที่บริษัทเก่า แต่กลับไม่รับผิดชอบการกระทำใดๆที่ทำกับผมเลย
๓.) ปัญหาที่แท้จริงคือ บริษัทเปลี่ยนแปลงการขั้นตอน/ วิธีการทำงาน ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับที่ได้ระบุเอาไว้ในหนังสือสัญญา และผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เป็นเป็นคุณกับผม (ลูกจ้างแต่อย่างใดเลย)
๔.) ทางบริษัทเคยเรียกผมคุยหลายครั้ง และเสนอให้ผมเขียนใบลาออกเอง จากกนั้นจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก ๑ เดือน เพื่อเป็นการปลอบใจ แต่ผมปฏิเสธทุกครั้ง พร้อมทั้งบอกให้บริษัทบอกเลิกจ้างแล้วจ่ายเงินชดเชยต่างๆขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด
๕.) ด้วยอายุการทำงาน และหนังสือสัญญาที่ระบุเงื่อนไขการเลิกจ้างนั้น ทางบริษัทอาจจะต้องจ่ายคือให้กับผมค่อนข้างสูงพอสมควร จึงเป็นเหตุให้ทางบริษัททำทุกวิถีทางเพื่อไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
๖.) ผมเป็น ๑ ใน ๓ คน ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน โดย ๑ ในนั้น ยอมลาออกไปเอง เนื่องจากทนรับสภาพแรงกดดันไม่ไหว, อีก ๑ คน ยอมรับตามข้อเสนอของบริษัทโดยเขียนใบลาออกเอง และรับเงินเพิ่มเพียง ๑ เดือน เพื่อไม่อยากมีปัญหากับทางบริษัท, และผมเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ยอมทำตามที่บริษัทเสนอให้
๗.) บริษัทยังท้าทายให้ไปฟ้องร้องได้เลย และทางบริษัทเองจะทำทุกวิถีทางที่จะยืดเวลาในการจ่ายเงินชดเชยต่างๆคืนแก่ผม (เพราะเข้าใจว่าสักวันผมต้องร้อนเงินและไม่สามารถรอจนกว่าศาลท่านจะบังคับให้จ่ายคืนได้)
๘.) ผมจะรอจนกว่าศาลท่านจะบังคับให้ทางบริษัทจ่ายคืน เพราะมันจะมีดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ ผมจะถือว่าเป็นการออมเงินในรูปแบบหนึ่ง ที่มีดอกเบี้ยเป็นกำไร
๙.) ผมไม่ได้เป็นคนเก่งอะไร เพียงแต่อยากให้ทางบริษัทได้รู้บ้างว่า ไม่ใช่ลูกจ้างทุกคนจะยอมเป็นเบี้ยล่างให้กับนายจ้างเสมอ อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งแหละ ที่จะขอสู้และทำทุกอย่างเพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของผมคืนกลับมา และจะหาหนทางเอาคืนกับบริษัท (ถ้าสามารถทำได้)
๑๐.) ตอนนี้ผมได้งานที่ใหม่แล้ว และกำลังจะเริ่มงานกลางเดือน พฤษภาคมนี้ครับ
โดนบอกเลิกจ้างงาน โดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ
สืบเนื่องจาก วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผมได้รับจดหมายเลิกจ้างจากทางบริษัท โดยในจดหมายระบุสาเหตุของการเลิกจ้างไว้ว่า;
“ท่านไม่สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้ โดยได้กระทำการฝ่าฝืนกฎระเบียบของบริษัท เช่น การไม่เข้า-ออก ออฟฟิตตามข้อกำหนดของบริษัท กระทำการตามใจตนเองโดยไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชา และท่านไม่ได้เข้าพบลูกค้าตามที่ท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ”
จากเหตุผลข้างต้นนั้น ทำให้ผมไม่สามารถได้รับเงินค่าชดเชยใดๆกับทางบริษัทได้เลย ซึ่งผมเองมองว่ามันก็เป็นไปตามตัวบทกฎหมายที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายแรงงาน หากแต่เหตุผลที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงการยกข้ออ้าง เพียงเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินค่าชดเชยต่างๆแก่ผม (ลูกจ้าง) ผมก็จะต่อสู้ให้ถึงที่สุดเท่าที่ผมจะสามารถทำได้
วันเดียวกันหลังจากที่ได้รับจดหมายเลิกจ้าง ช่วงบ่ายผมได้เข้าไปที่สำนักงานเขตประกันสังคม เพื่อยื่นเรื่องขอรับเงินชดเชยในกรณีว่างงาน พร้อมทั้งแสดงหลักฐานต่างๆเพื่อประกอบการอนุมัติ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่สามารถอนุมัติการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวได้ เนื่องจากสาเหตุการเลิกจากนั้น ผมเป็นฝ่ายกระทำความผิด ซึ่งต้องให้ทางศาลท่านพิสูจน์ก่อนว่าสาเหตุที่ทางบริษัทกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง จึงค่อยกลับมาติดต่อเพื่อขอรับเงินชดเชยย้อนหลังได้
จนกระทั่งวันที่ ๐๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ทางประกันสังคมได้มีการโอนเงินค่าชดเชยงวดแรก จากกรณีว่างงานให้แก่ผม โดยโอนเงินผ่านทางบัญชีที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ (ซึ่งผมได้โทรตรวจสอบกับทางประกันสังคมเรียบร้อยแล้ว)
ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่า ทางบริษัทแจ้งยกเลิกการจ่ายเงินประกันสังคมแบบปกติ ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ระบุสาเหตุของการเลิกจ้างเอาไว้ในจดหมายเลิกจ้าง
ต่อมาวันที่ ๐๔ เมษายน ๒๕๖๐ ผมได้เข้าไปที่ศาลแรงงานกลาง เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวกับทางเจ้าหน้าที่นิติกร เจ้าหน้าที่นิติกรรับทราบเรื่องพร้อมทั้งช่วยเขียนคำฟ้อง เพื่อเรียกร้องเงินชดเชยต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด จากนั้นผมก็ยื่นเรื่องทั้งหมดกับเจ้าหน้าที่ศาลแรงงาน และรอศาลท่านนัดไกล่เกลี่ย ช่วงต้นเดือน มิถุนายน ที่จะถึงนี้
จากที่ได้กล่าวมา อาจจะดูว่ามันก็เป็นไปตามกระบวนการ/ขั้นตอนของกฎหมายแล้ว แต่ผมเองอยากจะสอบถามเพิ่มเติมอีกว่า ในกรณีแบบนี้ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดดังที่ทางบริษัทได้กล่าวหามาเลยนั้น ผมเอง (ลูกจ้าง) ยังพอมีหนทางอื่นหรือไม่ที่จะเอาผิดกับทางบริษัท ซึ่งทางเจ้าหน้าที่นิติกรให้คำแนะนำว่าในส่วนของอำนาจของศาลแรงงานสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่หากผมยังต้องการฟ้องร้องข้อหาอื่นๆกับทางบริษัท เช่นแจ้งข้อมูล บอกสาเหตุการเลิกจ้างอันเป็นเท็จ จนเป็นสาเหตุให้ผม (ลูกจ้าง) ไม่ได้รับเงินค่าชดเชยต่างๆ และ/หรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะจ่ายเงินชดเชยนั้นๆแก่ผม (ลูกจ้าง) ผมต้องไปฟ้องร้องกับศาลอาญา เพราะมันจะกลายเป็นคดีอาญาไปแล้ว
ด้วยความที่ผมเอง ยังไม่เคยขึ้นโรงขึ้นศาล และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่เจอกับสถานการณ์แบบนี้ ผมเองเลยอยากขอคำแนะนำจากพี่ๆ เพื่อนๆในพันทิปหน่อยครับ ว่าที่เจ้าหน้าที่นิติกรบอกมานั้น จริงหรือไม่ หากจริงมีขั้นตอนการประสานงาน/ดำเนินการอย่างไร
ผมยินดีรับฟังทุกๆความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่าง และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ
ปล.
๑.) ผมมี/เก็บหลักฐานทุกอย่างเพื่อที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผมบริสุทธิ์ และไม่ได้เป็นไปตามที่ทางบริษัทกล่าวหาอย่างแน่นอน
๒.) บริษัทนี้ซื้อตัวผมมาจากที่บริษัทเก่า แต่กลับไม่รับผิดชอบการกระทำใดๆที่ทำกับผมเลย
๓.) ปัญหาที่แท้จริงคือ บริษัทเปลี่ยนแปลงการขั้นตอน/ วิธีการทำงาน ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับที่ได้ระบุเอาไว้ในหนังสือสัญญา และผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เป็นเป็นคุณกับผม (ลูกจ้างแต่อย่างใดเลย)
๔.) ทางบริษัทเคยเรียกผมคุยหลายครั้ง และเสนอให้ผมเขียนใบลาออกเอง จากกนั้นจะจ่ายเงินเพิ่มให้อีก ๑ เดือน เพื่อเป็นการปลอบใจ แต่ผมปฏิเสธทุกครั้ง พร้อมทั้งบอกให้บริษัทบอกเลิกจ้างแล้วจ่ายเงินชดเชยต่างๆขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด
๕.) ด้วยอายุการทำงาน และหนังสือสัญญาที่ระบุเงื่อนไขการเลิกจ้างนั้น ทางบริษัทอาจจะต้องจ่ายคือให้กับผมค่อนข้างสูงพอสมควร จึงเป็นเหตุให้ทางบริษัททำทุกวิถีทางเพื่อไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
๖.) ผมเป็น ๑ ใน ๓ คน ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน โดย ๑ ในนั้น ยอมลาออกไปเอง เนื่องจากทนรับสภาพแรงกดดันไม่ไหว, อีก ๑ คน ยอมรับตามข้อเสนอของบริษัทโดยเขียนใบลาออกเอง และรับเงินเพิ่มเพียง ๑ เดือน เพื่อไม่อยากมีปัญหากับทางบริษัท, และผมเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ยอมทำตามที่บริษัทเสนอให้
๗.) บริษัทยังท้าทายให้ไปฟ้องร้องได้เลย และทางบริษัทเองจะทำทุกวิถีทางที่จะยืดเวลาในการจ่ายเงินชดเชยต่างๆคืนแก่ผม (เพราะเข้าใจว่าสักวันผมต้องร้อนเงินและไม่สามารถรอจนกว่าศาลท่านจะบังคับให้จ่ายคืนได้)
๘.) ผมจะรอจนกว่าศาลท่านจะบังคับให้ทางบริษัทจ่ายคืน เพราะมันจะมีดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ ผมจะถือว่าเป็นการออมเงินในรูปแบบหนึ่ง ที่มีดอกเบี้ยเป็นกำไร
๙.) ผมไม่ได้เป็นคนเก่งอะไร เพียงแต่อยากให้ทางบริษัทได้รู้บ้างว่า ไม่ใช่ลูกจ้างทุกคนจะยอมเป็นเบี้ยล่างให้กับนายจ้างเสมอ อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งแหละ ที่จะขอสู้และทำทุกอย่างเพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของผมคืนกลับมา และจะหาหนทางเอาคืนกับบริษัท (ถ้าสามารถทำได้)
๑๐.) ตอนนี้ผมได้งานที่ใหม่แล้ว และกำลังจะเริ่มงานกลางเดือน พฤษภาคมนี้ครับ