ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
23 เมษายน ค.ศ.1616 (401 ปีที่แล้ว) เราได้สูญเสียกวีเอกของโลก "วิลเลียม เชกสเปียร์" ไป
วิลเลียม เชกสเปียร์ เป็นชาวอังกฤษ ไม่ทราบวันเกิดแน่ชัด แต่เขาเข้าพิธีตั้งชื่อเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1564 หลายคนสันนิษฐานว่าเขาเกิดวันที่ 23 เมษายน บ้างก็ว่าที่เชื่อว่าเขาเกิดวันนั้นก็เพื่อให้พ้องกับวันตายของเขาคือ 23 เมษายน ค.ศ.1616
ปีที่แล้วห้องเพลง ได้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับวรรณกรรมชิ้นเอกของเขาคือ
โรเมโอกับจูเลียต (Romeo & Juliet) ไปแล้ว
https://ppantip.com/topic/35072217
ปีนี้ไปรู้จักวรรณกรรมชื่อดังที่เรารู้จักกันดีอีกเรื่องของเชกสเปียร์กันค่ะ นั่นคือเรื่อง
เวนิสวาณิช (The Merchant of Venice) หรือที่หมายถึงพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสนั่นเอง เรื่องนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459
เวนิสวาณิช The Merchant of Venice
เรื่องกล่าวถึงเศรษฐีชาวเบ็ลมอนต์ผู้หนึ่งมีลูกสาวแสนสวยและฉลาดชื่อนาง
ปอร์เชีย ก่อนตายเขาได้ตั้งกฎเลือกคู่ไว้ว่าหนุ่มใดจะสมรสกับปอร์เชียต้องเลือกหีบเสี่ยงทาย โดยมีหีบ 3 ใบ ผู้ใดเลือกได้หีบที่มีรูปของนางจะได้แต่งงานกับนาง
ขณะนั้น
บัสสานิโยชายหนุ่มเชื้อสายผู้ดีแต่ยากจนที่ตกหลุมรักปอร์เซีย ได้ขอยืมเงินอันโตนิโยเพื่อนสนิท 3,000 เหรียญ เพื่อเดินทางไปร่วมงานเลือกคู่ของปอร์เชีย
อันโตนิโยเป็นคนรักเพื่อน แต่ในตอนนั้นทรัพย์สินทั้งหมดอยู่ที่เรือสินค้าซึ่งจะมาถึงอีกไม่ช้า เขาจึงขอยืมเงินของ
ไชล็อกมาให้บัสสานิโย
ไชล็อกพ่อค้าหน้าเลือดนั้นมีจิตใจคิดร้ายและไม่ถูกกับอันโตนิโยมาแต่ต้น ไชล็อกจึงตกลงให้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ทำสัญญาว่า
หากถึงเวลาถ้าอันโตนิโยไม่สามารถใช้หนี้ได้จะต้องชดใช้โดยการ ให้ไชล็อกเชือดเนื้อหนัก 1 ปอนด์
ในที่สุดบัสสานิโยก็ได้ไปร่วมพิธีสมใจ หีบแต่ละใบจะมีข้อความว่าไว้ดังนี้
ใบที่หนึ่งเป็นทองผ่องพิลาศ, มีอักษรประกาศความไว้ว่า,
"เลือกจะได้ของดีมีราคา เป็นที่ปรารถนาแห่งหลายคน,"
ใบที่สองเป็นเงินน่าเพลินพิศ, มีลิขิตจารึกนึกฉงน,
"เลือกจะได้สิ่งของต้องกมล พอสมควรแก่ตนแน่ฉะนั้น,"
ใบที่สามเป็นตะกั่วมัวหนักหนา, มีเลขาดูเหมือนเตือนให้พรั่น,
"ถ้าใครเลือกต้องสละละโดยพลัน ทุกสิ่งสรรพ์บรรดาสาระมี."
ช่วงที่บัสสานิโยกำลังเลือกหีบนั้น มีบทกลอนที่หวานซึ้ง กินใจมากๆ
Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell.
