หนังเก่าเล่าใหม่ 055: Mary and Max (Adam Elliot, 2009)
" มิตรภาพส่งตรงผ่านตัวอักษร" อนิเมชั่นดินน้ำมัน น่ารักๆ ที่ครองใจใครหลายๆคนที่ได้สัมผัสด้วยตาและด้วย 'หัวใจ' หนังเล่าเรื่องราวของ 'แมรี่' เด็กสาวจากเมืองเมลเบิร์นที่อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ไม่น่าจะเรียกว่าครอบครัวได้ ด้วยสภาพที่แม่ติดเหล้า ส่วนตัวพ่อก็หมกมุ่นอยู่กับงานที่ทำทุกวัน ทำให้ 'แมรี่'กลายเป็นเด็กคนหนึ่งที่อาศัยร่างน้อยๆ อยู่ในมุมเล็กๆในโลกที่อาจจะดำรงชีวิตด้วย 'ความเหงา' ที่สุดในโลก แต่แล้ววันหนึ่ง 'แมรี่' เลือกที่จะลองเสี่ยงและกำหนดชะตาชีวิตตัวเองด้วยการสุ่มชื่อเพื่อนในสมุดหน้าเหลืองเพื่อหวังว่าในสักวันหนึ่ง 'แมรี่จะได้มีเพื่อน' จดหมายฉบับแรกจึงเกิดขึ้นและถูกส่งตรงไปหาเพื่อนในสมุดหน้าเหลือง คนที่รับจดหมายของแมรี่ก็คือ 'แม็กซ์ ' ชายร่างอ้วนอุดมสมบูรณ์ อายุ 40 ปี อาศัยอยู่ในนิวยอร์ก 'แม็กซ์' คือชายอ้วนทั่วๆไปที่มีปัญหาการเข้าสังคมและเหมือนจะเป็นตัวปัญหาให้กับคนอื่นเสมอ นี้คือเรื่องราวของการส่งจดหมายหากันระหว่างเด็กสาวขี้เหงากับชายอ้วนตัวปัญหา ที่มีเรื่องราวที่จะทำให้เราเข้าใจแง่มุมของชีวิตในอีกมุมหนึ่งและประทับใจอย่างแน่นอน
ความตลกร้ายระหว่างที่เรากำลังนั่งดูตัวละครในเรื่องส่งจดหมายหากันไปมา ด้วยข้อความที่แตกต่างกันไปเรื่อยๆตามช่วงอายุที่หนังดำเนินไป เรากลับมีห้วงเวลาที่คิดว่าถ้าเราจะลองเขียนจดหมายหาใครสักคน คนที่เราไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้ากัน และไม่รู้ว่าคนๆนั้นจะแก่กว่าเรา จะอายุน้อยกว่าเรา หรือจะเป็นเพียงเด็กน้อยวัยใสสักคนหนึ่งก็ตามที การตั้งตารอคอยการตอบกลับคงจะมีความหมายมากเหมือนกันหรืออาจจะไม่มีการตอบกลับจาก 'จดหมายที่ท่านเรียก' ก็อาจจะเป็นไปได้ ในชีวิตนี้เรามีเพื่อนที่รู้จักหน้าตากันเป็นอย่างดีมีเพื่อนที่ได้พูดคุยกันผ่านบทสนทนาทั้งที่เป็น 'คำพูด' และการสื่อสารด้วย 'ท่าทาง' แต่ถ้าเราจะมีเพื่อนที่ไม่เคยได้พูดคุยกันต่อหน้าเลย แม้จะเห็นหน้าจากการส่งรูปให้กันเหมือนที่ตัวละครในเรื่องทำแต่การพูดกันผ่าน 'ตัวอักษร' และก่อให้เกิดเป็นมิตรภาพระหว่างกันแบบจริงใจในเนื้อแท้แบบนั้น ในช่วงชีวิตนี้เราจะมีโอกาสได้เจอคนประเภทนั้นหรือได้มีโอกาสทำอะไรแบบนั้นหรือเปล่า?? ถึงยุคนี้จะแตกต่างจากยุคที่ 'แม่รี่และแม็กซ์' อาศัยอยู่ก็ตาม เพราะในยุคที่เราสื่อสารกันบนโลกออนไลน์ เรามีสังคมที่สร้างเครือข่ายได้ทั่วโลก ข้อความหนึ่งข้อความสามารถส่งผ่านให้อีกคนที่อยู่คนละซีกโลกได้เพียงไม่กี่วินาที