หลังจากไม่ได้ตั้งกระทู้มานาน มาครั้งนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง (ปกติจะมีแต่เรื่องเที่ยว lol)
โดยวันนี้ จขกท. จะมาแชร์ประสบการณ์การได้เป็นผู้บริจาค Stem Cell โดยเล่าผ่านมุมมองของผู้บริจาคคนหนึ่ง
(ในอีกความหมาย คือ เนื้อหาเชิงลึก อย่าไปจริงจังมากนะครับ อาจมีผิดพลาดบ้าง _/|\_ แต่ช่วยเสริมให้ได้ครับ
เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องมากที่สุด)
ปล.ก่อนหน้านี้เครื่องค้างแล้วพิมพ์สด ไม่ได้ร่างไว้ก่อนเสียใจ นั่งพิมพ์ใหม่เกือบทั้งหมด Orz
ปล.2 ในกระทู้ไม่ได้โพสรูปการเจาะสายสวน หรือ การเจาะน้ำเกลือต่างๆไว้นะครับ แต่ถ้ามีคนอยากทราบจะเอาไปลง blog ส่วนตัวแล้วนำมาแชร์ที่หลังให้ครับ
ก่อนอื่นมาแนะนำก่อนว่า Stem Cell คืออะไร ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell)เป็นเซลล์ตัวอ่อนของโลหิตซึ่งอาศัยในไขกระดูก และจะเจริญเติบโตไปเป็นเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต ซึ่งหล่อเลี้ยงอยู่ในร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตสามารถบริจาคให้บุคคลอื่นได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด และเป็นความหวังเดียวที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบัน โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกถ่าย Stem Cellเช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ,โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน / เรื้อรัง ,โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
Ref. http://blooddonationthai.com/content/บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต-stem-cell
0.จุดเริ่มต้นการบริจาค :
นานมาแล้ว ประมาณ 2-3 ปีได้ สมัยเรียน จขกท. เคยไปบริจาคเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แล้วปรากฏว่าวันนั้นเห็นว่าโต๊ะประชาสัมพันธ์
มีการเชิญชวนให้ร่วมเป็นผู้บริจาค Stem Cell ตอนนั้นเราก็รู้แค่ว่า มันสามารถพัฒนากลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดได้
ใช้ปลูกถ่ายให้คนที่มีปัญหาการสร้าง Cell พวกนี้ได้ แต่ไม่รู้กระบวนการอะไรซักอย่าง ก็โอเค ร่วมด้วยช่วยกันบริจาค
(ตอนนั้นเหมือนจะได้เสื้อยืดมาด้วย แต่เหลือแต่ Size XL ใส่ไม่ได้ TwT)
1.โทรศัพท์ที่ไม่คาดคิด :
วันหนึ่งขณะทำงานอยู่ ช่วงเดือนธันวาคม 2559 จู่ๆก็มีโทรศัพท์โทรเข้ามาเรียนสายคุณ จขกท. จากศูนย์บริการฯ
ว่าที่คุณ จขกท.เคยสมัครเป็นอาสาบริจาค Stem Cell ไว้พบว่าผล HLA ของคุณตรงกับคนไข้ อยากจะขอนัดหมายเข้ามาเก็บตัวอย่างโลหิตเพิ่มเติม
โดยหากตรงกันจะนัดหมายเตรียมความพร้อมบริจาค Stem Cell ต่อไป
..................... ตอนนั้นกำลังแบบแอบงงๆ แล้วก็ตอบว่าได้ครับไป คือลืมไปแล้วว่าเคยลงทะเบียนไว้