สรุปว่าเจ้ามอร็อคโคเลือกหีบทองพบกระโหลกผี, เจ้าอาร์ระคอนเลือกหีบเงินพบตุ๊กตาจำอวด ส่วนบัสสานิโยเลือกหีบตะกั่วพบรูปของนางปอร์เชีย จึงได้แต่งงานกับนางสมใจ ทั้งคู่รักกันมาก
แต่แล้วเรือสินค้าของอันโตนิโยหายในทะเล จึงไม่มีเงินไปใช้หนี้ไชล็อก เมื่อนางปอร์เชียทราบเรื่องก็ยินดีที่จะให้เงินแก่บัสสานิโย 20 เท่า เพื่อนำไปใช้หนี้ไชล็อก แต่ไชล็อกที่แค้นฝังหุ่นอันโตนิโยก็ได้โอกาสจึงปฏิเสธ โดยยืนยันต้องให้แล่เนื้ออันโตนิโยเท่านั้น
ปอร์เชียจึงปลอมตัวเป็นเนติบัณฑิตเข้าว่าความช่วยเพื่อนรักของสามี
ปอร์เชีย วาดโดย Henry Woods (English, 1846-1921)
เบื้องต้นปอร์เชียขอให้ไชล็อกใช้ความกรุณา แต่ไชล็อกกลับกล่าวว่าจะบังคับกันหรือ และนี่คือคำพูดของปอร์เชีย เป็นบทที่มีชื่อเสียงตรึงใจคนทั้งโลก
เมื่อไชล็อกยึดความแค้นส่วนตัวยืนกรานจะแล่เนื้ออันโตนิโย ปอร์เชียจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้แล่เนื้อได้ แต่ห้ามให้มีโลหิตติด และไม่ให้น้ำหนักขาดหรือเกิน เพราะในสัญญากล่าวเพียงเนื้อหนัก 1 ปอนด์เท่านั้น หากไม่ได้ตามนี้ไชล็อกก็จะถูกประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์
ไชล็อกรู้ว่าไม่อาจทำดังนั้นได้ จึงต้องยอมแพ้ไป สุดท้ายเรื่องราวจึงจบลงด้วยดี
ขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพประกอบ
http://oknation.nationtv.tv/blog/BookSuparak/2013/06/18/entry-1
http://talk.mthai.com/topic/93552
http://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2008/09/K7043622/K7043622.html
....................................................................
โลกเราน่าอยู่เพราะมีความรัก ความยุติธรรม และความเมตตากรุณา เป็นที่ตั้ง
คนที่จมปลักอยู่แต่ความแค้น คิดบิดเบือนระบบยุติธรรม
หรือหวังใช้ประโยชน์จากกฎหมายเป็นเครื่องมือโดยปราศจากเมตตาธรรม สุดท้ายต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง
ความรัก - ชรินทร์ & สวลี
https://www.youtube.com/watch?v=T_-C_Sfjb7o
ญ. ความเอ๋ยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างดวงใจ
หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง
อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ถ้วนถี่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงระตี
ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
ช. ตอบเอ๋ยตอบถ้อย
เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้
เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร
เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน
ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 23/4/2017 (ความกรุณาปรานีจะมีใครบังคับก็หาไม่)
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
23 เมษายน ค.ศ.1616 (401 ปีที่แล้ว) เราได้สูญเสียกวีเอกของโลก "วิลเลียม เชกสเปียร์" ไป
วิลเลียม เชกสเปียร์ เป็นชาวอังกฤษ ไม่ทราบวันเกิดแน่ชัด แต่เขาเข้าพิธีตั้งชื่อเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1564 หลายคนสันนิษฐานว่าเขาเกิดวันที่ 23 เมษายน บ้างก็ว่าที่เชื่อว่าเขาเกิดวันนั้นก็เพื่อให้พ้องกับวันตายของเขาคือ 23 เมษายน ค.ศ.1616
ปีที่แล้วห้องเพลง ได้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับวรรณกรรมชิ้นเอกของเขาคือ โรเมโอกับจูเลียต (Romeo & Juliet) ไปแล้ว
https://ppantip.com/topic/35072217
ปีนี้ไปรู้จักวรรณกรรมชื่อดังที่เรารู้จักกันดีอีกเรื่องของเชกสเปียร์กันค่ะ นั่นคือเรื่องเวนิสวาณิช (The Merchant of Venice) หรือที่หมายถึงพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสนั่นเอง เรื่องนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459
เวนิสวาณิช The Merchant of Venice
เรื่องกล่าวถึงเศรษฐีชาวเบ็ลมอนต์ผู้หนึ่งมีลูกสาวแสนสวยและฉลาดชื่อนางปอร์เชีย ก่อนตายเขาได้ตั้งกฎเลือกคู่ไว้ว่าหนุ่มใดจะสมรสกับปอร์เชียต้องเลือกหีบเสี่ยงทาย โดยมีหีบ 3 ใบ ผู้ใดเลือกได้หีบที่มีรูปของนางจะได้แต่งงานกับนาง
ขณะนั้นบัสสานิโยชายหนุ่มเชื้อสายผู้ดีแต่ยากจนที่ตกหลุมรักปอร์เซีย ได้ขอยืมเงินอันโตนิโยเพื่อนสนิท 3,000 เหรียญ เพื่อเดินทางไปร่วมงานเลือกคู่ของปอร์เชีย
อันโตนิโยเป็นคนรักเพื่อน แต่ในตอนนั้นทรัพย์สินทั้งหมดอยู่ที่เรือสินค้าซึ่งจะมาถึงอีกไม่ช้า เขาจึงขอยืมเงินของไชล็อกมาให้บัสสานิโย
ไชล็อกพ่อค้าหน้าเลือดนั้นมีจิตใจคิดร้ายและไม่ถูกกับอันโตนิโยมาแต่ต้น ไชล็อกจึงตกลงให้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ทำสัญญาว่าหากถึงเวลาถ้าอันโตนิโยไม่สามารถใช้หนี้ได้จะต้องชดใช้โดยการ ให้ไชล็อกเชือดเนื้อหนัก 1 ปอนด์
ในที่สุดบัสสานิโยก็ได้ไปร่วมพิธีสมใจ หีบแต่ละใบจะมีข้อความว่าไว้ดังนี้
ใบที่หนึ่งเป็นทองผ่องพิลาศ, มีอักษรประกาศความไว้ว่า,
"เลือกจะได้ของดีมีราคา เป็นที่ปรารถนาแห่งหลายคน,"
ใบที่สองเป็นเงินน่าเพลินพิศ, มีลิขิตจารึกนึกฉงน,
"เลือกจะได้สิ่งของต้องกมล พอสมควรแก่ตนแน่ฉะนั้น,"
ใบที่สามเป็นตะกั่วมัวหนักหนา, มีเลขาดูเหมือนเตือนให้พรั่น,
"ถ้าใครเลือกต้องสละละโดยพลัน ทุกสิ่งสรรพ์บรรดาสาระมี."