แต่ทำไมความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์นั้นสั้นแสนสั้น ประเด็นนี้ชวนให้เราตั้งคำถามว่า จะมีกี่คู่ที่พบรักกันหรือมีมิตรภาพที่ดีระหว่างกันแบบจริงใจไร้ซึ่งผลประโยชน์ บนยุคสมัยปัจจุบัน ที่เรา 'unfriend' กันง่ายเพียงแค่คลิกหนึ่งที แล้วความสัมพันธ์ก็จบลงในวินาทีนั้นแบบง่ายๆ โดยที่บางทีเราเองไม่รู้ด้วยซ้ำว่าความสัมพันธ์ได้จบลงไปแล้ว
' บางครั้งเพื่อนที่ดีที่สุดอาจเป็นคนแปลกหน้า ' คนแปลกหน้าที่ยอมรับฟังเรื่องราวทั้งหมดที่เราไม่สามารถบอกกับคนที่เรารู้จักได้ คนแปลกหน้าสักคนที่ไม่เสนอความคิดให้เราต้องทำแบบนั้นหรือต้องทำแบบนี้ คนแปลกหน้าสักคนที่ไม่ตัดสินเราจากเรื่องราวในอดีต แง่มุมหนึ่งที่หนังสะท้อนได้ดีมากๆคือเรื่องราวของคนแปลกหน้าที่ก่อตัวเป็นเพื่อนสนิทได้อย่างละมุนมากๆ เราแทบไม่รู้สึกขัดใจกับความสัมพันธ์ระหว่าง 'แมรี่และแม็กซ์' ที่หนังเล่ามาทั้งหมด ตลอดเวลาเราค่อยๆเห็นพัฒนาการเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป แทรกมุมน่ารักๆ ตลกๆ และภาวะของการไม่เข้าใจกัน รวมถึงการให้อภัยและยอมรับซึ่งกันและกัน หนังพาเราไปได้ไกลจากจุดเริ่มต้นอย่างมากในตอนท้ายสุด จนสุดท้ายเราก็เชื่อในความสัมพันธ์แบบนี้ได้โดยไม่รู้ตัว เราเชื่อในความสัมพันธ์นี้ เพราะตลอดเส้นทางที่แมรี่และแม็กซ์ผ่านมา มีทั้งเรื่องราวที่สุขด้วยกันและทุกข์ด้วยกัน รวมไปถึงผ่านอุปสรรคด้วยกัน แม้จะผ่านตัวอักษรบนหน้ากระดาษก็ตามและตอนส่งท้ายของหนังเรื่องนี้ก็ทำได้ซาบซึ้งใจ เพราะถ้าเราลองเอาจดหมายมาเรียงต่อกันมันก็คงไม่ต่างกับรอยต่อชีวิตของเราดีๆนี้เอง ซึ่งจดหมายเหล่านั้นก็คือเรื่องราวชีวิตและรอยต่อของแมรี่และแม็กซ์นั้นเอง
โทนสีของหนังคือข้อความที่คนทำต้องการสื่อให้คนดู และเราจะขอตีความในมุมมองและความหมายที่เราเข้าใจ หนังแบ่งโทนสีอย่างชัดเจนมากๆ ฝั่งของแมรี่จะเป็นโทนสีแบบสดใส ใช้สีที่แจ่มชัด แต่ถ้าฝั่งของแม็กซ์จะใช้สีเทาและดำเป็นหลักตลอดเวลา ทำไมต้องแบ่งชัดเจนแบบนั้น? ‘แมรี่’ อาศัยอยู่ในชนบท สีที่ใช้เป็นโทนสีสดใส แม้ชีวิตของ ‘แม่รี่’ จะไม่ได้สดใสตามสภาพที่เป็นอยู่ก็ตาม แต่สภาพแวดล้อมรอบตัวกลับเต็มไปด้วยผู้คนที่เป็นมิตร เพื่อนบ้านที่คอยดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองดูสะอาด ร่มเย็น แม้จะไม่มีเพื่อนในวัยเด็กแต่โตมาก็ยังมีเพื่อนบ้านที่ดีเสมอ สังคมนี้น่าอยู่และดูสดใส ผิดถนัดกับฝั่งของแม็กซ์ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยเศษขยะ กองขยะเต็มไปหมด ผู้คนไม่คุยกันและเห็นแก่ตัว ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างอยู่ โทนสีจึงเป็นโทนเทาดำที่ดูเศร้าหมอง แม็กซ์เพียงอาศัยคนเดียวในห้องอยู่กับปลาทองและเพื่อนในจินตนาการดูแล้วก็เข้าใจว่าหม่นหมองได้แค่ไหน