ข้อมูลเพิ่มเติม HLA คือ อะไร?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ Human leukocyte antigen (HLA) เป็นไกลโคโปรตีนที่พบได้บนเล็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่ออื่นๆของร่างกาย โดยตัวของมันเองมีคุณสมบัติเป็นแอนติเจนเมื่อได้อยู่ในร่างกายของผู้อื่น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจำเป็นต้องอาศัยโมเลกุลของ HLA ในการจับแอนติเจนของสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่างๆ เพื่อส่งต่อเซลล์ lymphocyte ทำให้เกิดการกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งทางด้าน cell mediated immune response และด้าน humoral mediated immune response มีรายงานการพบแอนติเจน HLA บางชนิด มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค หรือการดำเนินอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อ โรคออโตอิมมูน และโรคมะเร็ง โดยที่ยีน HLA เองหรืออาจจะเป็นยีนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับ HLA เป็น genetic risk factor นอกจากนี้แอนติเจน HLA ยังมีบทบาทสำคัญในการปลูกถ่ายอวัยวะโดยเนื้อเยื่อของผู้บริจาคจะต้องมีแอนติเจน HLA เหมือนหรือคล้ายกันมากที่สุด การปลูกถ่ายจึงจะให้ผลดี
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=425
2.การเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม :
หลังจากนั้นก็เข้าไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม สามารถเข้ามาในวันเสาร์-อาทิตย์ได้
(จขกท.ไม่สะดวกวันธรรมดา เพราะทำงานอยู่ ตจว.) ก็จะมี 2 กระบวนการใหญ่ๆ คือ
1.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาค Stem Cell ตั้งแต่
1.1 กระบวนการแนะนำว่า Stem Cell คืออะไร / มีความสำคัญอย่างไร
1.2 วิธีการบริจาคมีอะไรบ้าง
1.3 ความเสี่ยง
1.4 สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ : ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1
จากนั้นหากยังยืนยันที่จะบริจาคอยู๋ก็จะมีการเซ็นเอกสารรับทราบข้อมูลและเซ็นยินยอม พร้อมกับไปเก็บตัวอย่างเลือด
2. การเก็บตัวอย่างเลือด : จนท.พยาบาลจะทำการเก็บตัวอย่างเลือด ประมาณ 4-5 หลอดเล็กๆ
เพื่อนำไปตรวจวัด CT หรือ Confirmatory Typing อย่างละเอียดอีกที จากนั้นก็กลับบ้านได้รอฟังผลต่อไป ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
3.การแจ้งผล การตรวจประเมินวิธีบริจาค และการนัดตรวจร่างกาย :
หลังจากทราบผลแล้วก็จะเข้ามาประเมินเส้นเลือดว่าสามารถบริจาค Stem Cell ได้แบบใดบ้าง เนื่องจากแต่ละแบบจะต้องมีการเตรียมตัวแตกต่างกันไป ของ จขกท.ประเมินเส้นเลือดที่แขน 2 ข้างไม่ผ่านข้างหนึ่ง เนื่องจากเส้นเลือดตกด้านข้าง ต้องบริจาคด้วยวิธีใส่สายสวนแทน
สำหรับประเภทการบริจาคแบบต่างๆ มี 2 แบบ คือ
1. แบบบริจาคทางเส้นเลือด มี 2 แบบย่อย คือ เจาะเส้นเลือดที่แขน หรือ เจาะเส้นเลือดที่คอ
2. แบบบริจาคผ่านทางไขกระดูก : ผู้บริจาคจะเข้าห้องผ่าตัดเป็นเวลา 2-3 ชม. โดยวิสัญญีแพทย์จะให้ดมยาสลบ
พร้อมจัดท่าให้นอนคว่ำ เพื่อใช้เข็มพิเศษเจาะผ่านกระดูกบริเวณสะโพกเพื่อดูด Stem Cell ออกมา
(วิธีที่ 2 คนไข้จะไม่รู้สึกตัวจนกว่าจะฟื้นหลังออกจากห้องผ่าตัด)
สำหรบรายละเอียดเพิ่มเติมตามสปอยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตมี 2 วิธี ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมวิธีการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทางหลอดโลหิตดำ(Peripheral Blood Stem Cell Donation) เพราะง่ายและสะดวกสำหรับผู้บริจาค โดยผู้บริจาคสามารถเลือกวิธีบริจาคได้ หรืออาจจะได้รับการร้องขอจากแพทย์ให้บริจาคด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง (ก่อนการบริจาคต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้บริจาค) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทางหลอดโลหิตดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation)
โดยปกติในกระแสโลหิตจะมีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต(Stem Cell) อยู่น้อยมาก ในขั้นแรกจึงต้องฉีดยา G-CSF 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) ออกจากไขกระดูก (Bone Marrow) มากระจายในกระแสโลหิตให้มากพอ จึงจะเข้ากระบวนการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ซึ่งคล้ายกับวิธีการเก็บเกล็ดโลหิต หรือน้ำเหลือง(Plasma) โดยนำโลหิตผ่านเข็มที่แทงอยู่ในเส้นเลือดดำ(Vein) เข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator ที่จะแยกเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทั้งนี้จะใช้เวลาเก็บครั้งละ 3 ชั่วโมง และอาจจะต้องมาเก็บ 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ป่วย
2. การบริจาคไขกระดูก (Bone Marrow Donation)
เป็นกระบวนการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากโพรงไขกระดูกโดยใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ซึ่งดำเนินการเก็บในห้องผ่าตัด กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่จะถึงกระบวนการเจาะเก็บข้างต้น ผู้บริจาคอาจต้องบริจาคโลหิตเก็บไว้ และจะนำมาให้หลังจากที่ได้เจาะเก็บไขกระดูกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ร่างกายสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว และหลังทำแผลแล้วผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น และควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5-7 วัน
Ref. http://blooddonationthai.com/content/บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต-stem-cell
สำหรับการตรวร่างกาย ส่วนนี้ต้องเข้ามาในช่วงวันธรรมดา โดยจะตรวจกับอาจารย์หมอโดยตรงกับโรงพยาบาลที่ต้องเข้าพัก
โดยมีทั้งหมด 4 โรงพยาบาล คือ
1. รพ.จุฬา
2. รพ.รามาฯ
3. รพ.ศิริราช
4. รพ.พระมงกุฎ
โดยครั้งนี้ จขกท. ได้รับการดูแลโดย รพ.จุฬา สำหรับวันที่เข้ามาตรวจรางกายสำหรับคนที่ทำงานแล้ว
สามารถให้ จนท.ช่วยทำเรื่องขอลาโดยไม่ถือเป็นวันลากับทางบริษัทได้ ในวันดังกล่าวจะมีการตรวจร่างกาย ได้แก่
1.) เก็บตัวอย่างเลือด
2.) เก็บตัวอย่างปัสสาวะ
3.) X-Ray ปอด
4.) ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
5.) คัดกรอง สอบถามประวัติต่างๆกับอาจารย์หมอ
*หลังจากนี้อาจมีการนัดหมายเข้ามาเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติมอีกครั้งได้เช่นกัน (ซึ่งก็โดนเข้ามาเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติมอีกครั้ง)
จากนั้นทาง จนท.จะแจ้งผลให้ทราบโดยหากผ่านก็เตรียมขึ้นเขียง เอ๊ย เตรียมบริจาคต่อไป นอกจากนี้จะมีการให้เซ็นรับทราบข้อมูลและเซ็นยินยอมพร้อมกับรับหนังสือประกันชีวิตเผื่อกรณีไม่คาดคิดใดๆก็ตามไว้ด้วย
รูปเครื่องมือวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
รูปเอกสารเซ็นรับทราบและรายละเอียดประกัน
3.นับถอยหลังก่อนถึงวันบริจาค :
