กรุงเทพและไทยเคยได้ชื่อว่าเป็นเวนิสตะวันออก กรุงเทพฯคือศูยน์กลางของประเทศเราสังคมเรา หากสังคมเรามีความแปรปรวนไป ก็เป็นสิ่งที่มักเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ปกติในกรุงเทพฯนั้นเอง แต่เวลานี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผมนึกบทละครพระราชนิพนธ์เรื่อง "เวนิสวาณิช"
เรื่องเวนิสวาณิชเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่แปลและแต่งมาจากเรื่อง "the merchant of venice" ของ "วิลเลียม เชกสเปียร์" ผู้มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ แต่งขึ้นในค.ศ.1595-1597 ในเนื้อเรื่องนอกจากจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาว ความรักต่อเพื่อน ยังกล่าวถึงความยุติธรรมและไหวพริบของนางเอกในเรื่อง
ในส่วนที่เกี่ยวกับความยุติธรรม บทละครเวนิสวาณิชนั้น เป็นเรื่องที่ บัสสานิโยซึ่งชอบอยู่กับ
นางเปอร์เชีย(นางเอก)จึงคิดจะไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย อันโตนิโยซึ่งมีเงินไม่มาก จึงไปขอยืมเงิน
"ไชล็อก" พ่อค้าเงินกู้หน้าเลือดชาวยิว ผู้เป็นศัตรูของอันโตนิโย จำนวน3,000เหรียญ แต่มีเงื่อนไขว่า
"หากอันโตนิโยหาเงินมาคืนภายใน3เดือนไม่ได้ ข้าก็จะขอเนื้อ1ปอนด์จากร่างกายอันโตนิโย"
เรือสินค้าของอันโตนิโยอับปาง อันโตนิโยไม่มีเงินจะไปจ่ายไชล็อคตามสัญญา บัสสานิโยจึงนำเรื่องไปบอกแก่นางเปอร์เชีย นางจึงมอบเงินแก่บัสสานิโย20เท่าเพื่อนำไปใช้หนี้ไชล็อก แต่ไชล็อกไม่ต้องการ เพราะในในคิดว่านี้เป็นโอกาสดีที่จะได้แก้แค้นอันโตนิโยที่เคยด่าว่าและทำร้ายตน
นางเปอร์เชียจึงตัดสินใจปลอมตัวเป็นบัลถะสาร์ททนายความมาช่วยว่าความให้ ในคดีนั้นนางกล่าวว่า
"ไชล็อกสามารถตัดเนื้อไปจากร่างกายอันโตนิโยได้ แต่ห้ามนำเลือดจากตัวอันโตนิโยไปแม้แต่หยดเดียว เพราะนั่นไม่มีในสัญญา และถ้าทำเช่นนั้นจะถูกริบทรัพย์ และถ้าตัดเนื้อน้อยหรือมากว่า1ปอนด์ที่ตกลงไว้ ก็จะถูกประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์"
ไชล็อกจึงยอมแพ้และขอลากลับบ้าน เพราะรู้ว่าอย่างไรตนก็ต้องแพ้ความ เพราะไม่อาจจะตัดเนื้อออกไปโดยไม่ให้มีเลือดอันโตนิโอติดไปได้ และไม่อาจจะตัดให้พอดีไม่น้อยหรือมากว่า1ปอนด์ที่ตกลงไว้ ทำแบบนั้นไม่ได้
ฉันใดก็ฉันนั้น การที่สังคมหนึ่งๆ จะลงโทษผู้คนในสังคม
โดยมิใช่กระบวนการยุติธรรม แต่ตัดสินกันเอาเองแล้วบังคับให้เป็นไปตามนั้น .......มันเป็นธรรมแล้วหรือ หากแม้เขาผิดจริง แต่รู้ได้อย่างไรว่าเขาต้องชำระเท่านั้นเท่านี้บาท คิดมาจากไหนกัน จำเลยได้มีโอกาสต่อสูคดีหรือไม่ ที่น่าสนใจ หากคิดผิดพลาดไป คิดเกินหรือคิดขาดไปอย่างกรณีไชล็อคนั้น ทำไมจึงไม่ต้องรับโทษ และเช่นนี้จะมีควาเมป็นธรรมดังเวนิสวาณิช ในบทพระราชนิพนธ์หรือ ?
ขอทิ้งท้ายบทกลอนอันเลื่องลือในบทละครนี้ บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือ
The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven
ทรงพระราชนิพนธ์แปลความได้ว่า
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
.......
หากจะไม่กรุณาไม่ปราณีก็ไม่เป็นไรครับ แต่ขอให้มีความเป็นธรรมอย่างในเวนิสวาณิชด้วยเถอะครับ เพื่อความสงบสุขของสังคมเราครับ
۞۞۞۞ :: ขอรู้สึกเศร้าใจกับเวนิสแห่งตะวันออกครับ ::۞۞۞۞ ไทโรครับ
เรื่องเวนิสวาณิชเป็นบทพระราชนิพนธ์ที่แปลและแต่งมาจากเรื่อง "the merchant of venice" ของ "วิลเลียม เชกสเปียร์" ผู้มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ แต่งขึ้นในค.ศ.1595-1597 ในเนื้อเรื่องนอกจากจะกล่าวถึงความรักของหนุ่มสาว ความรักต่อเพื่อน ยังกล่าวถึงความยุติธรรมและไหวพริบของนางเอกในเรื่อง
ในส่วนที่เกี่ยวกับความยุติธรรม บทละครเวนิสวาณิชนั้น เป็นเรื่องที่ บัสสานิโยซึ่งชอบอยู่กับนางเปอร์เชีย(นางเอก)จึงคิดจะไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย อันโตนิโยซึ่งมีเงินไม่มาก จึงไปขอยืมเงิน"ไชล็อก" พ่อค้าเงินกู้หน้าเลือดชาวยิว ผู้เป็นศัตรูของอันโตนิโย จำนวน3,000เหรียญ แต่มีเงื่อนไขว่า "หากอันโตนิโยหาเงินมาคืนภายใน3เดือนไม่ได้ ข้าก็จะขอเนื้อ1ปอนด์จากร่างกายอันโตนิโย"
เรือสินค้าของอันโตนิโยอับปาง อันโตนิโยไม่มีเงินจะไปจ่ายไชล็อคตามสัญญา บัสสานิโยจึงนำเรื่องไปบอกแก่นางเปอร์เชีย นางจึงมอบเงินแก่บัสสานิโย20เท่าเพื่อนำไปใช้หนี้ไชล็อก แต่ไชล็อกไม่ต้องการ เพราะในในคิดว่านี้เป็นโอกาสดีที่จะได้แก้แค้นอันโตนิโยที่เคยด่าว่าและทำร้ายตน
นางเปอร์เชียจึงตัดสินใจปลอมตัวเป็นบัลถะสาร์ททนายความมาช่วยว่าความให้ ในคดีนั้นนางกล่าวว่า
"ไชล็อกสามารถตัดเนื้อไปจากร่างกายอันโตนิโยได้ แต่ห้ามนำเลือดจากตัวอันโตนิโยไปแม้แต่หยดเดียว เพราะนั่นไม่มีในสัญญา และถ้าทำเช่นนั้นจะถูกริบทรัพย์ และถ้าตัดเนื้อน้อยหรือมากว่า1ปอนด์ที่ตกลงไว้ ก็จะถูกประหารชีวิตและถูกริบทรัพย์"
ไชล็อกจึงยอมแพ้และขอลากลับบ้าน เพราะรู้ว่าอย่างไรตนก็ต้องแพ้ความ เพราะไม่อาจจะตัดเนื้อออกไปโดยไม่ให้มีเลือดอันโตนิโอติดไปได้ และไม่อาจจะตัดให้พอดีไม่น้อยหรือมากว่า1ปอนด์ที่ตกลงไว้ ทำแบบนั้นไม่ได้
ฉันใดก็ฉันนั้น การที่สังคมหนึ่งๆ จะลงโทษผู้คนในสังคมโดยมิใช่กระบวนการยุติธรรม แต่ตัดสินกันเอาเองแล้วบังคับให้เป็นไปตามนั้น .......มันเป็นธรรมแล้วหรือ หากแม้เขาผิดจริง แต่รู้ได้อย่างไรว่าเขาต้องชำระเท่านั้นเท่านี้บาท คิดมาจากไหนกัน จำเลยได้มีโอกาสต่อสูคดีหรือไม่ ที่น่าสนใจ หากคิดผิดพลาดไป คิดเกินหรือคิดขาดไปอย่างกรณีไชล็อคนั้น ทำไมจึงไม่ต้องรับโทษ และเช่นนี้จะมีควาเมป็นธรรมดังเวนิสวาณิช ในบทพระราชนิพนธ์หรือ ?
ขอทิ้งท้ายบทกลอนอันเลื่องลือในบทละครนี้ บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือ
It droppeth as the gentle rain from heaven
ทรงพระราชนิพนธ์แปลความได้ว่า
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
.......
หากจะไม่กรุณาไม่ปราณีก็ไม่เป็นไรครับ แต่ขอให้มีความเป็นธรรมอย่างในเวนิสวาณิชด้วยเถอะครับ เพื่อความสงบสุขของสังคมเราครับ