การ overbooking ของสายการบิน ไม่ผิดกฎหมายหรอครับ?

เห็นข่าวที่สายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ ลากผู้โดยสารลงเครื่องเพราะ overbooking ทำให้ผู้โดยสารต้องอาสายกเลิกการเดินทาง ซึ่งในคลิปไม่มีใครสมัครใจและจนท.ต้องสุ่มไล่+ลากผดส.ลงจากเครื่องบิน (อย่างน่าเกลียด)

คำถามคือ
- การ overbooking ไม่ผิดกฎหมายหรอครับ?
- แล้วมีมาตรการรองรับอย่างไรสำหรับผดส.ที่สมัครใจยกเลิกเที่ยวบิน (เช่นให้รอเที่ยวบินถัดไป / คืนเงิน / อื่นๆ)

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คำถามคือ
- การ overbooking ไม่ผิดกฎหมายหรอครับ?
- แล้วมีมาตรการรองรับอย่างไรสำหรับผดส.ที่สมัครใจยกเลิกเที่ยวบิน (เช่นให้รอเที่ยวบินถัดไป / คืนเงิน / อื่นๆ)

คำตอบคือ
- ถ้าเอากฏหมายไทยก่อน ไม่เคยเห็นข้อไหนว่ารองรับการ overbooking

จขกท ต้องทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานก่อน
สายการบิน หรือใครก็ตาม เขาจะทำอะไรก็ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าผิดกฏหมายอาญา รัฐก็ต้องจัดการ แต่ถ้าไม่ผิดกฏหมายอาญา แต่ถ้าไปละเมิดสิทธิ์ใคร คนนั้นก็ต้องฟ้องแพ่งเอาเอง

เพราะฉะนั้นสายการบินอยากทำอะไรเขาก็ทำไป (ยิ่งเขามีสิทธิพิเศษ ที่ผู้โดยสารต้องฟังคำสั่งเจ้าหน้าที่อีก) แต่ถ้ามีผู้เสียหายแล้ว เขาฟ้อง ก็ไม่ใช่ว่าจะรอด
สิ่งที่สายการบินทำ เวลาเกิด Overbooking คือ ขออาสาสมัครเพื่อรับกับสิ่งชดเชย ที่สายการบินจะเสนอให้ ถ้าไม่มีใครรับ ก็เพิ่มค่าชดเชยไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะมีคนรับเอง (โอกาสไม่มีคนรับน้อยมาก ถ้าสายการบินทำตามนี้) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสมัยนี้คือ คนสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม คนทั่วไปในสังคม หรือ เจ้าหน้าที่สายการบินบางส่วนเองก็ตาม คิดว่าการไล่ผู้โดยสารลงเป็นสิทธิ์ของสายการบิน ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่

สรุป
- สายการบิน ทำ Overbooking ได้ ซึ่งก็คือ การรับจองเกินจำนวนที่นั่ง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการไล่ผู้โดยสารลง และตอนทำ Overbooking ยังไม่มีใครเสียหาย เพราะไฟลท์ยังไม่บิน
- สายการบิน มีสิทธิ์ให้ผู้โดยสารลงจากเครื่อง แต่ต้องมีเหตุอันควรเท่านั้น ไม่ใช่อยากไล่ใครลงก็ได้
- เมื่อถึงเวลาบิน และมีผู้โดยสารมาเกินจำนวนที่นั่ง สิ่งที่สายการบินควรทำคือเสนอค่าชดเชย และเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีคนยอม
- เจ้าหน้าที่สายการบินบางจำพวก อาจจะเข้าใจอำนาจหน้าที่ตัวเองผิด และไล่ผู้โดยสารลงก็ได้ เพราะในขณะอยู่บนเครื่องบิน เขาให้อำนาจเจ้าหน้าที่เป็นหลัก เรื่องจริงๆเป็นอย่างไรค่อยไปสืบสวนสอบสวนทีหลัง
- ถ้าทำผิด ก็โดนฟ้องทางแพ่งแน่นอน ส่วนทางอาญาไม่แน่ใจ อาจจะไม่โดน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่