สุดท้าย Mary and Max คือภาพยนตร์ 'อนิเมชั่นสต๊อปโมชั่น' ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้ แม้จะเป็นหนังการ์ตูนแต่เรื่องราวทั้งหมดคงไม่เหมาะที่จะให้เด็กดู ด้วยโทนสีและเนื้อหาดูจะเหมาะสมกับผู้ใหญ่มากกว่า และสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราก้าวพ้นจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่เหมือนที่ ‘แมรี่’ ก้าวพ้นไปได้ในเรื่องก็คือ 'การกลับมารักตัวเอง' และเข้าใจอารมณ์ ความเหงา ความเศร้า การพลัดพราก ผนวกที่หนังพิถีพิถันที่จะจงใจใส่วิธีเสียดสีสังคมเมืองไว้อย่างแยบยล เพื่อให้เราคนดูเข้าใจและก้าวข้ามสิ่งต่างๆเหล่านั้นไปพร้อมกับตัวละคร ถึงแม้ว่าเรื่องราวระหว่าง 'แมรี่และแม็กซ์' จะไม่ได้สมหวังหรือจบลงแบบสวยงามก็ตาม สำหรับเราคงจะไม่เป็นไรเลย เพราะสำหรับเรานั้นตอนจบในชีวิตคงไม่ได้สวยงามถ้าเราไม่ได้เข้าใจความหมายของการมีชีวิตที่ผ่านมาได้มากพอ
ขอให้มีความสุขกับการดูหนังครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
หนังเก่าเล่าใหม่ 055: Mary and Max (Adam Elliot, 2009) เขียนโดย Form Corleone
" มิตรภาพส่งตรงผ่านตัวอักษร" อนิเมชั่นดินน้ำมัน น่ารักๆ ที่ครองใจใครหลายๆคนที่ได้สัมผัสด้วยตาและด้วย 'หัวใจ' หนังเล่าเรื่องราวของ 'แมรี่' เด็กสาวจากเมืองเมลเบิร์นที่อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ไม่น่าจะเรียกว่าครอบครัวได้ ด้วยสภาพที่แม่ติดเหล้า ส่วนตัวพ่อก็หมกมุ่นอยู่กับงานที่ทำทุกวัน ทำให้ 'แมรี่'กลายเป็นเด็กคนหนึ่งที่อาศัยร่างน้อยๆ อยู่ในมุมเล็กๆในโลกที่อาจจะดำรงชีวิตด้วย 'ความเหงา' ที่สุดในโลก แต่แล้ววันหนึ่ง 'แมรี่' เลือกที่จะลองเสี่ยงและกำหนดชะตาชีวิตตัวเองด้วยการสุ่มชื่อเพื่อนในสมุดหน้าเหลืองเพื่อหวังว่าในสักวันหนึ่ง 'แมรี่จะได้มีเพื่อน' จดหมายฉบับแรกจึงเกิดขึ้นและถูกส่งตรงไปหาเพื่อนในสมุดหน้าเหลือง คนที่รับจดหมายของแมรี่ก็คือ 'แม็กซ์ ' ชายร่างอ้วนอุดมสมบูรณ์ อายุ 40 ปี อาศัยอยู่ในนิวยอร์ก 'แม็กซ์' คือชายอ้วนทั่วๆไปที่มีปัญหาการเข้าสังคมและเหมือนจะเป็นตัวปัญหาให้กับคนอื่นเสมอ นี้คือเรื่องราวของการส่งจดหมายหากันระหว่างเด็กสาวขี้เหงากับชายอ้วนตัวปัญหา ที่มีเรื่องราวที่จะทำให้เราเข้าใจแง่มุมของชีวิตในอีกมุมหนึ่งและประทับใจอย่างแน่นอน
