What's going on?!
กลับมาต่อกับความรู้ภาษาอังกฤษเน้น ๆ อีก สำหรับบทนี้รู้สึกจะแอบยาวหน่อยนะ แต่อ่านเพลินกว่าทุกตอนแน่นอน สงสังตรงไหนสอบถามได้ตลอดคร้าบ
1. เวลาจะบอกว่าใครสักคนคือ "
คนที่สุดยอดที่สุด" เราอาจจะใช้วลี "
He's the goat!" ซึ่งก็มีคนสงสัยว่าทำไมต้อง goat? ความสุดยอดมันไปเกี่ยวอะไรกับแพะหรือ? ความจริงไม่ใช่ครับ เราต้องเขียนว่า
He's the G.O.A.T! ซึ่งย่อมากจาก
GREAT OF ALL TIME!
2. "
No shit!" ไม่ได้แปลว่า ไม่ แต่มันแปลว่า
ก็เออนะสิ! เป็นวลีที่เอาไว้ตอบคำถามที่มันไม่น่าถาม (คำถามที่ทำให้รู้สึกอยากมองบน) หรือเอาไว้ตอบโต้ประโยคที่ใคร ๆ ก็รู้ เช่น A: It's so hot in the summer. (อากาศร้อนมากเลยในหน้าร้อน) / B: No shit! (ก็เออสิ!)
3. "
The mother beats up her daughter because SHE is drunk." ประโยคนี้ฝรั่งเถียงกันว่าสรุปแล้วใครเมา? แม่หรือลูกสาว ชาวพันทิพว่าไง!
4. ตัวเขียนเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร? หลักฐานประวัติศาสตร์พาเราย้อนไปถึงช่วง 3,400 ปีก่อนคริสตศักราช (ประมาณ 5000 กว่าปีที่แล้ว) ในบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า "
Sumer" ประชากรที่อาศัยอยู่แถบนี้เรียกว่า '
ชาวซูเมเรียน' (Sumerian) และพวกเขาเป็นชนชาติแรกที่สร้างตัวเขียนขึ้นมา ปัจจุบันเราเรียกมันว่า "
ตัวอักษรคูนิฟอร์ม" (cuneiform) มีลักษณะเป็นตัวอักษรลิ่ม (ว่าเป็นว่าเป็นอิทธิพลให้พวกอียิปต์ประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิค (hieroglyphics) ขึ้นมาด้วย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. "
Interlanguage fossilisation" หรือ "
การหยุดพัฒนาด้านการใช้งานภาษา" เป็นหัวข้อที่ศึกษาการใช้ภาษาแบบผิด ๆ ของ non-native speakers ที่ฝังลึกลงใน core จนไม่สามารถแก้ได้ เช่นคนไทยที่เวลาพูดภาษาอังกฤษมักจะลืมผันกริยาอยู่บ่อย ๆ (เช่น I go there yesterday) หรือมักจะลืมใส่ preposition มาในประโยคด้วย (เช่น I'm afraid cats แทนที่จะบอกว่า I'm afraid of cats.) ซึ่งเป็นอะไรที่แก้ไม่หาย เปรียบเหมือนข้อผิดพลาดที่ทับถมจนกลายฟอสซิลและค้างอยู่แบบนั้น
6. คนที่เสพติดการดูทีวี นอกจากวลี Couch potato แล้ว เรายังสามารถใช้ "
Glued to the TV" ได้ด้วยนะ แปลตรงตัวก็คือถูกทากาวติดไว้กับทีวีนั่นเอง อันนี้ฟังแล้วรู้สึกแย่กว่า couch potato อีก 5555 (TV คือการพูดแบบอเมริกันนะ คนอังกฤษมักใช้
Telly)
7. ประโยคที่นักเรียนแปลผิดมากที่สุดคงหนีไม้พ้น "
I've never felt so good." ที่หลายคนมักไปแปลว่า "
ฉันไม่เคยรู้สึกดีมาก ๆ" พอแปลแล้วก็ยังอ่านไม่เข้าใจ เพราะจริง ๆ แล้วประโยคนี้ควรแปล "
ฉันไม่เคยรู้สึกดีขนาดนี้มาก่อน" หลายครั้งเราใช้ present perfect คู่กับ never เพื่อพูดถึงประสบการณ์ที่เราไม่เคยได้รับ
8. “
If you prick us, do we not bleed? if you tickle us, do we not laugh? if you poison us, do we not die? and if you wrong us, shall we not revenge?" สำหรับผมคือบทประพันธ์ที่กินใจที่สุดจากเชกสเปียร์ (เด็กเอกอิ้งต้องรู้จักเขาดี) ในเรื่อง "
The Merchant of Venice" (เวนิชวาณิช) เป็นบทพูดที่ "
ไชล็อค" พ่อค้ายิวที่ถูกสังคมเหยียดเพราะเชื้อชาติของตน กำลังตอบคำถามที่ "
สะลาลิโย" ถามว่าเขาอยากจะแล่เนื้อของ "
อันโตนิโย" (คนที่มายืมเงินไชล็อคและบอกว่าถ้าไม่คืนให้มาแล่เนื้อเลย) ไปทำไม มันแสดงให้เราเห็นถึงสภาพสังคมและความ '
คับแค้นใจ' ของชนกลุ่มน้อยในยุคนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สะลาลิโย: ถึงหากว่าเขาจะใช้เงินไม่ทันเวลา แกก็คงจะไม่เอาเนื้อเขา; จะเอาไปจะเปนประโยชน์อะไร ?
