ปัญหารุมเร้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ณ วันนี้ ที่ประชาชนหนักใจ
หลังจากผ่านบรรยากาศรื่นเริงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สถานการณ์ทางการเมืองก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวและมีหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนโดยเฉพาะการบริหารบ้านเมืองของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลท่ามกลางปัญหาต่างๆที่เข้ามารุมเร้ามากมาย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “
สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,167 คน ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2560 สรุปผลได้ ดังนี้
“5 ปัญหารุมเร้า” รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ที่ประชาชนหนักใจ /พร้อมวิธีแก้ไข
อันดับ 1 ปัญหาเศรษฐกิจ 87.92%
เพราะ เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลยังแก้ไม่ตก ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งเรื่องของกินของใช้แพง ราคาผลผลิตตกต่ำ การส่งออกมีปัญหา ยังมีคนตกงาน ว่างงาน ฯลฯ
วิธีแก้ไข. มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผล สรรหาผู้ที่มีความรู้ เก่งเรื่องเศรษฐกิจมาช่วย มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเกิดการจ้างงาน เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ฯลฯ
อันดับ 2 การทุจริตคอรัปชั่น 76.61%
เพราะ ยังพบการทุจริตจำนวนมากโดยเฉพาะโครงการต่างๆของภาครัฐ ไม่มีการตรวจสอบที่จริงจังและเข้มงวด มีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ มีการใช้งบประมาณจำนวนมาก ฯลฯ
วิธีแก้ไข ภาครัฐต้องชี้แจงให้ประชาชนรับรู้ มีเอกสารหลักฐานประกอบ เร่งปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจัง เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรง ฯลฯ
อันดับ 3 ความขัดแย้งทางการเมือง 70.45%
เพราะ เป็นเรื่องที่จัดการได้ยาก มีเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวข้อง รัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความปรองดองทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบ้านเมือง ฯลฯ
วิธีแก้ไข รัฐบาลต้องมีนโยบายชัดเจนในการแก้ปัญหา ขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย รับฟังความเห็นรอบด้าน ไม่อคติ ฯลฯ
อันดับ 4 การบังคับใช้กฎหมาย การใช้มาตรา 44 64.78%
เพราะ มีกระแสต่อต้าน มองว่าถูกรัฐบาลปิดกั้น ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ บางคดีถูกมองว่าไม่เป็นธรรม สองมาตรฐาน ฯลฯ
วิธีแก้ไข ต้องใช้ด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงผลดี-ผลเสียที่จะตามมา สามารถชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนได้ ฯลฯ
อันดับ 5 การเลือกตั้ง 61.18%
เพราะ. เป็นเรื่องสำคัญทางการเมืองและมีผลต่ออนาคตของประเทศ กระบวนการขั้นตอนต่างๆยังไม่ชัดเจน มีนักการเมืองออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้น ฯลฯ
วิธีแก้ไข รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เชิญนักการเมืองมาพูดคุย และหาแนวทางที่เหมาะสม กำหนดวันเวลาเลือกตั้ง ที่ชัดเจน ฯลฯ
JJNY : โพลแสลงใจ 2.4...ซี้จุกสูญ สวนดุสิตโพลเผยปัญหารุมเร้ารัฐบาล ปชช.87.92% หนักใจปัญหาเศรษฐกิจมากสุด
ปัญหารุมเร้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ณ วันนี้ ที่ประชาชนหนักใจ
หลังจากผ่านบรรยากาศรื่นเริงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สถานการณ์ทางการเมืองก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวและมีหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนโดยเฉพาะการบริหารบ้านเมืองของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลท่ามกลางปัญหาต่างๆที่เข้ามารุมเร้ามากมาย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,167 คน ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2560 สรุปผลได้ ดังนี้
“5 ปัญหารุมเร้า” รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ที่ประชาชนหนักใจ /พร้อมวิธีแก้ไข
อันดับ 1 ปัญหาเศรษฐกิจ 87.92%
เพราะ เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลยังแก้ไม่ตก ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งเรื่องของกินของใช้แพง ราคาผลผลิตตกต่ำ การส่งออกมีปัญหา ยังมีคนตกงาน ว่างงาน ฯลฯ
วิธีแก้ไข. มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผล สรรหาผู้ที่มีความรู้ เก่งเรื่องเศรษฐกิจมาช่วย มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเกิดการจ้างงาน เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ฯลฯ
อันดับ 2 การทุจริตคอรัปชั่น 76.61%
เพราะ ยังพบการทุจริตจำนวนมากโดยเฉพาะโครงการต่างๆของภาครัฐ ไม่มีการตรวจสอบที่จริงจังและเข้มงวด มีข่าวออกมาเป็นระยะ ๆ มีการใช้งบประมาณจำนวนมาก ฯลฯ
วิธีแก้ไข ภาครัฐต้องชี้แจงให้ประชาชนรับรู้ มีเอกสารหลักฐานประกอบ เร่งปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ดำเนินการเอาผิดอย่างจริงจัง เพิ่มบทลงโทษให้รุนแรง ฯลฯ
อันดับ 3 ความขัดแย้งทางการเมือง 70.45%
เพราะ เป็นเรื่องที่จัดการได้ยาก มีเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวข้อง รัฐบาลยังไม่สามารถสร้างความปรองดองทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบ้านเมือง ฯลฯ
วิธีแก้ไข รัฐบาลต้องมีนโยบายชัดเจนในการแก้ปัญหา ขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย รับฟังความเห็นรอบด้าน ไม่อคติ ฯลฯ
อันดับ 4 การบังคับใช้กฎหมาย การใช้มาตรา 44 64.78%
เพราะ มีกระแสต่อต้าน มองว่าถูกรัฐบาลปิดกั้น ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ บางคดีถูกมองว่าไม่เป็นธรรม สองมาตรฐาน ฯลฯ
วิธีแก้ไข ต้องใช้ด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงผลดี-ผลเสียที่จะตามมา สามารถชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนได้ ฯลฯ
อันดับ 5 การเลือกตั้ง 61.18%
เพราะ. เป็นเรื่องสำคัญทางการเมืองและมีผลต่ออนาคตของประเทศ กระบวนการขั้นตอนต่างๆยังไม่ชัดเจน มีนักการเมืองออกมาเคลื่อนไหวมากขึ้น ฯลฯ
วิธีแก้ไข รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เชิญนักการเมืองมาพูดคุย และหาแนวทางที่เหมาะสม กำหนดวันเวลาเลือกตั้ง ที่ชัดเจน ฯลฯ