ความตลกร้ายระหว่างที่เรากำลังนั่งดูตัวละครในเรื่องส่งจดหมายหากันไปมา ด้วยข้อความที่แตกต่างกันไปเรื่อยๆตามช่วงอายุที่หนังดำเนินไป เรากลับมีห้วงเวลาที่คิดว่าถ้าเราจะลองเขียนจดหมายหาใครสักคน คนที่เราไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้ากัน และไม่รู้ว่าคนๆนั้นจะแก่กว่าเรา จะอายุน้อยกว่าเรา หรือจะเป็นเพียงเด็กน้อยวัยใสสักคนหนึ่งก็ตามที การตั้งตารอคอยการตอบกลับคงจะมีความหมายมากเหมือนกันหรืออาจจะไม่มีการตอบกลับจาก 'จดหมายที่ท่านเรียก' ก็อาจจะเป็นไปได้ ในชีวิตนี้เรามีเพื่อนที่รู้จักหน้าตากันเป็นอย่างดีมีเพื่อนที่ได้พูดคุยกันผ่านบทสนทนาทั้งที่เป็น 'คำพูด' และการสื่อสารด้วย 'ท่าทาง' แต่ถ้าเราจะมีเพื่อนที่ไม่เคยได้พูดคุยกันต่อหน้าเลย แม้จะเห็นหน้าจากการส่งรูปให้กันเหมือนที่ตัวละครในเรื่องทำแต่การพูดกันผ่าน 'ตัวอักษร' และก่อให้เกิดเป็นมิตรภาพระหว่างกันแบบจริงใจในเนื้อแท้แบบนั้น ในช่วงชีวิตนี้เราจะมีโอกาสได้เจอคนประเภทนั้นหรือได้มีโอกาสทำอะไรแบบนั้นหรือเปล่า?? ถึงยุคนี้จะแตกต่างจากยุคที่ 'แม่รี่และแม็กซ์' อาศัยอยู่ก็ตาม เพราะในยุคที่เราสื่อสารกันบนโลกออนไลน์ เรามีสังคมที่สร้างเครือข่ายได้ทั่วโลก ข้อความหนึ่งข้อความสามารถส่งผ่านให้อีกคนที่อยู่คนละซีกโลกได้เพียงไม่กี่วินาที แต่ทำไมความสัมพันธ์บนโลกออนไลน์นั้นสั้นแสนสั้น ประเด็นนี้ชวนให้เราตั้งคำถามว่า จะมีกี่คู่ที่พบรักกันหรือมีมิตรภาพที่ดีระหว่างกันแบบจริงใจไร้ซึ่งผลประโยชน์ บนยุคสมัยปัจจุบัน ที่เรา 'unfriend' กันง่ายเพียงแค่คลิกหนึ่งที แล้วความสัมพันธ์ก็จบลงในวินาทีนั้นแบบง่ายๆ โดยที่บางทีเราเองไม่รู้ด้วยซ้ำว่าความสัมพันธ์ได้จบลงไปแล้ว
' บางครั้งเพื่อนที่ดีที่สุดอาจเป็นคนแปลกหน้า ' คนแปลกหน้าที่ยอมรับฟังเรื่องราวทั้งหมดที่เราไม่สามารถบอกกับคนที่เรารู้จักได้ คนแปลกหน้าสักคนที่ไม่เสนอความคิดให้เราต้องทำแบบนั้นหรือต้องทำแบบนี้ คนแปลกหน้าสักคนที่ไม่ตัดสินเราจากเรื่องราวในอดีต แง่มุมหนึ่งที่หนังสะท้อนได้ดีมากๆคือเรื่องราวของคนแปลกหน้าที่ก่อตัวเป็นเพื่อนสนิทได้อย่างละมุนมากๆ เราแทบไม่รู้สึกขัดใจกับความสัมพันธ์ระหว่าง 'แมรี่และแม็กซ์' ที่หนังเล่ามาทั้งหมด ตลอดเวลาเราค่อยๆเห็นพัฒนาการเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป แทรกมุมน่ารักๆ ตลกๆ และภาวะของการไม่เข้าใจกัน รวมถึงการให้อภัยและยอมรับซึ่งกันและกัน หนังพาเราไปได้ไกลจากจุดเริ่มต้นอย่างมากในตอนท้ายสุด จนสุดท้ายเราก็เชื่อในความสัมพันธ์แบบนี้ได้โดยไม่รู้ตัว เราเชื่อในความสัมพันธ์นี้ เพราะตลอดเส้นทางที่แมรี่และแม็กซ์ผ่านมา มีทั้งเรื่องราวที่สุขด้วยกันและทุกข์ด้วยกัน รวมไปถึงผ่านอุปสรรคด้วยกัน แม้จะผ่านตัวอักษรบนหน้ากระดาษก็ตามและตอนส่งท้ายของหนังเรื่องนี้ก็ทำได้ซาบซึ้งใจ เพราะถ้าเราลองเอาจดหมายมาเรียงต่อกันมันก็คงไม่ต่างกับรอยต่อชีวิตของเราดีๆนี้เอง ซึ่งจดหมายเหล่านั้นก็คือเรื่องราวชีวิตและรอยต่อของแมรี่และแม็กซ์นั้นเอง
