สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก เห็นตรง เห็นไม่ผิด
สัมมาทิฏฐินั้น ได้จำแนกออก ๓ อย่าง ดังนี้
๑. กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน
๒. ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ วัตถุ ๑๐
๓. จตุสัจจสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ที่เห็น อริยสัจ ๔
๑. กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ แยกออกเป็น ๔ อย่างคือ
๑. กมฺมสฺสกตาสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก คือ
เห็นว่า กรรมดีและกรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้ จะเป็นสมบัติตามสนองตน
ต่อไปดุจเงาตามตน ฉะนั้น
คำว่า สมบัติ นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
๑. ชังฆสมบัติ ได้แก่ สมบัติที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เงิน ทอง เป็นต้น
๒. ถาวรสมบัติ ได้แก่ สมบัติถาวรเคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น นา สวน เป็นต้น
๓. อังคสมบัติ ได้แก่ สมบัติที่ทำให้ชีวิตดำเนินไปโดยสะดวกและราบรื่นดี คือ ปัญญา
๔. อนุคามิกสมบัติ ได้แก่ สมบัติที่ติดตามตนไปได้ทุกฝีก้าว คือ ทาน ศิล ภาวนา
๒. กมฺมโยนิสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก คือ เห็นว่าสัตวืทั้งหลาย
มีกรรมเป็นผู้ให้เกิด เป็นมูลฐาน อุปมาเหมือนกันกับเรา
จะปลูกพืชก็ต้องมีเมล็ดมาเพาะและต้องปลูกในที่มีดิน น้ำ ฤดู ที่เหมาะสม
จึงจะงอกงามขึ้นมาได้ฉันใด
คนเราก็ฉันนั้น หากเราทำกรรมชั่ว ก็ต้องได้รับผลชั่วตลอดไป
หากทำกรรมดี มีทาน ศิล เป็นต้น ก็ต้องได้รับผลดีแน่นอน
เช่น ได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นต้น
๓. กมฺมพนฺธุสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูกในวิบากกรรม คือ
เห็นว่า กรรมดีและกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้ทำไว้ จะเป็นมิตรซื่อสัตว์
จงรักภักดี ตามสนองแก่ตนเองในชาตินี้ ชาติหน้า
สมด้วยพุทธภาษิตว่า สยํ กตานิ ปุญญานิ ตํ มิตตํ สมฺปรายิกํ
บุญทั้งหลายที่เรากระทำไว้นั่นแหละ จะเป็นมิตรติดตามไปในภพหน้า
ดุจเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ หรือ ดุจเงาติดตามตนไปทุกหนทุกแห่ง ฉะนั้น
๔. กมฺมปฏิสรณสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูกในกฏแห่งกรรมคือ
เห็นว่ากรรมดี และกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้ประกอบไว้
จะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์เหล่านั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ถ้าใครทำกรรมดีก็ได้ที่พึ่งดี
ถ้าใครทำกรรมชั่วก็ได้ที่พึ่งชั่วได้ที่พึ่งเลว ได้ที่พึ่งต่ำ ได้ที่พึ่งที่ไม่ดี
เรียกว่า ได้มรดกตกทอดต่อๆไปตามที่ตนเพาะไว้ ดุจพืชของต้นไม้
เช่น พืชที่อยู่ในเมล็ดมะม่วงกะล่อน เวลาออกมาก็ต้องเป็นมะม่วงกะล่อน
จะเป็นมะม่วงอกร่องไปไม่ได้เป็นอันขาด
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า พันธ์เดิมเป็นมาอย่างนั้น
คำว่า มรดก นั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ อามิสมรดก ๑ ธัมมมรดก ๑
๑. อามิสมรดก ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ ผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยาแก้ไข้ เป็นตัวอย่าง
๒. ธัมมมรดก ได้แก่ พระธรรม เช่น สิกขา ๓ คือ ศิล สมาธิ ปัญญา
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และ อริยทรัพย์ ๗ เป็นต้น
ความเห็นดังบรรยายมานี้ จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าเห็นตรงกันข้ามก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ
คนเราจะดำเนินชีวิตไปถูกทาง เพราะ มีความเห็นถูก จะดำเนินชีวิตไปผิดทางเพราะมีความเห็นผิด ผู้ที่จะรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องสัมมาทิฏฐินี้ ได้แก่
ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านวิปัสสนาญาณมาโดยลำดับๆ
นับตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง คือ จนได้สำเร็จ มรรค ผล นิพพาน
สัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ชวนมาดูกัน
สัมมาทิฏฐินั้น ได้จำแนกออก ๓ อย่าง ดังนี้
๑. กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน
๒. ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ วัตถุ ๑๐
๓. จตุสัจจสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ที่เห็น อริยสัจ ๔
๑. กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ แยกออกเป็น ๔ อย่างคือ
๑. กมฺมสฺสกตาสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก คือ
เห็นว่า กรรมดีและกรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้ จะเป็นสมบัติตามสนองตน
ต่อไปดุจเงาตามตน ฉะนั้น
คำว่า สมบัติ นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
๑. ชังฆสมบัติ ได้แก่ สมบัติที่เคลื่อนที่ได้ เช่น เงิน ทอง เป็นต้น
๒. ถาวรสมบัติ ได้แก่ สมบัติถาวรเคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น นา สวน เป็นต้น
๓. อังคสมบัติ ได้แก่ สมบัติที่ทำให้ชีวิตดำเนินไปโดยสะดวกและราบรื่นดี คือ ปัญญา
๔. อนุคามิกสมบัติ ได้แก่ สมบัติที่ติดตามตนไปได้ทุกฝีก้าว คือ ทาน ศิล ภาวนา
๒. กมฺมโยนิสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูก คือ เห็นว่าสัตวืทั้งหลาย
มีกรรมเป็นผู้ให้เกิด เป็นมูลฐาน อุปมาเหมือนกันกับเรา
จะปลูกพืชก็ต้องมีเมล็ดมาเพาะและต้องปลูกในที่มีดิน น้ำ ฤดู ที่เหมาะสม
จึงจะงอกงามขึ้นมาได้ฉันใด
คนเราก็ฉันนั้น หากเราทำกรรมชั่ว ก็ต้องได้รับผลชั่วตลอดไป
หากทำกรรมดี มีทาน ศิล เป็นต้น ก็ต้องได้รับผลดีแน่นอน
เช่น ได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นต้น
๓. กมฺมพนฺธุสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูกในวิบากกรรม คือ
เห็นว่า กรรมดีและกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้ทำไว้ จะเป็นมิตรซื่อสัตว์
จงรักภักดี ตามสนองแก่ตนเองในชาตินี้ ชาติหน้า
สมด้วยพุทธภาษิตว่า สยํ กตานิ ปุญญานิ ตํ มิตตํ สมฺปรายิกํ
บุญทั้งหลายที่เรากระทำไว้นั่นแหละ จะเป็นมิตรติดตามไปในภพหน้า
ดุจเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ หรือ ดุจเงาติดตามตนไปทุกหนทุกแห่ง ฉะนั้น
๔. กมฺมปฏิสรณสมฺมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นถูกในกฏแห่งกรรมคือ
เห็นว่ากรรมดี และกรรมชั่วที่สัตว์ทั้งหลายได้ประกอบไว้
จะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์เหล่านั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ถ้าใครทำกรรมดีก็ได้ที่พึ่งดี
ถ้าใครทำกรรมชั่วก็ได้ที่พึ่งชั่วได้ที่พึ่งเลว ได้ที่พึ่งต่ำ ได้ที่พึ่งที่ไม่ดี
เรียกว่า ได้มรดกตกทอดต่อๆไปตามที่ตนเพาะไว้ ดุจพืชของต้นไม้
เช่น พืชที่อยู่ในเมล็ดมะม่วงกะล่อน เวลาออกมาก็ต้องเป็นมะม่วงกะล่อน
จะเป็นมะม่วงอกร่องไปไม่ได้เป็นอันขาด
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า พันธ์เดิมเป็นมาอย่างนั้น
คำว่า มรดก นั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ อามิสมรดก ๑ ธัมมมรดก ๑
๑. อามิสมรดก ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ ผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยาแก้ไข้ เป็นตัวอย่าง
๒. ธัมมมรดก ได้แก่ พระธรรม เช่น สิกขา ๓ คือ ศิล สมาธิ ปัญญา
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และ อริยทรัพย์ ๗ เป็นต้น
ความเห็นดังบรรยายมานี้ จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าเห็นตรงกันข้ามก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ
คนเราจะดำเนินชีวิตไปถูกทาง เพราะ มีความเห็นถูก จะดำเนินชีวิตไปผิดทางเพราะมีความเห็นผิด ผู้ที่จะรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องสัมมาทิฏฐินี้ ได้แก่
ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ผ่านวิปัสสนาญาณมาโดยลำดับๆ
นับตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง คือ จนได้สำเร็จ มรรค ผล นิพพาน