พอเข้าใกล้ถึงวันที่กำหนดทาง จนท.จะโทรมาสอบถามยืนยันอีกครั้ง เนื่องจากทางคนไข้จะต้องเข้าสู่กระบวนการเตรียมตัว เท่าที่ทราบมี
1.) ต้องได้รับยา คล้ายๆการทำคีโม เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งตัวเอง ส่งผลให้ภูมิต่ำ
2.) เข้าพักในห้องปลอดเชื้อ เนื่องจากการระงับจะทำให้เม็ดเลือดขาวลดลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
ซึ่งถ้าหากยินยอมในครั้งนี้แต่เกิดเปลี่ยนใจในวันบริจาคอาจส่งผลกระทบถึงชีวิตคนไข้ได้
หลังจากนั้นก็จะเริ่มการฉีดกระตุ้นสร้าง Stem Cell ให้มากกว่าปกติโดยจะได้รับยา Neupogen สำหรับกระตุ้นปริมาณไม่น้อยกว่า 10 เท่าของน้ำหนักตัว (ส่วนตัวได้รับวันละ 780 mg แบ่งเป็น 2 เข็ม 480 กับ 300) โดยจะฉีดใต้ผิวหนังซึ่งเลือกไห้ฉีดตรงหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง ให้ความรู้สึกเจ็บจี๊ด
เพราะฉีดผ่านไต้ผิวหนัง ไม่มี media ช่วยแพร่เหมือนฉีดเข้ากระแสเลือด โดยจะเริ่มฉีดล่วงหน้าก่อนบริจาค 4 วันและรวมกับวันที่บริจาคด้วยเป็น 5 วัน
โดยผลข้างเคียงคือ อาจมีอาการปวดตัว หลัง คล้ายจะเป็นไข้ สามารถทานยาพาราแก้ปวดได้ตามปกติ
*หมายเหตุเพิ่มเติม : โดยปกติคนเราจะสร้าง Stem Cell เป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว และค่อยๆโตในกระดูกจนออกมาเป็นเม็ดเลือดในกระแสเลือด
Day 1
เริ่มฉีด 17/3 : เนื่องจากเป็นวันศุกร์ที่ยังทำงานและอยู่ ตจว. ทางศูนย์ฯ จึงหารถตู้มารับถึงที่ทำงานพาไปฉีดใน รพ. ที่มีการรับเรื่องกันไว้
เนื่องจากตามระเบียบผู้บริจาคต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆในกระบวนการ (สุดยอดมาก *0*)
Day 2-3
18-19/3 : วันเสาร์-อาทิตย์ไปฉีดที่ รพ.ใกล้บ้านในช่วงเวลาเดียวกัน
และกินยาเสริมสร้าง Calcium แบบเม็ดฟูผสมน้ำทุกครั้งหลังอาหารเย็น วันละ 1 เม็ด เพื่อชดเชยตอนที่จะถูกดึงไประหว่างบริจาค
Day 4 : (ตั้งแต่ Day 4 จะมีรายละเอียดตามด้านล่างเพิ่มเติมครับ)
20/3 Admit โดยฉีดยาและเตรียมใส่สายสวน รายละเอียดตาม อยู๋ด้านล่าง
Day 5 : 21/3 ฉีดยากระตุ้นและเข้าไปเก็บ Stem Cell
Day 6 : 22/3 ฉีดยากระตุ้นและเข้าไปเก็บ Stem Cell อีกครั้ง เนื่องจากเก็บได้น้อยกว่าเป้าที่วางไว้
Day 7 : 23/3 ถอดสายต่างๆ ออกจาก รพ. ไปพักฟื้น
แชร์ประสบการณ์ได้รับโอกาสบริจาค Stem Cell (Stem Cell Donor)
โดยวันนี้ จขกท. จะมาแชร์ประสบการณ์การได้เป็นผู้บริจาค Stem Cell โดยเล่าผ่านมุมมองของผู้บริจาคคนหนึ่ง
(ในอีกความหมาย คือ เนื้อหาเชิงลึก อย่าไปจริงจังมากนะครับ อาจมีผิดพลาดบ้าง _/|\_ แต่ช่วยเสริมให้ได้ครับ
เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องมากที่สุด)
ปล.ก่อนหน้านี้เครื่องค้างแล้วพิมพ์สด ไม่ได้ร่างไว้ก่อนเสียใจ นั่งพิมพ์ใหม่เกือบทั้งหมด Orz
ปล.2 ในกระทู้ไม่ได้โพสรูปการเจาะสายสวน หรือ การเจาะน้ำเกลือต่างๆไว้นะครับ แต่ถ้ามีคนอยากทราบจะเอาไปลง blog ส่วนตัวแล้วนำมาแชร์ที่หลังให้ครับ
ก่อนอื่นมาแนะนำก่อนว่า Stem Cell คืออะไร ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
0.จุดเริ่มต้นการบริจาค :
นานมาแล้ว ประมาณ 2-3 ปีได้ สมัยเรียน จขกท. เคยไปบริจาคเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แล้วปรากฏว่าวันนั้นเห็นว่าโต๊ะประชาสัมพันธ์