โทนสีของหนังคือข้อความที่คนทำต้องการสื่อให้คนดู และเราจะขอตีความในมุมมองและความหมายที่เราเข้าใจ หนังแบ่งโทนสีอย่างชัดเจนมากๆ ฝั่งของแมรี่จะเป็นโทนสีแบบสดใส ใช้สีที่แจ่มชัด แต่ถ้าฝั่งของแม็กซ์จะใช้สีเทาและดำเป็นหลักตลอดเวลา ทำไมต้องแบ่งชัดเจนแบบนั้น? ‘แมรี่’ อาศัยอยู่ในชนบท สีที่ใช้เป็นโทนสีสดใส แม้ชีวิตของ ‘แม่รี่’ จะไม่ได้สดใสตามสภาพที่เป็นอยู่ก็ตาม แต่สภาพแวดล้อมรอบตัวกลับเต็มไปด้วยผู้คนที่เป็นมิตร เพื่อนบ้านที่คอยดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองดูสะอาด ร่มเย็น แม้จะไม่มีเพื่อนในวัยเด็กแต่โตมาก็ยังมีเพื่อนบ้านที่ดีเสมอ สังคมนี้น่าอยู่และดูสดใส ผิดถนัดกับฝั่งของแม็กซ์ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยเศษขยะ กองขยะเต็มไปหมด ผู้คนไม่คุยกันและเห็นแก่ตัว ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างอยู่ โทนสีจึงเป็นโทนเทาดำที่ดูเศร้าหมอง แม็กซ์เพียงอาศัยคนเดียวในห้องอยู่กับปลาทองและเพื่อนในจินตนาการดูแล้วก็เข้าใจว่าหม่นหมองได้แค่ไหน
สุดท้าย Mary and Max คือภาพยนตร์ 'อนิเมชั่นสต๊อปโมชั่น' ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้ แม้จะเป็นหนังการ์ตูนแต่เรื่องราวทั้งหมดคงไม่เหมาะที่จะให้เด็กดู ด้วยโทนสีและเนื้อหาดูจะเหมาะสมกับผู้ใหญ่มากกว่า และสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราก้าวพ้นจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่เหมือนที่ ‘แมรี่’ ก้าวพ้นไปได้ในเรื่องก็คือ 'การกลับมารักตัวเอง' และเข้าใจอารมณ์ ความเหงา ความเศร้า การพลัดพราก ผนวกที่หนังพิถีพิถันที่จะจงใจใส่วิธีเสียดสีสังคมเมืองไว้อย่างแยบยล เพื่อให้เราคนดูเข้าใจและก้าวข้ามสิ่งต่างๆเหล่านั้นไปพร้อมกับตัวละคร ถึงแม้ว่าเรื่องราวระหว่าง 'แมรี่และแม็กซ์' จะไม่ได้สมหวังหรือจบลงแบบสวยงามก็ตาม สำหรับเราคงจะไม่เป็นไรเลย เพราะสำหรับเรานั้นตอนจบในชีวิตคงไม่ได้สวยงามถ้าเราไม่ได้เข้าใจความหมายของการมีชีวิตที่ผ่านมาได้มากพอ
ขอให้มีความสุขกับการดูหนังครับ
ตัวอย่างหนัง
ฝากกด like Page ด้วยนะครับ
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/