ไซล็อค: เอาไปทำเหยื่อตกปลาก็ได้เปนไรมี: อย่างน้อยก็พอที่จะเลี้ยงความพยาบาทของข้าได้. มันนั้นไซร้ได้เคยทำให้ข้าอับอาย, และเคยทำให้ข้าขัดลาภตั้งกึ่งล้าน; เย้ยเวลาเสีย, เยาะเวลาได้, ดูถูกกระทั่งชาติ, กลางตลาดแย่งกำไร, ยุสหายให้แหนงจิต, แหย่อมิตร์ให้ขัดใจ; ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุที่ข้าเปนยิวนั่นแล. นี่แน่ยิวไม่มีตาฤๅ ? ยิวไม่มีมือ, ไม่มีอวัยวะ, ไม่มีกายหรือเจ้าคะ, หรือไม่มีสัมผัส, ตัดฉันทะและโทษะได้สิ้นหรือไฉน ? ไม่กินอาหารเหมือนกันหรือไร, หรือถูกสาตราไม่เจ็บไม่บาด, หรือไม่มีโรคาพาท, ไม่รักษาด้วยยาเหมือนท่าน, ไม่ร้อนไม่หนาวเพราะฤดูกาล เหมือนพวกท่านคริสตังละฤๅไฉน ? ถ้าแทงเราเข้าไซร้, หรือเลือดไม่มี ? ถ้าแม้ว่าจี้, หรือเราจะไม่หัวเราะ ? เพราะฉนั้นไซร้ใครทำร้าย, จะไม่ให้เราหมายแก้แค้นหรือว่าไร ? ถ้าเราเหมือนท่านอยู่แล้วไซร้, ก็ต้องเอาอย่างทางนั้นด้วยนา. ถ้าแม้ยิวทำร้ายคริสตัง, เขานั้นตั้งตอบแทนอย่างไร ? แก้แค้นเปนแน่, ก็แม้คริสตังทำร้ายยิว, ยิวจะควรทำอะไรบ้าง ตามแบบอย่างคริสตัง ? แก้แค้นนั่นซี. ความที่พวกท่านทำอย่างมา, ข้านี้จะทำตามอย่าง; ลึงว่าจะลำบากบ้าง ก็จะทำให้เก่งเกินครูด้วยซ้ำ.
9. "
French leave" หรือการเดินออกแบบคนฝรั่งเศส หมายถึงการกลับบ้านโดยไม่บอกกล่าวผู้ใดทั้งสิ้น หนีกลับไปเลยดื้อ ๆ! อันนี้เป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ ที่น่าขำก็คือในภาษาฝรั่งเศสก็มีวลีที่มีความหมายเดียวกันนี้ คือ
partir à l’anglaise หรือ "
To leave the English way" ว่ามาว่ากลับไม่โกง 5555 (แต่ใครว่าก่อน อันนี้ไม่แน่ใจ) และที่อเมริกาก็มีคล้าย ๆ กันคือ "
Irish goodbye" (การบอกลาแบบคนไอริช) รวมไปที่เยอรมันก็มีวลี
polnischer Abgang หรือ "
Polish exit" สรุปแล้วก็คือเราจะโยนความไม่มีมารยาทให้เพื่อนบ้านเสมอ 55555
10. Bonus สำหรับคนที่ตามอ่านมาถึงตอนนี้ ไปโหลดไฟล์ "
Oxford Phrase List" ที่เว็บนี้เลย (เว็บของมหาวิทยาลัย Oxford ของแท้นี่แหละ) มันคือไฟล์ที่จะรวมพวกวลีที่เราจะได้เจอในชีวิตประจำวันไว้เยอะมาก รับรองว่าคลังคำศัพท์ระเบิดแน่นอน!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/external/pdf/wordlists/oxford-phrase-list/Oxford%20Phrase%20List.pdf
จบไปสำหรับตอนนี้ มีใครตามอ่านบ้างไหมมม ผมเชื่อแหละว่าคนที่ชอบศึกษาภาษาอังกฤษต้องผ่านเข้ามากระทู้นี้สักครั้ง ถ้าชอบความรู้ประมาณนี้ก็ไปไล่อ่านตอนก่อนหน้าด้วยนะ จะได้อ่านตอนต่อ ๆ ไปสนุกมากขึ้น! ตอนแรกมีแพลนว่าจะทำแค่ 10 ตอน แต่คิดไปคิดว่าทำไปเรื่อย ๆ เลยดีไหม? ฮ่า ๆ ไว้มาดูกันอีกที
"
ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.
ความรู้ภาษาอังกฤษ "สำหรับคนไทย" (Pt. 8)
กลับมาต่อกับความรู้ภาษาอังกฤษเน้น ๆ อีก สำหรับบทนี้รู้สึกจะแอบยาวหน่อยนะ แต่อ่านเพลินกว่าทุกตอนแน่นอน สงสังตรงไหนสอบถามได้ตลอดคร้าบ
1. เวลาจะบอกว่าใครสักคนคือ "คนที่สุดยอดที่สุด" เราอาจจะใช้วลี "He's the goat!" ซึ่งก็มีคนสงสัยว่าทำไมต้อง goat? ความสุดยอดมันไปเกี่ยวอะไรกับแพะหรือ? ความจริงไม่ใช่ครับ เราต้องเขียนว่า He's the G.O.A.T! ซึ่งย่อมากจาก GREAT OF ALL TIME!
2. "No shit!" ไม่ได้แปลว่า ไม่ แต่มันแปลว่า ก็เออนะสิ! เป็นวลีที่เอาไว้ตอบคำถามที่มันไม่น่าถาม (คำถามที่ทำให้รู้สึกอยากมองบน) หรือเอาไว้ตอบโต้ประโยคที่ใคร ๆ ก็รู้ เช่น A: It's so hot in the summer. (อากาศร้อนมากเลยในหน้าร้อน) / B: No shit! (ก็เออสิ!)
3. "The mother beats up her daughter because SHE is drunk." ประโยคนี้ฝรั่งเถียงกันว่าสรุปแล้วใครเมา? แม่หรือลูกสาว ชาวพันทิพว่าไง!
4. ตัวเขียนเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร? หลักฐานประวัติศาสตร์พาเราย้อนไปถึงช่วง 3,400 ปีก่อนคริสตศักราช (ประมาณ 5000 กว่าปีที่แล้ว) ในบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า "Sumer" ประชากรที่อาศัยอยู่แถบนี้เรียกว่า 'ชาวซูเมเรียน' (Sumerian) และพวกเขาเป็นชนชาติแรกที่สร้างตัวเขียนขึ้นมา ปัจจุบันเราเรียกมันว่า "ตัวอักษรคูนิฟอร์ม" (cuneiform) มีลักษณะเป็นตัวอักษรลิ่ม (ว่าเป็นว่าเป็นอิทธิพลให้พวกอียิปต์ประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิค (hieroglyphics) ขึ้นมาด้วย)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. "Interlanguage fossilisation" หรือ "การหยุดพัฒนาด้านการใช้งานภาษา" เป็นหัวข้อที่ศึกษาการใช้ภาษาแบบผิด ๆ ของ non-native speakers ที่ฝังลึกลงใน core จนไม่สามารถแก้ได้ เช่นคนไทยที่เวลาพูดภาษาอังกฤษมักจะลืมผันกริยาอยู่บ่อย ๆ (เช่น I go there yesterday) หรือมักจะลืมใส่ preposition มาในประโยคด้วย (เช่น I'm afraid cats แทนที่จะบอกว่า I'm afraid of cats.) ซึ่งเป็นอะไรที่แก้ไม่หาย เปรียบเหมือนข้อผิดพลาดที่ทับถมจนกลายฟอสซิลและค้างอยู่แบบนั้น