มีการเชิญชวนให้ร่วมเป็นผู้บริจาค Stem Cell ตอนนั้นเราก็รู้แค่ว่า มันสามารถพัฒนากลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดได้
ใช้ปลูกถ่ายให้คนที่มีปัญหาการสร้าง Cell พวกนี้ได้ แต่ไม่รู้กระบวนการอะไรซักอย่าง ก็โอเค ร่วมด้วยช่วยกันบริจาค
(ตอนนั้นเหมือนจะได้เสื้อยืดมาด้วย แต่เหลือแต่ Size XL ใส่ไม่ได้ TwT)
1.โทรศัพท์ที่ไม่คาดคิด :
วันหนึ่งขณะทำงานอยู่ ช่วงเดือนธันวาคม 2559 จู่ๆก็มีโทรศัพท์โทรเข้ามาเรียนสายคุณ จขกท. จากศูนย์บริการฯ
ว่าที่คุณ จขกท.เคยสมัครเป็นอาสาบริจาค Stem Cell ไว้พบว่าผล HLA ของคุณตรงกับคนไข้ อยากจะขอนัดหมายเข้ามาเก็บตัวอย่างโลหิตเพิ่มเติม
โดยหากตรงกันจะนัดหมายเตรียมความพร้อมบริจาค Stem Cell ต่อไป
..................... ตอนนั้นกำลังแบบแอบงงๆ แล้วก็ตอบว่าได้ครับไป คือลืมไปแล้วว่าเคยลงทะเบียนไว้
ข้อมูลเพิ่มเติม HLA คือ อะไร?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2.การเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม :
หลังจากนั้นก็เข้าไปเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม สามารถเข้ามาในวันเสาร์-อาทิตย์ได้
(จขกท.ไม่สะดวกวันธรรมดา เพราะทำงานอยู่ ตจว.) ก็จะมี 2 กระบวนการใหญ่ๆ คือ
1.การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาค Stem Cell ตั้งแต่
1.1 กระบวนการแนะนำว่า Stem Cell คืออะไร / มีความสำคัญอย่างไร
1.2 วิธีการบริจาคมีอะไรบ้าง
1.3 ความเสี่ยง
1.4 สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ : ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1
จากนั้นหากยังยืนยันที่จะบริจาคอยู๋ก็จะมีการเซ็นเอกสารรับทราบข้อมูลและเซ็นยินยอม พร้อมกับไปเก็บตัวอย่างเลือด
2. การเก็บตัวอย่างเลือด : จนท.พยาบาลจะทำการเก็บตัวอย่างเลือด ประมาณ 4-5 หลอดเล็กๆ
เพื่อนำไปตรวจวัด CT หรือ Confirmatory Typing อย่างละเอียดอีกที จากนั้นก็กลับบ้านได้รอฟังผลต่อไป ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
3.การแจ้งผล การตรวจประเมินวิธีบริจาค และการนัดตรวจร่างกาย :
หลังจากทราบผลแล้วก็จะเข้ามาประเมินเส้นเลือดว่าสามารถบริจาค Stem Cell ได้แบบใดบ้าง เนื่องจากแต่ละแบบจะต้องมีการเตรียมตัวแตกต่างกันไป ของ จขกท.ประเมินเส้นเลือดที่แขน 2 ข้างไม่ผ่านข้างหนึ่ง เนื่องจากเส้นเลือดตกด้านข้าง ต้องบริจาคด้วยวิธีใส่สายสวนแทน
สำหรับประเภทการบริจาคแบบต่างๆ มี 2 แบบ คือ
1. แบบบริจาคทางเส้นเลือด มี 2 แบบย่อย คือ เจาะเส้นเลือดที่แขน หรือ เจาะเส้นเลือดที่คอ
2. แบบบริจาคผ่านทางไขกระดูก : ผู้บริจาคจะเข้าห้องผ่าตัดเป็นเวลา 2-3 ชม. โดยวิสัญญีแพทย์จะให้ดมยาสลบ
พร้อมจัดท่าให้นอนคว่ำ เพื่อใช้เข็มพิเศษเจาะผ่านกระดูกบริเวณสะโพกเพื่อดูด Stem Cell ออกมา
(วิธีที่ 2 คนไข้จะไม่รู้สึกตัวจนกว่าจะฟื้นหลังออกจากห้องผ่าตัด)
สำหรบรายละเอียดเพิ่มเติมตามสปอยครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับการตรวร่างกาย ส่วนนี้ต้องเข้ามาในช่วงวันธรรมดา โดยจะตรวจกับอาจารย์หมอโดยตรงกับโรงพยาบาลที่ต้องเข้าพัก
โดยมีทั้งหมด 4 โรงพยาบาล คือ
1. รพ.จุฬา
2. รพ.รามาฯ
3. รพ.ศิริราช
4. รพ.พระมงกุฎ
