ตำนานนายเว้ง จิตต์แจ้ง คนมีชื่อเสียงทับเที่ยง ตรัง

ภาพเก่าที่จัดเก็บรักษาไว้อย่างดี จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯตรัง
และภาพนี้ ยังถูกเก็บไว้ที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ( องค์การมหาชน)

ภาพนี้เป็นงานมงคลสมรส นายเว้งนางยื่ง จิตต์แจ้ง พร้อมการ์ดเชิญสีชมพู  ตรงกับวันที่
22 เมษายน ปี 2477 ถึง วันที่ 22 เมษายน ปี 2561 ภาพนี้  มีอายุครบ 84 ปีแล้ว เป็นวัฒนธรรมอันดีของ ชาวทับเที่ยงเมืองตรัง ตระกูลดังๆที่มีฐานะ จะจัดงานมงคลสมรสยิ่งใหญ่มาก ตั้งแต่โบราณมาแล้ว

จะออกบัตรเชิญสีชมพู ให้ผู้มีเกียรติมาร่วมงานเวลา 12 น.ทําพิธีการสมรส ณ สโมสรใหญ่ ชื่อโมพุ่น เป็นสมาคมจีน กงก๊วน
ในตอนเย็น เวลา 16 . 00น.เชิญร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเจ้าภาพ ท่านประธาน คือกํานัน พันผัก จิตต์แจ้ง เป็นประธานเจ้าภาพใหญ่        
กับงานมงคลสมรส ในประวัติศาสตร์เมืองทับเที่ยง

ครอบครัวจิตต์แจ้ง ในฐานะเป็นบุตร และลูกๆของท่าน ทุกคน ทุกปี จะจัดเทําบุญถึงคุณพ่อคุณแม่ พอถึงวันนี้ ก็คิดถึงคุณพ่อคุณแม่ หรือปู ย่า ตายาย ของหลานๆ  ซึ้งอยู๋ในหัวใจลูกๆหลานๆ เห็นภาพนี้ แล้วนํ้าตาไหลคิดถึงท่าน รู้สึกมีความสุขหวานบอกไม่ถูกกับภาพงานแต่งงานของ บิดามารดา จึงนํามาเสนอให้ทุกๆท่าน ได้ชมด้วยครับ ถือเป็น บันทึกประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่มีความสําคัญยิ่ง  หอภาพยนตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน )  ได้มีบันทึกเป็นจดหมายเหตุ เกี่ยวกับประวัติย่อ ของนายเว้ง จิตต์แจ้ง ไว้ที่หอภาพยนตร์แห่งชาติ  (กระทรวงวัฒนธรรม )       มีใจความน่าสนใจดังนี้

นายเว้ง จิตต์แจ้ง เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ที่ตําบล ทับเที่ยง จังหวัดตรังเป็นบุตรของกํานันพันผัก จิตต์แจ้ง กับนางเลี่ยง จิตต์แจ้ง
มีพี่น้องรวมกัน 5 คน นายเว้งเป็นทาญาติลําดับที่สาม เมื่ออายุได้ 3 ขวบกํานันพันผักได้ส่ง ดช.เว้ง ข้ามนํ้าข้ามทะเลไปอยู่กับญาติที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เพื่อเรียนหนังสือ และเมื่ออายุได้ 16 ปี จึงได้กลับมาเมืองไทย นายเว้งได้เล่าเรื่องการเดินทางกลับมาจากเมืองจีนให้ลูกฟังว่า โดยสารมากับเรือสําเภาของจีน ใช้เวลาเดินทางเดือนกว่าๆ ระหว่างอยู่ในเรือ ต้องผจญภัยกับคลื่นลม  อาศัยอ่านหนังสือสามก๊กภาษาจีน

เป็นเพื่อนมาตลอดทาง จนถึงกรุงเทพฯ  และได้มาต่อรถไฟไปยังจังหวีดตรัง    นายเว้งกลับอยู่ตรังได้ 2 ปี กํานันพันผัก ได้ส่งนายเว้ง ไปเรียนต่อที่ปีนังประเทศมาเลเซีย  สมัยนั้นชาวตรังนิยม ส่งลูกไปเรียนที่ปีนัง เพราะมีเรือเมล์วิ่งจากกันตังไปปีนังทุกสัปดาห์   พอเรียนจบก็กลับมาทํางานบริษัท ฟอร์ด ตรังมีหน้าที่เขียนจดหมายภาษาจีนและอังกฤษติดต่อกับต่างประเทศ    ทํางานได้สักพัก  กํานันพันผักท่านได้มอบหมายให้นายเว้งไปดูแลสวนยางที่ อําเภอห้วยยอด 2 ปี และที่ห้วยยอดนี้เอง ทําให้นายเว้ง ได้พบรักกับ นางสาวยื่ง ยุ่นเซ้งเว้ง และต่อมาทั้งสองคนจึงได้แต่งงานกัน  ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2477  จัดงาน ที่กงก๊วน เป็นสมาคมจีนที่ทับเที่ยง





คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่