6. คนที่เสพติดการดูทีวี นอกจากวลี Couch potato แล้ว เรายังสามารถใช้ "Glued to the TV" ได้ด้วยนะ แปลตรงตัวก็คือถูกทากาวติดไว้กับทีวีนั่นเอง อันนี้ฟังแล้วรู้สึกแย่กว่า couch potato อีก 5555 (TV คือการพูดแบบอเมริกันนะ คนอังกฤษมักใช้ Telly)
7. ประโยคที่นักเรียนแปลผิดมากที่สุดคงหนีไม้พ้น "I've never felt so good." ที่หลายคนมักไปแปลว่า "ฉันไม่เคยรู้สึกดีมาก ๆ" พอแปลแล้วก็ยังอ่านไม่เข้าใจ เพราะจริง ๆ แล้วประโยคนี้ควรแปล "ฉันไม่เคยรู้สึกดีขนาดนี้มาก่อน" หลายครั้งเราใช้ present perfect คู่กับ never เพื่อพูดถึงประสบการณ์ที่เราไม่เคยได้รับ
8. “If you prick us, do we not bleed? if you tickle us, do we not laugh? if you poison us, do we not die? and if you wrong us, shall we not revenge?" สำหรับผมคือบทประพันธ์ที่กินใจที่สุดจากเชกสเปียร์ (เด็กเอกอิ้งต้องรู้จักเขาดี) ในเรื่อง "The Merchant of Venice" (เวนิชวาณิช) เป็นบทพูดที่ "ไชล็อค" พ่อค้ายิวที่ถูกสังคมเหยียดเพราะเชื้อชาติของตน กำลังตอบคำถามที่ "สะลาลิโย" ถามว่าเขาอยากจะแล่เนื้อของ "อันโตนิโย" (คนที่มายืมเงินไชล็อคและบอกว่าถ้าไม่คืนให้มาแล่เนื้อเลย) ไปทำไม มันแสดงให้เราเห็นถึงสภาพสังคมและความ 'คับแค้นใจ' ของชนกลุ่มน้อยในยุคนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
9. "French leave" หรือการเดินออกแบบคนฝรั่งเศส หมายถึงการกลับบ้านโดยไม่บอกกล่าวผู้ใดทั้งสิ้น หนีกลับไปเลยดื้อ ๆ! อันนี้เป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ ที่น่าขำก็คือในภาษาฝรั่งเศสก็มีวลีที่มีความหมายเดียวกันนี้ คือ partir à l’anglaise หรือ "To leave the English way" ว่ามาว่ากลับไม่โกง 5555 (แต่ใครว่าก่อน อันนี้ไม่แน่ใจ) และที่อเมริกาก็มีคล้าย ๆ กันคือ "Irish goodbye" (การบอกลาแบบคนไอริช) รวมไปที่เยอรมันก็มีวลี polnischer Abgang หรือ "Polish exit" สรุปแล้วก็คือเราจะโยนความไม่มีมารยาทให้เพื่อนบ้านเสมอ 55555
10. Bonus สำหรับคนที่ตามอ่านมาถึงตอนนี้ ไปโหลดไฟล์ "Oxford Phrase List" ที่เว็บนี้เลย (เว็บของมหาวิทยาลัย Oxford ของแท้นี่แหละ) มันคือไฟล์ที่จะรวมพวกวลีที่เราจะได้เจอในชีวิตประจำวันไว้เยอะมาก รับรองว่าคลังคำศัพท์ระเบิดแน่นอน!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จบไปสำหรับตอนนี้ มีใครตามอ่านบ้างไหมมม ผมเชื่อแหละว่าคนที่ชอบศึกษาภาษาอังกฤษต้องผ่านเข้ามากระทู้นี้สักครั้ง ถ้าชอบความรู้ประมาณนี้ก็ไปไล่อ่านตอนก่อนหน้าด้วยนะ จะได้อ่านตอนต่อ ๆ ไปสนุกมากขึ้น! ตอนแรกมีแพลนว่าจะทำแค่ 10 ตอน แต่คิดไปคิดว่าทำไปเรื่อย ๆ เลยดีไหม? ฮ่า ๆ ไว้มาดูกันอีกที
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.