โดยครั้งนี้ จขกท. ได้รับการดูแลโดย รพ.จุฬา สำหรับวันที่เข้ามาตรวจรางกายสำหรับคนที่ทำงานแล้ว
สามารถให้ จนท.ช่วยทำเรื่องขอลาโดยไม่ถือเป็นวันลากับทางบริษัทได้ ในวันดังกล่าวจะมีการตรวจร่างกาย ได้แก่
1.) เก็บตัวอย่างเลือด
2.) เก็บตัวอย่างปัสสาวะ
3.) X-Ray ปอด
4.) ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
5.) คัดกรอง สอบถามประวัติต่างๆกับอาจารย์หมอ
*หลังจากนี้อาจมีการนัดหมายเข้ามาเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติมอีกครั้งได้เช่นกัน (ซึ่งก็โดนเข้ามาเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติมอีกครั้ง)
จากนั้นทาง จนท.จะแจ้งผลให้ทราบโดยหากผ่านก็เตรียมขึ้นเขียง เอ๊ย เตรียมบริจาคต่อไป นอกจากนี้จะมีการให้เซ็นรับทราบข้อมูลและเซ็นยินยอมพร้อมกับรับหนังสือประกันชีวิตเผื่อกรณีไม่คาดคิดใดๆก็ตามไว้ด้วย
รูปเครื่องมือวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
รูปเอกสารเซ็นรับทราบและรายละเอียดประกัน
3.นับถอยหลังก่อนถึงวันบริจาค :
พอเข้าใกล้ถึงวันที่กำหนดทาง จนท.จะโทรมาสอบถามยืนยันอีกครั้ง เนื่องจากทางคนไข้จะต้องเข้าสู่กระบวนการเตรียมตัว เท่าที่ทราบมี
1.) ต้องได้รับยา คล้ายๆการทำคีโม เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งตัวเอง ส่งผลให้ภูมิต่ำ
2.) เข้าพักในห้องปลอดเชื้อ เนื่องจากการระงับจะทำให้เม็ดเลือดขาวลดลงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
ซึ่งถ้าหากยินยอมในครั้งนี้แต่เกิดเปลี่ยนใจในวันบริจาคอาจส่งผลกระทบถึงชีวิตคนไข้ได้
หลังจากนั้นก็จะเริ่มการฉีดกระตุ้นสร้าง Stem Cell ให้มากกว่าปกติโดยจะได้รับยา Neupogen สำหรับกระตุ้นปริมาณไม่น้อยกว่า 10 เท่าของน้ำหนักตัว (ส่วนตัวได้รับวันละ 780 mg แบ่งเป็น 2 เข็ม 480 กับ 300) โดยจะฉีดใต้ผิวหนังซึ่งเลือกไห้ฉีดตรงหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง ให้ความรู้สึกเจ็บจี๊ด
เพราะฉีดผ่านไต้ผิวหนัง ไม่มี media ช่วยแพร่เหมือนฉีดเข้ากระแสเลือด โดยจะเริ่มฉีดล่วงหน้าก่อนบริจาค 4 วันและรวมกับวันที่บริจาคด้วยเป็น 5 วัน
โดยผลข้างเคียงคือ อาจมีอาการปวดตัว หลัง คล้ายจะเป็นไข้ สามารถทานยาพาราแก้ปวดได้ตามปกติ
*หมายเหตุเพิ่มเติม : โดยปกติคนเราจะสร้าง Stem Cell เป็นปกติทุกวันอยู่แล้ว และค่อยๆโตในกระดูกจนออกมาเป็นเม็ดเลือดในกระแสเลือด
Day 1
เริ่มฉีด 17/3 : เนื่องจากเป็นวันศุกร์ที่ยังทำงานและอยู่ ตจว. ทางศูนย์ฯ จึงหารถตู้มารับถึงที่ทำงานพาไปฉีดใน รพ. ที่มีการรับเรื่องกันไว้
เนื่องจากตามระเบียบผู้บริจาคต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆในกระบวนการ (สุดยอดมาก *0*)
Day 2-3
18-19/3 : วันเสาร์-อาทิตย์ไปฉีดที่ รพ.ใกล้บ้านในช่วงเวลาเดียวกัน
และกินยาเสริมสร้าง Calcium แบบเม็ดฟูผสมน้ำทุกครั้งหลังอาหารเย็น วันละ 1 เม็ด เพื่อชดเชยตอนที่จะถูกดึงไประหว่างบริจาค
Day 4 : (ตั้งแต่ Day 4 จะมีรายละเอียดตามด้านล่างเพิ่มเติมครับ)
20/3 Admit โดยฉีดยาและเตรียมใส่สายสวน รายละเอียดตาม อยู๋ด้านล่าง
Day 5 : 21/3 ฉีดยากระตุ้นและเข้าไปเก็บ Stem Cell
Day 6 : 22/3 ฉีดยากระตุ้นและเข้าไปเก็บ Stem Cell อีกครั้ง เนื่องจากเก็บได้น้อยกว่าเป้าที่วางไว้
Day 7 : 23/3 ถอดสายต่างๆ ออกจาก รพ. ไปพักฟื้น