ช่วงที่บัสสานิโยกำลังเลือกหีบนั้น มีบทกลอนที่หวานซึ้ง กินใจมากๆ
Tell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell.
สรุปว่าเจ้ามอร็อคโคเลือกหีบทองพบกระโหลกผี, เจ้าอาร์ระคอนเลือกหีบเงินพบตุ๊กตาจำอวด ส่วนบัสสานิโยเลือกหีบตะกั่วพบรูปของนางปอร์เชีย จึงได้แต่งงานกับนางสมใจ ทั้งคู่รักกันมาก
แต่แล้วเรือสินค้าของอันโตนิโยหายในทะเล จึงไม่มีเงินไปใช้หนี้ไชล็อก เมื่อนางปอร์เชียทราบเรื่องก็ยินดีที่จะให้เงินแก่บัสสานิโย 20 เท่า เพื่อนำไปใช้หนี้ไชล็อก แต่ไชล็อกที่แค้นฝังหุ่นอันโตนิโยก็ได้โอกาสจึงปฏิเสธ โดยยืนยันต้องให้แล่เนื้ออันโตนิโยเท่านั้น
ปอร์เชียจึงปลอมตัวเป็นเนติบัณฑิตเข้าว่าความช่วยเพื่อนรักของสามี
ปอร์เชีย วาดโดย Henry Woods (English, 1846-1921)
เบื้องต้นปอร์เชียขอให้ไชล็อกใช้ความกรุณา แต่ไชล็อกกลับกล่าวว่าจะบังคับกันหรือ และนี่คือคำพูดของปอร์เชีย เป็นบทที่มีชื่อเสียงตรึงใจคนทั้งโลก
It droppeth as the gentle rain from heaven
ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์แปลไว้อย่างไพเราะจับใจว่า..
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
เมื่อไชล็อกยึดความแค้นส่วนตัวยืนกรานจะแล่เนื้ออันโตนิโย ปอร์เชียจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้แล่เนื้อได้ แต่ห้ามให้มีโลหิตติด และไม่ให้น้ำหนักขาดหรือเกิน เพราะในสัญญากล่าวเพียงเนื้อหนัก 1 ปอนด์เท่านั้น หากไม่ได้ตามนี้ไชล็อกก็จะถูกประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์
ไชล็อกรู้ว่าไม่อาจทำดังนั้นได้ จึงต้องยอมแพ้ไป สุดท้ายเรื่องราวจึงจบลงด้วยดี
ขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพประกอบ
http://oknation.nationtv.tv/blog/BookSuparak/2013/06/18/entry-1
http://talk.mthai.com/topic/93552
http://topicstock.ppantip.com/library/topicstock/2008/09/K7043622/K7043622.html
....................................................................
โลกเราน่าอยู่เพราะมีความรัก ความยุติธรรม และความเมตตากรุณา เป็นที่ตั้ง
คนที่จมปลักอยู่แต่ความแค้น คิดบิดเบือนระบบยุติธรรม
หรือหวังใช้ประโยชน์จากกฎหมายเป็นเครื่องมือโดยปราศจากเมตตาธรรม สุดท้ายต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง
ความรัก - ชรินทร์ & สวลี
https://www.youtube.com/watch?v=T_-C_Sfjb7o
ญ. ความเอ๋ยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างดวงใจ
หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง
อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ถ้วนถี่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงระตี
ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
ช. ตอบเอ๋ยตอบถ้อย
เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้
เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร
เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน
ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย