พระราชพิธีสิบสองเดือน (พิธีทวาทศมาส )เป็นพิธีมหามงคล..ที่ที่มีมาแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี.จวบ..จนมาถึงรัชสมัยราชวงศ์จักรี ..พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก . มาตั้งราชธานีใหม่..ประเพณีพิธีได้สืบทอดกล่าวให้ดำรงอยู่ ..เพราะเป็นสิ่งหนึ่งข้าราชการ และประชาชนทุกหมู่เหล่า....ในการบำรุงขวัญและกำลังใจ และสร้างสิริมงคลชีวิต..ชาวไทย
...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ .ก็ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น .. ทรงมีพระราชดำริปฏิสังขรณ์ ความเหมาะสมของประเพณีใหม่..และ..เก่า เข้าด้วยกัน. ดังกลอนโคลงพระราชพิธีทวาทศมาส ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา.. กรมพระยาบำราบปรปักษ์
.
..ในแผ่นดินต่อมา คือ.. รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ก็ทรงสนพระทัยในเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน อย่างจริงจัง.. ได้ทรงศึกษา และ จัดทำพระราชนิพนธ์..เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนขึ้น..
โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์( พระราชโอรส รัชกาลที่2 ) (โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงนิพนธ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เนื้อความกล่าวพรรณนา ถึงพระราชพิธีต่างๆ ทั้ง ๑๒ เดือน ..โดยละเอียดได้ความชัดเจนอย่างยิ่ง รวมถึงพิธีและนักขัตฤกษ์ต่างๆ ที่ชาวบ้านได้ปฏิบัติ..จนเป็นประเพณีทำให้เห็นภาพการดำเนินชีวิต...ของชาวเมืองในสยาม(กรุงเทพฯ )สมัยก่อนนั้นได้อย่างดี โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส.. ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๐๙ )ยกมาเป็นตัวอย่างบางบท ดังเช่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2411–2453)
ทรงเขียนและถูกตีพิมพ์เป็น หนังสือร้อยแก้วชื่อ.. พระราชพิธีสิบสองเดือน ใน พ.ศ. 2431 และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453–2468) ทรงปรับปรุงและพัฒนาพระราชพิธีหลายอัน
ภาพจากจิตรฝาผนัง ในวัดราษฎรประดิษฐมหาสีมาราม พระราชพิธี12เดือน
พระราชพิธีเหล่านี้ถูกยกเลิกหลังยุบเลิกไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงจากคณะราษฎร. ในการปฎิรูปการปกครอง ..และ หลังจากรัชกาลที่ 7 ทรงสละพระราชสมบัติ..ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ.....จนน่าเสียดาย..เกือบสูญหายไป.....
...บทโคลงโคลง.พระราชพิธีทวาทศมาส( พิธีสิบสองเดือน) .ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา. กรมพระยาบำราบปรปักษ์( ที่กล่าว กล่าวถึง........
เดือน ๕ ( เมษายน)( ขึ้นปีใหม่ ฉลองปีใหม่ไทย)
กำหนดสุริยยาตรเยื้อง รอบจักร
เป็นที่เปลี่ยนศักราช ใหม่ได้
ขึ้นสู่เมศราษีพรัก พร้อมนับ ถือนา
บังคับแห่งโหรให้ เรียกรู้ ทั่วแดน
วันเถลิงขึ้นศกใหม่ มีการ
ตั้งมุรธาภิเศกสนาน ราชไท้
มวญหมู่เหล่าพนักงาน ถวายโสรจ สรงนา
เตรียมอยู่คอยรับใช้ พรักพร้อมเพรียงกัน
เดือน ๖ ...( พิธีแรกนาขวัญ ) ( การโปรยหว่านธัญพืช, การเสี่ยงทายโค)
วิศาขมาศได้ฤกษ์ทั้ง ดฤถี นาพ่อ
กำหนดเมล็ดรวงดี ถูกต้อง
ตั้งการราชพิธี จรดพระ นังคัลนา
ทั้งพืชมงคลพ้อง แทรกซ้ำทรงเติม
ชายหญิงเบียดเสียดซ้อน ดูไถ นาเฮย
ไกลเท่าไกลมาใน ที่นั้น
ยากเหนื่อยอย่างไรไร รีบเร่ง มาแฮ
พงรกสู้ดัดดั้น ดิ่งด้นมาดู
เดือน ๗ .... ( หาบของถวายทานพระสงฆ์ ) ( พิธีหล่อเทียนพรรษา(เพิ่มเติมมา)
ในเดือนเชษฐมาศนั้น ฤามี
การพระราชพิธีใด ว่างเว้น
ให้จัดเหล่านารี หาบสลาก ภัตรนา
แต่งประกวดอวดเหล้น หลากล้วนควรดู
ถึงวัดราชบพิธแล้ว ปลงลง
ดูเลือกฉลากสงฆ์ ถูกต้อง
ยกขึ้นประเคนองค์ ละที่ แลแฮ
ฉันเสร็จชนแซ่ซ้องตรวจน้ำสาธุการ
เดือน ๘ ... ( วันเข้าพรรษา, ถวายเทียนพรรษา)
อาสาฬหมาศเข้า พรรษา กาลแฮ
เชื้อพระวงษ์ราชา ธิราชไท้
เพื่อประโยชน์ทรงสิกขา บทพระ ภิกษุแฮ
อิกกับสามเณรให้ แห่บ้างบางปี
เกณฑ์พระวงษ์เยาวหนุ่มน้อยเนื่องมา
รับจุดเทียนพรรษา ทั่วทั้ง
วัดหลวงแต่บรรดาได้พระกฐินเฮย
จ่ายแจกเทียนไปตั้ง ทุกถ้วนอาราม
เดือน ๙... (พิธีสวดมนต์ขอฝน ท้องสนามหลวง)
จันทร์จรเพ็ญได้ฤกษ์ สาวนะ
ยามเมื่อฝนตกชะ ชุ่มพื้น
ดลแรมย่อมพรมปะ น้อยน่อย หนึ่งนา
เข้าหนักนาดอนตื้น ขาดค้างการทำ
กำหนดพรุณสาตรซ้อง พิธีสงฆ์
สูตเมฆพราหมณ์พรหมพงษ์ แต่งตั้ง
การสองราชพิธีตรง วันร่วม กันเฮย
ทำที่นอกเมืองทั้ง ..ทุ่งท้องสนามหลวง
เดือน ๑๐...( วันสารท ,ทำบุญไหว้ บรรพบุรุษ)
วันสารทเหล่าราษฎร์ได้ ทำนาน
บิณฑบาตภัตตาหาร อื่นบ้าง
ทำตามบุราณกาล จารีต มานา
ฟังเทศน์ถือศีลสร้าง ก่อกู้ผดุงผล
อัศวยุชสี่ค่ำขึ้น มีการ แลแฮ
ชื่อคเชนทรัศวสนาน.. อีกเหล้า
สงฆ์สวดพฤฒาจารย์ ทอดเชือก
วันรุ่งห้าค่ำเช้า จึ่งได้ตามฉัน
เดือน ๑๑ ... ( ถวายผ้ากฐินหลวง ทางน้ำ,ทางบก ), ลอยกระทง
ลอยประทีปถ้วนครบทั้ง สามวาร
ปวงประชาเขษมสานต์ ทุกผู้
ภิกษุปวารณากาล วันสิบ ห้าเฮย
เข้าเขตรกฐินรู้ เร่งร้อนตระเตรียม
ดลแรมแปดค่ำตั้ง ตามจา รีตเฮย
เสด็จพยุหยาตราคลา คลาศเต้า
สถลมารคกำหนดอ วาศใหญ่ แลแฮ
ถวายกฐินแด่เจ้า ภิกษุรั้งแรมฝน
( ภาพ จิตรกรรม จากวัดเสนา อยุธยา)
เดือน ๑๒ .. ( ถวายโคมไฟ บูชา) ประดับประดาไฟ
ดลเดือนกรรดึกตั้ง จองเปรียง
ไชยคู่ประเทียบเคียง สี่ต้น
ทั้งโคมบริวารเรียง รายรอบ สนามพ่อ
อีกรอบกำแพงพ้น พร่ำพร้องและหลาย
อาณาประชาราษฎร์ทั้ง พระวงษ์
ชีพ่อพฤฒิพรหมพงษ์ กอบรู้
อีกกับภิกษุสงฆ์ สถิตย์วัด แลแฮ
ต่างชักโคมทั่วผู้ ส่องฟ้า เรืองแสง
การลอยประทีปนั้น พันพรหม ราชเอย
หมายบอกล้อมวงรดม ทั่วผู้
พลเรือนทหารกรม ท่าอีก นาพ่อ
ทอดทุ่นใหญ่น้อยรู้ ที่ตั้ง ทุกกอง
ดาดาษกลาดเกลื่อนกลุ้ม เรือดู
อึงลั่นสนั่นหู ไม่น้อย
แซกเบียดเสียดเกรียวกรู ชิงช่อง ขึ้นแฮ
แม้จักนับว่าร้อย ยึดท้าย เป็นพวง
เดือนอ้าย.. (ทำบุญทอดผ้าป่า , เทศน์มหาชาติ, ถวายขนมเบื้องพระ, การเก็บผลผลิตข้าว)
กาฬปักษ์กติกมาศถ้วน บัณรสะ สารเฮย
ผ้าป่ามิใคร่จะ ว่างเว้น
เริ่มทำริทอดพระ สง์ชอบ คุ้นแฮ กอบก่อต่อการเหล้น เลือกล้วนควรมี
บ้างมีมหาชาติทั้ง คาถา พันเอย
มีที่บ้านศาลา มีที่บ้านศาลา
จ่ายกันแจกฎีกา ตามพวก พ้อพ่อ
หวังประโยชน์สืบสร้าง เพื่อพ้องเมตไตรย
เที่ยวทุ่งคราวเมื่อครั้ง น่านชล
เป็นที่เปรมใจคน ไพร่ฟ้า
หว่านพืชเกิดรวงผล เต็มภาค ภูมพ่อ
สมประโยชน์ทั่วหล้า หลีกพ้นไภยแพง
ในราชนิเวศน์เจ้า จอมกษัตริย์
วันสุริยออกสุดปัด กลับเยื้อง
ส่ำสงฆ์เหล่าปริยัติ สมถะ อีกเอย
แปดสิบฉันขนมเบื้อง หนึ่งครั้งคราวปี
เดือนอ้ายนี้สิ้นราช การหลวง
การนอกชนทั้งปวง ว่างเว้น
ไร่นาที่ออกรวง เก็บเกี่ยว บ้างนา
ลงแขกนัดกันเหล้น ขับร้องตามสบาย
เดือนยี่ . (พิธีโล้ชิงช้า, ตรียัมปวาย)(
บุษยมาศเจ็ดค่ำขึ้น กำหนด
การพิธีพรหมพรต ใหญ่ล้น
ตรียัมพะวายหมด แรมค่ำ หนึ่งนา
แรมค่ำหนึ่งเป็นต้น อีกห้าปาวาย
สี่คนนั้นจึ่งขึ้น ขดานโยน
ยันเหยียบรุนแรงโหน หกตั้ง สาม กลับน่ากลัวโดน เสาผูก เงินพ่อ
ปากคาบไวไป่ยั้ง ยากแท้ ดีจริง
........................
ครั้นมาถึงรัชสมัย.. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ( รัชกาลที่9)
พอมาถึง ใน พ.ศ. 2475 แต่มีพระราชพิธี..ได้รับการรื้อฟิ้น...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ( รัชกาลที่9) ในหลวงภูมิพล..ได้ดำริ และ รื้อฟื้นฟู พระราชพิธีมหามงคล สิบสองเดือน..พระราชพิธี12เดือน กลับมาอีกครั้ง
และ สืบสานต่อมา จนถึงรัชสมัย รัชกาลที่ 10 จนถึงปัจจุบัน....
เป็นพระราชพิธีมมงคลของไทย..ที่ถือเป็น..มรดกทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียวไทย.....ที่สู่สายตาชาวโลก
... เล่าสู่กันฟัง(ฉบับย่อ) ...ช่างไก่
ขอบคุณครับ.
ขอบคุณแหล่งข้อมูล, ภาพ : หอสมุดแห่งชาติ จันทบุรี, กรมศิลปากร,ศิลปะวัฒนธรรม, มติชน,ละเพจที่เกี่ยวข้อง
พระราชพิธี 12 เดือน....ของคนไทย หนึ่งเดียวในโลก. .... ..เล่าสู่กันฟัง...
พระราชพิธีสิบสองเดือน (พิธีทวาทศมาส )เป็นพิธีมหามงคล..ที่ที่มีมาแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี.จวบ..จนมาถึงรัชสมัยราชวงศ์จักรี ..พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก . มาตั้งราชธานีใหม่..ประเพณีพิธีได้สืบทอดกล่าวให้ดำรงอยู่ ..เพราะเป็นสิ่งหนึ่งข้าราชการ และประชาชนทุกหมู่เหล่า....ในการบำรุงขวัญและกำลังใจ และสร้างสิริมงคลชีวิต..ชาวไทย
...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ .ก็ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น .. ทรงมีพระราชดำริปฏิสังขรณ์ ความเหมาะสมของประเพณีใหม่..และ..เก่า เข้าด้วยกัน. ดังกลอนโคลงพระราชพิธีทวาทศมาส ของ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา.. กรมพระยาบำราบปรปักษ์
.
..ในแผ่นดินต่อมา คือ.. รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
ก็ทรงสนพระทัยในเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน อย่างจริงจัง.. ได้ทรงศึกษา และ จัดทำพระราชนิพนธ์..เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนขึ้น..
โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์( พระราชโอรส รัชกาลที่2 ) (โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงนิพนธ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เนื้อความกล่าวพรรณนา ถึงพระราชพิธีต่างๆ ทั้ง ๑๒ เดือน ..โดยละเอียดได้ความชัดเจนอย่างยิ่ง รวมถึงพิธีและนักขัตฤกษ์ต่างๆ ที่ชาวบ้านได้ปฏิบัติ..จนเป็นประเพณีทำให้เห็นภาพการดำเนินชีวิต...ของชาวเมืองในสยาม(กรุงเทพฯ )สมัยก่อนนั้นได้อย่างดี โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส.. ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๐๙ )ยกมาเป็นตัวอย่างบางบท ดังเช่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2411–2453)
ทรงเขียนและถูกตีพิมพ์เป็น หนังสือร้อยแก้วชื่อ.. พระราชพิธีสิบสองเดือน ใน พ.ศ. 2431 และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453–2468) ทรงปรับปรุงและพัฒนาพระราชพิธีหลายอัน
ภาพจากจิตรฝาผนัง ในวัดราษฎรประดิษฐมหาสีมาราม พระราชพิธี12เดือน
พระราชพิธีเหล่านี้ถูกยกเลิกหลังยุบเลิกไป หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงจากคณะราษฎร. ในการปฎิรูปการปกครอง ..และ หลังจากรัชกาลที่ 7 ทรงสละพระราชสมบัติ..ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ.....จนน่าเสียดาย..เกือบสูญหายไป.....
...บทโคลงโคลง.พระราชพิธีทวาทศมาส( พิธีสิบสองเดือน) .ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา. กรมพระยาบำราบปรปักษ์( ที่กล่าว กล่าวถึง........
เดือน ๕ ( เมษายน)( ขึ้นปีใหม่ ฉลองปีใหม่ไทย)
กำหนดสุริยยาตรเยื้อง รอบจักร
เป็นที่เปลี่ยนศักราช ใหม่ได้
ขึ้นสู่เมศราษีพรัก พร้อมนับ ถือนา
บังคับแห่งโหรให้ เรียกรู้ ทั่วแดน
วันเถลิงขึ้นศกใหม่ มีการ
ตั้งมุรธาภิเศกสนาน ราชไท้
มวญหมู่เหล่าพนักงาน ถวายโสรจ สรงนา
เตรียมอยู่คอยรับใช้ พรักพร้อมเพรียงกัน
เดือน ๖ ...( พิธีแรกนาขวัญ ) ( การโปรยหว่านธัญพืช, การเสี่ยงทายโค)
วิศาขมาศได้ฤกษ์ทั้ง ดฤถี นาพ่อ
กำหนดเมล็ดรวงดี ถูกต้อง
ตั้งการราชพิธี จรดพระ นังคัลนา
ทั้งพืชมงคลพ้อง แทรกซ้ำทรงเติม
ชายหญิงเบียดเสียดซ้อน ดูไถ นาเฮย
ไกลเท่าไกลมาใน ที่นั้น
ยากเหนื่อยอย่างไรไร รีบเร่ง มาแฮ
พงรกสู้ดัดดั้น ดิ่งด้นมาดู
เดือน ๗ .... ( หาบของถวายทานพระสงฆ์ ) ( พิธีหล่อเทียนพรรษา(เพิ่มเติมมา)
ในเดือนเชษฐมาศนั้น ฤามี
การพระราชพิธีใด ว่างเว้น
ให้จัดเหล่านารี หาบสลาก ภัตรนา
แต่งประกวดอวดเหล้น หลากล้วนควรดู
ถึงวัดราชบพิธแล้ว ปลงลง
ดูเลือกฉลากสงฆ์ ถูกต้อง
ยกขึ้นประเคนองค์ ละที่ แลแฮ
ฉันเสร็จชนแซ่ซ้องตรวจน้ำสาธุการ
เดือน ๘ ... ( วันเข้าพรรษา, ถวายเทียนพรรษา)
อาสาฬหมาศเข้า พรรษา กาลแฮ
เชื้อพระวงษ์ราชา ธิราชไท้
เพื่อประโยชน์ทรงสิกขา บทพระ ภิกษุแฮ
อิกกับสามเณรให้ แห่บ้างบางปี
เกณฑ์พระวงษ์เยาวหนุ่มน้อยเนื่องมา
รับจุดเทียนพรรษา ทั่วทั้ง
วัดหลวงแต่บรรดาได้พระกฐินเฮย
จ่ายแจกเทียนไปตั้ง ทุกถ้วนอาราม
เดือน ๙... (พิธีสวดมนต์ขอฝน ท้องสนามหลวง)
จันทร์จรเพ็ญได้ฤกษ์ สาวนะ
ยามเมื่อฝนตกชะ ชุ่มพื้น
ดลแรมย่อมพรมปะ น้อยน่อย หนึ่งนา
เข้าหนักนาดอนตื้น ขาดค้างการทำ
กำหนดพรุณสาตรซ้อง พิธีสงฆ์
สูตเมฆพราหมณ์พรหมพงษ์ แต่งตั้ง
การสองราชพิธีตรง วันร่วม กันเฮย
ทำที่นอกเมืองทั้ง ..ทุ่งท้องสนามหลวง
เดือน ๑๐...( วันสารท ,ทำบุญไหว้ บรรพบุรุษ)
วันสารทเหล่าราษฎร์ได้ ทำนาน
บิณฑบาตภัตตาหาร อื่นบ้าง
ทำตามบุราณกาล จารีต มานา
ฟังเทศน์ถือศีลสร้าง ก่อกู้ผดุงผล
อัศวยุชสี่ค่ำขึ้น มีการ แลแฮ
ชื่อคเชนทรัศวสนาน.. อีกเหล้า
สงฆ์สวดพฤฒาจารย์ ทอดเชือก
วันรุ่งห้าค่ำเช้า จึ่งได้ตามฉัน
เดือน ๑๑ ... ( ถวายผ้ากฐินหลวง ทางน้ำ,ทางบก ), ลอยกระทง
ลอยประทีปถ้วนครบทั้ง สามวาร
ปวงประชาเขษมสานต์ ทุกผู้
ภิกษุปวารณากาล วันสิบ ห้าเฮย
เข้าเขตรกฐินรู้ เร่งร้อนตระเตรียม
ดลแรมแปดค่ำตั้ง ตามจา รีตเฮย
เสด็จพยุหยาตราคลา คลาศเต้า
สถลมารคกำหนดอ วาศใหญ่ แลแฮ
ถวายกฐินแด่เจ้า ภิกษุรั้งแรมฝน
( ภาพ จิตรกรรม จากวัดเสนา อยุธยา)
เดือน ๑๒ .. ( ถวายโคมไฟ บูชา) ประดับประดาไฟ
ดลเดือนกรรดึกตั้ง จองเปรียง
ไชยคู่ประเทียบเคียง สี่ต้น
ทั้งโคมบริวารเรียง รายรอบ สนามพ่อ
อีกรอบกำแพงพ้น พร่ำพร้องและหลาย
อาณาประชาราษฎร์ทั้ง พระวงษ์
ชีพ่อพฤฒิพรหมพงษ์ กอบรู้
อีกกับภิกษุสงฆ์ สถิตย์วัด แลแฮ
ต่างชักโคมทั่วผู้ ส่องฟ้า เรืองแสง
การลอยประทีปนั้น พันพรหม ราชเอย
หมายบอกล้อมวงรดม ทั่วผู้
พลเรือนทหารกรม ท่าอีก นาพ่อ
ทอดทุ่นใหญ่น้อยรู้ ที่ตั้ง ทุกกอง
ดาดาษกลาดเกลื่อนกลุ้ม เรือดู
อึงลั่นสนั่นหู ไม่น้อย
แซกเบียดเสียดเกรียวกรู ชิงช่อง ขึ้นแฮ
แม้จักนับว่าร้อย ยึดท้าย เป็นพวง
เดือนอ้าย.. (ทำบุญทอดผ้าป่า , เทศน์มหาชาติ, ถวายขนมเบื้องพระ, การเก็บผลผลิตข้าว)
กาฬปักษ์กติกมาศถ้วน บัณรสะ สารเฮย
ผ้าป่ามิใคร่จะ ว่างเว้น
เริ่มทำริทอดพระ สง์ชอบ คุ้นแฮ กอบก่อต่อการเหล้น เลือกล้วนควรมี
บ้างมีมหาชาติทั้ง คาถา พันเอย
มีที่บ้านศาลา มีที่บ้านศาลา
จ่ายกันแจกฎีกา ตามพวก พ้อพ่อ
หวังประโยชน์สืบสร้าง เพื่อพ้องเมตไตรย
เที่ยวทุ่งคราวเมื่อครั้ง น่านชล
เป็นที่เปรมใจคน ไพร่ฟ้า
หว่านพืชเกิดรวงผล เต็มภาค ภูมพ่อ
สมประโยชน์ทั่วหล้า หลีกพ้นไภยแพง
ในราชนิเวศน์เจ้า จอมกษัตริย์
วันสุริยออกสุดปัด กลับเยื้อง
ส่ำสงฆ์เหล่าปริยัติ สมถะ อีกเอย
แปดสิบฉันขนมเบื้อง หนึ่งครั้งคราวปี
เดือนอ้ายนี้สิ้นราช การหลวง
การนอกชนทั้งปวง ว่างเว้น
ไร่นาที่ออกรวง เก็บเกี่ยว บ้างนา
ลงแขกนัดกันเหล้น ขับร้องตามสบาย
เดือนยี่ . (พิธีโล้ชิงช้า, ตรียัมปวาย)(
บุษยมาศเจ็ดค่ำขึ้น กำหนด
การพิธีพรหมพรต ใหญ่ล้น
ตรียัมพะวายหมด แรมค่ำ หนึ่งนา
แรมค่ำหนึ่งเป็นต้น อีกห้าปาวาย
สี่คนนั้นจึ่งขึ้น ขดานโยน
ยันเหยียบรุนแรงโหน หกตั้ง สาม กลับน่ากลัวโดน เสาผูก เงินพ่อ
ปากคาบไวไป่ยั้ง ยากแท้ ดีจริง
........................
ครั้นมาถึงรัชสมัย.. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ( รัชกาลที่9)
พอมาถึง ใน พ.ศ. 2475 แต่มีพระราชพิธี..ได้รับการรื้อฟิ้น...ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ( รัชกาลที่9) ในหลวงภูมิพล..ได้ดำริ และ รื้อฟื้นฟู พระราชพิธีมหามงคล สิบสองเดือน..พระราชพิธี12เดือน กลับมาอีกครั้ง
และ สืบสานต่อมา จนถึงรัชสมัย รัชกาลที่ 10 จนถึงปัจจุบัน....
เป็นพระราชพิธีมมงคลของไทย..ที่ถือเป็น..มรดกทางวัฒนธรรมหนึ่งเดียวไทย.....ที่สู่สายตาชาวโลก
... เล่าสู่กันฟัง(ฉบับย่อ) ...ช่างไก่
ขอบคุณครับ.
ขอบคุณแหล่งข้อมูล, ภาพ : หอสมุดแห่งชาติ จันทบุรี, กรมศิลปากร,ศิลปะวัฒนธรรม, มติชน,ละเพจที่เกี่ยวข้อง